A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การนับจำนวนทารกดิ้นในครรภ์ (Fetal movement count)

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การนับจำนวนทารกดิ้นในครรภ์ (Fetal movement count)

คือ การตรวจสอบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ด้วยตัวของหญิงตั้งครรภ์เอง ซึ่งตรวจนับได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ปกติทารกจะเคลื่อนไหวเฉลี่ยประมาณ 200 ครั้งต่อวัน และจะเคลื่อนไหวสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ จากนั้นจะค่อยๆลดลงก่อนคลอดเนื่องจากทารกตัวโตขึ้นเนื้อที่ในมดลูกน้อยลง น้ำคร่ำลดลง หรือทารกนอนหลับ (Sadovsky et all, 1971) ทารกจะดิ้นมากในช่วงตื่นเฉลี่ยนาน 40 นาที และดิ้นน้อยในช่วงหลับเฉลี่ย 23 นาที ดังนั้นภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าทารกไม่มีการเคลื่อนไหวถือว่าเป็นความผิดปกติที่ต้องตรวจสอบปัจจัยที่ทำให้ทารกดิ้นน้อยลงคือภาวะพร่องออกซิเจนการเคลื่อนไหวถือว่าเป็นความผิดปกติที่ต้องตรวจสอบปัจจัยที่ทำให้ทารกดิ้นน้อยลงคือภาวะพร่องออกซิเจน ยาบางชนิด วงจรหลับตื่นของทารก การรับรู้ของมารดา ท่าของทารก และระดับกลูโคสในกระแสเลือด

วัตถุประสงค์

1.ตรวจสอบสุขภาพของระบบประสาทส่วนกลางของทารก

2.ตรวจสอบการมีชีวิตของทารกในครรภ์

3. ตรวจสอบภาวะขาดออกซิเจนของทารก

การพยาบาล

การตรวจนับจำนวนเด็กดิ้น เป็นสิ่งที่หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติด้วยตนเองตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป พยาบาลจึงควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเข้าใจและรับรู้ประโยชน์ของการนับ อธิบายขั้นตอนการตรวจนับการทำบันทึกที่ถูกวิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มั่นใจในสุขภาพของทารก วิธีการนับที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ

  1. ระบบของซาโดฟสกี้ (Sadovsky)

วิธีนับผลรวมของการดิ้นของทารกในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง จะต้องดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง โดยแบ่งการนับเป็น 3 ช่วง ครั้งละ 1 ชั่วโมงหลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น และในแต่ละช่วงถ้าทารกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้ง ควรนับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง

การแปลผล

  1. จำนวนทารกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ใน  12 ชั่วโมง ถือเป็นสัญญาณอันตราย
  2. ในกรณีที่พบว่าทารกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมง และนับต่อไปอีก 1 ชั่วโมงแล้วทารกยังคงดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้ง ให้ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องพบแพทย์ทันที

2.วิธีของ Peason เรียกว่า Cardiff count to ten

วิธีนี้ให้หญิงตั้งครรภ์นับและบันทึกการดิ้นของทารกในครรภ์ไปจนครบ 10 ครั้ง โดยบันทึกเวลาตั้งแต่เริ่มนับ และเวลาที่นับครบ 10 ครั้ง

การแปลผล

ระยะที่ทารกดิ้นครบ 10 ครั้ง ไม่ควรใช้เวลาเกิน 12 ชั่วโมง

การตรวจ Fetal Biophysical Profile

คือการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจวัดการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของทารกที่ถูกกระตุ้นและควบคุมด้วยระบบประสาทส่วนกลาง (Biophysical activity) 4 ตัวแปร (การหายใจ,การเคลื่อนไหว, แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อ ,การเต้นของหัวใจทารก) ร่วมกับการวัดปริมาณน้ำคร่ำอีก 1 ตัวแปร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์

วิธีการตรวจ

  1. เตรียมหญิงตั้งครรภ์ในท่านอน Semi-fowler ตะแคงซ้ายเล็กน้อย
  2. ใช้ Ultrasound ตรวจวัดข้อมูล 5 ตัวแปรที่ต้องการ
  3. กำหนดค่าคะแนนของแต่ละข้อมูล ข้อละ 2 คะแนน (เมื่อพบว่าปกติให้ 2 คะแนนและให้ 0 คะแนนเมื่อพบว่าผิดปกติ)

ข้อมูลและเกณฑ์ (คะแนน =2 ) มีดังนี้ *** ออกสอบ

  1. การหายใจของทารกในครรภ์ ตรวจพบการหายใจอย่างน้อย 1 ครั้งนาน 30 วินาที ในรอบการสังเกตนาน 30 นาที
  2. การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ มีการขยับตัวหรือเคลื่อนไหวแขนขาอย่างน้อย 3 ครั้งใน 30 นาที ของการสังเกต
  3. แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อมีการเหยียดตัว กางแขนขา และหดกลับอย่างรวดเร็ว หรือกำ และคลายมือ อย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 30 นาที ของการสังเกต
  4. การเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ มีอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นไม่มากกว่า 15ครั้ง/นาที ภายหลังการเคลื่อนไหวและพบอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 1 แห่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร
  5. ปริมาณน้ำคร่ำตรวจพบโพรงน้ำคร่ำอย่างน้อย 1 แห่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร

การแปลผล

คะแนน 8-10 คะแนน แสดงว่า ปก ไม่มีภาวะเสี่ยงควรตรวจซ้ำใน 1 สัปดาห์

คะแนน 6 คะแนน แสดงว่า มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดภาวะออกซิเจนเรื้อรังของทารก,ควรตรวจซ้ำใน 4-6 ชั่วโมง

คะแนน 4 คะแนน แสดงว่า มีภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง

คะแนน 0-2 คะแนน แสดงว่า มีภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังอย่างรุนแรง ควรให้มีการคลอดโดยเร็ว

 

 

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น