sagime
ดู Blog ทั้งหมด

สไนเปอร์(พลซุ่มยิง)

เขียนโดย sagime

คําว่า สไนเปอร์ (SNIPER) ใช้ครั้งแรกในปีค.ศ.1824  โดยทหารอินเดีย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ใช้ปืนในการล่านกชนิดหนึ่งที่ยิงได้ยากต้อง มีความแม่นยำในการยิงสูง

คำนี้จึงถูกนำมาใช้กับทหารที่ชำนาญในการยิงปืน

ต่อมามีการพัฒนาให้ทหารที่มีความแม่นยำในการยิงปืน ซ่อนพรางตัวให้เข้ากับธรรมชาติรอบตัว คอยลอบยิงทหารฝ่ายตรงข้าม

เริ่มใช้ครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งฝ่ายเยอรมันได้แจกกล้องขยาย (SCOPE) ติดไว้บนรางปืนเพื่อให้ทหารมองเห็นเป้าได้ง่ายและชัดเจนขึ้น

เป็นเอกลักษ์ของพลแม่นปืนตั้งแต่นั้นมา

ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการนำพลซุ่มยิงเข้ามาใช้ในงานสงครามมากขึ้น

ส่วนมากเป้าหมายจะเป็นนายทหารระดับสูงหรือเจ้าหน้าที่วิทยุ เพื่อทำลายขวัญกำลังใจและตัดการติดต่อสื่อสารของฝ่ายตรงข้าม

พลแม่นปืนที่มีชื่อเสียงทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะมีจำนวนมาก

อาทิ วิซิลี ไซเซฟ ของรัสเซีย มีบันทึกว่าสามารถสังหารทหารฝ่ายตรงข้ามได้ 244 ศพ ต่อมาฮอลลีวู้ดนำมาสร้างเป็นหนังชื่อ ENEMY AT THE GATES

และโด่งดังที่สุดคือ พันจ่าตรี คาร์ลอส เอ็น. แฮสคล็อต ของนาวิกโยธินสหรัฐ ที่ปฏิบัติการในสงครามเวียดนาม ซุ่มสังหารทหารเวียดนามเหนือถึง 360 ศพ

การทำงานของพลซุ่มยิง 1 ทีม จะประกอบด้วย พลซุ่มยิง (sniper) และพลชี้เป้า (spotter) ซึ่งมีหน้าที่วัดระยะห่างจากพลซุ่มยิงและเป้าหมาย บอกทิศทางลม คุ้มกันระหว่างการวางตัวและถอนตัว

คุณสมบัติพลซุ่มยิงถูกกำหนดไว้อย่างเข้มงวด 6 ประการคือ

1.ยิงปืนได้แม่นยำ

2.มีสุขภาพร่างกายเยี่ยม

3.มีสายตาปกติไม่สั้นหรือยาว ไม่ตาบอดสี

4.ไม่สูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่จะเปิดเผยที่ตั้งของพลยิง

5.มีความมั่นคงในการควบคุมอารมณ์สูง รับความกดดันในรูปแบบต่างๆ ได้ เพราะบางครั้งต้องนั่งหรือนอนรอเป้าหมายหลายวัน

6.ต้องมีสติปัญญาดี เนื่องจากต้องเรียนรู้เรื่องอาวุธปืน ขีปนวิถีของลูกกระสุน การปรับตั้งค่ากล้องเล็งเพื่อแก้ทิศ ทางลม

ในทุกเหล่าทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย มีการฝึกเจ้าหน้าที่ให้เป็นพลแม่นปืนเช่นกัน ส่วนมากบรรจุอยู่ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษ

ทหารบกจะบรรจุในหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ทหาร เรือบรรจุอยู่ในหน่วยทำลายใต้น้ำ(ซีล) ทหารอากาศบรรจุในหน่วยอากาศโยธิน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บรรจุในกองบัญชาการตำรวจ นครบาล (อรินทราช 26) และตำรวจตระเวนชายแดน (นเรศวร 261)

อาวุธปืนที่ใช้ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ คือปืนซุ่มยิงแบบ M-24 ขนาดกระสุน 7.62 ม.ม. น้ำหนัก 5.5 กิโลกรัม ระยะยิงหวังผลประมาณ 460 เมตร

และปืนซุ่มยิงขนาดหนักคือปืน M-82 A-1 ขนาดกระสุน 12.7 ม.ม. น้ำหนัก 10 กิโลกรัม สามารถยิงเจาะเกราะได้ในระยะ 1,500 เมตร

นอกจากนั้นยังมีปืนซุ่มยิงของเยอรมัน ที่มีความแม่นยำสูง แบบ PSG-1 ขนาดกระสุน 7.62 ม.ม. น้ำหนัก 8.8 กิโลกรัม ระยะยิงหวังผลไกลสุด 450 เมตร

ปืนชนิดนี้เคยใช้ในการซุ่มยิงนักโทษพม่า ที่จับผู้คุมเรือนจำสมุทรสงครามเป็นตัวประกันเมื่อเกือบ 10 ปี ที่ผ่านมา และใช้ซุ่มยิงกองกำลังก๊อดอามี่ที่เข้ายึดโรงพยาบาลราชบุรี

ที่มา ข่าวสดออนไลน์

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น