A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การเปลี่ยนแปลงในระยะตั้งครรภ์ผิดปกติ

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสรีรวิทยาของหญิงตั้งครรภ์

ระบบสืบพันธุ์ (reproductive system)

  1. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและช่องคลอด (Vulva and vagina) จะขยายใหญ่จากการกระตุ้นของฮอร์โมน estriol ทำให้มีเลือดมาหล่อเลี้ยงและเกิดการคั่งของเลือดในอุ้งเชิงกรานมากขึ้น มีผลให้ผิวหนังของช่องคลอดเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีม่วง เรียกว่า Chadwick’s signs
  2. ปากมดลูก (Cervix) มีความนุ่มเพิ่มขึ้นเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำ เพราะมีเลือดไปเลี้ยงเพิ่มเรียกว่า Goodell’s signs ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนและเอสโตรเจน และฮอร์โมนเอสโตรเจนยังมีผลไปกระตุ้นต่อมบริเวณปากมดลูกให้สร้างเมือกที่มีลักษณะขุ่นข้นมาปิดบริเวณปากมดลูก ซึ่งเรียกว่า Mucous plug หรือ cervical plug ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก
  3. มดลูก (Uterus) คามจุเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เท่า และมีน้ำหนักเพิ่มประมาณ 30 เท่าเกิดจากการขยายตัวของเซลล์ กล้ามเนื้อมดลูก (Myometrail cell) การผลิตเซลล์ใหม่ของเนื้อเยื่อ ไฟบัรส (Fibrous tissue) และการเพิ่มขึ้นของเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ (Elastic tissue)

-         มดลูกจะหมุนไปทางขวาเนื่องจากถูกเบียดด้วยลำไส้ส่วนกลาง (Sigmoid colon และ rectum) มีผลให้หญิงตั้งครรภ์เกิดอาการปวดหลัง จากการยืดของกล้ามเนื้อมดลูก (broad ligament)

-         มีการหดรัดตัวเป็นระยะ ไม่สม่ำเสมอ และไม่รู้สึกเจ็บ เรียกว่า Braxton Hicks contraction ผลมาจากเอสโตรเจน เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนกลับของหลอดเลือดไปยังรก และช่วยในการไหลเวียนเลือดของทารก ทำให้ได้รับออกซิเจนมากขึ้น ต่อมา 1-2 สัปดาห์ก่อนคลอดจะมีการหดรัดตัวมากขึ้นจนกระทั่งรู้สึกเจ็บแต่ไม่สม่ำเสมอและไม่มีการเปิดขยายของปากมดลูก เรียกว่า การเจ็บเตือน (false labour pain) ต่อมามีอาการเจ็บเพิ่มขึ้น ร่วมกับการเปิดขยายของปากมดลูก เรียกการหดรัดตัวนี้ว่า การเจ็บจริง (True labour pain)

  1. ท่อนำไข่ (Fallopian tube) ท่อนำไข่จะมีการขยายตัวใหญ่ และยาวขึ้น
  2. รังไข่ (Ovaries) ในระยะ 8 ถึง 10 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ corpus luteum จะทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน หลังจากนั้นเมื่อรกเจริญเต็มที่แล้วจะทำหน้าที่ผลิตแทนคอรส์ปัสลูเตียมก็จะลดหน้าที่ลง ในไตรมาสแรกถ้ามีการทำลายคอร์ปัสลูเตียมก่อนสัปดาห์ที่ 7 จะทำให้ระดับโปรเจสเตอโรนลดลง และเกิดการแท้งได้
  3. เอ็นยึดข้อต่อของกระดูกและอวัยวะในอุ้งเชิงกราน (Ligament and joints of pelvic organs) จะยืดขยายและนุ่มขึ้น ซึ่งอาจมีผลทำให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกปวดเมื่อยและเดินไม่ถนัด
  4. เต้านม (Breasts) จะขยายใหญ่ขึ้นจากเอสโตรเจน ทำให้มีการเจริญของ glandular tissue และ Ducts และโปรเจสเตอโรน จะกระตุ้นเกี่ยวกับ secretory function ของเต้านม

-         6 สัปดาห์แรก เต้านมจะใหญ่ขึ้น เจ็บตึงคล้ายมีของแหลมมาแทง (Pricking sensation) บางครั้งคล้ายมีก้อน (Nodular)

-         12 สัปดาห์ จะมีสีคล้ำ บริเวณรอบๆหัวนม (Primary areola) เส้นผ่าศูนย์กลางจะขยายไปถึง 3 นิ้วมีลักษณะชุ่มชื้นและใหญ่ขึ้น สัปดาห์ที่ 8 ขึ้นไปจะมีตุ่มเล็กๆประมาณ 12-30 ตุ่มบริเวณ Primary areola ซึ่งเป็นตุ่มของ sebaceous gland เรียกว่า Montgomery’s tubercles ทำหน้าที่ให้หัวนมอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น

-         16 สัปดาห์ ขอบเขต pigmentation จะขยายกว้างออกไปจาก primary areola เรียกว่า secondary areola และมี colostum

-         ระยะใกล้คลอด เต้านมจะเจริญเต็มที่ การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น colostum และ duct จะขยายเพราะมี colostum อยู่ alveoli พร้อมที่จะขับน้ำนม

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น