❥No.722
ดู Blog ทั้งหมด

ปริศนากะโหลกแก้ว

เขียนโดย ❥No.722
 สวัสดีอีกครั้งนะค่ะ ต้องขอโทษที่หายไปนาน คราวนี้จะขอบอกเล่าเรื่องราวและปริศนาต่างๆ นานา ของ "กะโหลกแก้ว" นะคะ

   
รูปกะโหลกแก้ว

 
    เรื่องราวของกะโหลกแก้วได้ถูกพูดถึงมากมาย...เริ่มจากรูปร่างลักษณะของมัน เป็นกะโหลกแก้วที่มีขนาดเท่ากับกะโหลกจริง ได้สร้างมาจากหินควอตซ์ที่มีความใสและมีความบริสุทธิ์สูง มีน้ำหนักประมาณ 5-6 กิโลกรัม มีความประณีตงดงาม แต่แฝงไปด้วยความเร้นลับของมัน

    ด้านประวัติของกะโหลกแก้วที่ค้นพบ ต่างมีที่มาไม่แน่ชัดทั้งหมด ทั้งในพิพิธภัณฑ์และผู้ที่มีไว้ในครอบครอง ปัจจุบันนี้มีกะโหลกแก้วที่ถูกค้นพบแล้ว 5 ชิ้นด้วยกัน แต่กะโหลกทั้งหมดนั้นมี 13 ชิ้น โดย 12 ชิ้น ทำหน้าที่เป็น "บริวาร" เพราะมีขนาดเล็กกว่า อีก 1 ชิ้นทำหน้าที่เป็น "หัวหน้าใหญ่" ในครั้งนี้จะขอแนะนำผู้ที่ครอบครองกะโหลกแก้วนะค่ะ


1. "โจแอน พาร์คส์"
 
 โจแอน พาร์คส์ และ แม็กซ์
 
 
     โจแอนได้เล่ามา แต่ก่อน แม็กซ์เป็นของลามะทิเบตที่ชื่อว่า "นอร์วู เชน" เธอเชื่อว่าท่านได้แม็กซ์มาจากสุสานของชาเผ่ามายาในเมืองกัวเตบาลา ท่านได้ใช้แม็กซ์รักษาผู้คนที่เจ็บป่วยเพราะโรคต่างๆ ในขณะนั้นเธอได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านอยู่ และเมื่อท่านเสียชีวิต ท่านได้มอบแม็กซ์ให้กับเธอ ครั้งหนึ่งเมื่อลูกของเธอป่วย เธอได้ใช้แม็กซ์รักษาลูกของเธอจนหายดี ในปี พ.ศ. 2523 แม็กซ์ได้สื่อสารกับเธอ และได้บอกว่าเขาชื่อ "แม็กซ์" เขาสามารถรักษาผู้คนที่เจ็บป่วยได้อย่างประหลาด

2. "แอนนา มิทเชลล์-เฮดจ์ส"

                            
กะโหลกแก้วของแอนนา


    ในปี พ.ศ. 2467 แอนนา มิทเชลล์-เฮดจ์ส ลูกบุญธรรมของนาย "เฟ็ดดอริค อัลเบิร์ท มิทเชลล์-เฮดจ์ส" ได้พบมันโดยบังเอิญขณะที่ได้ทำการสำรวจเมืองโบราณลูบานทูมในบริตัสฮอนดูรัส แล้วแอนนาก็ได้พบกับกะโหลกแก้วเข้าในวันครบรอบ 17 ปีของเธอพอดี แต่ในเรื่องที่เธอได้พบกะโหลกนี้ หลายคนบอกว่าความจริงแล้วพ่อของเธอได้พบมันมาก่อนแล้ว แต่เขาต้องการมอบกะโหลกแก้วนี้ให้เป็นของขวัญวันเกิดของเธอ จึงวางไว้ในที่ที่เธอจะพบมันได้ง่าย 
แน่นอนว่ากะโหลกแก้วนี้เองก็มีประวัติคลุมเครือมากเช่นเดียวกับกะโหลกชิ้นอื่นๆ แต่ก่อนที่  นายมิทเชลล์ เฮดจ์ส หรือพ่อของแอนนาจะเสียชีวิต 5 ปี ได้มีหนังสือเล่มหนึ่งถูกตีพิมพ์ขึ้นมา ชื่อว่า "อันตรายคือสหายของฉัน (Danger My Ally)" ซึ่งหนังสือเล่มนี้คือเรื่องราวการผจญภัยของเขาแทบทั้งชีวิต โดยหลายๆคนที่มุ่งหวังว่าจะรู้เรื่องราวของกะโหลกแก้วก็ซื้อไปอ่านกันมากมาย แต่ทว่าเรื่องราวของกะโหลกแก้วนั้นกลับมีเพียงไม่กี่บรรทัดเท่านั้น ทั้งๆที่การค้นพบกะโหลกแก้วถือเป็นหนึ่งในงานชิ้นเอกของการค้นพบ เนื้อความนั้นคือ

"กะโหลกแก้วนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดโลกาวินาศได้ ความน่ากลัวของมันนั้นมีผู้บันทึกไว้อย่างมากมาย ซึ่งเราก็เอามันร่วมเดินทางมาด้วย แต่สำหรับเรื่องการค้นพบนั้นผมขอเก็บไว้เป็นความลับด้วยเหตุผลบางประการ"

      จึงทำให้เกิดความสงสัย และความแตกตื่นในผู้คนมากกว่าคลายปัญหาและข้อสงสัยในที่มาของกะโหลกแก้ว

 

เฟ็ดดอริค อัลเบิร์ท มิทเชลล์-เฮดจ์ส

3. "นิค โนเซอริโน"

                                        
           กะโหลกแก้วของนิค


    "นิค โนเซอริโน" ผู้ศึกษาเรื่องราวของกะโหลกแก้วอย่างยาวนาน กะโหลกของนิคมีชื่อว่า "ชานารา" นิคได้เล่าว่า เขาค้นพบกะโหลกชิ้นนี้ที่เมืองโบราณในเม็กซิโก และหลังจากที่เขาได้มาครอบครองไม่นานนัก เขาได้ฝันเห็นกะโหลกแก้วทั้งหมด ซึ่งมี 13 ชิ้น มีขนาดใหญ่ 1 ชิ้น ซึ่งเป็นหัวหน้า ที่เหลืออีก 12 ชิ้นเป็นบริวาร (ตามที่ได้กล่าวไว้ต้นเรื่อง)

4. พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ ในกรุงลอนดอน


กะโหลกแก้วที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ

 
    พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ ได้กะโหลกแก้วนี้มาครอบครองเมื่อปี ค.ศ. 1898 ตัวแทนของทางพิพิธภัณฑ์ได้ซื้อมาจากร้านทิฟฟานี่ ที่เมืองนิวยอกร์ก ซึ่งเป็นเพียงร้านเพชรพลอยธรรมดาเท่านั้น โดยราคาในขณะนั้นเพียง 120 ปอนด์ โดยประวัติเท่าที่ทราบคือ ทางร้านได้ซื้อกะโหลกแก้วนี้มาจากนักเผชิญโชคนิรนามผู้หนึ่ง แต่บางแห่งก็บอกว่าได้ซื้อมาจากนายทหารนายหนึ่งที่ได้มาระหว่างไปร่วมรบที่เม็กซิโก ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

     เรื่องของกะโหลกแก้วนั่นจนถึงปัจจุบันก็ไม่มีใครทราบถึงแหล่งที่มาที่แน่ชัด แต่เรื่องราวของกะโหลกแก้วได้โยงเข้าหาสิ่งสองสิ่ง ชนเผ่าสองชนเผ่า เมืองสองเมือง

1. ชนเผ่ามายา,ชนเผ่ามายัน เพราะเป็นชนเผ่าที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆมากพอสมควร หลายฝ่ายจึงคาดว่าอาจสร้างมาโดยชนเผ่านี้

2. มหานครสาบสูญ แอตแลนติส เนื่องจากเป็นเมืองที่สาบสูญไปแล้ว และยังไม่มีใครค้นพบ ตามเรื่องเล่าต่อๆกันมาเมืองนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากถึงขีดสุด แต่กลับล่มสลาย หายสาบสูญไป กะโหลกแก้วจึงคาดว่าอาจเป็นหนึ่งในวัฒณธรรมของเมืองแอตแลนติส

 
***

เรื่องราวของกะโหลกแก้วที่เต็มไปด้วยปริศนามากมายขอจบลงเพียงเท่านี้ก่อนนะค่ะ
หากบทความผิดพลาดตรงจุดไหน ก็ติชมมาได้นะค่ะ

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น