Press_413
ดู Blog ทั้งหมด

การประชุมสิ่งทอโลก 2018 WTMC เปิดฉากแล้วที่เขตเข่อเฉียว มณฑลเจ้อเจียง

เขียนโดย Press_413
 การประชุมการค้าสิ่งทอครั้งแรกของโลก World Textile Merchandising Conference (2018 WTMC) ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา ที่เขตเข่อเฉียว เมืองเส้าซิง ในมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของประเทศจีน
 
          การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นในเรื่องของ "การเปิดกว้าง, วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี, แฟชั่น, การเติบโตสีเขียว" โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้มาแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับการร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอของโลก และการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสิ่งทอจีนภายใต้นโยบาย Belt and Road
 
          Shen Zhijiang เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเขตเข่อเฉียว เมืองเส้าซิง ในมณฑลเจ้อเจียง กล่าวว่า "เขตเข่อเฉียวเป็นสถานที่นัดพบที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอโลก และการซื้อขายผลิตภัณฑ์สิ่งทอของโลกถึงเกือบหนึ่งในสี่เกิดขึ้นที่ "เมืองแห่งสิ่งทอจีน" (China Textile City) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตนี้ โดยมีเงินสะพัดปีละเกือบ 2.00 แสนล้านหยวน
 
          "อุตสาหกรรมสิ่งทอมีอนาคตที่สดใสในประเทศจีน ประเทศต่าง ๆ จะหันมาสนใจคว้าโอกาสที่มีอยู่มากมายในอุตสาหกรรมสิงทอจีนกันมากขึ้น" Jaswinder Bedi ประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งทอนานาชาติ (ITMF) (2016-2018) และสมาพันธ์อุตสาหกรรมฝ้ายและสิ่งทอแอฟริกา (ACTIF) กล่าว โดยเขายังคาดการณ์ด้วยว่า จีนจะแซงหน้ายุโรปและสหรัฐอเมริกาเพื่อก้าวขึ้นเป็นตลาดค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2563
 
          Sun Ruizhe ประธานสภาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแห่งชาติของจีน (CNTAC) เผยว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสิ่งทอของจีนนั้น ทำให้ต้องมีการยกระดับอุตสาหกรรม เพื่อที่จะทำให้อุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นบริการ และชาญฉลาดมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควรมีการจัดตั้งกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมระดับนานาชาติและมีความเป็นมืออาชีพ เพื่อยกระดับความร่วมมือทั่วโลก
 
          นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุมยังได้มีการจัดตั้งสภาการประชุมการค้าสิ่งทอโลก หรือ World Textile Merchandising Conference Council ขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทน 12 รายจากสมาคมสิ่งทอของประเทศต่าง ๆ ได้แก่ จีน อียิปต์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฝรั่งเศส ตุรกี เวียดนาม กัมพูชา และลาว โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทออย่างยั่งยืน
 
          ที่มา: China Economic Information Service
 
          AsiaNet 75345

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น