drskinhouse
ดู Blog ทั้งหมด

ค้นหาความเสี่ยง...ด้วยตนเอง

เขียนโดย drskinhouse

ปัจจุบัน “โรคมะเร็ง” เป็นอีกโรคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุมาจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม มลพิษ ที่เปลี่ยนไปและการใช้ชีวิตที่หนักหน่วงทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิงที่ไม่ ค่อยจะทะนุถนอมสุขภาพกันเท่าที่ควร เช่น กินเหล้า สูบบุหรี่ ฯลฯ จึงก่อให้เกิดมะเร็งร้ายต่าง ๆ ตามมา ดังนั้นถ้าเรารู้จักสำรวจและตรวจหาความเสี่ยงด้วยตัวเองก่อนก็จะช่วยป้องกัน มะเร็ง 6 ชนิดยอดฮิตได้

นายแพทย์ศักดิ์พิศิษฏ์ นวสิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลวัฒโนสถ ให้ความรู้ว่า โรคมะเร็งในปัจจุบันนี้เราให้ความสนใจมากขึ้นและถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควร ทำความรู้จัก โดยเฉพาะมะเร็ง 6 ชนิดที่พบกันบ่อยได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยเราจะเริ่มสกรีน มะเร็งในผู้หญิงกัน

ก่อนอันดับหนึ่งคือ “มะเร็งเต้านม” พบในกลุ่มเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ได้แก่ คนไข้ที่มีประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว, มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างใดข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งก็มีความเสี่ยงที่ จะเป็นมากขึ้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือคนที่มีพฤติกรรมบริโภคอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย ๆ กลุ่มที่มีประจำเดือนมาเร็วก่อนอายุ 12 ปี หรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปีขึ้นไป, คนที่มีลูกช้าตั้งแต่อายุ 30 ปี ขึ้นไปหรือไม่มีลูก
ในเมื่อเรามีความเสี่ยงทั้งในกลุ่มพันธุกรรมและปัจจัยอื่น ๆ จึงอยากให้คนกลุ่มนี้ลองสำรวจความเสี่ยงด้วยตัวเองได้โดยการตรวจเต้านมด้วย ตัวเองทุก ๆ 1 เดือนหรือสังเกตอาการผิดปกติดังนี้ คลำพบก้อนเนื้อที่เป็นไตแข็งผิดปกติที่เต้านม มีน้ำเหลืองและเลือดไหลจากเต้านม ผิวหนังบริเวณเต้านมมีรอยบุ๋ม หัวนมถูกดึงรั้งผิดปกติ เต้านมทั้ง 2 ข้างไม่อยู่ในระดับเดียวกัน ขนาดและรูปร่างผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ นอกจากนี้เราควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยใช้เครื่องแมมโมแกรมทุกปี เพราะหากตรวจเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถรักษาหายได้ถึง 99 เปอร์เซ็นต์
“มะเร็งปากมดลูก” กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและจะเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากมีเพศ สัมพันธ์กับชายมากกว่า 1 คน โดยสาเหตุหลักเกิดจากเชื้อไวรัส เอชพีวี มีการศึกษาวิจัยพบว่าไวรัสตัวนี้เป็นตัวที่กระตุ้นให้เซลล์เปลี่ยนเป็นเซลล์ มะเร็งและสามารถถ่ายทอดติดต่อได้เหมือนกับเชื้อกามโรค คือสามารถถ่ายทอดจากผู้ชายไปสู่ผู้หญิงและจากผู้หญิงไปสู่ผู้ชาย อาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกผิดปกติไม่ตรงกับรอบเดือนหรือในสตรีที่หมดประจำเดือนแล้ว ตกขาวเรื้อรัง ทางที่ดีใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส เอชพีวี และทำ แพ็พสเมียร์ ปีละครั้ง โดยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกจะรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ถ้าพบในระยะแรกการรักษาจะมีประสิทธิภาพมาก อัตราการหายสูงกว่า 90-95%
ส่วนมะเร็งในผู้ชายอันดับหนึ่งคือ “มะเร็งปอด” สาเหตุหลักใหญ่ที่เราทราบกันดีคือ ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์เกิดจากการสูบบุหรี่และบวกกับการใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ไม่ดี เช่น คนสัมผัสกับมลพิษทางอากาศเป็นประจำ โดยมะเร็งปอดค่อนข้างเป็นกันเยอะ เพราะการดำเนินโรคเร็ว ส่วนใหญ่จะตรวจเจอก็อยู่ในระยะที่ 3-4 แล้ว ดังนั้นคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ มีการสูบบุหรี่เยอะ ๆ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีเราต้องตรวจคัดกรองตัวเอง เช่น ถ้ามีอาการไอเรื้อรัง ไอแห้ง ๆ มีเสมหะ ไอเป็นเลือด เสียงแหบ หอบเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก เจ็บบริเวณทรวงอก น้ำหนักลดมากกว่าปกติ มีไข้เรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะเป็นมะเร็งปอดได้
ต่อมา “มะเร็งตับ” เป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ชายเป็นอันดับ 2 มี 2 ชนิด ได้แก่ มะเร็งในท่อน้ำดี ซึ่งเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ มีรายงานว่าจังหวัดขอนแก่นมีสถิติผู้ป่วยสูงที่สุดในโลก เกิดจากพฤติกรรมการกินที่เราชอบกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ กัน ได้รับพยาธิดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย จึงต้องแก้ไขที่พฤติกรรมการกิน หากเรากินครั้งเดียวและโดนไข่พยาธิก็เป็นได้ทันที ส่วนอีกชนิดหนึ่ง คือมะเร็งของเซลล์ตับ สาเหตุขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ชนิดซี และมีรายงานว่ามีอีกหลายชนิดตามมา แต่เราสามารถป้องกันในระดับหนึ่ง นอกจากไวรัสแล้วยังมีสารอะฟลาทอกซินที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดอยู่ในอาหาร จำพวกพวกกระเทียมแห้ง ถั่วลิสงแห้ง ข้าวโพดแห้ง ถ้าเรากินเข้าไปก็จะเกิดโรคได้ ดังนั้นต้องรู้จักสังเกตว่าถ้าถั่วไม่สดใหม่ก็อย่ารับประทาน หรือในกลุ่มคนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ
มะเร็งตับส่วนใหญ่ตรวจเจอเมื่อเป็นมากแล้วและรักษาไม่ค่อยทัน เนื่องจากธรรมชาติของโรคจะดำเนินเร็ว เพราะหากเป็นแล้วมักเสียชีวิตได้ภายใน 3-6 เดือน ฉะนั้นคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรตรวจร่างกายทุก 3 เดือนหรือสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายคือ ปวดในท้องบริเวณชายโครงด้านขวา ท้องอืด โตขึ้น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผอมลงหรือน้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเป็น สีเข้มควรรีบพบแพทย์
ส่วน “มะเร็งลำไส้ใหญ่” เกิดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากลำไส้ต้องรับสารพัดสิ่งของที่เรารับประทานเข้าไปและมีของเสียที่ ต้องขับถ่ายออก เมื่ออายุมากขึ้นทำให้เกิดภาวะเสื่อมหรืออาจเกิดโดยกรรมพันธุ์บางชนิด และกลุ่มที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสัตว์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำ ไส้สูงมากกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงจึงต้องรู้จักสังเกตตัวเองว่ามีระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนไป หรือไม่ เช่น ท้องผูกท้องเสียสลับกัน ปวดท้องบ่อย ๆ ไม่ทราบสาเหตุ อุจจาระมีเลือดปนหรือถ่ายเป็นเลือด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
สุดท้าย “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” เป็นมะเร็งที่พูดถึงบ่อยเช่นกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮ็อดกิน (Hodgkin ’s Lymphoma) มักพบในเด็กและวัยหนุ่มสาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนันฮ็อดกิน (Non- Hodgkin ’s Lymphoma) มักพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุหรือผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย ตาเปล่า จึงสังเกตอาการง่าย ๆ คือ ถ้ารู้สึกมีไข้ต่ำ ๆ ไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด เหงื่อออกในเวลากลางคืน คลำได้เป็นก้อนแต่ไม่เจ็บที่บริเวณคอ ขาหนีบ รักแร้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษา
ทั้งหมดเป็นมะเร็งที่เราเจอบ่อยในปัจจุบัน ซึ่งวิธีการรักษาก็ไม่ยากแล้ว ผลการรักษาก็ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เช่น การรักษาด้วยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัดหรือคีโม การฉายรังสีหรือฉายแสง แต่จะยากในคนไข้บางคน เช่น เป็นมะเร็งในบางตำแหน่งที่ต้องการรักษาให้หายและรักษารูปลักษณ์ไว้เพื่อไม่ เป็นปมด้อยในการใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งการรักษาให้ดีทุกอย่างค่อนข้างยาก ทำให้หลายฝ่ายต้องร่วมมือกันที่เราเรียกว่า “ทีมแพทย์สหสาขา” คือทางด้านมะเร็ง เช่น หมอผ่าตัด หมอให้ยาเคมีบำบัด หมอฉายรังสี หมอตรวจชิ้นเนื้อ หมอเอกซเรย์ หมอที่ดูแลเรื่องความเจ็บปวด และหมอที่ดูแลเฉพาะด้าน เช่น ถ้าเป็นมะเร็งปอด หมอที่เชี่ยวชาญด้านปอดจะมาช่วยดูแลและวางแผนการรักษาร่วมกันคนไข้จะได้รับ ประโยชน์สูงสุดและมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดที่เราได้เริ่มทำกันแล้ว
ดังนั้นเมื่อมีทีมแพทย์สหสาขาที่ครบถ้วนพร้อมที่จะช่วยให้เราฝ่า โรคร้ายอย่างมะเร็งไปได้แล้วแบบนี้ ขึ้นอยู่ที่ตัวเราเองแล้วว่าจะสามารถตรวจวัดความเสี่ยงด้วยตัวเองได้มากน้อย เพียงใดเพื่อนำไปสู่การรักษาที่ทัน ถ่วงทีและมีชีวิตที่ยืนยาวด้วยการดูแลสุขภาพให้ดีก่อนโรคร้ายจะถามหา.
 
ที่มา : www.doctorskinhouse.com

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น