papae.pp
ดู Blog ทั้งหมด

พัฒนาการด้านศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของไทย1

เขียนโดย papae.pp

1.พัฒนาการของศิลปะไทย

                ศิลปะเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อสนองความต้องการทางด้านอารมณ์  จิตใจ  ศิลปะสะท้อนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม  ผลงานศิลปะในแต่ละสังคม  แต่ละยุค  แต่ละสมัย  จึงสามารถบ่งบอกถึงความเจริญ  ความเสื่อมถอย  ความเชื่อ  ค่านิยม  ความสามารถ และสติปัญญาของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ  ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาได้นอกเหนือจากบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร

                ศิลปะในประเทศไทย  ส่วนใหญ่เป็นศิลปะเกี่ยวกับศาสนา  การแบ่งยุคสมัยของศิลปะจะต้องใช้รูปแบบลักษณะทางศิลปะที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นเกณฑ์ในการแบ่งช่วงสมัย

                การแบ่งยุคสมัยทางศิลปะโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น  2  ช่วงเวลา  ได้แก่  ศิลปะไทย  ก่อนพุทธศตวรรษที่  19  ศิลปะไทยหลังพุทธศตวรรษที่  19  เป็นต้นมา  คือ  ศิลปะซึ่งสร้างขึ้นในวัฒนธรรมไทย

   
 

1.1  ศิลปะไทยก่อนพุทธศตวรรษที่  19   (ก่อน  พ.ศ. 1800)

                ศิลปะไทยในช่วงเวลาก่อนพุทธศตวรรษที่  19  เป็นศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นในวัฒนธรรมอื่นๆ  ซึ่งต่อมาได้ผสมผสานกันทางวัฒนธรรมจนก่อให้เกิดศิลปะไทยขึ้น  ศิลปะในช่วงเวลานี้  ได้แก่

-                      ศิลปะทวารวดี  (พุทธศตวรรษที่  12-16)

-                      ศิลปะลพบุรี  (พุทธศตวรรษที่  12-18)

-                      ศิลปะอู่ทอง  (พุทธศตวรรษที่  18-20)

-                      ศิลปะศรีวิชัย  (พุทธศตวรรษที่  13-18)

-                      ศิลปะเชียงแสน  (พุทธศตวรรษที่  16-19)

 

               ศิลปะแบบแรกที่เกิดขึ้นในดินแดนประเทศไทยคือศิลปะทวารวดี  เป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทโดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียในสมัยคุปตะ  ศิลปะสมัยหลังคุปตะ  และศิลปะสมัยปาละ-เสนะ  ตามลำดับ



  

ธรรมจักรและกวางหมอบ  ศิลปะทวารวดี

 

 

ปราสาทหินพิมาย  ศิลปะลพบุรี

                 ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย  หลังจากความเสื่อมของศิลปะทวารวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่  16  แล้ว  ศิลปะลพบุรีซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรก็ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ 

                ศิลปะลพบุรีเป็นศิลปะที่มีลักษณะรูปแบบทางศิลปะคล้ายคลึงศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชา  โดยสร้างขึ้นทั้งในคติศาสนา  พราหมณ์-ฮินดู  เช่นปราสาทหินพนมรุ้ง

                บริเวณภาคกลางของประเทศไทย  เป็นบริเวณที่มีการผสมผสานทางอารยธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่ง  ดังจะเห็นได้จากศิลปะอู่ทอง  ศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดีและศิลปะลพบุรีมาผสมผสาน

               ทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้เกิดศิลปะศรีวิชัยในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่  13-18  โดยเริ่มแรกอยู่ในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย  แล้วจึงแพร่หลายไปยังภูมิภา๕อื่นๆของประเทศไทย  ลักษณะทางศิลปะได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยหลังคุปตะและศิลปะสมัยปาละ-เสนะ  ตามลำดับ  ศิลปะศรีวิชัยถูกสร้างขึ้นในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

              ทางภาคเหนือของประเทศไทย  ในช่วงพุทธศตวรรษที่  16  เป็นต้นมาได้เกิดศิลปะเชียงแสนขึ้น  โดยศิลปะเชียงแสนส่วนมากเป็นประติมากรรมและสถาปัตยกรรม  สำหรับประติมากรรมประติมากรรมจะเป็นฝีมือของชาติไทยที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคเหนือ  ศิลปะได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ  พบมากที่เมืองเชียงแสนซึ่งเป็นเมืองสำคัญในระยะนั้น จึงตั้งชื่อศิลปะแบบนี้ว่า  ศิลปะเชียงแสน


1.2    ศิลปะไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  19  เป็นต้นมา

1.2.1           ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่  19-20  )

ศิลปะสุโขทัยจัดเป็นศิลปะที่มีความงดงามและมีสัญลักษณ์เป็นของตนเองมากที่สุด  โดยเฉพาะการสร้างพระพุทธรูป  ศิลปะสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา  ศรีวิชัย  ขอมหรือเขมร  พม่า  ผสมผสานปรับปรุงให้สอดคล้องกับอุดมคติของตนเองอย่างเหมาะสมกลมกลืน และมีอิทธิพลต่อศิลปะแบบอื่นๆ ของไทยในระยะต่อมา

            1.สถาปัตยกรรม  ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะสถูปเจดีย์มีลักษณะเฉพาะของสุโขทัย  แบ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์  หรือทรงดอกบัวตูม  เป็นเจดีย์สุโขทัยแท้  และเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา  พร้อมกับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์  เป็นเจดีย์สร้างบนฐานสี่เหลี่ยมยกสูงประดับปูนปั้นเป็นรูปช้าง

 

เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา

                 สถาปัตยกรรมอีกลักษณะหนึ่ง  ได้แก่  พระปรางค์มักจะเลียนแบบปรางค์ในศิลปะลพบุรี  ปรางค์แบบเขมรซึ่งมีอยู่เดิม  แต่ถูกดัดแปลงเป็นปรางค์แบบไทย  คือ  ทรงสูงชะลูดขึ้นกว่าเดิม  มียอดเรียวแหลมเพิ่มลวดลายตกแต่งแบบสุโขทัยเข้าไป  ปรางค์เหล่านี้เดิมเป็นเทวาลัยในลัทธิพราหมณ์  แล้วดัดแปลงเป็นปรางค์ในพระพุทธศาสนา

                 2.ประติมากรรม  พระพุทธรูปสุโขทัยจัดเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามที่สุดในบรรดาศิลปกรรมไทยแบบต่างๆ  นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ  คือ  นั่ง  นอน  ยืน  เดิน  พระพุทธรูปเดินหรือเรียกกันว่า  ปางลีลา  เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะของสุโขทัยที่งามที่สุด

 

พระพุธรูปปางลีลา

                 ในสมัยสุโขทัยมีการทำเครื่องเคลือบดินเผาที่สำคัญอย่างหนึ่งเรียกว่า  เครื่องสังคโลก  กล่าวกันว่าอาจจะนำแบบย่างมาจากจีนหรือช่างไทยเป็นผู้ค้นคิดและพัฒนาขึ้นเอง  เครื่องสังคโลกเป็นเครื่องเคลือบดินเผาเซลาดอนสีเขียวไข่กา  ส่วนมากเป็นเครื่องถ้วยชาม  ผลิตเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและส่งเป็นสินค้าออกนอกจากนี้ยังทำเป็นตุ๊กตาและส่วนประกอบตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพระพุทธศาสนา

                3.จิตรกรรม   จิตรกรรมสมัยสุโขทัยชำรุดไปหมดแล้ว  มีแต่ภาพเส้นที่ยังหลงเหลือให้เห็น  คือ  ภาพสลักลายเส้นบนเพดานในอุโมงค์มณฑปวัดศรีชุม  นอกเมืองสุโขทัย  แกะสลักเป็นเรื่องราวในชาดก  โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา

                4.นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์   นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้ปรากฏหลักฐานในจารึกหลักที่  1  ว่า  ชาวสุโขทัยมักจะเล่นดนตรีและนาฏศิลป์ประกอบในงานพิธีและงานนักขัตฤกษ์ต่างๆ  โดยมีการตีประโคมกลอง  การบรรเลงพาทย์  พิณ  และการขับร้อง  ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงการเต้นรำ  ฟ้อนระบำ  และการบรรเลงเครื่องดีดสีตีเป่าต่างๆ  เครื่องคนตรีดังกล่าวหลายชนิดรับมาจากอินเดีย  จึงสันนิษฐานได้ว่านาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์สุโขทัยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแล้วปรับปรุง  ให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตของคนไทย  มีการร่ายรำที่งดงามประกอบเพลงดนตรี  แต่ยังไม่มีการเล่นเป็นเรื่องเป็นราว

                5.วรรณกรรม  วรรณกรรมไทยชิ้นแรกปรากฏขึ้นในรูปของจารึก  ได้แก่  จารึกหลักที่  1  ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมที่แปลมาจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา  คือ  เรื่องไตรภูมิพระร่วง  หรือไตรภูมิกถา

1.2.1          ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่  20-24  )

ศิลปะสมัยอยุธยาเป็นศิลปะท่าสร้างขึ้นในอาณาจักรอยุธยาในระยะเวลา  417  ปี  ซึ่งมีศิลปกรรมแขนงต่างๆเกิดขึ้นมาก  ศิลปกรรมเหล่านี้มีรูปแบบเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน  และมีวิวัฒนาการไปตามสภาพของบ้านเมือง

1.สถาปัตยกรรม   สถาปัตยกรรมอยุธยาสามารถแบ่งช่วงเวลาออกได้เป็น  3  ยุคด้วยกัน  คือ  สถาปัตยกรรมอยุธยาตอนต้น  ตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีที่  1  ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ  พ.ศ.  1893  จนถึงสมัยพระบรมไตรโลกนาถใน  พ.ศ.  2031  ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบศิลปะลพบุรี  หรือ  ศิลปะเขมร  กับศิลปะอู่ทอง  ลักษณะทางสถาปัตยกรรมนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัดโดยมีลักษณะเลียนแบบปรางค์เขมรแต่มีลักษณะสูงชะลูดกว่า

สถาปัตยกรรมอยุธยาตอนกลาง   เริ่มตั้งแต่สมเด็จกระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลกใน  พ.ศ.  2006  จนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองใน  พ.ศ.  2172  สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย  โดยหันไปนิยมเจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัยแทนปรางค์แบบเขมร

สถาปัตยกรรมอยุธยาตอนปลาย     เริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  พ.ศ.  2172  จนถึงสิ้นสมัยอยุธยาใน  พ.ศ.  2310  เป็นช่วงเวลาที่ศิลปะเขมรเข้ามามีอิทธิพลในศิลปะอยุธยาอีกครั้ง  โดยเฉพาะรูปแบบสถาปัตยกรรมปรางค์และสถาปัตยกรรมเขมร

 

วัดไชยวัฒนาราม  สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  (พ.ศ.  2275 - 2301)  เป็นช่วงของการบูรณปฏิสังขรณ์การสร้างพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเป็นที่นิยม

สถาปัตยกรรมแบบอื่น ๆ  คือโบสถ์  วิหาร  สมัยอยุธยาตอนต้นนิยมทำขนาดใหญ่มากเป็นอาคารโถงสี่เหลี่ยม  ตัวอาคาร  ผนัง  เสา  ก่อด้วยอิฐ  ผนังอาคารเจาะเป็นช่องแคบๆ  คล้ายซี่กรง  เรียกว่า  ลูกฟัก  เพื่อให้มีทางระบายลมและแสงแดดส่องผ่านเข้าไปได้บ้าง  ยังไม่มีการเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังตกแต่ง  พอถึงสมัยอยุธยาตอนกลางอาคารลดขนาดเล็กลง  ก่อผนังทึบ  เจาะช่องระบายลมแคบๆ  มีบานประตู 2-3 ช่อง

 

อาคารสมัยอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารนิยมทำเป็นรูปโค้งคล้ายท้องเรือ  ถือเป็นลักษณะเฉพาะของอาคารสมัยนี้  มีการเจาะหน้าต่างที่ผนังอาคาร  ตกแต่งประดับซุ้มประตูหน้าต่างอย่างประณีต  ใช้กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา  ในสมัยนี้มีการติดต่อการค้ากับยุโรปมากขึ้น  ทำให้ได้รับวิทยาการใหม่ๆ  มีการนำเอาศิลปะการก่อสร้างอาคารของยุโรปเข้ามาผสม

สำหรับสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของอยุธยาถูกทำลายไปมากจนยากที่จะหารูปแบบที่แท้จริงได้  มีเพียงฐานรากเท่านั้นที่พอมีเค้าโครงให้เห็นได้บ้าง  เป็นพระที่นั่งอยู่นอกกรุงศรีอยุธยา

ส่วนสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมืองนั้น  ก็มีป้อมปราการและกำแพงเมือง    นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของประชาชน  ซึ่งเรียกว่า  เรือนไทย  นิยมสร้างเป็นเรือนชั้นเดียว  ยกพื้นสูงใต้ถุนโปร่ง  มี  2  ลักษณะ  คือ  เรือนเครื่องผูก  ปลูกด้วยไม้ไผ่  ใช้เส้นหวายและตอกเป็นเครื่องผูกรัด  เป็นที่อยู่ของชาวบ้านทั่วไป  และเรือนเครื่องสับ  ปลูกด้วยไม้  การปลูกต้องอาศัยวิธีเข้าปากไม้  โดยปากเป็นร่องในตัวไม้แต่ละตัว  แล้วนำมาสับประกบกัน  เป็นเรือนของผู้มีฐานะดี

             2.ประติมากรรม   ศิลปะอยุธยาด้านประติมากรรม   ส่วนมาสกสร้างเนื่องในพระพุทธศาสนา  พระพุทธรูปสมัยนี้นิยมหล่อด้วยสำริด  พระประธานในโบสถ์วิหารสมัยนี้มักเป็นปูนปั้นหรือสำริดขนาดใหญ่โตคับโบสถ์  สมัยอยุธยาตอนปลายนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องกันมาก

 
พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่  ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพิมพ์ทำเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กๆ  หลายองค์บนแผ่นเดียวกัน  เรียกว่า  พระแผง  หรือพระกำแพงห้าร้อย

3.จิตรกรรม   ภาพจิตกรรมอยุธยาเหลืออยู่น้อยมาก  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องพระพุทธศาสนาในสมันอยุธยาตอนต้นนิยมเขียนลงบนผนังคูหาปรางค์และคูหาเจดีย์เท่านั้น   ยังไม่มีการเขียนบนผนังโบสถ์วิหาร  วิธีเขียนจะเขียนภาพบนผนังขณะที่ผิวปูนที่ฉาบยังหมาดๆอยู่  เพื่อให้เนื้อสีซึมเข้าไปในผนัง  เรียกว่า  ภาพปูนเปียก

4.ประณีตศิลป์   ในสมัยอยุธยามีหลายประเภท  เท่าที่ปรากฏหลักฐานเหลืออยู่เป็นพวกเครื่องไม้จำหลัก  การเขียนลายรดน้ำ  เครื่องเงิน  เครื่องทอง  เครื่องถม  และการประดับมุกส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมมี่สร้างขึ้นปลายสมัยอยุธยา  มีเพียงไม่กี่ชิ้นที่เป็นของสมัยกลางและสมัยต้น

ในสมัยปลายอยุธยา  ประณีตศิลป์รุ่งเรืองมาก  นอกจากนี้มีการประดับมุก

5.นาฏศิลป์    การแสดงนาฏศิลป์สมัยอยุธยามีการแสดงเป็นเรื่องเป็นราว  ส่วนด้านการดนตรีก็พัฒนาขึ้นมาก  มีการประสมวง  3  ลักษณะ   ได้แก่  วงมโหรี  วงปี่พาทย์  และวงเครื่องสาย  มีบทเพลงและทำนองเพลงของสมัยอยุธยาเป็นอันมากที่สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

6.วรรณกรรม   วรรณกรรมสมัยอยุธยาเท่าที่มีหลักฐานเหลืออยู่และพอจะตรวจสอบได้มีไม่มากนัก  ลักษณะวรรณกรรมค่อนข้างหลากหลายในเนื้อหา  คือ  มีทั้งวรรณกรรมที่เกี่ยวกับพิธีกรรมศาสนาและคำสอน  การสดุดีและเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ ตลอดจนวรรณกรรมเกี่ยวกับความรัก  การบันเทิงเริงรมย์  และการบันทึกเหตุการณ์  มีทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง  โดยมีลักษณะสำคัญร่วมกันประการหนึ่ง  คือ  ผู้แต่งวรรณกรรมเป็นคนชั้นสูงและมีความสัมพันธ์กับราชสำนัก

สมัยต้นอยุธยา  วรรณกรรมสำคัญ  คือ  ลิลิตโองการแช่งน้ำ

สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  จัดเป็นรุ่งเรืองทางวรรณกรรมอีกสมัยหนึ่ง  วรรณกรรมที่แต่งขึ้นในระยะนี้ค่อนข้างมีเนื้อหาหลากหลาย   นอกจากนี้ก็มี  จินดามณี  เป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกที่พระโหราธิบดีแต่งขึ้นใน  พ.ศ.  2215  และพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์  รวบรวมขึ้ใน  พ.ศ.  2223

ระยะสุดท้ายของความรุ่งเรืองทางวรรณกรรมอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  วรรณคดียุคนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยกรอง  ทั้งโคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน  และร่าย

สำหรับสมัยธนบุรี  (พ.ศ.  2310-2325)   เป็นช่วงเวลาสั้นเพียง  15  ปีเท่านั้น  ศิลปกรรมต่างๆ  ที่สร้างขึ้นคงเป็นไปตามแบบอย่างของอยุธยา  จึงผนวกรวมเข้าไว้ในศิลปะอยุธยา

    1.2.3 ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3 พ.ศ. 2325-2394)

         ศิลปะรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นใน พ.ศ. 2325

         1. สถาปัตยกรรม กล่าวกันว่าการสร้างกรุงเทพ เป็นการนำแบบอย่างของปราสาทราชวังและวัดวาอารามที่ถูกทำลายเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกมารื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง

         อาคารบ้านเรือนยังคงสร้างบ้านไม้แบบเรือนไทยกันทั่วไป ในสมัยรัชกาลที่ 3 เปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือ เจ้านายและขุนนางนิยมก่อสร้างอาคารบ้านเรือนด้วยอิฐโบกปูน และมุงหลังคาด้วยกระเบื้องแบบจีน

 

เจดีย์ที่วัดยานนาวา  สมัยรัชกาลที่  3

               สถาปัตยกรรมทางด้านศาสดาไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ยังนิยมสร้างปรางค์และเจดีย์ไม้สิบสอง   โบสถ์และวิหารก็ยังคงเลียนแบบมาจากอยุธยา คือ เป็นแบบทรงโรงฐานแอ่นโค้งตกท้องช้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโบสถ์ วิหารครั้งสำคัญกลายเป็นแบบที่มีอิทธิพลศิลปะจีนอย่างมาก เรียกว่า แบบพระราชนิยม  กล่าวคือ เลิกระบบช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เสาทำเป็นเสาสี่เหลี่ยมไม่มีหัวเสา หน้าบันประดับลายปูนปั้นหรือเครื่องถ้วยจีน ศิลปะแบบพระราชนิยมนี้เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ดังนั้น  วัดที่สร้างใหม่และวัดที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลนี้จึงมักสร้างตามศิลปะแบบพระราชนิยมแทบทั้งสิ้น

         2. ประติมากรรม สมัยรัตนโกสินทร์มิได้ให้ความสำคัญในการสร้างพระพุทธรูปเหมือนสมัยสุโขทัยหรืออยุธยา แต่มุ่งไปที่การสร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมากกว่า

         ประติมากรรมตกแต่งที่แปลกในสมัยนี้  คือ ความนิยมนำภาพสลักตุ๊กตาหินยืนกลางแจ้งมาประดับไว้ตามประตู ตามลาน ทำเป็นรูปคน ตัวงิ้ว รูปสิงโต โดยใช้ช่างฝีมือชาวจีน

         3. จิตรกรรม จิตรกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถือเป็นยุคแบบแผนของจิตรกรรมแบบประเพณีไทยเพราะมีรูปแบบที่พัฒนาสืบต่อมาจากสมัยอยุธยาจนเกิดลักษณะเฉพาะของจิตรกรรมแบบประเพณีไทย มีทั้งจิตรกรรมฝาผนัง ภาพพระบฏ ตลอดจนภาพเขียนแบบสมุดไทย

         รูปแบบเฉพาะของจิตรกรรมที่จัดว่าเป็นแบบอย่างของสมัยนี้ คือ ภาพเทวดาและกษัตริย์ ราชสำนัก จะเขียนอย่างงดงาม มีการปิดทองให้ดูเด่น จะแสดงความรู้สึกด้วยกิริยาอาการ แต่ใบหน้าสงบนิ่งไม่แสดงความรู้สึกใดๆท่าทางจะเป็นอย่างละคร หรือเป็นท่าประดิษฐ์มากกว่าจะเป็นท่าทางธรรมชาติ ส่วนภาพคนธรรมดาสามัญจะเขียนตามสภาพความเป็นจริง

         สำหรับภาพพระบฏ คือ ภาพเขียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา  ส่วนภาพเขียนแบบสมุดไทย หรือหนังสือตัวเขียนสมัยโบราณมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเขียนลงบนใบลานเป็นแผ่นๆอีกชนิดหนึ่งเขียนกระดาษข่อย หนังสือใบลานใช้เฉพาะเรื่องในพระพุทธศาสนาแต่สมุดข่อยใช้กับเรื่องราวต่างๆ ได้ทั่วไป

         อนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีจิตรกรรมไทยแบบพระราชนิยมเกิดขึ้นด้วย คือ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนแบบจีน

  
ภาพฝาผนัง

         4. ประณีตศิลป์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประณีตศิลป์มีความสำคัญ เพราะมีสิ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นใหม่แทนของที่ถูกทำลายและของเก่าที่ชำรุดไปแล้ว มีการรวบรวมช่างประเภทต่างๆที่เรียกว่า ช่างสิบหมู่ เข้ามาสร้างงานประณีตศิลป์

         5. นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ประเภทโขน ละคร ระบำ และหนัง เฟื่องฟูมากขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระให้การสนับสนุน

         สำหรับดนตรีไทยก็มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมาก ในด้านเครื่องดนตรีมีการเพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปในวงมโหรีและวงปี่พาทย์ จนเกิดวงปี่พาทย์เครื่องคู่และวงมโหรีเครื่องคู่ขึ้น

         วงมโหรีประกอบด้วยเครื่องดีด สี ตี เป่า

         วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นหลัก ที่สำคัญ ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก เครื่องเป่าคือปี่ใน มีเครื่องกำกับจังหวะ คือ ฉิ่งและตะโพน กลองทัด

         วงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีเครื่องดนตรี ดังนี้

              ระนาดเอก 1 ราง คู่กับระนาดทุ้ม 1 ราง

              ฆ้องวงใหญ่ 1 วง คู่กับฆ้องวงเล็ก 1 วง

              ปี่นอก 1 เลา คู่กับปี่ใน 1 เลา

              ฉิ่ง 1 คู่ ตะโพน 1 ใบ กลองทัด 2ใบ

         วงมโหรีเครื่องคู่ประกอบด้วยฉาบเล็ก ฉิ่ง โหม่ง กรับพวง โทน รำมะนา ซอด้วง ขลุ่ย เพียงออ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ขลุ่ยหลีบ ซออู้ จะเข้ 2 ตัว ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ซอสามสายหลีบ

         6. วรรณกรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมสมัยรัชกาดที่ 1-2 และต้นรัชกาลที่ 3 มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจากปลายสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี  ส่วนแนวเรื่องจะเกี่ยวกับพุทธประวัติ สุภาษิต บทสดุดี ชาดก ความรัก สงครามกับความรัก สำหรับร้อยแก้วมีน้อย เป็นงานแปลจากภาษาทางเอเชีย 4 เรื่อง ได้แก่ อิหร่านราชธรรม แปลจากภาษาเปอร์เซีย ไซฮั่น สามก๊ก

         วรรณกรรมรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 2 พระมหากษัตริย์ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งบทละครใน บทละครนอก นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่เรือ บทพากย์โขนบางตอน และเสภาขุนช้างขุนแผนบางตอน  กวีคนสำคัญที่ถือกันว่าเป็นกวีของประชาชนในสมัยนี้คือ สุนทรภู่

         ในช่วงกลางสมัยรัชกาลที่ 3 คือใน พ.ศ. 2379 ได้เกิดการพิมพ์ขึ้นในเมืองไทย ถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของวรรณกรรม เริ่มจากการเกิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำให้เกิดนักเขียนและนักอ่านเพิ่มขึ้น

    

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
♥ ^^ เนื้อหาเข้าใจง่ายดีจังค่า ขอบคุณนะคะ
ความคิดเห็นที่ 2
ดูแลหน้าสนใจมากเลยอะ

อยากไปเที่ยวดูอะ...


ไปด้วยกันไหมมม
ความคิดเห็นที่ 3
เนื้อหางานน่าสนจัยดีนะค๊ะ
อ่านแล้วเข้าจัยง่าย
ขอบคุณนะค่ะที่มีสิ่งดีๆมาแบ่งปันกัน
ความคิดเห็นที่ 4
เข้า จัย คับ


เนื้อหาน่าสนจัยดี


มีข้อมูลน่าสนจัยแบบ นี้เอามาแป่งปั่นกันอีกนะ คร ๊าบ บ^
ความคิดเห็นที่ 5
สาระคับสาระ
ความคิดเห็นที่ 6
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค๊ะ ^^
ความคิดเห็นที่ 7
มีการนำเสนอที่ดีนะคะ


เนื้อหาน่าสนใจดีค่ะ

ถึงว่า ทำไมวัฒนธรรมไทยสวยงานอย่างนี้

ขอบคุณมากค่ะ

อยากไปเที่ยวทุกที่เลย
ความคิดเห็นที่ 8
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะค๊ะ ช่วยให้ทราบถึงพัฒนาการด้านศิลปมาขึ้น
ความคิดเห็นที่ 9
เนื้อหาเยอะ ละเอียดดีจังเลยคะ
ขอบคุณนะคะ ^^"
ความคิดเห็นที่ 10
เนื้อหาครบถ้วน น่าสนใจ อ่านง่าย สีสันเหมาะกับทุกวัย อ่านได้ทุกคน
ความคิดเห็นที่ 11
อ่านง่ายดีคะ มีรุปประกอบ
น่าสนใจ
ความคิดเห็นที่ 12
ขอบคุณค่ะ ^^

เนื้อหาน่าสนใจ ครอบคลุม ทำความเข้าใจได้ง่ายค่ะ
ความคิดเห็นที่ 13
ขอบคุณค่ะ
ความคิดเห็นที่ 14
คาสิโนออนไลน์ ที่มีมาตรฐานสากลและให้บริการสมาชิกทุกท่านดุจเครือญาติ เปิดให้บริการสมาชิกตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยประสบการณ์ เราสามารถให้บริการท่าน ด้านการเดิมพันการพนัน สำหรับสมาชิกที่ต้องการความสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ ไปกับเกมการพนันอาทิเช่น Gclub Casino, Royall 1688 Casino, Ginting Crown, Holiday Palace Casino, Reddragon Casino, ซึ่งเพิ่มช่องทางในการให้บริการกับลูกค้าของเรา ด้วยบริการสอบถามข้อมูล สอบถามปัญหาในการเล่น เป็นต้น พร้อมทั้งโปรโมชั่นสุดพิเศษสำหรับสมาชิกใหม่ ทุกท่าน หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ Casinobet99 Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดต่อเรา ตลอด 24 ชั่วโมง
AIS: 084-417-7063
DTAC : 080-559-7275
Email : casinobet99@hotmail.com
ความคิดเห็นที่ 15
ข้อมูลดีมากค่ะ แต่ยังไม่ตรงกับทีี่ต้องการ
ความคิดเห็นที่ 16
ดีดีควรมีศิลปะกำ และสังคมแต่ก็มีเนื้อหาที่ดี
ความคิดเห็นที่ 17
มีสมัยกรุงธนบุรีมั้ย
หาให้หน่อยดิ
lis-sy
lis-sy 3 ส.ค. 54 / 20:14
 ขอบคุณสำหรับ
lis-sy
lis-sy 3 ส.ค. 54 / 20:16
^
^
^ความรู้นะค่ะ(ดันเขียนไม่ครบอีกนะเรา)
ความคิดเห็นที่ 20
มีความรู้เยอะมากขึ้นคร๊
1 2 3 >