YuY_Ao
ดู Blog ทั้งหมด

EARTH SUMMIT

เขียนโดย YuY_Ao
EARTH SUMMIT
 
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change) 

 
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งเป็นอนุสัญญาฯที่เกิดจากความพยายามของประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) อันเนื่องมาจากการสะสมตัวในชั้นบรรยากาศของก๊าซต่างๆ
 
 
Kyoto Protocol
พิธีสารเกียวโตได้กำหนดข้อผูกพันทางกฎหมาย (Legal binding) ไว้ในกรณีดำเนินการตามพันธกรณี โดยมาตรา 3 ได้กำหนดพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศภาคี โดยที่ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
 
ความเป็นมาของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change) เป็นอนุสัญญาฯที่เกิดจากความพยายามของประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) อันเนื่องมาจากการสะสมตัวในชั้นบรรยากาศของก๊าซต่างๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และสารทดแทน CFCs มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากเพียงพอที่คาดได้ว่า ในระหว่างทศวรรษหน้านี้โลกจะร้อนขึ้นประมาณ 0.2 ถึง 0.5 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ และจะมีผลทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 20 เซนติเมตร ภายใน พ.ศ. 2573 และอาจสูงขึ้น 65 เซนติเมตรภายในปลายศตวรรษหน้า นอกจากนี้จะทำให้เกิดพายุ เฮอริเคน ความแห้งแล้ง ไฟป่าและอุทกภัยบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น (Houghton et al., 1990) ประชาคมโลกจึงได้จัดให้มีการประชุมดำเนินการต่างๆอย่างต่อเนื่อง ดังสรุปใน ตาราง
เมื่อปี พ.ศ. 2535 ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ประเทศต่างๆได้ลงนามให้การรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change, UNFCCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งและขยายพื้นที่รองรับก๊าซเรือนกระจกซึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์และมิได้อยู่ในพิธีสารมอลทรีออล โดยมีเป้าหมายให้ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 1 ของอนุสัญญาฯลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กลับไปอยู่ในระดับการปล่อยในปี พ.ศ. 2533 ภายในปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบัน(ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2547)มีประเทศภาคีรวม 194 ประเทศ และมีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2538 และมีการประชุมต่อเนื่องทุกปี
 
การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วัน เดือน ปี
เหตุการณ์
2531
WMO และ UNEP จัดตั้ง Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ พิจารณาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2533
IPCC เผยแพร่รายงาน The First Assessment Report มีการเสนอให้มีการเจรจาตกลงดำเนินการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์กรสหประชาชาติให้มีการเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐ (Intergovernment Negotiating Committee, INC)
กุมภาพันธ์ 2533
คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลประชุมเป็นครั้งแรก
9 พฤษภาคม 2535
คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐ รับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการประชุมครั้งที่ 5
4 มิถุนายน 2535
การประชุม “Earth Summit“ ที่กรุงริโอเดอจาเนโร เปิดให้มีการลงนามในอนุสัญญาฯ
21 มีนาคม 2537
อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้
7 เมษายน 2538
ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 1 (COP-1) ตกลงเจรจารอบใหม่ในเรื่อง “การบังคับให้อนุวัติตามอนุสัญญาฯ”
ธันวาคม 2538
IPCC รับรองรายงาน The Second Assessment Report ซึ่งเสนอแนะให้มีการ ปฎิบัติการทางนโยบายอย่างเร่งด่วน
19 กรกฎาคม 2539
ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯสมัยที่ 2 (COP-2) แจ้งถึงปฏิญญาเจนิวา ซึ่งเน้นให้มีการดำเนินการเจรจาอย่างเต็มที่
11 ธันวาคม 2540
ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯสมัยที่ 3 (COP-3) รับรองพิธีสารเกียวโต
16 มีนาคม 2541
เปิดให้มีการลงนามในพิธีสารเกียวโตเป็นระยะเวลาหนึ่งปี
14 พฤศจิกายน 2541
ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 4 (COP-4) กำหนดแผนปฎิบัติการบูโนสไอเรสเร่งรัดการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และเตรียมการบังคับพิธีสารเกียวโตให้สำเร็จภายในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีสมัยที่ 6
13-25 พฤศจิกายน 2543
การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 6 (COP-6) ณ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ผลการประชุม ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆได้
16-27 กรกฎาคม 2544
การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 6 ครั้งที่ 2 ณ กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี ที่ประชุมสามารถบรรลุข้อตกลง เรียกข้อตกลงที่ได้ว่า Bonn Agreement
29 ตุลาคม-9 พฤศจิกายน 2544
การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 7 (COP-7) จัดที่เมือง Marrakesh ประเทศ Marocco ที่ประชุมสามารถบรรลุข้อตกลงเรียกว่า ข้อตกลงมาราเกช (Marrakesh Accords)
23 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2545
การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 8 (COP-8) ณ เมืองนิวเดลลี ประเทศอินเดีย
1-12 ธันวาคม 2546
การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 9 (COP-9) ประเทศอิตาลี
พ.ศ.2551-2555
ช่วงแรกของการดำเนินการตามพันธกรณี

ที่มา: ปรับปรุงมาจากสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (2540)
หลักการและสาระสำคัญของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ 
คือรักษาความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพื่อให้ระบบนิเวศน์ธรรมชาติสามารถปรับตัวได้ และเพื่อเป็นการประกันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแต่ไม่ได้กำหนดระดับหรือปริมาณก๊าซที่จะรักษาปริมาณไว้เป็นตัวเลขที่แน่นอน
 
หลักการของอนุสัญญาฯ 
อนุสัญญาฯมีหลักการที่สำคัญดังนี้
1. “หลักการป้องกันไว้ก่อน” ภายใต้หลักการป้องกันไว้ก่อนนั้น กิจกรรมที่มีโอกาสจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศจะต้องมีการจำกัดหรือห้ามดำเนินการ ถึงแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสาเหตุดังกล่าวก็ตาม เนื่องจากหากรอให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์พัฒนาที่จะทำให้พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้ว ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอาจจะสายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ หลักการนี้จึงให้โอกาสในการควบคุมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอย่างเนิ่นๆ เช่น การกำหนดให้มีการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับการปล่อย ณ ปี พ.ศ. 2533 ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2543
 
 
2. “หลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง" ทุกประเทศภาคีอนุสัญญาฯ มีพันธกรณีในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอนุสัญญาฯ แบ่งประเทศภาคีต่างๆออกเป็น สองกลุ่มใหญ่ คือ ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I countries) กับกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non Annex I countries) 
3. “หลักการสื่อสารด้านข้อมูลข่าวสาร” ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความโปร่งใส ภายใต้ข้อตกลงที่ว่าต้องมีการจัดทำ รายงานแห่งชาติภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Communication under United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งมีเงื่อนไขในเรื่องของความสมบูรณ์ของเนื้อหา และระยะเวลา ที่แตกต่างกันระหว่างประเทศในภาคผนวก I และนอกภาคผนวก I
4. “หลักการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยกว่า” เนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนามีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูง ดังนั้นหลักการนี้ต้องการให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ความสะดวก สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งทางด้านการเงินและเทคโนโลยี กับประเทศกำลังพัฒนาและความช่วยเหลือนี้ต้องเป็นส่วนเพิ่มเติมจากความช่วยเหลือระหว่างประเทศที่ให้อยู่เดิม ปัจจุบัน อนุสัญญาฯ ได้ใช้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วดำเนินนโยบายถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาดให้กับประเทศกำลังพัฒนา
 
อ้างอิง
ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I countries)
ประกอบด้วยประเทศอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลุ่มที่มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับเดียวกับปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ตามมาตรา 4.2 (ก) และ (ข) เป็นกลุ่มที่ยอมรับเป้าหมายการปล่อยก๊าซในปี พ.ศ. 2553-2555 ตามมาตรา 3 และภาคผนวก ข ของพิธีสารเกียวโต ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย 24 ประเทศในกลุ่ม Organization of Economic Cooperation and development (OECD) สหภาพยุโรปและอีก 14 ประเทศที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างเป็นระบบตลาดเสรี (โครเอเทีย ลิกเตนสไตน์ โมนาโก และ สโลวาเกีย แทนที่ประเทศเช็กโกสโลวาเกีย)
กลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non Annex I countries)
ประกอบไปด้วยประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาทั้งหมด
 
พันธกรณีทั่วไปของอนุสัญญาฯ
1. พันธกรณีร่วมกัน ประเทศภาคีสมาชิกทุกประเทศต้องจัดทำรายงานแห่งชาติ (National Communication) ประกอบด้วยบัญชีรายการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการที่เปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ ซึ่งจะต้องไปตกลงกันในการประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ทั้งนี้เฉพาะรายงานของประเทศในภาคผนวกที่ 1 จะต้องมีเนื้อหาที่ละเอียดกว่าประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 และต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอในระยะเวลาที่สม่ำเสมอกว่าและจะต้องมีการประเมินความถูกต้องของรายงาน
2. พันธกรณีเฉพาะประเทศในภาคผนวกที่
o        จัดทำรายงานแห่งชาติ (National Communications)
o        จัดทำนโยบายและดำเนินการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
o        ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในการจัดทำรายงานแห่งชาติแก่ประเทศนอกภาคผนวกที่ 1
o        ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในการปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
o        ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
o        ให้ความสำคัญกับความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา
o        ให้ความสำคัญกับความต้องการของประเทศด้อยพัฒนา
 
 
 
สถานภาพและองค์กรบริหารจัดการอนุสัญญาฯ
1. สถานภาพของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
      อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ.1994) ปัจจุบันมีประเทศต่างๆเป็นประเทศภาคีอนุสัญญาฯ 194 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2547)โดยไม่มีการกำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้องการลด และไม่มีมาตรการบังคับใดๆ
2.องค์กรบริหารงานอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อนุสัญญาฯ ได้จัดตั้งองค์กรบริหารงาน ประกอบด้วยที่ประชุมใหญ่ภาคี คณะทำงานซึ่งเป็นองค์กรย่อยของที่ประชุมใหญ่ภาคี และสำนักเลขาธิการ
 
o        ที่ประชุมใหญ่ภาคี (The Conference of the Parties, COP)
เป็นองค์กรหลักประกอบด้วยรัฐบาลของภาคีสมาชิก ทำการพิจารณาข้อตัดสินใจและมติสำคัญที่เป็นพื้นฐานการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ มีการประชุมไปแล้วทั้งสิ้น 9 ครั้ง
o        Ad Hoc Group on the Berlin Mandate (AGBM) 
เป็นองค์กรย่อยจัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯสมัยแรก ในการเจรจาเพื่อนำไปสู่การรับรองพิธีสารเกียวโต โดย AGBM ได้ประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2540
o        Intergovernmental Negotiating Committee (INC) 
มีการประชุมกัน 5 ครั้งระหว่างกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2535 เพื่อร่างอนุสัญญาฯ และได้ประชุมอีก 6 ครั้ง เพื่อเตรียมสำหรับการประชุมประเทศภาคีสมัยแรก ก่อนที่จะเสร็จสิ้นภาระหน้าที่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
o        Bureau
รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางการทำงานของที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ประกอบด้วยกรรมการ 10 คน ที่ได้รับเลือกจาก 5 ภูมิภาคและประธานที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ รองประธาน 6 คน ประธานขององค์กรย่อยเพื่อการอนุวัติ (SBI) และองค์กรย่อยเพื่อให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SBSTA) และ Reporteur หนึ่งคน นอกจากนี้ในองค์กรย่อยแต่ละองค์กรจะมี Bureau ของตน
 
o        Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) IPCC
ได้รับการจัดตั้งในปี พ.ศ. 2521 โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่สำรวจความรู้ด้านเทคนิคและวิทยาศาสตร์และตีพิมพ์รายงานการประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ IPCC ยังทำหน้าที่ศึกษาด้านวิธีวิเคราะห์และดำเนินการตามคำร้องขอขององค์กรย่อยของอนุสัญญาฯ
o        Secretariat
เจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศที่รับผิดชอบและบริการที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สำนักงานเลขาธิการจะจัดเตรียมการประชุม รวบรวม เตรียมรายงาน และประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเลขาธิการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ
o        Secretariat 
เจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศที่รับผิดชอบและบริการที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สำนักงานเลขาธิการจะจัดเตรียมการประชุม รวบรวม เตรียมรายงาน และประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สำนักงานเลขาธิการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ
o        Subsidiary Body 
เป็นคณะกรรมการที่ช่วยเหลือที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ โดยกำหนดองค์กรย่อยเพื่อให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯสมัยแรก ยังได้จัดตั้งองค์กรย่อยชั่วคราว ABGM และ AG13 โดยที่องค์กรย่อยอื่นๆอาจมีการจัดตั้งขึ้นอีกตามความจำเป็น
o        Subsidiary Body for Implementation (SBI) 
เป็นองค์กรให้คำแนะนำในด้านนโยบายและการดำเนินการอนุวัติต่อที่ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯและองค์กรอื่นๆหากได้รับการร้องขอ
o        Subsidiary Body for Scientific and Technological Advice (SBSTA) 
เป็นองค์กรที่เชื่อมระหว่างหน่วยงานที่ให้ข้อมูลและการประเมิน (เช่น IPCC) กับที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ และอื่นๆ ที่เน้นด้านนโยบายเป็นสำคัญ
 
 
พันธกรณีภายใต้อนุสัญญา UNFCCC ที่มีต่อประเทศไทย
ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ ในฐานะประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 ส่งผลให้ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 แห่งอนุสัญญาฯ ดังนี้
  • ร่วมรับผิดชอบในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยใช้นโยบายที่ไม่มีผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภายใต้หลักการ "มีความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน" (common but differentiated responsibilities) การป้องกันไว้ก่อน (Precautionary) และความเสมอภาค (Equity) แต่ไม่มีพันธกรณีในกรอบการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 
  • จัดทำรายงานแห่งชาติ (National Communication) เสนอต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงให้ประเทศภาคีต่างๆทราบถึงการมีส่วนร่วมของประเทศไทยกับประชาคมโลก
  • เข้าร่วมประชุมเจรจาต่อรองและการพัฒนาทางด้านเทคนิค เช่น การประชุมสมัชชาประเทศภาคี (COP) หรือการประชุม Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)
  • ดำเนินการศึกษาวิจัยทางด้านวิชาการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
อนุสัญญาฯ ได้แบ่งกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังภาพ
 
รายชื่อประเทศสมาชิก Earth summit
 
ANNEX I
Australia
Austria
Belarus a/
Belgium
Bulgaria a/
Canada
Croatia a/*
Czech Republic a/*
Denmark
European Economic Community
Estonia a/
Finland
France
Germany
Greece
Hungary a/
Iceland
Ireland
Italy
Japan
Latvia a/
Liechtenstein*
Lithuania a/
Luxembourg
Monaco*
Netherlands
New Zealand
Norway
Poland a/
Portugal
Romania a/
Russian Federation a/
Slovakia a/*
Slovenia a/*
Spain
Sweden
Switzerland
Turkey
Ukraine a/
United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland
United States of America
 
 
 
 
 
10 ปี หลังจากการประชุมสุดยอดโลกที่ ริโอ (Rio Earth Summit)
ผู้นำกว่า 100 ประเทศ ร่วมกับผู้แทนนับพันจากนักหนังสือพิมพ์ ภาคอุตสาหกรรม และผู้แทนจากเอ็นจีโอ จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดโลกที่ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development-WSSD) ณ เมืองโจฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้ (Johannesburg, South Africa) ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม - 4 กันยายน 2002 การประชุมสุดยอดโลกนี้นับเป็นการครบรอบ 10 ปี ของการประชุมสุดยอดโลกที่ ริโอ (Rio Earth Summit)
การประชุมสุดยอดโลกริโอ เมื่อ ปี ค.ศ. 1992 มีบทสรุปที่สำคัญหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีการลงนามในอนุสัญญาที่สำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาที่ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอนุสัญญาที่ว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนั้น รัฐบาลที่เข้าร่วมและกลุ่มที่ให้ความสนใจยังได้ยอมรับระเบียบวาระการประชุมที่ 21 (Agenda 21) ซึ่งเป็นแผนการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการประชุมครั้งนี้ ยังมีการตกลงในเรื่องว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะแบ่งปันทรัพยากรและเทคโนโลยีให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถสร้างศักยภาพของตนเองได้เองอย่างมีประสิทธิผลนายโคฟี่ อานาน เลขาธิการสามัญแห่งสหประชาชาติ ดำริให้มีการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อความก้าวหน้าในการริเริ่มด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดโลกริโอ โดยการเพิ่มความร่วมมือกันในหลายๆกลุ่ม และมุมมองใหม่ๆที่มาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เขายังได้แสดงถึงความหวังว่า การประชุมสุดยอดโลกที่ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนครั้งนี้จะมุ่งความสำคัญไปที่ 5 เรื่องได้แก่น้ำและสุขอนามัย พลังงาน สุขภาพ การเกษตร และความหลากหลายทางชีวภาพ เลขาธิการสามัญฯกล่าวว่า จากการให้ความสำคัญกับ 5 เรื่องดังกล่าวในการประชุมครั้งนี้ จะก่อให้เกิดโครงการในอุดมคติแต่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์ควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลก เลขาธิการสามัญกล่าวว่า แม้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะได้รับการพิจารณาให้เป็น " แนวความคิดที่ช่วยฝ่าฟันอุปสรรค (conceptual breakthrough) " ในการประชุมสุดยอดโลก เมื่อ ปี ค.ศ. 1992 ณ เมืองริโอ เด เจเนโร (Rio de Jeneiro) แต่มีความก้าวหน้าช้ากว่าที่คาดไว้นับจากการประชุมครั้งนั้น และมักมีความคลุมเคลือในกระบวนการจัดทำนโยบายเนื่องด้วยปัญหาที่แทรกเข้ามา เช่น ปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาโลกาภิวัตน์ และปัญหาล่าสุด คือการก่อการร้ายเลขาธิการสามัญแห่งสหประชาชาติจึงได้เสนอข้อปฏิบัติดังนี้:
การจัดสรรน้ำให้แก่ประชากรผู้ขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาดอย่างน้อย 1,000 ล้านคน และอีก 2,000 ล้านคน ซึ่งเป็นผู้ขาดสุขอนามัยที่ถูกต้องการจัดสรรพลังงานให้แก่ประชากรคนซึ่งขาดแคลนระบบพลังงานสมัยใหม่มากกว่า 2,000 ล้านคนโดยการส่งเสริมพลังงานที่สามารถทดแทนได้ ลดการใช้พลังงานเกินความจำเป็น และดำเนินการตามพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในเรื่องการจัดการต่อความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
สุขภาพ ดำเนินการต่อผลกระทบจากวัตถุที่เป็นพิษและวัตถุอันตราย ลดมลภาวะทางอากาศ ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนถึง 3 ล้านคนในแต่ละปี ลดการเกิดโรคไข้มาลาเรียและพยาธิ African guinea ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำและสุขอนามัยต่ำการผลิตด้านการเกษตร การทำงานเพื่อฟื้นฟูดินเสื่อม ซึ่งมีประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่การเกษตรทั่วโลกการจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศวิทยา การเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่ทำลายพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของป่าฝนเขตร้อนชื้นและป่าชายเลนของโลก และการคุกคามประมาณร้อยละ 70 ของแนวประการังของโลก ตลอดจนการทำลายการประมงของโลกอย่างรุนแรง
เลขาธิการสามัญแห่งสหประชาชาติกล่าวเสริมว่า การประชุมสุดยอด ณ โจฮันเนสเบิร์ก นับเป็นการให้โอกาสแก่มนุษยชาติในการแก้ไขความไม่สมดุลนับจากการประชุมสุดยอดโลกริโอ"
เขายังเสริมอีกว่า จะมีความพยายามกันใหม่อีกครั้ง เนื่องจากรูปแบบการพัฒนาที่มีอยู่ซึ่งนำมาซึ่งผลประโยชน์และความรุ่งเรืองให้แก่มนุษย์ประมาณร้อยละ 20 นั้น ต้องใช้เงินมหาศาลสำหรับการเสื่อมสลายของโลกและการหมดสิ้นลงของทรัพยากร อย่างไรก็ตาม จากคำกล่าวของเลขาธิการสามัญฯ ว่า "ในการพิจารณาเรื่องการเงินและเศรษฐกิจของโลก เรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงได้รับการปฏิบัติเปรียบเสมือนผู้ที่ไม่ได้รับเชิญ"
การดำเนินชีวิตซึ่งมีการบริโภคในอัตราสูงยังคงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาตืในโลกนี้อย่างสิ้นเปลือง การวิจัยและการพัฒนาไม่ได้รับการสนับสนุนและละเลยต่อปัญหาของความยากจน เขากล่าวว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว " ไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ให้ไว้เมื่อครั้งการประชุมสุดยอดริโอ ว่าจะปกป้องสิ่งแวดล้อมของพวกเขาเอง และช่วยเหลือโลกที่กำลังพัฒนาในการเอาชนะความยากจน" เขากล่าวว่า "เราสามารถผนวกนิเวศวิทยากับเศรษฐศาสตร์เข้าไว้ด้วยกันได้"" พวกเราจำเป็นที่จะต้องหาหนทางที่จะนำไปสู่ความสำนึกต่อการมีความรับผิดชอบร่วมกัน พวกเราจำเป็นจะต้องสร้างจริยธรรม และจะต้องสามารถสร้างบทบันทึกใหม่ซึ่งเต็มไปด้วยความหวังแห่งประวัติศาสตร์ของธรรมชาติและมวลมนุษย์"
ผู้จัดจากองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า การประชุมสุดยอดโลกที่ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะไม่เจรจาใหม่เกี่ยวกับระเบียบวาระการประชุมที่ 21 (Agenda 21) แต่จะดำเนินการทบทวนอย่างจริงจังเรื่องความก้าวหน้า บทเรียนที่ได้รับ และประเมินการดำเนินการในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีความคาดหวังถึงผลที่จะได้รับ 3 ประการจากการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ดังต่อไปนี้
ท การประกาศนโยบาย ซึ่งผู้นำรัฐและรัฐบาลตกลงที่จะดำเนินการปฏิบัติ เพื่อทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นจริงขึ้นมาท แผนของการดำเนินการที่มาจากการหารือร่วมกันของรัฐบาลต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดที่มากขึ้นในการปฏิบัติที่ชัดเจน ข้อตกลงของรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการร่วมดำเนินการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ 
 

ความคิดเห็น

flookblog
flookblog 16 ก.พ. 54 / 15:47
^^ตั้งจัยทำน่ะจร๊า
0806570439
0806570439 16 ก.พ. 54 / 20:02
ร่วมด้วยช่วยกันเนอะ
เนื้อหาแน่นเอียด