sagime
ดู Blog ทั้งหมด

ควันธูป...ภัยที่ไม่ควรมองข้าม

เขียนโดย sagime

ธูป... สัญลักษณ์แห่งศรัทธา ประชาชนทั่วไปมักจะไม่ทราบว่า ควันธูปมีสารก่อมะเร็งในสถานที่จุดธูปสารก่อมะเร็งสูงกว่าที่ไม่จุดถึง 63 เท่า พิษภัยจากควันธูป 1 ดอก เทียบเท่าจากบุหรี่ 1 มวน และหากจุดในบ้าน 3 ดอก ที่การระบายอากาศไม่ ก่อมลพิษเท่าสี่แยกที่มีการเจรจาพลุกพล่าน

 

นอกจากนี้ มีการศึกษาในผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ 61,000 คน ได้รับควันธูปพอๆ กัน พบว่าผู้ที่ใช้สูดควันธูปทั้งวันทั้งคืนจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ใช้เลย ดังนั้นประชาชนควรใช้ธูปสั้น หลีกเลี่ยงการจุดธูปในบริเวณอากาศไม่ถ่ายเท หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เมื่อเสร็จพิธีสักการะควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น และผู้ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถาน ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมควันธูปเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง และหลังจากจับต้องธูปควรล้างมือ ล้างหน้า ล้างตา ให้บ่อยขึ้น และควรไปตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างต่อเนื่อง

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลักกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในอดีตการผลิตธูปไทยจะใช้ไม้เนื้อหอมทำเป็นเนื้อธูป เช่น ไม้จันทน์ขาว จันทน์เทศ กำยาน ไม้กฤษณา กันเกรา หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ เป็นต้น แต่เนื่องจากวัตถุดิบเป็นไม้เนื้อหอม เมื่อเผาจะเกิดควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองตาและจมูก

ขณะที่ในปัจจุบันไม้เนื้อหอมมีราคาแพง หายาก และบางชนิดเป็นพืชคุ้มครองห้ามตัด โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีการเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยเป็นวัตถุดิบ นำมาผสมกับการกั๊วะเก่า และกลิ่นหอมที่สกัดจากพืช หรือสารเคมีต่างๆ ทำให้ธูปในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ หลายขนาด ซึ่งการประมาณธูปที่มีความยาว 13 นิ้ว จะเผาไหม้หมดในเวลา 40-45 นาที ธูปบางชนิดสามารถส่งกลิ่นและควันได้นานถึง 3 วัน 3 คืน เมื่อเราจุดธูปจะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่างๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารก่อมะเร็ง หลายชนิด

นายแพทย์ณรงค์ กล่าวต่อว่า สารมลพิษ จากควันธูปต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ คือการก่อให้เกิดมะเร็ง สารก่อมะเร็งที่สำคัญ 3 ชนิดในควันธูป ได้แก่

1. สารเบนโซ เอไพริน(มีศักยภาพก่อมะเร็งสูงที่สุด) มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาปัสสาวะ

2. สารเบนซีน สัมพันธ์กับมะเร็งเกม็ดเลือดขาว

3. สารบิวทาไดอีน สัมพันธ์กับมะเร็งระบบเลือด นักวิจัยไทย พบสารเบนโซเอไพรีน ในสถานที่ที่มีการจุดธูปต่อเนื่องสูงกว่าที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า และระบุว่าคนทำงานในวัดมีสารก่อมะเร็งอยู่ในเลือดและปัสสาวะสูงกว่าคนไม่ได้ทำงานในวัดถึง 4 เท่า แต่ก็ยังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเนื่องจากควันธูป เพียงแต่พบหลักฐานว่าควันธูปมีสารชักนำให้เกิดมะเร็ง

ด้าน นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การวิจัยเป็นเวลากว่า 12 ปี ในชาวจีนที่อาศัยในสิงคโปร์ จำนวนกว่า 61,000 คน ทั้งผู้ที่สูบหรี่และไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันธูปพอๆ กัน พบว่าผู้ที่มีการใช้ธูปทั้งวันทั้งคืนจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ใช้เลยจากสถิติการรักษาหญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปอด พบว่ากว่าร้อยละ 50 ไม่สูบบุหรี่หรือไม่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ ไม่มีการได้รับสารก่อมะเร็งจากการทำงาน แพทย์คาดว่าน่าจะมีสาเหตุก่อมะเร็งอื่นๆ ที่ไม่ใช่บุหรี่ และควันธูปอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ระยะเวลาที่จะส่งผลให้เป็นมะเร็งนั้นต้องสะสมเป็นสิบๆ ปีเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่

1. ผลต่อสุขภาพ ควันธูปยังมีสารพิษชนิดอื่นๆ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไปออกไซด์ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา แสบจมูก ซึ่งหากคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ สูดดมเข้าไปก็จะเกิดอาการเหนื่อยได้

2. ผลต่อสิ่งแวดล้อม การเผาธูป 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่ากับ 325 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 3 ของน้ำหนักธูป คาดว่ามีคนจุดธูปทั่วโลกปีหนึ่ง ๆ เป็นหมื่นถึงแสนตัน การจุดธูปจึงถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน

นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า การจุดธูปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อให้เกิดความสุขทางจิตใจ ดังนั้นเพื่อให้การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเราห่างไกลจากโรคและภัยสุขภาพ และเป็นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีข้อแนะนำ ดังนี้

1. การจุดธูปในบ้าน สถานที่ทำงาน หรือศาสนสถาน ควรหลีกเลี่ยงการจุดธูปในบริเวณอากาศไม่ถ่ายเทหรืออากาศถ่ายไม่สะดวก เช่น ห้องแอร์ ห้องที่ไม่มีประตู หน้าต่าง โดยเฉพาะกระถางธูปควร ตั้งไว้นอกศาลาโบสถ์ หรือศาลเจ้า ซึ่งมีอากาศถ่ายนเทสะดวกว่า

2. ควรใช้ธูปสั้น

3. เมื่อเสร็จพิธีสักการะ ควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น

4. สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถาน ซึ่งต้องสูดดมควันและจับต้องธูปเกือบตลอดเวลางานควรหลีกเลี่ยงการสูดดมควันธูปเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง ควรใช้ถุงมือในการจับ และหลังจากจับต้องธูปควรล้างมือ ล้างหน้า ล้างตา ให้บ่อยขึ้น และควรไปตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนที่มีความสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค โทร. 02 591 8172 โทรสาร : 02 590 4388 อีเมล :media.envocc@gmail.com หรือ สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422" นาแพทย์โสภณ กล่าวเพิ่มเติม

ที่มา http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/38734

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น