panna.1995
ดู Blog ทั้งหมด

ตัวอย่างโครงงานวิทย์เชิงประดิษฐ์

เขียนโดย panna.1995

โครงงานวิทยาศาสตร์ (ปวช.1)

 

เรื่อง  โคมไฟ เยื่อใบไม้

 

 

จัดทำโดย

 

นางสาวสายสร้อย            บัวพ่วง

นางสาวอัจฉรา                 นุ่มร่ม

นางสาวกิตติยา                 เดื่อขุนทด

นางสาวพรศิลา                 เกื้อสกุล

นางสาวอภัชญา                 ฮังกะสี

 

 

 

อาจารย์ที่ปรึกษา   นงลักษณ์    ภัศระ

 

 

 

วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่

รายงายนี้เป็นส่วนประกอบของการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์  รหัส

 

 

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554

 

 

 

บทคัดย่อ

ใบไม้เป็นวัสดุทางธรรมชาติที่สามรถหาได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นที่สถานศึกษา บ้านหรือชุมชน  การนั่งมองใบไม้จะเห็นได้ว่าใบสามารถปลิวไปตามแรงลมเคลื่อนไหวอยู่เสมอไม่หยุดนิ่ง  จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้จัดทำคิดริเริ่มที่จะพัฒนาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอไม่หยุดนิ่ง

จากการศึกษาด้วยการทำโครงงานทดลองพบว่า  มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ  การทำปฏิกิริยาระหว่างสบู่ซัลไลต์ ไฮเตอร์ น้ำและขี้เถ้าที่มีต่อใบไม้ ส่งผลให้เกิดเป็นเยื่อใบไม้ที่มีลักษณะสวยงาม ใบไม้ที่มีรูปร่างตรงตามความต้องการได้แก่ ใบโพธิ์ ใบขนุน ใบข่อย ใบราชพฤกษ์และใบยางพารา เป็นต้น 

โครงงานโคมไฟ เยื่อใบไม้มีจุดมุ่งหมายในการทดสอบสารทดลองต่างๆ อาทิ สบู่ซัลไลต์   ไฮเตอร์   น้ำและขี้เถ้าต่อใบไม้ ที่สามารถทำให้เกิดเยื่อใบไม้ที่ได้จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มาแปรรูปเป็นโคมไฟที่สามารถประดับตกแต่งและใช้สอยในชีวิตประจำวันได้เพื่อตอบสนองความต้องการทางตลาดของผู้บริโภค

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณแม่อภัสสร  บุตรสุวรรณที่อุทิศเวลาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกชนิดของใบไม้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเบื้องต้นในการประดิษฐ์ผลงาน ขอบคุณคณะผู้ปกครองทุกท่านที่สนับสนุนเงินด้านงบประมาณ ขอบใจน้องนภาพร  อินตะมะที่คอยติดตามและช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดทำรายงานการนำเสนอโครงงานโคมไฟเยื่อใบไม้

และที่ขาดไม่ได้ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์นงลักษณ์   ภัศระ เป็นอย่างสูงด้วยใจจริงที่กรุณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนอรูปแบบโครงงานที่ถูกต้อง  ทำให้การนำเสนอโครงงานทดลองในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ทางคณะผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง   มา ณ.โอกาสนี้ด้วย

 

 

 

 

คณะผู้จัดทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอโครงงานทดลองวิทยาศาสตร์เชิงประดิษฐ์ ในหัวข้อ โคมไฟเยื่อใบไม้

คณะผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาข้อมูลจากหนังสือ  อินเทอร์เน็ตและภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วปฏิบัติการทดลอง  เกี่ยวกับตัวอย่างสารเคมี อาทิ สบู่ซัลไลต์   ไฮเตอร์ และขี้เถ้าที่มีต่อการเร่งการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างน้ำกับใบไม้  จนได้เยื่อใบไม้เกิดขึ้น  และพัฒนาต่อยอดมาเป็นโคมไฟที่สามารถประดับตกแต่งและใช้สอยในชีวิตประจำวันได้  เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัสดุธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้อย่างเช่น กรงนกเก่า  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

ด้วยความตั้งใจละสามัคคีในการนำเสนอโครงงาน ชิ้นนี้เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาค้นคว้า  ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานโคมไฟ เยื่อใบไม้ จะสามารถเป็นแนวทาง และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้ต่อยอดความคิดดีๆ จนเกิดเป็นผลงานใหม่ๆได้ไม่มากก็น้อย สุดท้ายนี้หากมีข้อบกพร่องใดๆทางคณะผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ.โอกาสนี้ด้วย

 

 

 

คณะผู้จัดทำ           

 

 

 

 

 

 

 

 

 *หมายเหตุ ขออภัยทุกท่านนะคะรายงานของโครงงานเรื่องนี้ไม่สามารถ อัปโหลดหน้าสารบัญได้

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          เนื่องด้วยชุมชนต่างๆที่สมาชิกภายในกลุ่มอาศัยอยู่  มีเศษขยะจากใบไม้มากมาย   ต้องกำจัดอยู่เป็นประจำ   ซึ่งบางครั้งก็นำไปเป็นปุ๋ยสำหรับต้นไม้  แต่บางครั้งก็เกิดปัญหาลมพัดแล้วใบไม้ก็ปลิวกลับมาเป็นขยะเช่นเคย    หลังจากการทำความสะอาดหลายๆครั้ง   จึงได้มีการสังเกตเห็นว่า  ใบไม้มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม  จึงเกิดความคิดที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับใบไม้   และสมาชิกกลุ่มมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าน่าจะนำวิทยาศาสตร์และศิลปะที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์และปรับใช้  หลังจากช่วยกันคิดค้นก็ได้เริ่มลงมือปฏิบัติจนเกิดเป็นโครงงานโคมไฟ เยื่อใบไม้ มีการทดลองเกี่ยวกับการทำเยื่อใบไม้จนได้ค้นพบวิธีการที่สามารถผลิตเยื่อใบไม้ที่ใช้เวลาน้อยลงจากเดิม และเป็นที่พึงพอใจของสมาชิกกลุ่มและผู้คนที่ได้พบเห็น เมื่อได้เยื่อใบไม้แล้วจึงมีการต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าเพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาด จึงมีการนำเยื่อใบไม้มาประดิษฐ์เป็นโคมไฟซึ่งสามารถตกแต่งและใช้สอยได้ในชีวิตประจำวัน

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.สามารถแปรรูปใบไม้และวัสดุเหลือใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

2.เรียนรู้ทดลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างใบไม้ สบู่ซัลไลต์ ไฮเตอร์-น้ำและขี้เถ้า

3.เรียนรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวเพื่อต่อยอดเป็นอาชีพ  และมีรายได้ตามมา

4.พัฒนาความคิดริเริ่มตลอดเวลาเพิ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ

สมมุติฐานการศึกษา

การทดลองปฏิกิริยาเคมีระหว่างสบู่ซัลไลต์ ไฮเตอร์ น้ำและขี้เถ้าที่มีต่อใบไม้

เพื่อเร่งระยะเวลาของการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี

 

คำนิยามเชิงปฏิบัติการ

การเพิ่มสบู่ซัลไลต์ ไฮเตอร์ และขี้เถ้า จะส่งผลให้เกิดการเร่งปฏิกิริยาเคมีของน้ำที่มีต่อที่มีต่อใบไม้

 

ขอบเขตการศึกษาทดลอง

ระยะเวลา    ตั้งแต่วันที่  6 มิถุนายน -  14 กรกาคม 2554

สถานที่        บริเวณสถานศึกษา บ้าน และชุมชน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถเข้าใจปฏิกิริยาเคมีของสารทดลองที่เกิดขึ้นกับใบไม้

2.เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ

3.ได้รับผลิตภัณฑ์ที่สามารถต่อยอดเป็นอาชีพและมีรายได้ตามมา

4.เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

บทที่ 2

เอกสารอ้างอิง

การประดิษฐ์เยื่อใบไม้
            ใบไม้ที่ใช้ในการทำเยื่อใบไม้ต้องมีโครงสร้างของใบไม้แข็งแรง ได้แก่ ใบโพธิ์  ใบขนุน ใบข่อย ใบราชพฤกษ์ และใบยางพารา เป็นต้น ควรเลือกใช้ใบไม้สดที่มีอายุของใบปานกลาง ไม่อ่อนและแก่เกินไป เพราะจะมีผลต่อการหมัก หรือ แช่ใบทำให้ใบที่ได้ไม่สวยงามตามโครงสร้างของใบ

วิธีทำเยื่อใบไม้ มี 3 วิธี
วิธีที่ 1 วิธีตามธรรมชาติ
โดยการนำใบไม้ดังกล่าวใส่แช่น้ำเปล่าหมักทิ้งไว้ประมาณ 20 -30 วัน
วิธีที่ 2 วิธีการแช่ด่าง
หั่นสบู่เป็นฝอยๆ ผสมขี้เถ้าและน้ำ โดยอัตราส่วน น้ำ 4 ขี้เถ้า1.5 ส่วน สบู่ 1.5 ก้อนต่อใบไม้ 70-100 ใบ นำส่วนผสมทั้งหมดผสมกันแล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วัน
วิธีที่ 3 วิธีการต้ม
นำส่วนผสมในวิธีที่ 2 ใส่ภาชนะแล้วต้ม ใช้เวลาประมาณ 3-5 ช.ม.หรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของใบนั้นจากที่ต้มเสร็จแล้วให้นำมาล้างให้สะอาดใช้แปรงขนอ่อน แปรงเยื่อใบให้หลุดออกจนเหลือแต่โครงสร้างของใบ จากนั้นนำมาฟอกขาวด้วย *ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์   อย่างอ่อนแล้วจึงล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้ง ตากไว้ให้แห้ง

*ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์  มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์อยู่ 3% อีก 97%เป็นน้ำ มีการเติมเแอลกอฮอล์

ลงไปเล็กน้อยเพื่อกันมิให้ H2O2 สลายตัวเร็วเกินไป   มีขายตามร้านขายยาทั่วไป

 

วิธีการย้อมสี
             1. วิธีการจุ่ม การย้อมสีใบยางที่ต้องการให้มีระดับความเข็มของสี เป็น สีอ่อน กลาง และเข็มทำได้โดยจุ่มใบยางลงในสีอ่อนให้ทั่วใบ จากนั้นจุ่มลงสีเข้มระดับกลางจนถึงปลายใบแล้วจึงจุ่มสีเข้มที่สุดเฉพาะตรงส่วนปลายใบ นำไปผึ่งจนแห้ง
             2. วิธีการปัดสีด้วยพู่กัน นำใบยางที่ฟอกขาวแล้ว จุ่มลงในสีอ่อน หรือน้ำเปล่า วางบนแผ่นกระจก พอหมาดๆ ใช้พู่กันปลายตัด เบอร์ 10-14 จุ่มสีเข้มกว่าระบายลงบนกลีบใบ 3 ใน5 ส่วนของใบ ทิ้งไว้พอหมาด แล้วใช้พู่กันปัดสีเข้มที่สุด 1 ส่วน ถ้าต้องการให้สีเข้มให้ปัดซ้ำได้ตามต้องการ วางผึ่งบนแผ่นกระจก ตากทิ้งไว้จนแห้งถ้าต้องการให้สีเข้มให้ปัดซ้ำได้ตามต้องการ

*ที่มา http://kmcdd.ecgates.com/kmblog/other_profile.php?userid=808

 

บทที่  3

วิธีการดำเนินโครงงาน

 

ตารางปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน วันที่ 6 มิถุนายน 14 กรกฎาคม 2554

 

สัปดาห์ที่

กิจกรรมที่ปฏิบัติ

สถานที่ทำกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ

1-2

วันที่ 6-14

มิถุนายน

2554

เลือกหัวข้อการทำโครงงานนำเสนออาจารย์

พร้อมทั้งเหตุผลในการทำ

ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร  หนังสือและ

อินเทอร์เน็ต

กำหนดการศึกษาจากวิทยากร

ห้องเรียน

ห้องอินเทอร์เน็ต

ห้องสมุด

 

สมาชิกในกลุ่ม

 

ครูที่ปรึกษา

3

วันที่  15 -23

มิถุนายน

2554

ทำรายงานเพื่อขอเบิกอุปกรณ์

    ส่วนค่าใช้จ่าย เก็บคนละ 100 บาท

    และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 

 -  ติดต่อวิทยากรท้องถิ่น

 

ห้องเรียน 

 

สมาชิกในกลุ่ม

ครูที่ปรึกษา

4-5

วันที่ 24.

มิถุนายน-5

กรกฎาคม

2554

  ศึกษาข้อมูลจากวิทยากรท้องถิ่น

-   ลงมือปฏิบัติการทำเยื่อใบไม้

-    ต่อยอดทำโคมไฟ  และตกแต่งให้     สวยงาม

 

ห้องเรียน  - บ้าน

และชุมชน

 

สมาชิกในกลุ่ม

ครูที่ปรึกษา

แจ้ง Blog ไม่เหมาะสม
15 ก.ย. 54
8,587
1

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณนะคะน้องมะลิสำหรับความรู้