Quixotic33
ดู Blog ทั้งหมด

1# เมื่อคิดให้ดี โลกนี้มีแต่สัตว์ประหลาด !!

เขียนโดย Quixotic33
มันเป็นสัตว์ที่ทรทายาดที่สุดบนดาวเคราะห์ดวงนี้  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ "หมีน้ำ  (water baer)" และ "ลูกหมูมอส  (moss piglet)" ถึงจะฟังดูน่ารัก แต่อย่าเพิ่งหลงกล 
 


หมีน้ำอาศัยอยู่ในทุกที่ที่มีน้ำ ไม่ว่าจะลึกลงไปในมหาสมุทร 8 กิโลเมตร  บนน้ำแข็งขั้วโลก ในน้ำพุร้อนที่แผ่รังสีออกมา  บนยอดเขาหิมาลัย  บนพื้นป่าดงดิบใกล้ทะเลสาบ บนชายหาดเปียกๆ ในแห่งน้ำเล็กๆที่ขังอยู่บนใบไม้  ในหญ้ามอสบนหลังคาบ้านของคุณ หรือแม้แต่บนพื้นที่สุนัขของคุณปัสสาวะใส่ทุกเช้า  หมีน้ำเป็นสัตว์จุลชีพตัวอ้วนท้วนที่จัดอยู่ตรงไหนซักแห่งระหว่างหนอนมีปล้องกับแมลง ด้วยความยายแค่ 1.3 มิลลิเมตร  มันมีหนึ่งหัว มีขาอวบๆ สี่คู่พร้อมกรงเล็บ และมีลำตัวทึบแสงที่รูปร่างเหมือนใส้กรอก มันมีชื่อเรียกว่าหมีน้ำ เพราะลักษณะภายนอกที่เรามองเห็น และการเคลื่อนไหวของมัน (แม้ว่าจะดูเหมือนปลอกขาที่ยับย่นยู่ยี่ก็ตาม) และมีชื่อว่าลูกหมูมอสเพราะมอสคือสถานที่ที่จะพบมันได้ง่ายที่สุด
 ปัจจุบันมีการบันทึกหมีน้ำไว้แล้ว 800 ชนิด ยังมีอีกอย่างน้อย 10000 ชนิดที่รอการตั้งชื่อ  และพวกมันก็มีความแตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆมากพอที่จะมีไฟลัมเป็นของตัวเอง ตัวที่อยู่บนพื้นดินกินพืชและเห็ดราเป็นอาหาร (เีิ่ริ่มเมื่อยแร่ะเรา 55 ต่้อๆ) แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่เป็นสัตว์กินเนื้อ โดยดูดกินไส้เดือนฝอยและสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วชนิดอื่นๆ ผู้อาศัยในน้ำชนิดนี้(ในน้ำแค่ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร อาจมีพวกมันอยู่ถึง 2 หมื่นตัว) สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ต้องกินอาหารเป็นเวลานาน ถึงแม้ว่าบางตัวจะเป็นปรสิตที่อาศัยอยู่บนร่างของปลิงทะเล และเพรียงก็ตาม หมีน้ำหลายชนิดเป็นตัวเมียทั้งหมด มันพึ่งพาสายลมหรือหยดน้ำฝนที่สาดกระเซ็นเพื่อเคลื่อนไปสู่ถิ่นใหม่ ภายใต้สถานการ์ณแบบนั้น ความสามารถในการออกไข่โดยไม่ผสมพันธุ์ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างชัดเจน ส่วนหมีน้ำชนิดอื่นๆจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการสืบพันธุ์ที่ค่อนข้างวุ่นวายพอสมควร (ตัวเมียจะสอดท่อเข้าไปในตัวผู้และขโมยน้ำเชื้อออกมา)  ไข่ของหมีน้ำมีรูปร่างสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ *0* 
  

เป็นรูปดาวหลายแฉกทรงกลม ที่มีรอยบุ๋มลงไปดูคล้ายกับที่บังตะเกียงสวยๆ ถึงแม้หน้าที่จริงๆของรอยบุ๋มดังกล่าวคือการรักษาความชื้นและ การปกป้องไข่ให้ปลอดภัยจากการถูกบดจนแตกต่างหาก
  แต่สิ่งที่ทำให้หมีน้ำแตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นอย่างแท้จริงคือ การเข้าสู่สภาวะไม่ไหวติงใดๆ ถ้าแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงตัวมันแห้งลง หมีน้ำก็จะแห้งลงตามไปด้วย กระบวนการดำรงชีวิตจะหยุดชะงักลงอย่างสมบูรณ์ และมันก็กลายเป็นสิ่งที่ไรเชีวิตไปโดยสิ้นเชิง แต่มันยังไม่ตาย ภาวะดังกล่างรู้จักกันในชื่อของภาวะหยุดการเจริญเติบโต ( cryptobiosis ) ซึ่งถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 1776 นักวิทยาศาสตร์บางคนยังเชื่อด้วยว่ามันเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขปริศนาเรื่องจุดกำเนิดของชีวิตเอาไว้ หมีน้ำขับน้ำทั้งหมดออกมา และแตกเซลล์ไขมันให้อยู่ในรูปของน้ำตาลที่เรียกว่า เทรลาโฮส ( trelahose ) ซึ่งปกป้องอวัยวะสำคัญของมันเอาไว้ จากนั้นมันจะเฝ้ารอหยดน้ำแค่หยดเดียว ( บางทีอาจนานเป็นร้อยปี ) เพื่อฟื้นคืนชีพอีกครั้ง
  ในภาวะ "ตาย" เช่นนี้  หมีน้ำไม่สามารถถูกทำลายลงได้เลย เราสามารถจับมันแช่แข็งที่อุณภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-272 องศาเซลเซียส) หรืออบมันด้วยความร้อนที่สูงถึง 151 องศาเซลเซียส หมีน้ำถูกแช่อยู่ในฮีเลียมเหลวได้นานเป็นสัปดารห์และยังถูกอาบรังสีที่สูงกว่าระดับที่ฆ่ามนุษย์ให้ตายได้ถึง 1000 เท่า ถึงแม้มันจะถูกแช่ในสารเคมีและถูกอัดด้วยแรงดันที่สูงกว่าแรงดันก้นมหาสมุทรถึงหกเท่า แต่ก็เหมือนเมล็ดกาแฟสำเร็จรูปเม็ดเล็กๆที่มีชีวิต เพราะแค่ได้รับน้ำเพียงหยดเดียว มันจะฟื้นคืนชีพอีกครั้ง


 

 

ความคิดเห็น

d.o.
d.o. 11 เม.ย. 57 / 18:00
สุดยอดครัชชชช