ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แพทย์จุฬาฯ diary

    ลำดับตอนที่ #1 : แรกเริ่มเดิมที

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.38K
      6
      12 มิ.ย. 51

    สวัสดีค่ะทุกคน 
    เรื่องที่จะมาพูดต่อไปก็คงจะเป็นการแนะนำหลักสูตรของคณะแพทย์จุฬาฯนะ
    แพทย์จุฬาฯการสอบเข้าใครหลายๆคนอาจจะรู้กันบ้างแร้วว่ามีการรับ2ช่องทาง
    คือ รับตรงผ่านกสพท.กับโครงการต่างๆที่จะรับประมาณปีละ90คนนะ
    เราก็เป็นคนหนึ่งที่เข้ามาในคณะนี้แบบโครงการ:
    มันจะมีโครงการอยู่ 2 โครงการในตอนนี้คือ CPIRD กับODOD
    ซึ่ง 2โครงการนี้จะมีเงื่อนไขการใช้ทุนที่แตกต่างกัน
    ใครสนใจก็เข้าไปดูในเว็บไซด์ของคณะได้ที่ www.md.chula.ac.th/th
    ก่อนที่เราจะมารู้จักหลักสูตรและชีวิตความเปนอยู่ภายในรั้งสีเขียว-ชมพูนี้เป็นอย่างไรเราน่าจะมารู้จักประวัติของคณะก่อนดีกว่า

     คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ด้วยมีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากในขณะนั้นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรมรมแพทย์เพียงแห่งเดียวของประเทศ มีทรัพยากรและสถานที่จำกัด ไม่สามารถรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นได้อีก จึงจำเป็นต้องหาสถานที่แห่งใหม่เพื่อรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มอย่างมีคุณภาพ โดยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของสภากาชาดไทย มีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่และอุปกรณ์ ด้วยเคยใช้เป็นโรงเรียนแพทย์ทหารบกมาก่อน สามารถพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองของประเทศต่อไปได้

    เพื่อสนองพระราชปรารภดังกล่าว ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น (ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส) จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย (ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ) โดยขอใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่4) พ.ศ. 2490 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้แบ่งส่วนราชการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกเป็น 10 แผนก ได้แก่แผนกอำนวยการ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และแผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ ภายหลังได้โอนมาสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ปัจจุบันแบ่งส่วนราชการออกเป็น 21 ภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะ โดยในแต่ละภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์มีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้คณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีกด้วย

     :เครดิตจาก www.md.chula.ac.th

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×