gdtop
ดู Blog ทั้งหมด

Hemophilia - โรคเลือดไหลไม่หยุด

เขียนโดย gdtop
Sanyo 52 120Hz 1080p LCD HDTV 52 LCD HDTV LG 42LH55 42 Inch 1080p 240Hz LCD HDTV Review 32 Inch Westinghouse LCD HDTV Sony 32 720p 60Hz LCD HDTV Model Vizio 26 Full HD 1080p LCD HDTV 1080p 240Hz Backlit LED LCD HDTV 32 1080p LCD HDTV 32 LCD HDTV with Built In DVD Player Coby 19 LCD HDTV HDTV LCD Hitachi LCD HDTV LED HDTV Models LG 26 LCD HDTV Sharp AQUOS LC60E77UN 60 Inch 1080p 120Hz LCD HDTV with Gold Bezel LG HDTV Reviews Westinghouse 32 HDTV 37 Inch HDTV Best 26 HDTV 22 HDTV 720p 60Hz LCD DVD Combo 32 Inch HDTV LCD 42 Magnavox LCD 1080p HDTV HDTV LCD Television Reviews HDTV LCD TV Samsung UN46B8500 46 Inch 1080p 240 Hz LED HDTV Samsung UN55B6000 55 Inch 1080p 120 Hz LED HDTV Sanyo DP42849 42 LCD HDTV The Best LCD HDTV TV Proscan 32LB45Q 32 LCD HDTV Reviews Ratings Proscan White LCD HDTV Samsung HDTV Review 46 LCD HDTV Best LED HDTV Sony 32 BRAVIA L Series LCD HDTV Best Small HDTV HDTV Wall Mounts Best 65 LCD HDTV JVC 19 LCD HDTV LED HDTV Reviews Samsung LN32B360 32 Inch 720p LCD HDTV

โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุดถือเป็นโรคหนึ่งที่มีมานานหลายทศวรรษแล้ว ในอดีตองค์ชายอเล็กไซ พระโอรสองค์โตในพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียก็ทรงประชวลด้วยโรคนี้มาแล้ว

โรคฮีโมฟีเลีย เป็นความผิดปกติของร่างกายผู้ป่วยที่ขาดโปรตีนบางชนิดในเลือดจึงทำให้เลือดไม่แข็งตัว ตามปกติแล้วในเลือดจะมีโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด โดยเรียกโปรตีนเหล่านี้ว่า แฟคเตอร์ (coagulation factors) เมื่อเกิดบาดแผลจะมีเลือดไหลออกมาและโปรตีนเหล่านี้จะช่วยทำให้เลือดแข็งตัว เลือดจึงหยุดไหล แต่ในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจะเกิดจากเลือดขาดโปรตีนชนิดใดชนิดหนึ่ง จึงทำให้เลือดไม่แข็งตัว เช่น ถ้าขาดแฟคเตอร์ 8 (Factor VIII)เรียกว่าโรคฮีโมฟีเลียชนิด เอ (Hemophilia A) ถ้าขาดแฟคเตอร์ 9 (Factor IX) เรียกว่า โรคฮีโมฟีเลียชนิดบี (Hemophilia B)

ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียในอัตราส่วน 1 : 20,000 (หมายถึงในประชากร 20,000 คน จะมีผู้ป่วยฮีโมฟิเลีย 1 คน) จึงคาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 2,000 - 3,000 คน และส่วนใหญ่เป็นโรคฮีโมฟีเลียชนิด เอ

โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคทางพันธุกรรม จึงสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้

ผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถมีชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่จะไม่สามารถสร้างแฟคเตอร์ 8 หรือ 9ได้ อาการที่มักพบได้แก่ มีอาการเลือดออกได้ง่ายตามข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอกและข้อเข่า ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ทำให้มีอาการปวดข้อและข้อบวม แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือมีบาดแผลเกิดขึ้นจะมีเลือดไหลออกไม่หยุด จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยการฉีดแฟคเตอร์ 8 สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิด เอ หรือฉีดแฟคเตอร์ 9 สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิด บี จึงจะทำให้หายเป็นปกติไ

ในการเตรียมโปรตีนแฟคเตอร์ 8 หรือ 9 ไว้ฉีดให้ผู้ป่วยนั้นจะ นำเลือดจากผู้บริจาคมาแยกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมาหรือของเหลวออกมาด้วยการแช่แข็ง เรียกว่าการทำ ไครโอพรีซิปิเตต (Cryoprecipitate) และนำไปทำให้เป็นผงแห้งเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น เมื่อต้องการใช้ก็นำมาผสมน้ำกลั่นตามอัตราส่วนที่กำหนด แล้วฉีดให้ผู้ป่วยต่อไปก็จะทำให้เลือดแข็งตัวได้ตามปกติ

เนื่องจากการรักษาโรคนี้จะต้องใช้เลือดจากผู้บริจาคมาแยกเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมามาใช้ประโยชน์ในการรักษา

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้มีการบริจาคโลหิตให้มากยิ่งขึ้น ขณะนี้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ขอเชิญประชาชนร่วมบริจาคโลหิตเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียต่อไป

การบริจาคโลหิตเป็นการทำทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ผู้บริจาคมีความสุข กายสบายใจที่มีโอกาสช่วยเพื่อนมนุษย์ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จึงขอให้ผลบุญกุศลได้ดลบันดาลให้ผู้บริจาคโลหิตทุกท่านประสบความสุขความ เจริญตลอดไปครับ

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น