ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #1 : พระภรรยาเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ในรัชกาลที่ ๕

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.21K
      9
      4 พ.ย. 55

    สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอรรคราชเทวี เป็นพระอิสริยยศสุดท้าย ในรัชกาลที่ ๗ ของพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศร พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงเป็นพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวงในรัชกาลที่ ๕

                    ประมาณ พ.ศ.๒๓๑๘-๑๙ มีพระองค์เจ้าหญิงเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ๔ พระองค์เรียงตามลำดับพระชันษา คือ พระองค์สุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา และพระองค์เจ้า เสาวภาผ่องศรี

                    แรกทีเดียว พระเกียรติยศเสมอกันหมดแม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจะมิได้ทรงออกพระโอษฐ์ ทว่าก็เป็นที่ทราบกันว่า พระเกียรติยศของพระภรรยาเจ้านั้นขึ้นอยู่ที่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่





    สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕

    พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อม คือเจ้าฟ้าชั้นเอก ก่อนทว่าเป็นพระราชธิดา ได้รับพระราชทานพระเกียรติยศ คือ เครื่องประกอบพระอิสริยยศ และเงินปีสูงกว่าพระองค์อื่น สมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดา พระองค์นั้นทรงพระโฉมงดงามเป็นที่สุด เป็นที่เสน่หาโปรดปรานในสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาอีกไม่ถึงปี พระองค์เจ้าสว่างวัฒนาก็ประสูติสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพารุรัดมณีมัย สมเด็จเจ้าฟ้าทั้ง ๓ พระองค์ปีขาลด้วยกัน พระชันษาห่างกันพระองค์ละไม่กี่เดือน

                    พระองค์สุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา และพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ทั้งสามพระองค์ร่วมพระชนนีเดียวกัน คือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ในสกุลสุจริตกุล ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้สถาปนาพระอัฐเป็นสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา คือสถาปนาขึ้นเป็นเจ้า สมเด็จพระปิยมาวดีฯ นั้นนับว่าเป็นผู้มีบุญอย่างที่สุด ทรงมีพระราชธิดา เป็นพระอัครมเหสี พระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๓ พระองค์ พระราชนัดดา เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์ (รัชกาลที่ ๖ และ ๗) พระราชปนัดดา เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์ (รัชกาลที่ ๘ และ ๙)

                    ส่วนพระองค์สุขุมาลมารศรี พระชนนี คือเจ้าจอมมารดาสำลีในสกุลบุนนาค เจ้าจอมมารดาสำลีเป็นธิดา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (หรือพิไชยญาติ) ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นเจ้าคุณจอมมารดาสำลี

                    เมื่อพระองค์เจ้าสุนันทาฯ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าเสาวภาฯ ประสูติพระราชโอรสธิดาแล้ว พระเกียรติยศและเงินปีก็ทรงได้รับพระราชทานเท่ากันกับพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี

                    ทว่าในจดหมายเหตุที่จดไว้ มีอยู่สองสามครั้งโปรดฯ ให้ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนาตามเสด็จฯ เสมือนเป็นการยกย่องโดยพฤตินัยในพระสถานภาพพระราชมารดาของพระราชโอรสพระองค์ใหญ่

                    พระภรรยาเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจะพระราชทานพระเมตตาเท่าเทียมกัน ทว่าก็เล่าขานกันมาว่า โดยส่วนพะองค์แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดปรานพระองค์เจ้าสุนันทาฯ อย่างยิ่ง แรกทีเดียวพระองค์เจ้าพี่น้องทั้งสามพระองค์ประทับตำหนักใหญ่ตำหนักเดียวกันในจดหมายเหตุ เรียกว่า ตำหนักพระองค์เจ้าสุนันทาฯ

                    พระองค์เจ้าสุนันทาฯนั้น ในคำกลอนสังเกตพระอัชฌาศัยเจ้านายเมื่อยังทรงพระเยาว์ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจำไว้ได้ กล่าวถึงว่า

                     พูดจากระจัดกระจ่าง องค์นันทา แปลว่าคงจะทรงเอาการเอางาน พูดจาชัดเจนได้เรื่องได้ราวตั้งแต่พระชันษาเพียง ๘ ขวบ

                    พระองค์เจ้าสว่างวัฒนาว่า หน้าตาคมสันองค์สว่าง กลอนแสดงชัดว่า คงจะทรงพระโฉมคมคายไม่น้อย

                    พระองค์เจ้าเสาวภาฯ ในกลอนว่า หน้าตาอ่อนหวาน องค์เสาวภา

                    ส่วนพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรีนั้นว่า ฉลาดหยิบหย่ง องค์สุขุมาล ก็แสดงว่า เมื่อพระชันษาเพียง ๗ ขวบ ก็เห็นกันแล้วว่า ทรงฉลาดเฉลียว เมื่อเป็นพระภรรยาเจ้า จึงโปรดฯให้ทรงเป้นราชเลขานุการฝ่ายใน

                    ต่อมาพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ประสูติพระราชโอรส อีกพระองค์หนึ่ง คือสมเด็จพระเจ้าฟ้าชายบริพัตรสุขุมพันธุ์ เป็นพระราชโอกรสเพียงพระองค์เดียว จึงทรงมีพระราชธิดา ๑ พระองค์ พระราชโอรสหนึ่งพระองค์ ชาววังออกพระนามกันว่า ทูลกระหม่อมหญิง และ ทูลกระหม่อมชาย 

     



    จากซ้าย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตน์กิริฎกุลินี เจ้าคุณจอมมารดาสำลี  สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอุครราชเทวี

    โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี ตำแหน่งเอกอัครมเหสีพระองค์แรก พร้อมกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี เพราะเป็นพระราชมารดา สมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหม่

     

     

                    ส่วนพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี ตำแหน่งเอกอัครมเหสีพระองค์แรก พร้อมกันนั้นก็โปรดปรานฯ สถาปนาพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเวที เพราะเป็นพระราชมารดา สมเด็จพระราชโอรส พระองค์ใหญ่

                    ส่วนพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี และพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี โปรดฯให้ดำรงพระยศ พระนางเธอ เสมอกันทั้งสองพระองค์

                    แต่พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภา นั้น ทรงได้รับสถาปนา พระอิสริยยศ สูงขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่พระนางเธอฯ พระนางเจ้าฯ พระวรราชเวที สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระอรรคราชเทวี

                    จนกระทั่งเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระองค์แรกสวรรคตแล้ว โปรดเกล้าฯสถาปนา สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นสมเด็จพระบรมฯ แทนประจวบกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จะเสด็จฯประพาสยุโรป จึงโปรดฯ ให้สมเด็จพระสังฆราช ทรงหาคำที่จะแสดงพระอิสริยยศ พระอัครมเหสี ขึ้นโดยมิได้กระทบกระเทือนตำแหน่งพระบรมราชเทวีอันเป็นพระอิสริยยศเอกอัครมเหสีเดิม สมเด็จพระสังฆราช จึงทรงคิดคำว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงพอพระราชหฤทัย โปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำนั้น เป็นพระอิสริยยศ พระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี

                    ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เมื่อมีพระบรมราชโองการ โปรดฯให้ออกพระนาม สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระพันปี ในรัชกาลต่างๆ แต่ต้นมาให้เป็นระเบียบ จึงประกาศให้ พระบรมราชินี เป็นพระอิสริยยศพระอัครมเหสี ซึ่งถ้าทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยแล้ว ก็ให้เติมคำว่า นาถ ต่อท้าย ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ จึงได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

                    พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ทรงดำรงพระอิสริยยศพระอัครมเหสี พระบรมราชเทวีมาแต่แรก มิได้ทรงเปลี่ยนแปลงเลยตลอดรัชกาลที่ ๕ จริงๆ แล้ว ในรัชกาลที่ ๕ นั้น น่าจะว่าทรงมีพระอัครมเหสีสองพระองค์คู่กัน คือ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมราชเทวี แม้ว่าโดยพฤตินัย พระบรมราชินีนาถจะทรงออกหน้าก็ตาม การจัดลำดับพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๕ นั้น เพิ่งจะจัดในรัชกาลที่ ๖ เมื่อสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวงด้วย

                    ส่วนพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ทรงพระอิสริยยศเป็น พระนางเธอ จนต่อมาเมื่อเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระอรรคราชเทวี จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าสุขุมาลฯ ซึ่งดำรงพระยศพระนางเธอฯ เป็น พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระราชเทวี

                    ในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง แต่พระองค์เดียว

                    ถึงรัชกาลที่ ๗ จึงได้โปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี ให้ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเวที พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดเกล้าฯสถาปนา พระนางเจ้าฯ พระราชเวที ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระปิตุจลาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (มาตุจลา-ป้า น้าหญิงทางแม่ ปิตุจฉา-ป้า อาหญิงทางพ่อ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×