วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์IM(ศิลปากร) - วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์IM(ศิลปากร) นิยาย วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์IM(ศิลปากร) : Dek-D.com - Writer

    วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์IM(ศิลปากร)

    โดย (((MooHam)))

    แนะนำหลักสูตร และประวัติความเป็นมา สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ ภาควิชาวิศวะฯอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร

    ผู้เข้าชมรวม

    10,260

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    10.26K

    ความคิดเห็น


    16

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 มี.ค. 50 / 18:29 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    สาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม ได้ทำการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์แล้ว

    โดยเริ่มที่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป

    เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ ให้เป็นนักศึกษาที่

    เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยจัดหลักสูตรให้มีการศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านโลจิสติกส์โดยตรง

    นอกจากนั้นยังได้ศึกษาวิชาต่างๆที่สำคัญทางด้านวิศวกรรมและการจัดการ การบริหารงาน การจัดการเกี่ยวกับปัญหา

    เพื่อให้นักศึกษาที่จบออกไปสามารถเข้าใจปัญหา และแก้ไขปัญหาทางด้านงานด้านโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างดีโดย

    มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมอุตสาหการ กระบวนการผลิต การวางแผนการผลิต รวมทั้งการจัดการงาน

    ต่างๆด้านกระบวนการจัดการsupply chain และ Logistics Network ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    เข้าสู่เว็บไซด์ที่นี่

    วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์


    บริการเสริม Shopping Online

    - Baketball footwaer Store
    - Baggage Store
    - LoveStory Book Store

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      สาขาวิชา เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

      ชื่อหลักสูตร : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

      Bachelor of Engineering Program in Industrial Management Technology

      ชื่อปริญญา : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ( เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)

      วศ.บ. ( เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)

      Bachelor of Engineering ( Industrial Management Technology)

      B. Eng . ( Industrial Management Technology)

      ประวัติความเป็นมาของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ
      คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
      มหาวิทยาลัยศิลปากร

      เนื่องจากในภูมิภาคตะวันตก ซึ่งเป็นเขตที่มีโรงงานอุตสาหกรรม
      และการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษา
      ที่เปิดสอนและสนับสนุนงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อเป็นการยกระดับ
      คุณภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากร
      วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในภูมิภาคตะวันตก จึงได้สนับสนุนให้ี้
      ภูมิภาคแห่งนได้มีวิทยาการทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ที่เจริญก้าวหน้า เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ
      ของประเทศที่มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รองรับอยู่ โดยเริ่มดำเนินการตามโครงการปี พ.ศ. 2540
      และในปีงบประมาณ 2540 ดำเนินการจัดทำโครงการภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ
      และดำเนินการร่างหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ ปีงบประมาณ 2541 และเป็น
      โครงการที่ได้เสนอขอบรรจุเข้าในแผนพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ระยะที่ 8 พ.ศ. 2542
      โดยที่ตั้งโครงการอยู่ที่ชั้น 5 อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
      โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ เปิดดำเนินการรับนักศึกษา
      รุ่นแรกจำนวน 50 คน ในปีการศึกษา 2542 ในปีงบประมาณ 2544 ดำเนินการปรับปรุง
      หลักสูตรสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ และในปัจจุบันมีนักศึกษา 368 คน

      เป้าหมายของโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ

      1. เน้นให้นักศึกษามีระเบียบวินัยและมีความรับผิดชอบ .
      2. มีความสามารถในการประยุกต์และพัฒนาองค์ความรู้.
      3. ส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์......................
      4. มีลักษณะเป็นผู้นำที่ดี..........................................
      5. มีคุณธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ ..................

      วัตถุประสงค์ของโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ

      1. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์มาสู่ภูมิภาคตะวันตก
      2. เพื่อผลิตวิศวกรออกไปพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ.......................
      3. เพื่อวิจัยและพัฒนาศักยภาพทางการผลิตให้แก่อุตสาหกรรมในภูมิภาค...

      ตะวันตกให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×