เทคนิคการแพทย์ เป็นอย่างไร? - เทคนิคการแพทย์ เป็นอย่างไร? นิยาย เทคนิคการแพทย์ เป็นอย่างไร? : Dek-D.com - Writer

    เทคนิคการแพทย์ เป็นอย่างไร?

    เทคนิคการแพทย์ เป็นคณะที่เด็กม.ปลายหลายคนสนใจอยากเรียน แต่ไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ก็เลยเกิดเครื่องหมายคำถามในใจของเด็กจำนวนมาก

    ผู้เข้าชมรวม

    83,033

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    83.03K

    ความคิดเห็น


    592

    คนติดตาม


    19
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 มี.ค. 48 / 00:34 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      บทความโดย owen11_today@hotmail.com

      ตอนที่ 1
      -----------------------------------------------

      เพื่อให้เกิดความเข้าใจตั้งแต่แรกเกี่ยวกับวิชาชีพนี้
      พี่ก็ขอบอกตั้งแต่ประวัติเริ่มแรกที่มีการก่อตั้งการเรียน วิชาชีพนี้ในประเทศไทย

      ศาสตราจารย์ นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์
                    ปีพุทธศักราช 2487 คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
      (มหาวิทยาลัยมหิดลปัจจุบัน)
      ขาดแคลนบุคลากรที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
      จึงโยกย้ายนพยาบาลบางส่วนมาฝึกหัดตรวจวิเคราะห์
      ก่อให้เกิดปัญหาการใช้บุคลากรไม่ตรงตามเป้าหมายการผลิต
      หลวงลิปิธรรมศรีพยัตต์ (ลิ ศรีพยัตต์)
      ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลขณะนั้น
      ได้นำปัญหาดังกล่าวเสนอพระอัพภันตราพาธพิลาศ (กำจร พลางกูร)
      อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
      จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาปัญหาและร่างหลักสูตร
      เพื่อผลิตบุคลากรที่ตรงตามสายงาน แต่โครงการต้องระงับไป
      เพราขาดแคลนงบประมาณเนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพอดี
                    ปีพุทธศักราช 2497 หลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์ ( ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส)
      อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คนต่อมา ได้รื้อฟื้นโครงการขึ้นมาใหม่
      โดยขอความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID
      ในปัจจุบัน) ซึ่งได้รับการตอบสนองให้ความสนับสนุนด้วยดี
      ทางมหาวิทยาลัยจึงร่างหลักสูตรตามแบบที่ใช้ในประเทศอเมริกาขณะนั้น
      คือรับบุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
      มาฝึกอบรมระดับอนุปริญญาต่ออีก 3 ปี
      และเพื่อเตรียมความพร้อมในหลักสูตรดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2498 มหาวิทยาลัย
      แพทยศาสตร์ได้ส่ง นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ และ นพ.เชวง เดชะไกศยะ
      ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเทคนิคการแพทย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 1 ปี


      ศ.นพ.เชวง เดชะไกศยะ
      ผู้บริหารโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นคณะเทคนิคการแพทย์
      มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ รุ่นแรกมี ศ.นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดี
      และหัวหน้าภาควิชาเคมีคลินิกไปด้วย ส่วนศ.นพ.เชวง เดชะไกศยะ เป็นรองคณบดี
      และหัวหน้าภาควิชาคลินิคัลไมโครสโคปี เป็นผู้ดูแลบริหารงานคณะเทคนิคการแพทย์
      ส่วนที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยคณะเป็นผู้ให้บริการห้องปฏิบัติการกลาง
      แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย จนกระทั่งถูกคำสั่งคณะปฏิวัต
      ิสั่งโอนไปเป็นภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตร ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ในพ.ศ.2514 และ
      ศ.น.พ.เชวง เดชะไกศยะ ยังได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา อยู่ระยะหนึ่ง
      จึงเปลี่ยนเป็นท่านอื่น และเป็นที่น่าเสียใจ ทีีทั้งสองท่านได้ล่วงลับไปแล้ว
      จึงขอนำรูปของท่าน มาให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกัน
                    องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
      ได้ให้ความเห็นชอบโครงการผลิตบุคลากร
      เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
      ที่มหาวิทยาลัยแพทย์ขอรับการสนับสนุน โดยได้ลงนามให้ความช่วยเหลือ
      เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2499
      และเริ่มก่อสร้างโรงเรียนเพื่อฝึกอบรมขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
      มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พร้อมกันนั้น
      องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่ง Dr.Robert W.
      Prichard มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยมี นพ.สวัสดิ์ แดงสว่าง, พันโทนิตย์
      เวชชวสิสติ, ศาสตราจารย์ นพ.กำธร สุวรรณกิจ และ นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์
      เป็นคณะกรรมการร่างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้ใช้ชื่อว่า
      \\\"เทคนิคการแพทย์\\\" หลักสูตรในระยะแรก ตั้งแต่รุ่นที่ 2 ถึงรุ่นที่ 7
      มีการสอนถ่ายภาพเอกซ์เรย์และล้างฟิล์มร่วมด้วย

                    นักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทย รับโอนมาจากนักศึกษาชั้นปีที่
      1 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มาเรียนเตรียมเทคนิคการแพทย์ปีที่ 1
      โดยใช้สถานที่และอาจารย์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
      (คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน)
      ซึ่งนักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทยมีเพียง 5 คนเท่านั้น
      วันที่ 13 พฤษภาคม 2499 มีประกาศกฤษฎีกาจัดตั้ง
      \\\"โรงเรียนเทคนิคการแพทย์\\\" สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
      กระทรวงสาธารณสุข (ลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 73 ตอนที่ 40
      วันที่ 15 พ.ค.2499) โดยมีภารกิจหลัก 2 ประการคือ
      จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตนักเทคนิคการแพทย์
      และให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช
      และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นักศึกษาเทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทย
      สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.) เมื่อเดือนมีนาคม
      2500

      ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ยังมีชื่อ \\\"โรงเรียนเทคนิคการแพทย์\\\" ปรากฎอยู่ด้านหลัง
                   ต่อมา ็มีประกาศกฤษฎีกาจัดตั้ง \\\"คณะเทคนิคการแพทย์\\\" เมื่อวันที่ 29
      มิถุนายน 2500 (ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ตอนที่ 60 วันที่ 9
      ก.ค.2500) โดยมี นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดีท่านแรก
      ซึ่งนับเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์เทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย
      นับแต่นั้นเป็นต้นมา
                  ปีพุทธศักราช 2503 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
      ได้ปรับขยายหลักสูตรจากอนุปริญญา เป็นระดับปริญญาตรี
      (ปรับก่อนประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 2 ปี) โดยรับนักศึกษาอนุปริญญาปีสุดท้าย
      ที่มีคะแนนตลอดหลักสูตรเกิน 70% มาศึกษาต่ออีก 1 ปี ได้วุฒิวิทยาสตรบัณฑิต
      (เทคนิคการแพทย์) ซึ่งบัณฑิตรุ่นแรกที่มีคุณวุฒิ วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)
      มีเพียง 3 คนเท่านั้น
                  จากวันนั้น ถึงวันนี้ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ของเรา
      ได้หยั่งรากลึกในหน้าประวัติศาสตร์มาแล้วกว่าสี่ทศวรรษ
      จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพียงแห่งเดียว
      ได้แตกดอกออกกอไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
      จากบัณฑิตรุ่นแรกทีมีเพียง 3 คน ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นหลายพันคน
      กระจายกันออกไปรับใช้สังคมอยู่ในส่วนต่างๆ ของประเทศ
      นี่ย่อมเป็นประจักษ์พยานบ่งชี้ว่า วิชาชีพเทคนิคการแพทย์
      มีบทบาทสำคัญต่อระบบสุขภาพของคนไทยมาช้านานแล้ว
                                                (เรียบเรียงจากหนังสือรับน้องเทคนิคการแพทย์
      มหิดล รุ่นที่ 46 และรุ่นที่ 47)
      \\\"พวกเราชาวเทคนิคการแพทย์ ทั้งหลาย บางท่าน อาจไม่ทราบความจริงว่า
      เราได้ต่อสู้ทุกวิถีทาง โดยเฉพาะท่านอดีตคณบดีฯ (ศ.นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์)
      ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบุกเบิก ต่อสู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ
      จนกระทั่งพวกเราได้มีวันนี้ และหวังว่าท่านทั้งหลาย คงจะต้องต่อสู้กันต่อไป
      ด้วยความพากเพียร เพื่อให้วิชาชีพ ของพวกท่านทั้งหลาย ได้เจริญรุ่งเรือง
      ก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง\\\"
      ศ.นพ.เชวง เดชะไกศยะ
      หนึ่งในผู้วางรากฐานวิชาชีพ
      (ตัดตอนจากบทความเรื่อง \\\"30 ปีของเทคนิคการแพทย์\\\" อนุสรณ์ครบรอบ 30 คณะเทคนิคการแพทย์
      มหิดล)        

                  ประวัติศาสตร์ของเรา เริ่มต้นมาอย่างยาวนาน มีบุคคลสำคัญที่คอยประคับประคอง
      เกื้อหนุนให้วิชาชีพของเราพัฒนา ก้าวหน้าเรื่อยมา
      หากไม่มีก้าวแรกแห่งการเสียสละ อุทิศกายใจ ของใครบางคนเมื่อหลายทศวรรษก่อน
      ย่อมไม่มีก้าวที่สอง,สาม,สี่... ที่ก้าวมาถึงปัจจุบันได้
                

      ตอนที่ 2
      ----------------------------------------------------------------

              
        ประวัติอันมากมายยาวนานเกี่ยวกับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์นี้
      พี่ได้คัดลอกมาเพื่อว่าให้น้องๆที่ได้อ่านรู้สึกดี
      สนใจในวิชาชีพนี้และเห็นคุณค่าในวิชาชีพที่มีส่วนช่วยเหลือประชาชน
      ก่อนที่พี่จะเล่าการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยต่อมา
                
                 ในการสอบเข้าสาขานี้น้องๆม.ปลายต้องใช้คะแนนสอบ 7 วิชาหลัก
      เหมือนคณะทางด้านสายการแพทย์อื่นๆ + กับการสอบสัมภาษณ์
      และการตรวจร่างกายต่อมา

                   พี่ขอแนะนำตัวก่อนนะ พี่เรียนอยู่คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิคการแพทย์
      มหาวิทยาลัยมหิดล คณะนี้ส่วนน้อยนะที่คนจะเลือกเป็นอันดับ1
      เพราะเค้าจะเลือก หมอ ทันตะ เภสัช ก่อนเป็นส่วนใหญ่นะ
      พี่ก็ไม่ได้เลือกเป็นอันดับ1 เหมือนกันแหละ พอพี่รู้ว่าพี่ติดคณะนี้
      พี่ก็ยังไม่รู้ว่ามันเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่
      แต่รู้อย่างเดียวมันต้องมีการตรวจพวกเลือด
      และสารต่างๆที่หลั่งมาจากร่างกายคนเรานี่แหละ พี่ก็ถือคติ
      ติดแล้วก็ต้องเรียน เรียนไปเดี๋ยวก็รู้ว่าเป็นอย่างไง พอพี่มาสอบสัมภาษณ์
      พวกอาจารย์เค้าจะถามในเรื่องทั่วๆไปเกี่ยวกับเรา และเกี่ยวกับคณะ
      ไม่อยากอย่างที่คิด แล้วก็มีตรวจร่างกายนะ คณะพี่ตรวจที่ศิริราช
      ก็จะมีตรวจอาทิ ตาบอดสี ตรวจทันตกรรม ตรวจปัสสาวะ และตรวจสุขภาพอื่นๆ
      มีฉายรังสีด้วยนะ
      ที่มีการตรวจร่างกายเพื่อจะเอามาเป็นประวัติสุขภาพของนักศึกษาตอนอยู่ในมหาวิทยาลัยไงจ๊ะ
      อันนี้อย่าไปกลัวนะ ถ้าเราไม่ผิดปกติจากคนทั่วไปก็เรียนได้อยู่แล้ว
        
                    ต่อมาก็มาพูดถึงการเรียนในสาขานี้นะ ถ้าน้องคิดจะเข้ามหาวิทยาลัยมหิดลนะ
      น้องต้องเตรียมตัวเตรียมใจมาด้วยนะ เพราะอย่าคิดว่าเข้ามหาวิทยาลัยจะสบาย
      อิสระ ไม่มีใครมาคอยกักประตูเข้าห้องเรียน เข้าตอนไหนก็ได้ อันนี้ก็จิงนะ
      แต่น้องต้องควบคุมตัวเองให้ได้ในรั้วมหิดลนะ
      เพราะน้องจะพบกับการเรียนที่หนักหน่วงตั้งแต่ปี1 เลย
      เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นด้วยกัน เราจะหนักกว่าเขา
      เพราะมหิดลมีชื่อเสียงด้านการแพทย์ และวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว
      และคณะต่างๆในมหาลัยก็เป็นด้านนี้ทั้งนั้น
      และอีกอย่างเค้าคงอยากให้พวกเรารู้จักการเรียนที่แท้จิงตั้งแต่ปี1
      ว่าเป็นอย่างไง พอปีสูงๆขึ้นเรื่อยๆจะได้ปรับตัวได้ไง
      ในปี1นี้วิชาส่วนมากจะเกี่ยวเนื่องจากมัธยม
      แต่มันจะหนักกว่าตรงที่วิชาที่น้องเคยเรียนม.ปลายมา อาทิ เคมี ชีวะ
      ฟิสิกส์ เรียนมา ม.4-ม.6 ใช้เวลา 3 ปีนะน้อง แต่น้องต้องเรียนพวกนี้ในปี1
      เพียงแค่ปีเดียว คิดดูนะจาก3 ปี เหลือ แค่ ปีเดียว
      แถมเนื้อหายังลึกกว่าอีก อ่านนี่แทบไม่ต้องพูดถึง ไม่ค่อยจะทันกัน
      ในวิชาที่พี่พูดเมื่อกี้นะจะมี GENCHEM1 และ2 + BIOLOGY1 และ2
      +PHYSIC1และ2 และมีวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับคณิต คือ แคลคูลัส
      วิชานี้จะเรียนในเทอม1 ส่วนเทอม2 จะเรียน O.D.E งงล่ะสิตอนแรกพี่ก็งง
      แต่เป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องต่อจากแคลคูลัส ชื่อเต็มว่า ordinary
      differencial equation  แต่มันจะยากและงงกว่าแคล. มาก
      ต้องเข้าเรียนบ่อยๆถึงจะทำได้ไม่งง ในมหิดลจะเรียกวิชานี้ว่า โอเด้
      ก็มาจากODE ชื่อวิชาไง แต่พี่จะเพี้ยนไปเป็นวิชา โอเด็ด
      ทำให้อยากเข้าเรียนบ้างไง  แล้วก็จะมีวิชาพวกLAB  ในปี1 จะมี LAB เคมี
      ชีวะ ฟิสิกส์  แต่ LAB ชีวะจะเรียน2เทอมเลยนะ
      เนื้อหาในLABก็จะเกี่ยวเนื่องกับวิชานี้ใน lecture แลกเชอร์
      ที่เรียนในห้องนะ จะได้เห็นภาพไปด้วยไง และก็มีวิชาด้านสังคม อาทิ MANSO
      แมนโซ หรือ MAN AND SOCIATY  และ ปรัชญา อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ คือ
      ENGLISH ก็จะหนักหนานะ ต้องไปเรียนถึงจะรู้


      ส่วนวิชาที่เป็นที่กล่าวขานมาในปี1 เทอม2 คือ ออเคม ; ORGANIC CHEMISTRY
      หรือ เคมีอินทรีย์ น้องต้องเรียนเกี่ยวกับปฏิกิริยาต่างๆทางเคมี
      และต้องจำให้ได้ด้วย ซึ่งมันจะเยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  นี่ก็เป็นปี1นะ
      เห็นไหมว่าหนักหนาน่าดู อ้อยังมีวิชาอีกคือ sport ก็กีฬานะแหละ
      มันก็มีให้น้องเลือกเรียนนะไม่ว่าจะเป็นว่ายน้ำ ลีลาศ และมีอีกนะ
      เป็นต้นและก็ วิชาmusicก็ดนตรีนะแต่อย่าคิดว่าได้จับเครื่องดนตรีนะ
      ไม่ช่ายเลย เป็นการเรียนแบบ แลกเชอร์ ตอนปิดเทอม
      summer,มีเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ด้วยนะ การตัดเกรดในปี1
      นะคณะพี่ส่วนใหญ่จะตัดเกรดกับ สัตวแพทย์VS  ก็จะมีวิชาพวกแลป
      ออเคมและอังกฤษ ตัดกับทันตะDENT เภสัช PY และวิชาดนตรี ก็จะตัดกับพวกหมอๆ
      ซึ่งสวยหล่อทั้งนั้น คือ หมอศิริราชSI หมอวชิระหรือหมอกรุงเทพBM
      หมอชนบทPI วิชาคอม.ตัดกับทันตะdent หมอชนบท pi วิทย์กีฬา ss
      และกายภาพบำบัด pt ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่อยู่หลังคณะต่างๆ
      เป็นชื่อเรียนย่อแทนคณะ ที่เด็กมหิดลเรียกกันนะ
      พี่บอกน้องๆเพื่อให้ซึมซับความเป็นมหิดลไปทีละนิดๆ
      และเผื่อใครติดมหิดลจะได้ไม่งง ส่วนคณะพี่เรียกว่า MT นะ
      ปี1เป็นปีเดียวที่น้องทุกคณะในมหิดลจะได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้าใน ศาลายา
      เป็นปีที่สนุก ประทับใจมากๆ
      ก่อนจากกันไปเรียนวิชาชีพของตนเองอย่างแท้จริง  


                             ปี2 นะน้องจะเรียนวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับวิชาชีพบ้างแล้วนะ
      แต่ยังเรียนกับทางด้านคณะวิทยาศาสตร์อยู่เหมือนปี1
      ยังไม่ได้เข้าเรียนในคณะจริงๆ
      วิชาส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยคุ้นกันมากนักแต่ก็สามรถนำความรู้เก่ามาใช้ได้บ้างเล็กน้อย
      เช่น microbiology หรือ จุลชีววิทยา – anatomy หรือ
      กายวิภาคศาสตร์  วิชานี้ในแลปจะได้เจออาจารย์ใหญ่นะ –
      physiologyหรือสรีรวิทยา- ออเคม2 ซึ่งต่อมาจากปี1- genetic and
      development  ดูชื่อก็แปลออกนะว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร – eng
      อังกฤษ – ชีวะเคมีbiochem – เคมีวิเคราะห์- patrology
      หรือพยาธิวิทยา

      และก็มีอีกนะ วิชาส่วนใหญ่จะเป็นแลกเชอร์ และ
      แลป ควบคู่กันไป  และในปี2เทอม2  ก็จะได้เรียนวิชาของคณะด้วย
      ก็จะสนุกดี เพราะอาจารย์ในคณะใจดีมาก อายุขนาดเราเรียกป้าได้
      แต่ตอนสอนอาจารย์ส่วนใหญ่เรียกแทนตัวเองว่าพี่
      คิดดูขนาดคณบดีซึ่งเป็นผู้ใหญ่แล้ว  ยังเรียกแทนตัวเองว่าพี่เลยนะ
      เพราะว่ามหิดลตั้งคณะนี้มาที่แรก ก็เก่าแก่มากว่า50กว่าปี ก็ผลิตบุคลากรมามากมาย
      ส่วนใหญ่อาจารย์ที่มาสอนก็เป็นรุ่นพี่ที่เคยเรียนคณะนี้มหาวิทยาลัยนี้ทั้งนั้น
      เลยดูเป็นกันเองมากๆ อบอุ่นมาก ในเทอม 1 ปี 2 ส่วนใหญ่จะตัดเกรดกับ ทันตะdent  และ
      เภสัช py และวิชาอื่นๆก็จะตัดกับ รังสีเทคนิค RT และสาธารณสุข PH พอเทอม2 ก็จะตัดกับ RT
      PH SS และบางวิชาก็ตัดกันเองในคณะด้วย


      บทความโดย owen11_today@hotmail.com

      ยังไม่จบนะครับ ไว้จะมาต่อของปี 3 ขึ้นไปภายหลัง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×