architectung
ดู Blog ทั้งหมด

ศิลปะแห่งการรณรงค์ @BACC

เขียนโดย architectung

 

หลายวันมาแล้วได้มีโอกาสไปเหยียบหอศิลป์กรุงเทพ

โดยเสี่ยงเอาเวลาชีวิตตัวเองเข้าเเลก เพราะไม่รู้มาก่อนว่าที่นั่น

จัดแสดงนิทรรศการอะไรอยู่ บางที อาจเป็นหอว่างเปล่า ทำให้เราเสียเวลาเว่อร์

แต่เมื่อไปถึง...ก็เจอะโปสเตอร์ด้านบน

มันดูง่ายๆ แต่กลับให้ความรุณแรงในแง่ของอารมณ์ รวมถึงทำให้เราตั้งคำถามถึงการสมควรมีอยู่

ของหอศิลป์กรุงเทพฯ..... ภายใต้ชื่อนิทรรศการ Campaign for Art หรือ ศิลปะแห่งการรณรงค์นั่นแล

แม้บรรยากาศของการจัดแสดง รวมถึงจำนวนผู้เข้าชมงานจะไม่มากมาย อลังการเหมือนกับ

หรือ

ที่ผมเคยมีโอกาสเข้าชมบ่อยครั้ง แต่ก็ไม่ได้นำมาโพสลงเอ็นทรี แต่แน่ใจว่าคงมีสมาชิกท่านอื่น

ทำการโพสไปบ้างแล้วเกี่ยวกับนิทรรศการทั้งสอง

และนี่เป็นเอ็นทรีแรกๆ ของผมที่มีสาระ (อยากจะขำ) + ความสามารถทางการสื่ออารมณ์ผ่านทางตัวอักษร

ของผม

อาจจะด้อยไปนิด แต่อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

กลับมาที่ Campaign for Art ผมช่างสะเพร่าเสียจริงที่ไม่ได้จดคอนเซปท์ของงาน

รวมถึงจุดประสงค์ของการรวมกลุ่มศิลปินเพื่อสร้างสรรค์ผลงานรณรงค์ครั้งนี้เอาไว้ Y_Y (อีโมติคอน เป็นสิ่งที่ผมไม่ชอบใช้ จากนี้จะได้เห็นน้อยลง หรืออาจไม่มีเลยก็ได้)

ว่ากันที่ชิ้นงานจัดแสดง ซึ่งมีมากกว่า 2,000 ชิ้น!! ทั้งนี้เพื่อระลึกถึงกระบวนการต่อสู้เรียกร้องของกลุ่มคนรักศิลปะ และแสดงถึงความเป็นมาอันยาวนานของการก่อตั้งหอศิลปฯ

ผลงานที่นำมาจัดแสดงนั้นได้วาดขึ้นเพื่อร่วมการเดินขบวนศิลปะที่ยาวที่สุดในโลก

ในการรณรงค์ที่ชื่อว่า “ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า” ในช่วงปี 2544


ด้านหนึ่งคือผลงานศิลปะ ขณะที่อีกด้านหนึ่งคือหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของอดีต

ให้เราได้เรียนรู้

ผลงานศิลปะร่วม 2,000 ชิ้นนี้

จำนวนหนึ่งเป็นผลงานของศิลปินซึ่งเป็นที่รู้จักดี

เช่น วสันต์ สิทธิเขตต์, จุมพล อภิสุข, หงษ์จร เสน่ห์งามเจริญ และทวีศักดิ์ ศรีทองดี

แต่ผลงานอีกจำนวนหนึ่งเป็นฝีมือของคนธรรมดามีอาชีพทั่วไป แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่า

ผลงานเหล่านี้เป็นของผู้มีส่วนร่วมในการต่อสู้เรียกร้องหอศิลปฯ แห่งนี้ที่มีตัวตนอยู่จริงทั้งสิ้น

 

ขออภัยในเรื่องของความไม่ค่อยคมชัดของภาพด้วยครับ *

นอกจากการจัดแสดงภาพศิลปะรณรงค์เพื่อหอศิลป์แล้ว ยังได้จัดแสดงการบอกเล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้น

ลำดับเหตุการณ์ และผู้ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน

ก่อนที่จะเป็นหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ สี่แยกปทุมวัน ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ กระบวนการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อนำมาสู่หอศิลปฯ แห่งนี้ มีผู้เกี่ยวข้องมากมาย

ทั้งศิลปิน นักวิชาการ นักการเมือง นักสื่อสารมวลชน และอิสระชนคนธรรมดาสามัญ

ผ่านเหตุการณ์น้อยใหญ่หลายครั้ง เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวและสีสัน มีการจัดกิจกรรมครั้งแล้วครั้งเล่า

มีข้อเสนอ มีการชุมนุม มีการเจรจา มีการปะทะขัดแย้งในหลากหลายมิติ

จนสามารถผลักดันให้ภาครัฐ(กรุงเทพมหานคร)

เห็นชอบงบประมาณสร้างอาคารแห่งนี้ด้วยงบประมาณ 509 ล้าน



การรณรงค์ดังกล่าวจึงมีความเป็นศิลปะอยู่ในตัวเอง เป็นศิลปะแห่งการต่อสู้ เป็นศิลปะแห่งการเคลื่อนไหว

และเป็นศิลปะแห่งการร่วมแรงร่วมใจ ขณะเดียวกันหลากหลายกิจกรรมในระหว่างการรณรงค์

ก็ได้สร้างผลงานทางศิลปะมากมาย การเดินทางอันยาวนาน (และยังไม่สิ้นสุด?) ของหอศิลปฯ กรุงเทพ

จึงนับเป็นปรากฏการณ์ของ “ศิลปะแห่งการรณรงค์และการรณรงค์ด้วยพลังทางศิลปะ” โดยแท้

ข้อมูลอันเป็นสาระจาก : http://www.bacc.or.th/ 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น