A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การดูแลทางด้านจิตใจในผู้ป่วยมะเร็ง

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การดูแลทางด้านจิตใจในผู้ป่วยมะเร็ง

 

โรคมะเร็งซึ่งเป็นโรคที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

 

แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ได้ละเลยสิ่งเหล่านี้แม้ในบางโรคหรือบางระยะไม่สามารถ

 

รักษาให้หายขาดได้ก็ตามหรือแม้แต่ในระยะที่ใกล้ตาย ผู้ป่วยก็ยังคงต้องการความรัก

 

ความเอาใจใส่ และความสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

ดังนั้นการดูแลในส่วนนี้จึงมีความสำคัญซึ่งจะแบ่งการดูแลตามสภาพการเกิดผลกระทบ

 

ทางจิตใจของผู้ป่วยดังนี้

 

  1. ระยะก่อนและขณะที่ได้รับทราบการวินิจฉัย ผู้ป่วยมะเร็งมักจะอยู่ในวัยที่ต้องรับผิดชอบ

 

ต่อครอบครัว ดังนั้นความตึงเครียด และกังวลต่อโรคที่ได้รับวินิจฉัย

 

ความรู้สึกในวันก่อนทราบการวินิจฉัยจึงมีลักษณะขัดแย้งกันในตัวเอง มีความสับสนทั้งต้องการทราบ

 

ผลการวินิฉัย แต่ก็กลัวที่จะเป็นมะเร็ง เป็นลักษณะความขัดแย้งในอารมณ์

 

เมื่อแพทย์บอกการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ด้วยความรู้สึกและมีเจตคติต่อโรคมะเร็ง

 

ว่าเป็นโรคที่ผู้ใดเป็นแล้วต้องตายไม่มีทางรักษาพฤติกรรมก็อาจจะแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆกันดังนี้

 

ระยะที่ 1 การปฏิเสธและการแยกตัว (The stage of denial isolation)

 

ผู้ป่วยจะไม่ยอมพูดหรือรับฟังเรื่องโรคที่เขาเป็นอยู่ มีปฏิกิริยา 2 แบบ คือ

 

  1. เศร้าโศก ร้องไห้อาลัยชีวิตที่กำลังจะสิ้นสุดลง เมื่อมีผู้พูดถึงโรคของเขา

 

  1. ซึมเศร้า เฉยเมยไม่พูดจากับใคร แยกตัวเองจากสิ่งแวดล้อม จะพูดด้วยเฉพาะผู้ที่เข้าใจเขาเท่านั้น

 

ระยะที่ 2 โกรธ (the stage of anger)  ผู้ป่วยมีอาการขุ่นมัว ใครทำอะไรไม่ค่อยถูกใจ

 

โกรธง่าย โกรธที่ตนเองกำลังจะสูญเสียทุกอย่างในชีวิต คิดว่าตนนั้นโชคร้ายกว่าใครๆทั้งหมด

 

ไม่เหมือนผ็อื่นเขา ครอบครัวและญาติต้องเข้าใจไม่แสดงอาการโกรธตอบ

 

พยายามหาทางให้ระบาย การให้อภัยเห็นอกเห็นใจการพยาบาลที่สุภาพละมุนละไม

 

และการแสดงความรัก ความห่วงใยของญาติ ครอบครัว

 

ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยคลายความขุ่นมัว หงุดหงิดได้

 

ระยะที่ 3 การต่อรอง (The stage of bargaining) เมื่อไม่สามารถปฏิเสธความจริงได้ก็มักจะต่อรอง

 

ขอให้ได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีก แม้จะไม่นานก็ตามส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับศาสนา

 

และความเชื่อ เช่น การบน ญาติควรให้โอกาสได้พบพระ ทำบุญ และสิ่งที่เขาประสงค์ในทางที่ควร

 

ระยะที่ 4 ซึมเศร้า (The stage of depress) ผู้ป่วยมักเงียบขรึม ซึมเศร้าไม่ต้องการให้ใครเยี่ยม

 

การชวนคุยหรือเบนความสนใจมักไม่ได้ผล การนั่งเป็นเพื่อนเงียบๆ สัมผัสมือเบาๆ

 

ทำการพยาบาลอย่างสุภาพอ่อนโยน ก็เป็นการเพียงพอ

 

ระยะที่ 5 การยอมรับ (the stage of acceptance) ถ้าผู้ป่วยผ่านมาสู่ระยะนี้การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด

 

การโกรธเคือง  เศร้าโศกจะหายไปหมด เป็นระยะที่ผู้ป่วยต้องการพักผ่อนเงียบๆ

 

เป็นครั้งสุดท้ายกับผู้ที่เขารักตามลำพัง ควรให้การดูแลสัมผัสอย่างแผ่วเบา

 

และอ่อนโยนมากกว่าการใช้คำพูด

 

ระยะต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจเรียงหรือไม่เรียงตามลำดับก็ได้ เช่น ผู้ป่วยอาจจะซึมเศร้า

 

ก่อนหรือหลังการยอมรับ การวินิจฉัยก็ได้ ภาวะต่างๆเหล่านี้ ตั้งแต่การปฏิเสธความจริง

 

การต่อรอง หรือการหลบหนีความจริง ล้วนแล้วแต่สร้างความกังวลใจให้ผู้ป่วย

 

ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยก็ได้

 

ระยะที่ให้การรักษา เป็นที่ทราบกันดีว่า การรักษาโรคมะเร็งมีวิธีการได้ต่างๆกัน

 

ตั้งแต่การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยไม่ค่อยเข้าใจและกลัวต่อภาวะแทรกซ้อนมาก

 

จากการศึกษาวิธีการต่างๆในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง รังสีรักษา เป็นวิธีที่ผู้ป่วยสับสนและค่อนข้างกังวล

 

มากที่สุด กลัวตาย กลัวเครื่องฉายรังสี กลัวผิวหนังไหม้เกรียม กลัวผลต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากรังสี

 

ระยะติดตามการรักษา ระยะนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีความสบายใจ

 

และมั่นใจมากขึ้น เนื่องจากผลการรักษา มักจะขจัดอาการต่างให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่น อาการปวด

 

หอบเหนื่อย หรืออาการทางระบบประสาท เช่น ตาเหล่ ในระยะนี้ผู้ป่วยมักจะมีความสบายใจมากขึ้น

 

แต่ก็มีความกังวลใจเกี่ยวกับการกลับเป็นใหม่หรือการกระจายของโรค

 

ดังนั้นจึงมักจะแสวงหาสิ่งอื่นๆ มาเสริมสร้างกำลังใจ เช่น ใช้ยาสมุนไพร

 

ตลอดจนยาพระ ยาหม้อ ซึ่งหากแพทย์ผู้ให้การรักษาไม่อนุญาต จะสร้างความขัดแย้งต่อจิตใจผู้ป่วยมาก

 

ระยะสุดท้าย ระยะนี้ผู้ป่วยจะท้อแท้ บางครั้งมีความรู้สึกอยากตาย บางครั้งรู้สึกไม่อยากตาย

 

รู้สึกยังมีสิ่งที่ยังไม่ได้รับการจัดการอีกมาก ในระยะนี้ ผู้ให้การรักษา

 

ควรอธิบายให้ญาติเข้าใจ และจัดสิ่งแวดล้อมตามความพอใจของผู้ป่วย แม้แต่สถานที่ที่จะตาย

 

 

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น