sagime
ดู Blog ทั้งหมด

กินอยู่อย่างไรไม่เตี้ย

เขียนโดย sagime

กินอยู่อย่างไรไม่เตี้ย

   กรรมพันธุ์ เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ถ้าพ่อและแม่ต่างก็มีทั้งยีนเตี้ยและยีนสูง ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเตี้ย 25% แต่ถ้าพ่อและแม่มียีนเตี้ยทั้งคู่ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ลูกไม่สูงอย่างที่ต้องการ โดยเราสามารถประเมินส่วนสูงของลูกได้จากส่วนสูงของพ่อแม่ ตามสูตรต่อไปนี้

ส่วนสูงพ่อ+ส่วนสูงแม่ + 2 = ส่วนสูงลูกชาย
            2 

ส่วนสูงพ่อ+ส่วนสูงแม่ - 2 = ส่วนสูงลูกสาว
            2

   แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เตี้ย แต่ก็ยังมีปัจจัยนอกเหนือจากกรรมพันธุ์ที่ช่วยเพิ่มความสูงได้ ซึ่งจะต้องอาศัยการใส่ใจจากพ่อแม่ตั้งแต่วัยแบเบาะ

ช่วงอายุกระตุ้นความสูง

   โภชนาการที่ดีและการดูแลสุขภาพไม่ให้เด็กเจ็บป่วยบ่อยจะมีผลในการเสริมความสูงของเด็กนอกเหนือจากผลทางพันธุกรรม ช่วงที่เด็กสูงเร็ว คือ ช่วงปีแรก โดยจะมีความสูงเพิ่มขึ้น 50% และอัตราการเจริญเติบโตจะชะลอลงเมื่ออายุ 2 ปี และจะมีความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6-8 เซนติเมตรต่อปี จนกระทั่งเริ่มเข้าวัยแตกเนื้อหนุ่มสาว (โดยทั่วไป หญิงอายุ 8-13ปี ชาย อายุ 9-14 ปี) อัตราการเจริญเติบโตจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 2 เท่า เพราะก่อนที่จะถึงวัยแตกเนื้อหนุ่มสาว อีพิไฟเชียลเพลท (Epiphyseal plate) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อของกระดูกอ่อนที่อยู่ระหว่างข้อต่อกระดูกจะขยายและค่อยๆหยุดในระหว่างวัยแตกเนื้อหนุ่มสาว และเมื่ออีพิไฟเชียลเพลทปิดร่างกายก็จะหยุดสูง เด็กผู้หญิงจะเจริญเติบโตเร็วที่สุดเมื่ออายุประมาณ 11.5 ปีและหยุดโตเมื่ออายุประมาณ 18 ปี ในขณะที่เด็กผู้ชายจะเจริญเติบโตเร็วที่สุดเมื่ออายุประมาณ 13.5 ปีและหยุดโตเมื่ออายุประมาณ 20 ปี เด็กผู้ชายจึงมีช่วงเวลาที่จะโตมากกว่าผู้หญิงถึงสองปีและยังมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโตเร็วอีกด้วย

โภชนาการดีต้าน “เตี้ย”

   การรับประทานอาหารที่ครบถ้วนจึงมีผลต่อการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และกระดูกของเด็กซึ่งส่งผลต่อความสูง การดูแลเรื่องอาหารจึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

  1. นอกจากการรับประทานอาหารครบทุกหมู่แล้ว ในช่วงที่เด็กเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาวควรเน้นอาหารที่จะช่วยเพิ่มส่วนสูงให้เพียงพอ เช่นโปรตีน แคลเซียม วิตามินดี และสังกะสี
  2. เน้นกินอาหารประเภทโปรตีนเพื่อเพิ่มการหลั่งโกร๊ธฮอร์โมนซึ่งเป็นสารกระตุ้นความสูง และควบคุมการรับประทานอาหารไขมันสูงและน้ำตาลสูง ซึ่งมีผลทำให้ร่างกายลดการหลั่งโกร๊ธฮอร์โมน
  3. พ่อแม่ไม่ควรตามใจให้รับประทานอาหารขยะหรืออาหารแดกด่วนบ่อย เพราะทำให้เด็กอ้วน มีไขมันสะสมในร่างกายมาก ทำให้เด็กเป็นหนุ่มสาวเร็วกว่าวัย เช่น มีประจำเดือนเร็วขึ้น ซึ่งมีผลทำให้หยุดสูงเร็ว
  4. เลือกอาหารว่างที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้ ผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย แทนอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น ขนมขบเขี้ยวต่างๆ น้ำอัดลม น้ำหวาน และควรฝึกให้เด็กดื่มนมจืดอย่างน้อยวันละ 2 แก้วด้วย
  5. การเตรียมอาหารว่างให้เด็กเล็ก ควรให้รับประทานอาหารว่างห่างจากมื้อหลักอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะหากเด็กรับประทานอาหารว่างจนอิ่มก็จะไม่อยากรับประทานอาหารมื้อหลัก ทำให้เป็นโรคอ้วนได้

ฝึกนิสัยเพิ่มฮอร์โมนช่วยสูง

   โกร๊ธฮอร์โมนเป็นเป็นสารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและกระบวนการเมตาบอลิซึม ในปี 2003 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกายอมรับการใช้โกร๊ธฮอร์โมนเพื่อเพิ่มความสูง แต่จะใช้ได้ผลเฉพาะในช่วงก่อนที่กระดูกจะหยุดการเจริญเติบโต หลังจากนั้นต้องใช้วิธีผ่าตัดเพิ่มความสูง นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การดูแลร่างกายให้มีการหลั่งสารโกร๊ธฮอร์โมนในช่วงที่เหมาะสมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้สูงขึ้นได้

  • ไม่ควรนอนดึกและต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากโกร๊ธฮอร์โมนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความสูงจะเริ่มหลั่งมากที่สุดประมาณหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่หลับสนิทในเวลากลางคืน ดังนั้นเด็กที่นอนแต่หัวค่ำพักผ่อนเพียงพอจะมีโอกาสสูงมากกว่าเด็กที่นอนดึกและตื่นแต่เช้า
  • ควรฝึกให้เด็กออกกำลังกายในช่วงระหว่างแตกเนื้อหนุ่มสาว โดยเฉพาะกีฬาที่มีการยืดตัว เช่น ว่ายน้ำ บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอลเพราะนอกจากจะช่วยบริหารกล้ามเนื้อได้ดี การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มการหลั่งโกร๊ธฮอร์โมนด้วย
ที่มา นิตยสาร Health & Cuisine

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ดีจังเลยเราก้ตัวนิดเดวเอง
ความคิดเห็นที่ 2
ยั่กสูงเมินกานนนนน
ความคิดเห็นที่ 3
พ่อ 185 แม่ 155 เท่ากับ 170 แต่ไม่ถึงเราพึ่งเป็นรอบเดือนตอนอายุ 15
ตอนนี้สูง 157กว่า เอง ไม่รู้ว่าเป็นเพราะมีรอบเดือนช้าหรือปล่าว