ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อาวุธสงคราม

    ลำดับตอนที่ #17 : อาวุธเชื้อโรคและอาวุธชีวภาพ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.48K
      1
      11 ธ.ค. 50


    อาวุธเชื้อโรค
    ( Bioterrorism weapon )
    อาวุธชีวภาพ ( Biological weapons ) หมายถึง อาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูง ทำให้คนจำนวนมากในพื้นที่กว้างได้รับบาดเจ็บ ป่วย และตาย เป็นอาวุธที่แตกต่างจากอาวุธประเภทอื่น คือ มีการบรรจุสิ่งมีชีวิตไว้ข้างใน ในทางทหารนั้น จุลินทรีย์ที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาวุธชีวภาพได้ ต้องมี คุณสมบัติผลิตง่าย ต้นทุนต่ำมีความคงทนในการผลิต เก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ และเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง
    การรบโดยใช้อาวุธชีวภาพ จะทำได้ 3 วิธีได้แก่ การปล่อยกระจายเป็นแอโรซอล ( Aerosol Method ) โดยการใช้สเปรย์ หรือวัตถุระเบิดให้กระจายอยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันหมอก คาดว่าการปล่อยกระจายวิธีนี้เป็นวิธีหลักที่จะถูกใช้มากที่สุด ส่วนการปล่อยกระจายไปกับสัตว์พาหะจะใช้วิธีการทำให้สัตว์ที่ดูดเลือดเป็นอาหาร ให้ตัวสัตว์นั้นติดเชื้อ แล้วจึงปล่อยให้สัตว์เหล่านั้นเข้าไปในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้สัตว์ที่เป็นพาหะนำสารชีวะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ เช่น ยุง หมัด เห็บ เหา ไร โดยปัจจุบันมีโรคติดต่อร้ายแรงกว่า 100 ชนิด เช่น ไข้เหลือง กาฬโรค ไข้คิว ไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และไข้เลือดออก แต่วิธีการนี้เป็นวิธีรอง ๆ ลงไป
    และสุดท้ายเป็นการใช้วิธีการก่อวินาศกรรม หรือปล่อยกระจายโดยวิธีปกปิด แม้ว่าที่ผ่านมาจะยังไม่มีใครใช้อาวุธชีวภาพโดยเปิดเผย แต่เชื่อว่า การปล่อยกระจายสารอย่างลับ ๆ ในอากาศ น้ำ อาหาร หรืออื่น ๆ เพื่อทำอันตรายมนุษย์ สัตว์ หรือพืชจะทำได้ง่ายกว่า และป้องกันได้ยาก เนื่องจากจะใช้สารชีวะในปริมาณน้อยมาก หากมีการนำสารดังกล่าวไปใช้ต้องมีการซุกซ่อนอย่างดีวิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับสายลับ ผู้ก่อการร้าย และหน่วยรบพิเศษ เป็นวิธีเสริมการปล่อยกระจายด้วยวิธีหลัก
    สำหรับการใช้อาวุธชีวะในสงครามนั้น จุดประสงค์ คือ ผู้ใช้ต้องการทำให้ประชาชน สัตว์เลี้ยง หรือว่า พืชของฝ่ายตรงข้ามป่วยเป็นโรค จนอาจถึงตายได้ โดยการโจมตีมนุษย์เป็นการกระทำโดยตรงเพื่อลดอำนาจกำลังรบ ส่วนการโจมตีสัตว์เลี้ยง และพืชผลเป็นการกระทำทางอ้อมเพื่อต้องการลดขีดความสามารถในการทำสงคราม และยังทำให้เกิดอาการเสียขวัญ การรบและการส่งกำลังบำรุงล้มเหลว
    ส่วนการใช้อาวุธชีวะทำลายในสัตว์ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายทางอ้อมต่อมนุษย์ด้วยการจำกัดปริมาณอาหาร จำกัดสัตว์พาหนะ จำกัดขีดความสามารถในการเพาะปลูก ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามในพืชที่เป็นเป้าหมายหลักในการใช้อาวุธเชื้อโรคทำลายส่วนใหญ่จะเป็นพืชอาหารหลัก พวก ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว มันฝรั่ง ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง มะนาว ฯลฯ และพืชเศรษฐกิจ อย่าง ชา กาแฟ ฝ้าย ยางพารา โดยจะใช้ในพื้นที่ศูนย์กลางการผลิตอาหารทางการเกษตร เพื่อทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอย่างหนัก ในยามสงคราม

    เชื้ออาวุธชีวะอันตราย
    เนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ มีต้นทุนต่ำ ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ระยะฟักตัวสั้น และตรวจสอบได้ยากในฝ่ายศัตรูมีความสามารถในการแพร่กระจายสูง และมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยาได้ดี จึงมีการคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์บางประเภทผลิตอาวุธชีวภาพ เช่น เชื้อ Clostridium botulinum ทำให้เกิดพิษที่ชื่อว่า บอตทูลินั่ม ( Botulinum Toxin ) ซึ่งในปี ค.ศ. 1995 อิรักได้ยอมรับว่าผลิตเชื้อนี้เพื่อใช้เป็นอาวุธชีวภาพ
    นอกจากนี้ก็ยังมีเชื้อ C. perfrigens ซึ่งทำให้เกิดพิษบอตทูลินั่ม ได้เช่นกัน หรือเชื้อ Bacillus anthracis ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์ หรือเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้ทรพิษ อย่างไรก็ตามสำหรับการผลิตเชื้อ จุลินทรีย์เพื่อนำมาผลิตอาวุธชีวภาพนั้น จะใช้วิธีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพอาจจะพัฒนาจุลินทรีย์ได้ เช่น ทำให้ผลิตเอนไซม์หรือสารพิษที่มีอำนาจทำลายล้าง หรือดื้อยาต้าน จุลชีพ หรือวัคซีนมากขึ้น แต่ก็สามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพป้องกันอาวุธชีวะภาพได้เช่นเดียวกัน
    สำหรับจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการผลิตเป็นอาวุธ และเป็นสารชีวะทำอันตรายมนุษย์ คือ แบคทีเรียริคเกทเซีย และไวรัส โดยเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรคติดต่อระหว่างสัตว์ และมนุษย์ เพราะมีข้อได้เปรียบกว่าโรคติดต่อเฉพาะมนุษย์ คือ มีภูมิต้านทานโรคเหล่านี้ต่ำ และแพทย์เองก็ไม่ค่อยชำนาญในการวินิจฉัย และการรักษาโรคเหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังไม่มียาป้องกัน และวิธีการรักษาก็ไม่ได้พัฒนาไปมากนัก
    ส่วนจุลินทรีย์ที่เหมาะสำหรับใช้เป็นสารชีวะทำอันตรายพืช คือ เชื้อรา และไวรัส และจุลินทรีย์ที่เหมาะสำหรับใช้เป็นสารทำอันตรายสัตว์ มีทั้งแบคทีเรีย และไวรัส เช่นเดียวกัน โดยเชื้อจุลินทรีย์และสารพิษหลัก ๆ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพร้ายแรงมี
    เชื้อแบคทีเรีย เช่น แอนแทรกซ์ มีชื่อว่า Bacillus anthracis มีการสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เมื่อตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะบ่มตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างเกราะหุ้มได้ ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ฟักตัวอยู่ในดินนานนับ 10 ปี หากตกอยู่ในพื้นที่ใดจะทำให้พื้นที่นั้น ๆ ไม่สามารถใช้งานทางปศุสัตว์ได้อย่างน้อย 2 – 3 ปี
    เชื้อดังกล่าวจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบเลือด และทางเดินหายใจ เมื่อรับเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัด มีน้ำมูกไหล หลังจากนั้นจะช็อก หมดสติ และเสียชีวิตใน ที่สุด การรักษาทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ การป้องกันทำได้โดยฉีดวัคซีน
    - การใช้เชื้อแอนแทรกซ์เป็นอาวุธ ทำได้โดยการนำเชื้อแอนแทรกซ์ที่เพาะเลี้ยงไว้และเก็บในรูปสารละลายมาฉีดพ่นโดยเครื่องบิน หรือใช้ทำเป็นหัวรบ ซึ่งญี่ปุ่นเคยใช้อาวุธเชื้อโรคแอนแทร็กซ์นี้กับชาวจีนมาแล้วเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2
    - เชื้อ C. botulinum เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสารพิษบอตทูลินั่มทำให้อาหารกระป๋อง เน่าเสีย อาหารเป็นพิษ เชื้อเพียงจุดเล็ก ๆ ก็ สามารถทำลายชีวิตคนได้ถึง 10 คน โดยซึมเข้าทางเยื้อบุ ของร่างกาย เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ เป็นสารที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ผู้ที่ได้รับสารนี้เข้าไปจะไม่มีโอกาสรู้ตัวจนกว่าพิษจะเริ่มแสดงอาการ ผู้รับพิษจะมีอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงคลื่นไส้อาเจียนระบบประสาทจะถูกทำลาย และผู้ป่วยจะเสียชีวิตในที่สุด
    การแก้พิษป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีน หรือใส่หน้ากากป้องกันก๊าซพิษ แต่เนื่องจากพิษของเชื้อโรคดังกล่าวยังสามารถแยกย่อยได้อีก ดังนั้นการป้องกันจึงทำได้ยาก หากไม่ทราบว่าศัตรูจะแพร่พิษ BOTULINUM ชนิดใด ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าถูกใช้ในสงครามมาก่อน
    - เชื้อ Clostridium perfringens เป็นแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้อาหารเน่าเสียและเกิดอาหารเป็นพิษได้ หากแบคทีเรียชนิดนี้เข้าไปอยู่ในบาดแผลที่สกปรกและอากาศเข้าไม่ถึง จะทำให้เกิดก๊าซในบาดแผล เมื่อครั้งที่องค์การสหประชาชาติเข้าทำลายแหล่งอาวุธชีวภาพที่เมืองอัลฮากัม ใกล้กรุงแบกแดกในปี 1996 ได้พบคลังเก็บเชื้อดังกล่าวนี้ด้วย
    - Pasteurella pestis P. pestis ทำให้เกิดกาฬโรค ติดต่อได้เร็วมาก ทำให้ผู้ป่วยเป็น ปอดบวม มีไข้สูงอาเจียน และตายในที่สุด
    - P. tularensis P. tularensis ทำให้เกิดโรค tularemia โดยผู้ป่วยจะไม่ตาย แต่จะทำให้สูญเสียน้ำหนักตัว ปวดศรีษะ ปวดตามร่างกาย และปอดบวม
    - เชื้อรา A. flavus เป็นเชื้อราที่มีอยู่ในธรรมชาติ ชอบขึ้นบนสินค้าเกษตรที่เก็บรักษาไม่ดีส่วนใหญ่อยู่ใน ถั่ว ข้าวโพด พริกป่น สามารถผลิตสารพิษอะฟลาท็อกซิน เป็นสารที่ก่อมะเร็งในตับ ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สารพิษชนิดนี้เป็นอาวุธชีวภาพมากนัก เนื่องจากสารดังกล่าว คือ สารก่อมะเร็ง ในระยะยาว ดังนั้น จึงไม่ใช่อาวุธที่ให้ผลฉับพลัน แต่เป็นการสังหารแบบตายผ่อนส่งมากกว่า เคยมีรายงานว่า พบสารพิษชนิดนี้ถูกบรรจุในระเบิดและหัวรบในแหล่งผลิตอาวุธชีวภาพของอิรัก
    - เชื้อไวรัส ( Virus ) Ebola เป็นสาเหตุของ Ebola hemorrhagic fever (EHF) เกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายมาก
    - Marburg disease เป็น viral hemorrhagic fever เช่น อีโบล่า มีอาการคล้ายกัน ทำให้มีไข้สูง ตกเลือด ผิวหนังเป็นผื่น อาเจียน และเสียชีวิต เป็นโรคที่ถ่ายทอดถึงมนุษย์ ได้จากลิงสีเขียวจาก แอฟริกาที่นำมาใช้เป็นสัตว์ทดลอง
    - Small pox virus หรือโรคไข้ทรพิษ ถูกจำกัดไปจากธรรมชาติแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ทั่วโลกได้หยุดการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ แต่ยังคงมีสองประเทศที่เก็บเชื้อ smallpox ไว้ในห้องปฏิบัติการ คือ อเมริกา และรัสเซีย แต่รัสเซียเริ่มมีปัญหาเนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้เป็นแหล่งอันตรายเพราะหากผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้รับเชื้อ ก็จะทำให้เสียชีวิต 20 – 30% เนื่องจากไม่มียารักษา
    - สารพิษ ( toxin ) สารพิษไรซิน สกัดจากเมล็ดละหุ่ง ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืช สารดังกล่าวจะไปยับยั้งการผลิตโปรตีนของเซลล์ในร่างกาย ผู้ที่ได้รับพิษจะเสียชีวิตเนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้
    ไม่มีวิธีการรักษาหรือรายงานเกี่ยวกับการใช้สารไรซินในสงครามชีวภาพ แต่เคยมีคดีฆาตกรรมเกิดขึ้นในกรุงลอนดอน โดยผู้เสียชีวิตถูกแทงด้วยปลายร่มที่เคลือบสารไรซินขณะที่เหยื่อรอรถอยู่ที่ป้ายรถประจำทาง
    ทั้งนี้โรคที่มีศักยภาพในการใช้เป็นอาวุธชีวะ ซึ่งเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์ และมนุษย์แบ่งได้ 8 ประเภท คือ โรคแอนแทรกซ์, แท้งติดต่อ, กาฬโรค, ไข้รากสาดใหญ่, ไข้ผื่น, ไข้คิว, โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ, ไข้เหลือง ส่วนโรคของสัตว์ที่ใช้อาวุธชีวะทำลายสัตว์ได้มี 5 ประเภท คือ อหิวาห์สุกร, อหิวาห์สุกรแอฟริกา, โรคปากและเท้าเปื่อย, โรคนิวคาสเซิล และโรครินเดอร์เปสท์
    ส่วนจุลินทรีย์ที่มีศักยะภาพในการใช้เป็นอาวุธชีวะทำอันตรายพืชมี 12 ตัว
    - Sclerotium rofsii ทำให้เกิดโรคของถั่วเหลือง หัวผักกาดหวาน ฝ้ายและมันเทศ
    - phytopthera infestans ทำให้เกิดโรคใบแห้งของมันฝรั่ง
    - Helminthosporium oryzae ทำให้เกิดโรคใบจุดสีน้ำตาลของข้าว
    - Pyricularia oryzae ทำให้เกิดโรคไหม้ของข้าว
    - Pucinia graminis ทำให้เกิดโรคราสนิมของข้าวสาลี ข้าวโอ็ต ข้าวไรน์ และข้าวบาเลย์
    - Pseudomonas alboprecipitans ทำให้เกิดโรคใบแห้งของข้าวโพด
    - Rice Tungro Spherical Virus ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าว ซึ่งเป็นโรคจากไวรัสที่ทำลายผลผลิตของข้าวทั่วโลกมากที่สุด
    - Rice Tungro Bacilliform Virus ทำให้เกิดโรคใบสีส้มของข้าว
    - Rice Transitory Yellowing Virus ทำให้เกิดโรคใบหงิกของข้าวที่ชาวนาเรียกว่าโรคจู๋
    - Rice Ragged Stunt Virus ทำให้เกิดโรคหูดของข้าว
    - Rice Gall Dwarf Virus และ Rice Grassy Stunt Virus ทำให้เกิดโรคเขียวเตี้ยของข้าว
    ส่วนท็อกซินที่มีศักยภาพในการใช้เป็นอาวุธมี 6 ประเภท คือ บอตทูลิน ชนิดเอ จากแบคทีเรีย Clostridium botulinum และ C.parabotulinum, สแตฟไฟโลคอคคัส เอ็นเทโรทอกซิน ชนิดบี จากแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, ไรซินจากเมล็ดละหุ่ง, แซกซิทอกซินซึ่งเป็นแพลงก์ตอน, ไทรโคธซิน จากราหลายชนิด และเทโรโดทอกซิน ( Tetrodoxin ) จากปลาปักเป้า
    ในส่วนของประเทศไทย ได้มีกำหนดไว้ในกฎกระทรวงเกี่ยวกับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่จะพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพไว้หลายชนิดด้วยกัน คือ โรครินเดอร์เปสต์, โรคเฮโมราจิกเซพติซีเมีย, โรคแอนแทรกซ์, โรคเซอร่า, สารติก, แกรนเดอร์, ปากเท้าเปื่อย, อหิวาต์สุกร, ส่วนโรคอื่น ๆ แม้จะยังไม่ปรากฎการณ์แพร่ระบาดใน ประเทศไทย แต่เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น สำนักงานโรคระบาดระหว่างประเทศ (OIE) ได้กำหนดให้โรคระบาดอีกรวม 14 โรคต้องควบคุมด้วยเช่นกัน
    ประกอบด้วยโรคทริคโนซีส, บรูเซลโลซีส, วัณโรค, เลปโทสไปรา, แซลโมนิลา, สมองอักเสบนิปาห์, วัวบ้า, กาฬโรคเป็ด, นิวคาสเซิล, เอเวียนอินฟลูอินซา, รวมทั้งโรคระบาดในม้า เช่นกาฬโรคแอฟริกาในม้า, ไข้วัดใหญ่ในม้า, ไข้เห็บม้า, ดูรีน, ปากอักเสบพุพอง, ปิคาน่า, โพรงจมูกและปากอักเสบในม้า, มดลูกอักเสบติดต่อในม้า, เรื้อนม้า, โลหิตจากติดเชื้อในม้า, สมองและไขสันหลังอักเสบในม้า, สมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซุเอล่าในม้า, สมองอักเสบเจเปนิส, หลอดเลือดแดงอักเสบติดเขื้อในม้ารวมทั้งหมดมีเชื้อโรคที่สามารถพัฒนา ศักยภาพในการทำอาวุธชีวะภาพได้ 32 เชื้อด้วยกัน

    พลิกปูมอาวุธเชื้อโรคอดีต – ปัจจุบัน
    มีหลักฐานระบุว่า การทำสงครามด้วยอาวุธชีวะ หรืออาวุธเชื้อโรคไม่ใช่เรื่องใหม่ ดังจะเห็นจากบันทึกของชนชาติเปอร์เซีย กรีก โรมัน ซึ่งเคยใช้ซากศพผู้เสียชีวิตด้วยโรค และสิ่งปฏิกูลใส่ในแหล่งน้ำ หรือดีดเข้าไปในเมืองที่ปิดล้อม โดยใช้เครื่องดีดก้อนหิน เพื่อให้ทหาร และพลเมืองฝ่ายตรงข้ามป่วยและตาย ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้น ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับเชื้อโรค
    กระทั่งในปี ค.ศ. 1356 พวกตาด ( Tatars ) ชนชาติเชื้อสายมองโกล ได้ใช้เครื่องดีดก้อนหินดีดซากศพผู้เสียชีวิตด้วยกาฬโรค ข้ามกำแพงเข้าไปในเมืองคัฟฟา บนฝั่งทะเลดำ ทำให้เกิดกาฬโรคระบาดจนเป็นเหตุให้เสียเมือง
    ส่วนชาวเมืองที่เป็นชาวอิตาลี หลบหนีกลับทางเรือนำกาฬโรคไปแพร่ระบาดในอิตาลี และทวีปยุโรป ระหว่างปี ค.ศ. 1346 – 1351 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 25 ล้านคน หรือ 1 ใน 4 ของพลเมืองของทวีปดังกล่าว
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าอาวุธชีวะ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ และไม่สามารถประเมินผลความเสียหายที่เกิดขึ้นในระยะยาวได้เลย เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่จำกัดเฉพาะที่มนุษย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมด้วย
    อย่างไรก็ตาม การใช้อาวุธชีวะในการทำสงครามนั้น ไม่ได้ยุติแค่ชาวตาดใช้ทำลายมนุษย์ในเมืองคัฟฟาเท่านั้น หากในการสู้รบระหว่างทหารอังกฤษกับชนพื้นเมืองชาวอินเดียนแดง ในปี ค.ศ. 1763 ผู้บังคับหน่วยในทหารที่ค่ายฟอร์ทพิท ( Fort Pitt ) ได้รับคำสั่งจากผู้บัญชาการกองทับอังกฤษ ให้ใช้เชื้อโรคไข้ทรพิษ ทำอันตรายฝ่ายตรงข้ามด้วยเช่นกัน
    ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการกล่าวหากันระหว่างสหรัฐอเมริกากับฝ่ายเยอรมัน โดยฝ่ายฝักใฝ่เยอรมันในสหรัฐกล่าวหาว่าลอบทำปศุสัตว์ที่สุส่งไปให้ฝ่ายสัมพันมิตรในทวีปยุโรปเป็นโรคระบาดตายจำนวนมาก และพยายามทำให้กาฬโรคระบาดในรัสเซีย
    ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.ศ. 1931 พบว่า กองทัพญี่ปุ่นได้จัดตั้งหน่วย 731 หรือหน่วยสงครามชีวะ ที่เมืองฮาบิน ประเทศจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้เข้าไปยึดครองได้ โดยมี พล.ท.ชิโร อิชิไอ เป็นผู้บัญชาการหน่วย โดยมีชื่อเรียกเพื่อปกปิดปฎิบัติการลับนี้ว่า หน่วยต่อด้านโรคระบาด ทำน้ำบริสุทธิ์ และจ่ายน้ำแห่งกองทัพกวางตุ้ง มีการใช้เชลยศึกจากชาติต่างเป็นหนูทดลอง
    วิธีการของการทดลองนั้น กล่าวกันว่า เป็นการทำให้ติดเชื้อ นำร่างกายบางส่วนไปแช่หิมะ แล้วนำไปสัมผัสกับเชื้อโรค หน่วย 731 นี้ ประกอบด้วยหน่วยรอง ซึ่งเป็นเหน่วยแยก ประมาณ 18 แห่ง ทำหน้าที่ทดลองอาวุธชีวะ ครั้งนั้นมีประมาณการว่า เชลยศึกนับหมื่นคนได้ถูกนำไปทดลอง และมีผู้เสียชีวิตจากการทดลองหลายพันคน
    ขณะเดียวกัน กองทัพญี่ปุ่นยังได้เข้าไปตั้งสถานีวิจัยอาวุธชีวะในสิงคโปร์ เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับกาฬโรค และส่งให้หน่วยทหารญี่ปุ่นในประเทศไทยด้วย
    กองทัพญี่ปุ่นใช้อาวุธชีวะ ในการทำสงครามกับจีนและโซเวียต ระหว่างปี ค.ศ. 1940 – 1944
    ทั้งนี้ เชื้อโรคที่ญี่ปุ่นเคยศึกษาวิจัย ได้แก่ โรคแอนแทรกซ์ โรคแท้งติดต่อ อหิวาตกโรค บาดทะยัก ไข้หวัดใหญ่ กาฬโรค ไข้รากสาด ไข้รากสาดน้อย ไข้ทรพิษ และวัณโรค
    ไม่เพียงการใช้อาวุธชีวะในสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น แต่ใน ค.ศ. 1941 – 1942 อังกฤษได้ทำการทดลองปล่อยกระจายสารชีวะเพื่อเตรียมไว้ใช้โต้ตอบเยอรมัน หากพบว่าเยอรมันหันมาใช้อาวุธชีวะกับทหารอังกฤษ ในครั้งนั้น อังกฤษได้พ่นละอองเชื้อแอนแทรกซ์ใส่เกาะกรินาร์ด ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ทางฝั่งตะวันตกของแคว้นสก็อตแลนด์
    ในกว่า 40 ปี ต่อมา การสำรวจยังพบว่า เชื้อดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ได้ ทกให้รัฐบาลอังกฤษ ต้องใช้เงินหลายล้านปอนด์ ฆ่าเชื้อที่ฝังอยู่ในดิน ด้วยวิธีการตัดหน้าดินทั้งเกาะไปทิ้งและราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
    ยุคสงครามเกาหลี – ปัจจุบัน แม้จะไม่มีการแสวงหาเชื้อโรคใหม่มาทำสารชีวะ แต่มีการคัดเลือกสายพันธุ์ของโรคไว้แล้วว่า จะมาใช้ทำสารชีวะ โดยเลือกเอาสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้น
    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ไม่นาน พบว่า สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียต และแคนาดา ได้ทำการลองและผลิตอาวุธชีวะ อย่างเปิดเผย
    แม้ว่าจะมีอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวะ ค.ศ. 1942 บังคับให้เลิกแล้วก็ตาม แต่มีหลายประเทศไม่ยอมปฏิบัติตามพันธกรณี ปัจจุบันคาดว่า ถ้าจะมีการผลิตสารชีวะแล้วน่าจะเป็นการใช้วิธีพันธุวิศวกรรมจากธรรมชาติมากกว่า
    อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ จี โซเวียต และเกาหลีเหนือ กล่าวหาสหรัฐว่า ใช้อาวุธในสงครามเกาหลี คิวบา โดยทำให้เกิดโรคระบาดของสุกร ในปี ค.ศ. 1967 และปล่อยเพลี้ยไฟจากเครื่องบินในปี ค.ศ. 1998 ทำให้เกิดโรคพืชซึ่งมีเพลี้ยไฟเป็นพาหะ
    ในส่วนของโซเวียตนั้น แม้จะมีอนุสัญญาห้ามผลิตอาวุธชีวะ แต่ในปี ค.ศ. 1980 หลังจากเกิดอุบัติเหตุที่โรงงานผลิตสารชีวะ ที่เมืองสเวิดลอฟก็ หรือ เยแคเทอรินสเบิร์ก ทำให้มีเชื้อโรคแอนแทรกซ์ แพร่ออกไป ส่งผลให้ประชาชนที่ได้รับเชื้อเสียชีวิตหลายร้อยคน
    แน่นอน ครั้งนั้นโซเวียตได้ออกมาปฏิเสธ แต่หลังจาก เมื่อสหภาพโซเวียต ล่มสลาย แคว้นต่าง ๆ ได้แยกออกมาตั้งตัวเป็นอิสระเป็นประเทศเกิดใหม่และรัธเวีย เป็นประเทศที่ยอมรับว่า เกิดอหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจริง
    สำหรับการใช้อาวุธชีวะในสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อปี ค.ศ. 1995 ประเทศอิรัก ได้เปิดเผยข้อมูลว่ามีการบรรจุเชื้อประเภท Smallpox virus และ Sterillity toxin รวมทั้ง black population ถึง 11,200 ลิตร ไว้ในจรวด Scud ทั้งนี้อิรักมีโครงการผลิตอาวุธเชื้อโรคตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985
    โดยปี ค.ศ. 1990 นักวิจัยอิรักได้เคยทดสอบศักยภาพของอาวุธเชื้อโรค โดยใช้แบคทีเรีย 5 ชนิด และเชื้อรา 1 ชนิด ผลิต Biological bombs 200 ลูก ติดหัว Botulinum และอีก 50 ลูก ติดหัวรบที่มีเชื้อแอนแทรกซ์ แต่ยังไม่ได้มีการใช้งาน
    ต่อมาคณะผู้ตรวจอาวุธชีวะของสหประชาชาติ ( UNSOM ) ตรวจพบโครงการวิจัยพัฒนาอาวุธชีวะของอิรัก ทำให้ทราบว่า อิรักสามารถผลิตเชื้อแอนแทรกซ์ได้ และมีโครงการวิจัยสารชีวะชนิดอื่น และเชื่อว่ายังคงมี Bombs นี้อยู่ เนื่องจากยูซอม เองก็ยังไม่สามารถตรวจยืนยันการทำลาย Bombs นั้นได้
    ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยในการสัมมนา เรื่องอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวะภาพกับประเทศไทย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค จัดโดยศูนย์ความหลากหลายทางชีวะภาพ และสำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระบุว่าในปัจจุบันมีข้อมูลที่เชื่อว่า ประเทศเกาหลีเหนือยังคงผลิตอาวุธชีวะอยู่

    ประวัติแอนแทรกซ์ (Anthrax) 

    ภาพแผลที่เกิดจากการติดเชื้อ
    แอนแทรกซ์ทางผิวหนัง ภาพ A
    อาการที่เห็นนี้เป็นอาการในขั้นต้น
    แม้จะได้รับการรักษาโดยใช้ยา
    ปฏิชีวนะและทำความสะอาดบาดแผลแล้ว
    แต่อาการและก็ยังลุกลามต่อไปอีกระยะ
    หนึ่ง ภาพ D และ E เป็นสภาพของ
    แผลหลังได้รับการรักษา 10 วันและ 15
    วันตามลำดับ


    เชื้อแอนแทรกซ์สามารถนำไป
    บรรจุในหัวรบของขีปนาวุธ
    เพื่อใช้โจมตีเป้าหมายในระยะ
    ไกลได้

    นายวิลเลียม โคเฮน รัฐมนตรีกลาโหม
    ของสหรัฐอเมริกากำลังถือห่อ
    น้ำตาลทรายหนักราว 2 กิโลกรัมอยู่ในมือ
    โคเฮนกำลังเปรียบเทียบให้เห็นว่าเชื้อโรค
    แอนแทรกซ์ปริมาณเท่าห่อนี้ก็สามารถคร่า
    ชีวิตผู้คนได้ถึง 3 ล้านคน


    (CNN) – ถึงแม้ว่าเชื้อแอนแทรกซ์จะเริ่มขึ้นมามีบทบาทในรูปแบบของอาวุธสำหรับกลุ่มผู้ก่อการร้าย, โรคแอนแทรกซ์ที่อันตรายและร้ายแรงนี้ได้เกิดขึ้นและระบาทในโลกของเรามาหลายศตวรรษแล้ว เวลาของมันนับย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ยุคสมัยของคัมภีร์ไบเบิ้ล
    แอนแทรกซ์ได้ถูกระบุหลายครั้งว่าเป็นตัวการในการระบาทอันร้ายแรงซึ่งคร่าชีวิตทั้งคนและสัตว์, หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับมันมากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800, มันก็ได้กลายมาเป็นอาวุธชีวะภาพในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
    มีหลายประเทศที่เชื่อว่ามีการทดลองเกี่ยวกับเชื้อแอนแทรกซ์ แต่การนำใช้ในสงครามนั้นอยู่ในวงที่จำกัด เช่น เยอรมัน, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, อิรัก และอดีตสหภาพโซเวียต
    1500 ปีก่อนคริสตศักราช – การระบาทของโรคครั้งที่ 5 ในอาณาจักรอียิปต์โบราณ, มีผลร้ายต่อการทำปศุสัตว์, และครั้งที่ 6, เป็นที่เรียกกันในนาม”โรคระบาทหัวฝี” หรือ “Plague of Boils”, มีอาการของโรคคล้ายกับแอนแทรกซ์
    ปี 1600 – “พิษดำ” หรือ “Black Bane” สันนิฐานว่าเป็นเชื้อแอนแทรกซ์, ฆ่าปศุสัตว์ในยุโรปไป 60,000 ตัว
    1876 – มร. Robert Koch ได้ยืนยันถึงการมีตัวตน และที่มาของแอนแทรกซ์
    1880 – ประสพความสำเร็จครั้งแรกในการให้ภูมิต้านทานแอนแทรกซ์แก่ปศุสัตว์
    1915 – เชื่อว่าสายลับเยอรมันในสหรัฐอเมริกาได้ฉีดเชื้อแอนแทรกซ์ให้กับม้า, ล่อ, และปศุสัตว์, ระหว่างการเดินทางเข้ายุโรปในสงครามโลกครั้งที่ 1
    1937 – ญี่ปุ่นเริ่มโครงการสงครามชีวะภาพในเมือง Manchuria, ซึ่งมีการทดลองของเชื้อแอนแทรกซ์
    1942 – อังกฤษทดลองเชื้อแอนแทรกซ์ ณ เกาะ Gruinard ใกล้ๆกับสก็อตแลนด์, ซึ่งพึ่งจะทำลายเชื้อและยุติโครงการลงเมื่อไม่นานมานี้
    1943 – สหรัฐอเมริกาเริ่มพัฒนาอาวุธชีวะภาพจากเชื้อแอนแทรกซ์
    1945 – แอนแทรกซ์ระบาทในประเทศอิหร่านและฆ่าแกะไปกว่า 1 ล้านตัว
    ในทศวรรษที่1950 และ 60 – โครงการสงครามชีวะภาพของสหรัฐอเมริกายังดำเนินงาน และวิจัยต่อหลังเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ เมือง Fort Detrick, มลรัฐ Maryland
    1969 – ประธานาธิปดี Richard Nixon สั่งปิดโครงการสงครามชีวะภาพ
    1970 – วัคซีนแอนแทรกซ์ได้รับการรับรองจากองค์กรอาหาร และยาสหรัฐอเมริกา
    1972 – การประชุมระหว่างประเทศตกลงให้การสร้าง, พัฒนา หรือสะสมอาวุธชีวะภาพเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
    1978 -1980 – เชื้อแอนแทรกซ์ระบาทในประเทศซิมบับเวย์, มีผู้ติดเชื้อกว่า 6,000 คนและเสียชีวิตไปกว่า 100 ราย
    1979 – แอนแทรกซ์สปอร์ถูกปล่อยออกมาโดยอุบัติเหตุที่โรงงานของกองทัพสหภาพโซเวียตแห่งหนึ่ง, ทำให้มีผู้เสียชีวิต 68 คน
    1991 – กองทัพสหรัฐได้รับการฉีดวัคซีนแอนแทรกซ์ระหว่างการเตรียมตัวทำสงครามอ่าว (พายุทะเลทรายกับอิรัก)
    1990-93 – กลุ่มผู้ก่อการร้ายโอมชินรีเกียว (Aum Shinrikyo) ปล่อยสารแอนแทรกซ์ในกรุงโตเกียวแต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
    1995 – อิรักยอมรับถึงการผลิตหัวเชื้อแอนแทรกซ์ 8,500 ลิตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาวุธชีวะภาพ
    1998 – เลขาธิการฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐ William Cohen อนุมัติแผนการให้วัคซีนแก่บุคลากรทุกคนในกองทัพ
    2001 – มีจดหมายบรรจุสปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ส่งไปยังสำนักข่าว NBC 1 อาทิตย์หลังจากการก่อวินาศกรรมกับอาคารกระทรวงกลาโหม และตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ มันเป็นครั้งแรกที่ใช้วิธีนี้ในสหรัฐ ส่วนในมลรัฐ Florida, ชายคนหนึ่งเสียชีวิตหลังจากสูดดมเชื้อแอนแทรกซ์เข้าไปภายในสำนักงานของสื่ออเมริกัน (the Office of American Media Inc.)
    สารพิษที่อาจนำไปใช้เป็นอาวุธเคมี
    สารเคมีที่ใช้ในสงคราม ( Chemical Warfare Agent ) แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
    1. Nerve Gases
    สารพิษทำลายประสาท เป็นสารที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบสำคัญ
    Tabun
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของเหลวมีกลิ่นผลไม้ ( bitter almonds ) เข้ากันได้และ hydrolyzed ด้วยน้ำ ( chlorinated ion ) ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ ผงฟอกขาวสามารถทำลาย Tabun ได้รวดเร็วมากแต่จะให้ cyanogen chloride ซึ่งมีพิษมาก ขนาดที่ทำให้คนตายต่ำกว่า 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
    ข้อควรระวัง สารนี้เป็นพิษต่อมนุษย์ทำให้เอนไซม์ cholinesterase activity ต่ำลง ความเป็นพิษนอกจากหายใจเข้าไปแล้ว สามารถดูดซึมทางผิวหนัง และตาได้ ถ้าถูกดูดซึมเข้าไปจะมีอาการรูม่านตาหรี่ หายใจลำบาก หมดสติ และตายได้ในที่สุด
    1.2 Sarin
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของเหลว เข้ากันได้ และถูก hydrolyzed ด้วยน้ำ ถูกทำลายอย่างรวดเร็วด้วยสารละลายเจือจางของ sodium hydroxide หรือ sodium carbonate ซึ่งจะให้สารที่ไม่มีพิษ ( non – toxic acid ) ขนาดที่ทำให้คนตายต่ำกว่า 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
    ข้อควรระวัง เป็นพิษต่อมนุษย์ ทำให้เอนไซม์ cholinesterase activity ต่ำลง ถ้าถูกดูดซึมเข้าไป จะมีอาการรูม่านตาหรี่ หายใจลำบาก หมดสติ และตายได้ในที่สุด อาการคล้ายกับได้รับสารเคมีกำจัดแมลงประเภท organophosphate ชนิด parathion แต่อาการรุนแรงกว่า
    1.3 Soman
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของเหลว ขนาดที่ทำให้คนกินตายต่ำกว่า 0.01 มิลลิกรัมต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
    ข้อควรระวัง เป็นสารที่ทำให้เอนไซม์ cholinesterase activity ต่ำลง ความเป็นพิษคล้ายกับ Tabun และ Sarin
    1.4 VX
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของเหลว ไม่มีกลิ่น ไม่ระเหย
    ข้อควรระวัง ทำให้เอนไซม์ cholinesterase activity ลดลงมากกว่าสารพิษ Sarin
    สรุป สารพิษทำลายประสาท ส่วนมากเป็นสารในกลุ่ม organophosphate ทำให้เอนไซม์ cholinesterase activity ลดลง สารแก้พิษจึงใช้คล้ายกันคือ Atropine Sulfate และ 2 – PAM การตรวจทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถตรวจเอนไซม์ Cholinesterase activity ในซีรั่ม โดยใช้เลือดประมาณ 2 – 3 มิลลิกรัม ไม่ใส่สารกันเลือดแข็งตัว สามารถให้ผลการตรวจได้ภายใน 1 วันทำการ
    2. Blood Gases
    2.1 Hydrocyanic acid
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นก๊าซไม่มีสี หรือของเหลวมีกลิ่นเฉพาะตัว ถ้าเผาไหม้ในอากาศ จะให้เปลวไฟสีน้ำเงินเข้ากันได้กับน้ำและแอลกอฮอล์
    ข้อควรระวัง เป็นสารที่มีพิษต่อมนุษย์ ถ้าปริมาณสูงอาจทำให้หมดสติ การหายใจ ล้มเหลว
    สรุป Blood Gases สามารถทำให้เกิด methaemoglobin การแก้พิษอาจใช้ Sodium nitrite, dimethylaminophenol เป็นต้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถตรวจ Urine thiocyanate โดยการเก็บปัสสาวะประมาณ 50 มิลลิลิตร ไม่ใส่สารช่วยรักษา ( preservative ) สามารถให้ผลการตรวจวิเคราะห์ได้ภายใน 1 วันทำการ
    3. Choking agents ( lung irritants )
    เป็นสารเคมีที่ทำให้หายใจไม่ออก
    3.1 Phosgene
    คุณสมบัติทางกายภาพ ไม่มีสีเป็นก๊าซที่มีพิษมาก ละลายได้เล็กน้อยในน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำลายอินทรีย์
    ข้อควรระวัง มีพิษต่อมนุษย์แต่ไม่ทำให้ตายทันที เมื่อหายใจเข้าไปปริมาณมาก จะทำให้ปอดบวมน้ำ ถ้าความเข้มข้นสูงจะทำให้หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ไอเป็นเลือด นอกจากนี้ ไอที่เข้มข้นทำให้ตาระคายเคือง
    3.2 Chloropicrin
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของเหลว ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ดีใน ether
    ข้อควรระวัง สารนี้มีพิษต่อระบบทางเดินหายใน ถ้ากินเข้าไปอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เป็นต้น
    4. Vesicants ( blister gases )
    เป็นก๊าซทำให้เกิดพุพลง
    4.1 Mustard gas
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของเหลวคล้ายน้ำมัน ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ สามารถทำให้หมดฤทธิ์ โดยใช้ผงฟอกขาว และ Sodium hypochlorite ( ชื่อทางการค้า เช่น ไฮเตอร์ )
    ข้อควรระวัง เป็นพิษต่อมนุษย์ ทำให้ตาแดง ตาบอด และมีผลต่อเนื่อง เช่น 1 – 12 ชม. หลังจากได้รับสารจะมีอาการไอ เปลือกตาบวมน้ำ ผิวหนังเป็นผื่นแดง คันอย่างรุนแรง ทำลายระบบทางเดินหายใจ สารนี้ US.EPA. จัดเป็นสารก่อมะเร็ง
    4.2 Dichloro ( 2 - chloroviny ) arsine ( Lewisite )
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของเหลว มีกลิ่นคล้ายดอก geranium ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ ไม่ละลายน้ำ ทำลายฤทธิ์โดยใช้ผงฟอกขาว
    ข้อควรระวัง เป็นสารที่มีพิษต่อมนุษย์มาก ถ้าถูกผิวหนังเพียงเล็กน้อย ( 0.5 มล. ) ทำให้มีอาการเป็นพิษ ถ้าปริมาณ 2 มิลลิลิตร ทำให้ตายได้ สารแก้พิษ คือ BAL, dimercaptopropanol
    5. Tear gases and other disabling chemicals
    ก๊าซน้ำตา หรือ สารเคมีที่ทำให้เสียหาย
    5.1 Phenarsazine Chloride
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นก๊าซที่ใช้ในสงคราม แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในอากาศ
    ข้อควรระวัง ระคายเคืองต่อผิวหนัง และทางเดินหายใจ ถ้าเข้าไปในโพรงจมูกจำนวนมาก จะทำให้เป็นแผลคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ระบบรับสัมผัสจะถูกรบกวนในเวลาต่อมา
    5.2 P – Chloroacetophenone ( ethanone )
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของเหลว ไม่ละลายน้ำ ละลายได้มากใน alcohol, ether
    ข้อควรระวัง ระคายเคืองต่อตา และเยื่อเมือกอย่างแรง
    5.3 µ - Bromobenzyl Cyanide
    คุณสมบัติทางกายภาพ กลิ่นคล้ายผลไม้บูด ไม่ละลายน้ำ ละลายดีใน alcohol ether chloroform และตัวทำละลายอินทรีย์อื่น ๆ
    ข้อควรระวัง เป็นสารขับน้ำตาที่แรงมาก ปริมาณที่ทำให้ตาย 0.90 มิลลิกรัมต่อลิตร ( 30 นาที )
    5.4 o - Chlorobenzylidenemalonitrile
    คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นของแข็งผลึกสีขาว ละลายได้ดีใน acetone, dioxane
    ข้อควรระวัง อาจทำให้ผิวหนัง คอหอย และตาระคายเคือง ขนาดที่ทำให้หนูตายลงครึ่งหนึ่ง LD5028 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×