A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

ระบบทางเดินหายใจ (respiratory system)

เขียนโดย A Rai Naa >>>

ระบบทางเดินหายใจ (respiratory system)

-         ต้องการออกซิเจนมากขึ้น 15 % (30 มล.ต่อนาที) เพื่อให้ได้ปริมาณออกซิเจนเพียงพอกับความต้องการของมารดาและทารกในครรภ์

-         หลอดเลือดฝอยจะขยายตัวจากผลของเอสโตรเจนทำให้มีการคั่งของน้ำและเลือดเกิดเลือดกำเดาไหลได้

-         มดลูกมีขนาดใหญ่เบียดกระบังลมให้สูงขึ้นทำให้อกขยายออกทางด้านข้างความจุปอดเพิ่มมากขึ้น

-         โปรเจสเตอโรนทำให้เส้นเลือดและกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมคลายตัวทำให้หายใจเร็วและแรง

 

ต่อมไร้ท่อ (Endocrine syetem)

  1. รก (Placenta) ฮอร์โมนที่สร้างจากรก มีรายละเอียดดังนี้

Protien hormone ที่สร้างจากรก ได้แก่

-         Human chorionic gonadotrophin (HCG) สร้างโดย cytotrophoblast ของ Chorionic villi ฮอร์โมนนี้ขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จึงใช้ในการตรวจสอบการตั้งครรภ์ได้

-         เอสโตรเจน รกสร้างตั้งแต่สัปดาห์ที่ 6-12 หลังทารกคลอดแล้วเอสโตรเจน จะลดลงทำให้พิทูอิตารีส่วนหน้าผลิต prolactin เป็นการเนิ่มการสร้างน้ำนม และ estriol ซึ่งใช้เป็นตัวบอกหน้าที่ของรกได้ หากรกมีสภาพดี ทารกมีสุขภาพดี estriol ก็จะมีปริมาณสูง เอสโตรเจนมีผลต่อหญิงตั้งครรภ์ดังต่อไปนี้

-         เพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อมดลูกและเพิ่มปริมาณเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกและรก

-         เพิ่มการคั่งของน้ำโซเดียมมีผลให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นเพื่อให้เลือดมากเพียงพอที่จะเลี้ยงมดลูกและรก

-         ทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้ออ่อนตัว (Softeneffect) ทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นยืดขยายตัวได้มากขึ้น มีผลให้หลังแอ่น ปวดหลัง และถ่วงบริเวณกระดูกหัวเหน่า

-         กระตุ้นให้มมีการสะสม melanin pigment ในเนื้อเยื่อทำให้สีผิวเข้มขึ้น เช่นที่ใบหน้า (Chloasma) ลานนม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และบริเวณเส้นกลางลำตัวจากลิ้นปี่ถึงหัวเหน่า (Linea nigra)

-         ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกใหญ่ขึ้น

-         กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนม และหัวนม ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่และคัดตึง

-         เพิ่มจำนวน fibrinogen ขึ้นร้อยละ 50  ทำให้เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น

-         ลดการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารทั้ง HCI และ pepsin ทำให้อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ จุกเสียดยอดอก และลดการดูดซึมไขมัน

-         กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกและฤทธิ์นี้ถูกยับยั้งจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

-         กระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ทำให้มีน้ำลายเพิ่มขึ้น

-         กระตุ้นการสร้างสารคัดหลั่ง (Secretion) ในช่องคลอด

-         กระตุ้นการสร้างสาร prostaglandin ในระยะไตรมาสที่ 3 ทำให้มดลูกไวต่อการกระตุ้น ด้วย Oxytocin

-         มีผลด้านอารมณ์ทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ง่ายและมีอารมณ์ทางเพศ (Libido) เพิ่มขึ้น

 

โปรเจสเตอโรน

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ฮอร์โมนนี้ผลิต จากคอปัสลูเตียมจนถึงอายุครรภ์ 10 สัปดาห์แรกจะเริ่มสร้างฮอร์โมนนี้ทดแทนตั้งแต่ตั้งครรภ์อายุ 7 สัปดาห์ เพื่อเป็นผลให้ deciduas คงอยู่ภายหลังทารกคลอดแล้ว โปรเจสเตอโรนจะลดจำนวนลงและจะถูกขับออกทางปัสสาวะในรูปของ pregnanediol โปรเจสเตอโรน มีผลต่อหญิงตั้งครรภ์ ดังนี้

-         กระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุผนังมดลูกเพื่อรองรับการฝังตัวของทารก

-         ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว การหดรัดตัวของมดลูกลดลง และลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้แน่นท้อง ท้องอืด ท้องผูกได้ง่ายและมีผลทำให้ท่อปัสสาวะคลายตัว เกิดการคั่งของปัสสาวะทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย

-         กระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมและท่อน้ำนม ทำให้เต้านมคัดตึง

-         มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลางทำให้มีความรู้สึกอ่อนเพลียเหนื่อยง่ายกว่าปกติ

-         มีผลต่ออุณหภูมิของร่างกายโดยจะสูงขึ้น ทำให้รู้สึกร้อนเหงื่อออกง่าย

Human placental lactogen (HPL) เริ่มสร้างตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 และสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ฮอร์โมนนี้มีหนี่

-         ยับยั้งการทำงานของอินซูลินทำให้ลดการใช้น้ำตาลของมารดาเพื่อนำกลูโคสไปสู่ทารกในครรภ์เพิ่มขึ้น

-         กระตุ้นกรเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

-         ลดการเผาผลาญโปรตีนในนมมารดา

-         ลดการสร้างและหลั่งน้ำนม

ต่อมพิทูอิตารี่ (Pituitary gland) จะมีขนาดใหญ่ขึ้น จากเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมพิทูอิตารี่ มีดังนี้

  1. Growth hormone สร้างจากกลีบหน้าของต่อมพิทูอิตารีซึ่งมีผลต่อเมตาบอลิซึมของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน จะลดลงในระหว่างการตั้งครรภ์ และกลับสู่สภาพเดิม ภายหลังคลอด 6-8 สัปดาห์
  2. Prilactin hormone ทำหน้าที่สร้างน้ำนมให้กับเซลล์สร้างน้ำนม (acini cells) ของ เต้านมแต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนมได้ เพราะถูกยับยั้งจากโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจนจนกระทั่งในระยะหลังคลอด เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง โปรแลคตินจึงสามารถสร้างน้ำนมได้
  3. Oxytocin hormone สร้างจากกลีบหลังของต่อมพิทูอิตารี่มีผลให้มดลูกหดรัดตัวช่วยก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์และเร่งคลอดระดับฮอร์โมนจะสูงสุดขณะเบ่งคลอด
  4. รังไข่ (Ovary) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะถูกสร้างจากรังไข่ ในระหว่างสัปดาห์ที่ 10-12 ของการตั้งครรภ์เพื่อที่จะให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป คอปัสลูเตียมของรังไข่จะสร้างฮอร์โมนรีแลกซิน (Relacin hormone) มีผลทำให้กระดูกอ่อน (cartilage) ของกระดูกหัวเหน่า และข้อต่อต่างๆ คลายตัวและนุ่มขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
  5. ตับอ่อน (Pancreas) ในระยะแรกเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากรกมีผลทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์การผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากขึ้นแต่ความสามารถในการใช้ลดลง เนื่องจากเป็นกลไกป้องกันการสะสมน้ำตาลกลูโคส จึงทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการคล้ายเบาหวาน (diabetes like) ได้
  6. ต่อมธัยรอยด์ (Thyroid gland) สร้างฮอร์โมน thyroxin เพิ่มขึ้นโดยการทำงานของ ต่อมจะเพิ่ม 20% ระดับฮอร์โมน T4 จะเพิ่มขึ้น แต่ T3 ลดลงมีผลให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น 25% ทำให้ชีพจรเร็ว หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก ทนต่ออากาศร้อนได้น้อย
  7. ต่อมพาราธัยรอยด์ (Parathyroid gland) พาราธัยรอยด์ฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการตอบสนองของร่างกายที่ต้องการแคลเซียม เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  8. ต่อมหมวกไต (adrenal gland) ผลิตฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroid hormone) เพิ่มขึ้นได้แก่ฮอร์โมนคอร์ติโซน (Cortisone)ช่วยในการสังเคราะห์น้ำตาล ทำให้ทารกได้รับน้ำตาลกลูโคสอย่างเพียงพอ รวมทั้งอาการแสบร้อนในอก (heart burn) และท้องลายอาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มระดับของฮอร์โมนคอร์ติโซนด้วยส่วนอัลโดสเตอร์โรน (Aldosterone) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันการสูญเสียโซเดียมจากอิทธิพลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
  9. การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม (Metabolism adaptation) มีดังนี้
  10. เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate metabolism) ในระยะแรกการเพิ่มของอินซูลินทำให้มีการสะสมของกลัยโคเจนในเนื้อเยื่อมากขึ้น และในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์รกสร้างฮอร์โมนที่มีฤทธิ์เป็น antagonist ต่ออินซูลินขึ้น ทำให้ความดื้อต่ออินซูลินมีมากขึ้นประสิทธิภาพของอินซูลินในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ลดลง หญิงตั้งครรภ์จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นเบาหวานได้ง่าย เรียกว่าการตั้งครรภ์เป็น diabetogenic state
  11. เมตาบอลิซึมของโปรตีน (Protein metabolism) โปรตีนจะถูกสังเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อสนองความต้องการของเนื้อเยื่อต่างๆ ที่เจริญขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ต้องการมากที่สุดในไตรมาสที่ 3
  12. เมตาบอลิซึมของไขมัน (Fat metabolism) ไขมันในโลหิตจะเพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ระดับคลอเรสเตอรอลจะสูง และจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด ในไตรมาสแรกอาจมีอาการแพ้ท้องทำให้มีการนำไขมันมาใช้ ซึ่งทำให้เกิดภาวะคีโตนคั่งในโลหิต (Ketonemia) และในปัสสาวะ (Ketoneuria) ได้
  13. แมตาบอลิซึมของแร่ธาตุต่างๆ (mineral metabolism) ธาตุเหล็ก ร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ถึง 800 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเฉพาะในไตรมาสที่สามจึงจำเป็นต้องให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานธาตุเหล็กในรูปของยาบำรุงเลือดในไตรมาสที่สองและตลอดไปจนถึงระยะหลังคลอด
  14. ทองแดง ในพลาสมาเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์เชื่อว่าเป็นผลของเอสโตรเจน
  15. แคลเซียม ในระหว่างตั้งครรภ์จะลดลงเล็กน้อยร่างกายต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
  16. การเพิ่มของน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดตลอดระยะตั้งครรภ์ประมาณ 10-12 กิโลกรัม (ไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นประมาณ 1 กิโลกรัม ไตรมาสที่ 2 และ 3 เพิ่มประมาณ 5 กิโลกรัม) น้ำหนักควรจะขึ้นประมาณสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัมในไตรมาสที่ 2 และ 3
  17. การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำ ในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการคั่งของน้ำเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณน้ำในเซลล์และน้ไนอกเซลล์ โดยที่น้ำจะสะสมอยู่ในเลือด มดลูก เต้านม น้ำคร่ำ รก และทารก โดยปกติน้ำจะเริ่มคั่งเมื่อ ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 30 สัปดาห์ ซึ่งทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการบวมกดบุ๋ม (Pitting edema) ที่บริเวณเท้าและข้อเท้า

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น