lichar
ดู Blog ทั้งหมด

กฎหมายเกี่ยวกับคอนโดมิเนียม

เขียนโดย lichar

กฎหมายอาคารชุด หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า คอนโดมิเนียม นั้น ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการขยายตัวทางเขตเศรษฐกิจ ผู้คนจำนวนมากจึงหลั่งใหลหาที่อาศัยในเขตเมืองทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นไปด้วยอย่างต่อเนื่อง

มาซื้อ คอนโดมิเนียม เพราะหากเปรียบเทียบราคากับบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน คอนโดมิเนียม นั้นยังมีราคาราคาถูกว่ามาก ทั้งยังอยู่ใกล้ย่านชุมชนการเดินทางก็สะดวกสบาย เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสริมทำให้ตลาดบ้านคอนโดได้รับความนิยมเพราะฉะนั้น หากใครที่ต้องการซื้อก็ควรศึกษารายละเอียด ข้อมูลกฎหมายเอาไว้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การขอจดทะเบียนอาคารชุด เจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารชุดเป็นผู้ขอจดทะเบียนและต้องเป็นกรณีเจ้าของคนเดียวกันด้วย โดยมีเอกสารในการขอยื่นดังนี้ คือโฉนดที่ดินที่อาคารชุดนั้นตั่งอยู่ พร้อมด้วยแผนผังแบบแปลนอาคารชุดพร้อมทั้งร่างข้อบังคับต่างๆที่แสดงถึงกรรมสิทธิ์ส่วนรวมและกรรมสิทธิ์ส่วนของห้องชุดนั้นๆ และหลักฐานอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนด

2. กรรมสิทธิ์ในห้องชุด เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นของตนและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ส่วนทรัพย์ที่เป็นของตนเอง ได้แก่ ตัวห้องชุดแต่ละห้อง และสิ่งปลูกสร้างที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละราย เช่น โรงเก็บรถยนต์ส่วนตัว ที่จอดรถส่วนตัว นอกจากนี้แล้วเจ้าของห้องชุดยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารชุด ตัวอาคารชุดและทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของเจ้าของร่วมทุกคน เช่น สระว่ายน้ำ สนามกีฬา ลิฟท์ขนส่ง ป๊ำน้ำ ไฟส่องสว่าง เป็นต้น โดยทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางนี้ทุกคน

นอกจากนี้แล้วยังมีกรรมสิทธิ์ที่จะต้องจัดการร่วมกันเฉพาะคู่กรณีเช่นทรัพย์ที่เป็นจำพวกผนัง พื้น ซึ่งผู้ที่มีทรัพย์สินติดต่อกันต้องจัดการในกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบถึงโครงสร้างความมั่นคงของตัวอาคารชุดทั้งหมดด้วย

3. ค่าใช้จ่ายต่างๆของห้องชุดหรอคอนโด  แบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของแต่ละห้องและค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันประกอบไปด้วย ค่าบริการต่างๆเช่นการทำความสะอาด ยามรักษาการณ์ความปลอดภัย เหล่านี้เจ้าของห้องแต่ละห้องจะเสียตามส่วน

ของตนเอง ค่าเครื่องมือเครื่องใช้ของอุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินกิจการอาคารชุด , ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการทรัพย์ส่วนกลาง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด เช่น เงินเดือนผู้จัดการ เสมียน พนักงาน เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เจ้าของห้องชุดต้องออกตามสัดส่วนที่เจ้าของร่วมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางเช่นเดียวกัน , ค่าใช้จ่ายต่าง ๆในการดำเนินการนิติบุคคล เช่นเงินเดือนพนักงาน ผู้จัดการเป็นต้น

4. ผลของการที่เจ้าของห้องชุดไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนรวม  มีผลให้ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ สิบสองต่อปี หากค้างชำระตั้งแต่หกเดือนเป็นต้นไปต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบต่อปี และจะไม่สามารถออกเสียงลงมติในการบริหารนิติบุคคล

อาคารชุดนั้นด้วย

5. การประชุม  เมื่อได้มีการจดทะเบียนจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีๆละหนึ่งครั้งกำหนดภายใน 120 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อให้มีการดำเนินกิจการ พิจารณาอนุมัติงบดุล , พิจารณารายงานประจำปี แต่งตั้งผู้สอบบัญชี เป็นต้น เหล่านี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นำเสนอคร่าวๆเพื่อประกอบในการตัดสินใจซื้อ

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น