sagime
ดู Blog ทั้งหมด

ประเภทของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น

เขียนโดย sagime

          พิจารณาตามลักษณะการเกิดภัยพิบัติ แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากกระทาของมนุษย์ ถ้าพิจารณาตามสถานการณ์จะแบ่งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในสภาวะปกติ สภาวะฉุกเฉิน และสภาวะสงคราม

 

 

การแบ่งประเภทตามลักษณะการเกิดแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้คือ

1 ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ( Natural Disaster ) เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน

(1) ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล หรือจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

-วาตภัย เป็นภัยที่เกิดจากความเร็วของลม เช่น พายุไต้ฝุ่น พายุ โซนร้อน พายุฤดูร้อน พายุฟ้าคะนอง

-อุทกภัย เป็นภัยที่เกิดจากฝนตกหนัก เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมในฤดูฝน คลื่นจากพายุซัดฝั่ง เขื่อน ฝาย พัง

-คลื่นความร้อน เป็นลักษณะของอากาศที่มีอากาศร้อนจัด ผิดปกติ

-อากาศหนาวผิดปกติ เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอากาศหนาวในบางปี ต่ากว่าศูนย์องศาเซลเซียส

-ฝนแล้ง เนื่องจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชพันธ์ทางการเกษตร เกิดความขาดแคลนอาหารและน้ำ

(2) ภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก ทำให้เกิดภัยพิบัติ

-แผ่นดินเลื่อนหรือแผ่นดินถล่ม เป็นการเปลี่ยนแปลงของพื้นดิน ทำให้เกิดการไหวและการสั่นสะเทือน หรือเมื่อมีฝนตกหนักบริเวณเทือกเขาที่มีพื้นดินขาดต้นไม้หรือพืชคลุมดินที่ไม่มีการยึดเหนี่ยวของพื้นผิวดิน อาจทาให้พื้นผิวดินพังทลายลงมาทับบ้านเรือน ตามบริเวณเชิงเขา

-แผ่นดินไหว เป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการสั่นสะเทือนเป็นคลื่นติดต่อกันจากจุดศูนย์กลางออกไปทุกทิศทางทาให้บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างพังทลาย ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงข้างใต้พื้นท้องทะเลอาจทาให้เกิด คลื่นใต้น้ำ(Tsunami)ซัดเข้าโจมตีฝั่งได้

-ภูเขาไฟระเบิด(ผลกระทบมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่นอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์) คือการระเบิดของแรงดันจากความร้อนภายใต้พื้นผิวโลกมีการพ่นลาวาและเกิดการสั่นสะเทือนของภูเขาและพ่นควันที่เป็นพิษกระจายออกไปทั่วอาเซียน

(3) ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามลักษณะสภาพของภูมิประเทศ

-อุทกภัย เป็นภัยที่เกิดจากน้าท่วมในบริเวณพื้นที่ที่ต่ากว่าระดับน้ำทะเล มักจะมีน้าท่วมเป็นประจำ และในบริเวณที่ลุ่ม

-ดินถล่ม หินถล่ม เป็นการถล่มทลายของก้อนหิน ดินหรือโคลน เมื่อชุ่มน้าฝนมีน้ำหนักมากอาจเลื่อนไหลลงมาทับบ้านเรือนและผู้คนบริเวณเชิงเขา

(4) ภัยพิบัติที่เกิดจากเชื้อโรคและภัยพิบัติที่เกิดจากสัตว์และแมลง ได้แก่

-การระบาดของโรค เช่น อหิวาตกโรค ไข้สมองอักเสบ โรคเอดส์ เมื่อมีแหล่งแพร่เชื้อ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ

-ภัยจากสัตว์หรือแมลง เช่น หนูนา หรือตั๊กแตนที่มีจานวนมากทาให้เกิดความเสียหายแก่พืชไร่ อาจเกิดการขาดแคลนและอดอยาก

2 ภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ( Manmade Disaster ) เนื่องจากสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์เพื่อความสุขสบาย หรือเพื่อการสงคราม

(1) ภัยจากอุบัติเหตุทางคมนาคม เช่น

-ทางบก เช่น รถชนกัน รถพลิกคว่า รถตกเหว รถไฟตกราง

-ทางน้ำ เช่น เรือล่ม หรือเรือชนกัน

-ทางอากาศ เช่น เครื่องบินตก เครื่องบินชนกัน เครื่องบินระเบิด

(2) ภัยจากการก่อสร้าง เช่น การก่อสร้างที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย การพังทลายของอาคารที่ได้ก่อสร้างผิดแบบ ผิดเทศบัญญัติ มีการต่อเติมอาคารจนฐานรากไม่สามารถทานน้ำหนักได้

(3) ภัยจากการประกอบอุตสาหกรรม เช่น การระเบิดของท่อก๊าซหรือท่อแก๊สภายในโรงงาน หม้อไอน้าระเบิด สารเคมีลุกไหม้เกิดควันที่เป็นพิษ ปฏิกรปรมาณูการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ภัยจากขยะเคมี รังสี ที่ไม่มีสัญชาติ เช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น

(4) ภัยจากการขัดแย้งทางลัทธิ หรือการก่ออาชญากรรม ในที่สาธารณะ เช่น การวางระเบิดในสถานที่ชุมชน ในสถานที่ราชการ และภัยจากอาชญากรข้ามชาติ

(5) ภัยที่เกิดจากจราจล เป็นภัยที่เกิดจากการที่ชุมชนมีการขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ทาให้เกิดการยกพวกปะทะกัน หรือเผาอาคาร บ้านเรือน สถานที่ราชการ เช่น การจราจล เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 "วันมหาวิปโยค" วันที่ 17 พฤษภาคม 2535

"พฤษภาทมิฬ"และ วันที่ 19 พฤษภาคม 2554"วันทหารกระชับพื้นที่ราชประสงค์"ความถี่ของการเกิดภัยและความรุนแรงมากขึ้นq

(6) ภัยจากการปะทะด้วยกาลังอาวุธ เช่น การก่อการร้าย สงครามกองโจร สงครามเต็มรูปแบบ เช่น สงครามโลก ครั้งที่ 1 และ 2 สงครามในตะวันออกกลาง

อาวุธชีวะ เคมี รังสี สารพิษและ เชื้อโรค

ที่มา http://www.openbase.in.th/files/ready_for_disaster_ct01.pdf
ภาพประกอบจาก http://www.msrid.com/flood248.htm
                         http://anouchemistry.blogspot.com/2011/02/blog-post.html

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
สุดยอดดดดดดดดดดดด
ความคิดเห็นที่ 2
น่าจะหาข้อมูลได้เยอะกว่านี้
ความคิดเห็นที่ 3
ห่วยมาก
ความคิดเห็นที่ 4
ควยโคตร
ความคิดเห็นที่ 5
ป้อคิงหยัง
ความคิดเห็นที่ 6
น่าจะเพิ่มข้อมูลใหมากกว่านี้นะ
ความคิดเห็นที่ 7
น่าจะเพิ่มข้อมูลให้มากกว่านี้นะ
ความคิดเห็นที่ 8
มีเพิ่มเติมอีกมั้ยค่ะ