lordfall
ดู Blog ทั้งหมด

การออกเสียง

เขียนโดย lordfall

ความรู้ทั่วไป
เกี่ยวกับวิธีการออกเสียงภาษาไทย

 

 
 
                                             1. ริมฝีปากบน

                                             2. ฟันบน
                                             3. ปุ่มเหงือก
                                             4. เพดานแข็ง
                                             5. เพดานอ่อน
                                             6. ลิ้นไก่
                                             7. ริมฝีปากล่าง
                                             8. ฟันล่าง
                                             9. ปลายลิ้น
                                             10. ลิ้นส่วนปลาย
                                             11. สิ้นส่วนหน้า
                                             12. ลิ้นส่วนหลัง
                                             13. โคนลิ้น
 

          "ร" เปล่งเสียงเป็นเสียงรัว เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง ปลายลิ้นจะยกขึ้นไปใกล้ปุ่มเหงือกมากที่สุด ลิ้นจะอยู่ในลักษณะตั้งชึ้น เมื่อเปล่งเสียงความรุนแรงของลมในช่องปากที่ออกสู่บริเวณภายนอก จะทำให้ปลายลิ้นเกิดการสั่นสะบัดหรือรัว ขณะเปล่งเสียงเส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือน เสียงที่เปล่งออกมาจะเป็นเสียงรัว เกิดที่ปุ่มเหงือก
ทดสอบออกเสียง ร
          ริ้น  เรือน  รัว  รวง  รวง  ราก  ราด  ร้อง  ร้อน  รำ  รีบ  โรง  โรค  เรือน  ร้าง  ร่วง  ร่อง  โรย  รัก  เรา  รอย  เร่ง  ราย  รา  เรียก  เรื่อง  ร่าย  รน  เรียน  รัง  ร้าว  รูป  รบ  เรือ  เรื้องรัง  ระรัว  โรคเรื้อน  เรือรบ  แรมรา  เรือนร่าง  ร้อนรน  รีบร้อน  ร้องรำ  โรงเรียน  รักร้าว  ร่องรอย  รีบเร่ง  โรยรา  รกร้าง  รุงรัง  เร่าร้อน 
ทดสอบออกเสียงควบกล้ำ ร
          เกรง  กรับ  กริ่ง  กราบ  กรีด  กรุย  กรวย  กรอง  กร่อย  กริ๊งกร๊าง  กริ่งเกรง  กรอบแกรบ  กราบกราน  กรีดกราย  ครัว  คราม  ครึกโครม  โครมคราม  ปรับ  ปรุ  ปราด  เปรี้ยง  ปรุง  โปรย  เปรี้ยงปร้าง  เปรียบเปรย  ปรับปรุง  ตรอก  ตรู่  ตรากตรำ  เตรียม
 

          "ล" เสียงข้างลิ้น เป็นการเรียกตามทิศทางของลมหายใจออก คือลมจะผ่านออกทางข้างลิ้น เสียงข้างลิ้นมีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า เสียงเปิดข้างลิ้น ลักษณะของลิ้นไม่แบ ทำให้ด้านข้างของลิ้นมีช่องว่างพอที่ลมจะผ่านออกทางข้างลิ้นได้สะดวก
          เสียงข้างลิ้นในภาษาไทย มีฐานที่เกิดเสียงที่ปุ่มเหงือก เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง ลิ้นส่วนปลายจะแตะที่ปุ่มเหงือก ลมจะผ่านออกทางข้างลิ้นได้สะดวก ขณะที่เปล่งเสียงนั้น เส้นเสียงอยู่ชิดกันแต่ไม่ชิดกันสนิท ลมจากปอดจะผ่านเส้นเสียงขึ้นมา ทำให้เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือน
ทดสอบออกเสียง ล
          ลูก  ล้ำ  เล่น  แล  เลิศ  และ  ลับ  แล้ว  ลิ้น  แล่น  ล้าง  ลอย  ลม  โลก  ลา  ลาม  ลุก  เล็ม  ลิง  ไล้  ลาม  ลอง  เลิศเลอ  ล่องล่อย  ลอยลม  ลับแล  ล้างโลก  ลาดเลา  ลึกลับ  ลูบไล้  เล้าโลม  ลุกลาม  ลิ้นลม  ลีลา  ลำลอง
ทดสอบออกเสียงควบกล้ำ ล
          กลม  เกลียว  กลอย  กล่าว  กล่อม  กลิ่น  กลีบ  กลมกล่อม  พลาด   พลอย  พลั้ง  เพล้  พล่าน  เพลง  โพล้เพล้  พลาดพลั้ง  คลื่น  คล้อย  เคลง  คล่อง  คลอง  คลึง  คล้าย  คลาย  ไคล  คลา  คล้ายคลึง  คลุ้มคลั่ง  คลาไคล  ปลวก

  

 “ว” เป็นเสียงกึ่งสระที่เพดานอ่อน
          เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง ยกลิ้นส่วนหลังขึ้นไปทางเพดานอ่อน แต่ไม่ใกล้มาก จนเกิดเป็นช่องแคบๆ
           อันจะทำให้ลมต้องเสียดแทรกออกมา ห่อริมฝีปากขณะเปล่งเสียง เส้นเสียอยู่ชิดกันแต่ไม่ชิดกันสนิทกัน ลมจากปอดจะผ่านเส้นเสียงทำให้เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือน เสียงที่เปล่งออกมาเป็นเสียงกึ่งสระที่เพดานอ่อน ก้อง
ทดสอบออกเสียงควบกล้ำ ว
          แกว่ง  กวัด  ไกว  กว้าง  กวาง  ขวิด  ขวัญ  ขวาน  ไขว้  แขวน  ขวับ    เขวี้ยง  เขว  ขวนขวาย  ไขว้เขว  ขวักไขว่  ไขว่คว้า  ขวัญแขวน  ควัก  คว้า  ควาย  ควาญ  ควัน 

          “จ” เป็นเสียงกักเสียดแทรก เกิดที่ฐานปุ่มเหงือกเพดานแข็ง ไม่ก้อง ไม่มีกลุ่มลม
          เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง สิ้นส่วนปลายจะขึ้นไปแตะที่ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ลมจะถูกกักในบริเวณดังกล่าว เส้นเสียงอยู่ห่างกัน มีช่องระหว่างเส้นเสียงทำให้ลมจากปอดผ่านช่องระหว่างเส้นเสียงได้สะดวก เมื่อจะเปล่งเสียง ลิ้นส่วนปลายจะลดระดับลงเล็กน้อยทำให้มีช่องแคบๆ ระหว่างลิ้นส่วนปลายและปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ลมที่ถูกกักจะผ่านช่องระหว่างลิ้นส่วนปลายและปุ่มเหงือก-เพดานแข็งออกมาในลักษณะของการเสียดแทรก ปริมาณลมเป็นไปตามปกติ หรืออาจกล่าวได้ว่าไม่มีกลุ่มลมตามออกมา
ทดสอบออกเสียง จ
          แจก  จิก  แจ้ง  จ๋อม  จ้อง  จิ๋ว  แจ๋ว  จน  จอก  แจ่ม  จาน  เจ้า  จ้าว  จิต  จ้า  จี้  ใจ  จัง  จักร  จับ  จด  จันทร์  จัด  แจ้ง  จอย  จับ  เจียว  เจียก  เจียน  เจ็บ  จาว  จริง  แจง  จ๋อย  จิก  จิ้งจก  จิตใจ  จุกจิก  โจ่งแจ้ง  เจิดจ้า  จู้จี้  เจื้อยแจ้ว  เจ็บใจ  จริงจัง  จับเจ่า  จดจ้อง  จัดแจง  จันทร์เจ้า  เจี๋ยมเจี้ยม

 

          “ฉ ช” เป็นเสียงกักเสียดแทรกเกิดที่ฐานปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ไม่ก้อง มีกลุ่มลม
          เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง ลิ้นส่วนปลายจะขึ้นไปแตะที่ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ลมจะถูกกักในบริเวณดังกล่าว เส้นเสียงอยู่ห่างกัน ลมจากปอดจะผ่านช่องระหว่างเส้นเสียงได้สะดวก เมื่อจะเปล่งเสียง ลิ้นส่วนปลายจะลดระดับลงเล็กน้อย ทำให้มีชองแคบๆ ระหว่างลิ้นส่วนปลายและปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ลมที่ถูกกักจะผ่านช่องระหว่างลิ้นส่วนปลายและปุ่มเหงือก-เพดานแข็งออกมาในลักษณะของการเสียดแทรก ปริมาณลมมากกว่าปกติ หรืออาจกล่าวได้ว่ามีกลุ่มลมตามออกมา

ทดสอบออกเสียง ฉ ช
          ฉก  ฉ้อ  ฉาก  ฉวย  แฉะ  ฉล  ฉับ  ฉ่ำ  ฉิว  เฉิด  เฉียง  เฉย  เฉา  ฉาว  ฉุก  ฉัน  ฉาย  ฉาบ  เฉอะ  โฉ่  ฉุกเฉิน  ฉาบฉวย  ฉาวโฉ่  ฉำฉา  เฉไฉ  โฉดเฉา  เฉิดฉัน  ฉะฉาน  เฉอะแฉะ  ฉุกฉวย  ฉุยฉาย  ชง  ชัก  ชา  ช้อน  ช้า  ชั่ว  ช่วง  ชม  ชัฏ  ชัก  ชก  เช่า  ชาติ  โชย  ช้า  เช้า  โชค  ชวน  ช้ำ  ชื่น  แช่ม  ช้อย  เชิง  ชั้น  ชั่ง    ช่ำชอง  โชกโชน  เชื่องช้า  ชดช้อย  ชายชาญ  ชั่วช้า  ช่วงชิง  ชักชวน  ชอกช้ำ  แช่มชื่น  ชันเชิง  ชิงช้า

          “ซ ศ ษ ส” เป็นเสียงเสียดแทรกเกิดที่ฐานปุ่มเหงือก
          เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง ลิ้นส่วนปลายจะขึ้นไปแตะใกล้ปุ่มเหงือก ลมในช่องปากไม่ถูกกัก แต่จะผ่านออกไม่สะดวก ต้องเสียดแทรกผ่านช่องระหว่างลิ้นส่วนปลายกับปุ่มเหงือก ขณะเปล่งเสียงเส้นเสียงจะอยู่ห่างกัน มีช่องว่างระหว่างเส้นเสียง ลมจากปอดจะผ่านช่องระหว่างเส้นเสียงได้สะดวก

ทดสอบออกเสียง ซ ศ ษ ส
          สวย  สูตร  สืบ  สาว  สวน  สอย  สาม  สี่  เสียง  เส้น  ส่ง  สิว  เสื้อ  เสก  สาร  ใส  สุก  ส่วย  สาย  สอด  ไส้  ไส  สว่าง  แสก  สร้อย  สุด  เสียว  สิ้น  สั่น  สื่อ  สิ้นสุด  สื่อสาร  สุกใส  สนับสนุน  สงสัย  สืบเสาะ  เสียวไส้  สินสอด  สายสมร  สว่างไสว  ศีล  ศึก  โศก  เศียร  ศร  ศอก  ศูนย์  ศก  ศรี  โศกศัลย์  ซบ  ซอง  ซัด  เซ่อ  แซบ  ซ้าย  ศูนย์สูตร  เศษส่วน

          “ถ ท” เป็นเสียงกักเกิดที่ฐานฟัน-ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง มีกลุ่มลม
          ในการเปล่งเสียง ลิ้นส่วนปลายจะแตะที่ฟัน-ปุ่มเหงือก ลมจะถูกกักในบริเวณดังกล่าว เส้นเสียงอยู่ห่างกัน มีช่องว่างระหว่างเส้นเสียง ขณะเปล่งเสียงลมจากปอดจะผ่านช่องระหว่างเส้นเสียงได้สะดวก ในขณะเดียวกันนั้นก็เปิดที่กักที่ฟัน-เหงือกให้ลมผ่านออกไป ปริมาณลมจะมากกว่าปกติหรืออาจกล่าวว่าได้มีกลุ่มลมตามออกมา
ทดสอบออกเสียง ถ ท
          เที่ยว  ทุกข์  ทุน  ทุ่ง  ไท้  เทียบ  ทิศ  ท่วม  เท้า  แท้  โทษ  ทัก  เทียม  ทัด  ท่อง  ท้อง  ท่า  ทาย  ท้า  ทำ  แท้  ทั่ว  ทน  ท้อ  ท้าว  เท่  ท้วม  ทอด  ทอย  ทุย  ถม  ถ้วย  ถาก  ถัก  ถือ  เถ้า  เถิน  แถ  ไถ่  ถ้วน  ถาม  ทำโทษ  ท่องแท้  ทัดเทียม  โทษฐาน  ทนทุกข์  ทั่วท้อง  ทักท้วง  เทิดทูน  ท่าที  ท้าทาย  ไถ่ถาม  ถี่ถ้วน

          “ฝ ฟ” เป็นเสียงเสียดแทรกเกิดที่ฐานริมฝีปากและฟัน
          เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง ฟันบนจะอยู่ใกล้ริมฝีปากล่าง (ฟันบนจะสัมผัสริมฝีปากล่างเล็กน้อย) ลมในช่องปากไม่ถูกกัก แต่จะผ่านออกไม่สะดวก ต้องเสียดแทรกผ่านช่องระหว่างริมฝีปากกับฟัน ขณะเปล่งเสียง เส้นเสียงจะอยู่ห่างกัน มีช่องระหว่างเส้นเสียง ลมจากปอดจะผ่านช่องระหว่างเส้นเสียงได้สะดวก
ทดสอบออกเสียง ฝ ฟ
          ฝน  ฝัก  ฝาย  ฝืน  เฝ้า  ฝิ่น  แฝก  ฝาก  ฝัง  ฝูง  ฝุ่น  ฝา  ฝึก  ใฝ่  ฝัน  ฝาก  ฝี  ฝ่าย  ฝ่า  ฝอย  ฝักฝ่าย  ฝ่าฝืน  ฝากฝัง  ใฝ่ฝัน  ฝ่ายขวา  ฝึกสอน  ฝ่าฝัน  ฟ้า  ฟรี  ฟ้อง  ฟอด  ฟัง  ฟัน  เฟ้อ  เฟื่อง  เฟิน  เฟื้อง  ฟื้น  ไฟ  ฟ้า  ฟูม  ไฟฟ้า  ฟั่นเฟือน  ฟั่นเฝือ  ฟูมฟาย  ฟูมฟัก  เฟื่องฟ้า  เฟอะฟะ  ฟื้นฝอย  ฟุ่มเฟือย  เฟื่องฟู

          ”ง” เป็นเสียงนาสิกเกิดที่ฐานเพดานอ่อน
          เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง ลิ้นสวนหลังจะขึ้นไปแตะเพดานอ่อน ลมจะถูกกักในบริเวณดังกล่าว ในขณะเดียวกันเพดานอ่อนและลิ้นไก่ลดระดับลงทำให้ลมผ่านออกไปทางช่องจมูกได้ เมื่อเปิดที่กักที่เพดานอ่อน ลมจะออกทางปากด้วย ขณะที่เปล่งเสียงนั้น เส้นเสียงอยู่ชิดกันแต่ไม่สนิท ลมจากปอดจะผ่านเส้นเสียงขึ้นมาทำให้เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือน
ทดสอบออกเสียง ง
          งู  งา  เงิน  งาม  ง้ำ  ง่อย  เงี้ยว  โง่  งอ  งัน  งวด  เงื้อม  งก  งั่ง  งาบ  งีบ  งง  แงะ  งัด  งก  งงงัน  งงงวย  งอแง  ง่องแง่ง  งดงาม  งัดแงะ  งันงก

          “ฮ” เป็นเสียงเสียดแทรกเกิดที่ฐานเส้นเสียง
          เมื่อเริ่มต้นจะเปล่งเสียง เส้นเสียงจะอยู่ใกล้กัน มีช่องว่างระหว่างเส้นเสียง ขณะเปล่งเสียง ลมจากปอดจะเสียดแทรกผ่านช่องว่างระหว่างเส้นเสียงขึ้นมา และผ่านออกทางช่องปาก (ไม่มีช่องแคบๆ ที่บริเวณอื่นในช่องปาก)
ทดสอบออกเสียง ฮ
          ฮวน  ฮวบ  ฮั่น  ฮ้า  เฮ  เฮง  เฮ้ว  แฮ  โฮะ  เฮี้ยว  แฮม  ไฮโล  โฮเต็ล  ไฮดรา  ฮินดู  ฮาเร็ม

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น