A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

อาการและอาการแสดงของ thalassemia

เขียนโดย A Rai Naa >>>

อาการและอาการแสดงของ thalassemia

1.       Thalassemia major : Hb < 5 gm%  ซีด ตัวเหลือง ตับ+ม้ามโต Thalassemia face พบใน homozygous ของ β-thal / Hb E

2.       Thalassemia intermedia : Hb 6-8 gm% ซีดปานกลาง ตาเหลือง ตับ+ม้ามโต

3.       Thalassemia minor : ไม่มีอาการ พบใน α Thalassemia trait และ β – Thalassemia trait

 

การวินิจฉัย

1.       อาการและอาการแสดง

2.       ตรวจแยก Hb

3.       DNA mapping

 

แนวทางการรักษา

 

1.       β-Thalassemia

1.1   การให้เลือด

1.2   การให้ยาขับเหล็ก

2.       α-Thalassemia

2.1   Hb bart’s

-          ประเมินสภาพ เฝ้าระวัง ภาวะ PIH, Eclampsia

-          ยุติการตั้งครรภ์

2.2   Hb H disease

-          ให้กรดโฟลิค

-          ให้เลือด ถ้า Hb < 10 gm%

3.       พาหะของโรค

3.1   ให้กรดโฟลิค เสริม 1 มก.

3.2   ให้คำแนะนำ

 

การพยาบาล

 

1.       การให้คำปรึกษาก่อนสมรส

-          เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม ถ้าบิดา มารดาเป็น จะทำให้บุตรมีความผิดปกติ

2.       ระยะตั้งครรภ์

-          คัดกรอง OF-Test, DCIP

-          ให้การดูแลใรคลินิกเสี่ยงสูง

-          ให้ยาช่วยสร้างเม็ดเลือด

-          ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์

3.       ระยะคลอด

-          มักได้รับการช่วยคลอด

-          เตรียมช่วยเหลือทารกแรกเกิด

4.       ระยะหลังคลอด

-          ป้องกันการติดเชื้อ

-          การหายของแผลลดลง

-          การหลั่งน้ำนมลดลง

-          การรับประทานอาหารและยา

5.       การให้คำแนะนำเมื่อกลับบ้าน

-          การมาตรวจตามนัด

-          ระวังการติดเชื้อ

-          การรับประทานอาหาร งดอาหารที่มีธาตุเหล็ก

-          การสังเกตอาการผิดปกติ

-          การวางแผนครอบครัว

-          การพาบุตรมารับภูมิคุ้มกัน

-          การสังเกตพัฒนาการ + อาการผิดปกติของบุตร

 

การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหอบหืด

 

หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่มีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นชนิดต่างๆเพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดตัว หลั่งมูกออกมามากขึ้น และเยื่อบุหลอดลมบวม ซึ่งแสดงออกโดยการหายใจออกลำบากมากกว่าการหายใจเข้า

 

สาเหตุ

 

แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1.       Extrinsic asthma เกิดจากการแพ้สารภายนอก เช่น เกสรดอกไม้ อาหารต่างๆ ขนสัตว์ เป็นต้น

2.       Intrinsic asthma โรคหอบหืดที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการแพ้ อาจเกิดได้จากสาเหตุนำหลายอย่าง คือ

2.1   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

2.2   การติดเชื้อของทางเดินหายใจทำให้มีการระคายเคืองของหลอดลมและทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว

2.3   การออกกำลังกาย อาจเนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น มีคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดน้อย มีกรดแลคติคสะสมอยู่มาก หรือการปล่อยสาร mediators เนื่องจากการสั่นสะเทือน อย่างมากระหว่างการออกกำลังกาย

2.4   การสูบบุหรี่ อากาศเย็น อาหารเป็นพิษ ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัวและระคายเคืองต่อทางเดินหายใจอย่างมาก

2.5   การมีออกซิเจนในกระแสเลือดน้อย หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์มาก ทำให้เกิดหลอดลมหดเกร็งตัวจากปฏิกิริยาการตอบโต้ของ carotid bodies

2.6   การใช้ยามากเกินไป เช่น Isoproterenol ยาระงับประสาทและยาแก้ปวด ซึ่งอาจทำให้การหายใจเบาตื้น ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว

2.7   อารมณ์ตึงเครียด ความกลัว ความโกรธ หรือตื่นเต้น

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น