ratakorn_korn
ดู Blog ทั้งหมด

การบรรยาย "การทำนิตยสารหนังสือ" - พี่ก้อง aday

เขียนโดย ratakorn_korn

เมื่อวันอังคารที่แล้วกับวันนี้ วิชาการเขียนเพื่อสื่อสารมวลชน
อ. ผู้สอนได้เชิญวิทยากรมาบรรยาย คือ
คุณก้อง ทรงกลด บางยี่ขัน บก. a day

แอบยอมรับก่อนว่าไม่เคยอ่านงานของ a day / a book มาก่อนเลย

แต่เคยไปทำรายงานที่ a book fiar เมื่อต้นเดือนมา (อ.บังคับให้ทำ)
เลยได้รู้จักกับ a day มากขึ้น

ก่อนจะมาบรรยาย คุณก้อง ได้ฝากการบ้านให้เตรียมเรื่องมาพูดคนละเรื่อง
เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีใครรู้ และเกิดขึ้นไม่เกิน 2 สัปดาห์
เราก็งง ... มันเกี่ยวอะไรกับการเขียนสื่อสารมวลชน แต่พอจะเดาได้นิดๆ

ก็ไม่รู้จะพูดเรื่องอะไรจริงๆ เพราะชีวิตก็อยู่กับงานเขียน นิยาย
ก็เลยพูดเรื่องที่กำลังค้างคาใจ เกี่ยวกับ การทำงานอย่างไร ให้ถูกใจความต้องการของผู้บริโภค
หรือ ความต้องการของตัวเรา

พี่ก้อง เลือกมาพูดไป 8 คน จากหัวข้อที่เขียนส่งมา ผมเป็น 1 ใน 8 (ไม่รู้นะว่า ที่เลือกเพราะชื่อหัวข้อมันยาวหรือเปล่า)

เขาก็เปรียบเทียบว่า การตั้งชื่อเรื่องส่งมาให้ เรื่องที่น่าสนใจก็จะถูกเลือกมาก่อน เหมือนชื่อคอลัมน์ในนิตยสาร
ถ้าน่าสนใจคนก็จะเลือกอ่านก่อน ดังนั้น เราต้องตั้งชื่อให้คนอ่านสนใจ เลือกอ่านก่อนเรื่องอื่นๆ

เนื้อหาส่วนใหญ่ของการบรรยายครั้งแรก จะพูดถึงส่วนต่างๆ ของนิตยสาร การทำนิตยสาร
ทำไมพ็อคเก็ตบุ๊คส์ถึงไม่มีโฆษณา แต่ทำไมนิตยสารถึงมีโฆษณา
นิตยสารต้นทุนแพงกว่าพ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่ทำไมขายได้ถูกกว่า บลาๆ

ขอไม่เล่าละเอียด เพราะอาจจะเข้าใจยากสำหรับคนที่ไม่ได้สนใจเท่าไหร่

ก่อนจบคาบ พี่ก้องฝากงานให้เขียนเรียงความ เรื่อง ความสุขในชีวิตมหาวิทยาลัย
(และแน่นอน ... ผมเลือกที่จะเขียน ความทุกข์ในมหาวิทยาลัย ส่งไปแทน)

พอมาครั้งที่สอง คือ วันนี้ พี่ก้องเน้นพูดถึงการทำหนังสือรูปเล่ม ซึ่ง
การเขียนเรียงความสัปดาห์ที่แล้ว เหมือนเป็นการฝึกให้รู้จักเลือกเรื่องที่จะนำเสนอ
ฝึกลำดับเหตุการณ์ ฝึกเขียน รู้จักการอ่านทวน รู้จักตั้งชื่อให้น่าสนใจ และนำเสนอ
(แกคงจะขยาดกับเรียงความของผมเหมือนกัน ให้เขียนความสุข มันเขียนความทุกข์
แต่ก็เป็นความทุกข์ที่สรุปจบด้วยความสุข[แบบปลงๆ] นะ)

ขั้นตอนในการเขียนหนังสือสักเรื่อง (รวมทั้งเรื่องสั้น) มีดังนี้

1. การเลือกเรื่อง - เลือกโดยมีหลัก "การเขียนที่ดี ไม่ต้องมีสูตร แต่ต้องมีหลัก" อันนี้เป็นคำพูดของพี่ก้อง เช่น ต้องการเขียนเรื่องที่ มีคนร่วมประสบการณ์เยอะที่สุด เรื่องที่แปลกที่สุด เรื่องที่คนจะอินที่สุด

2. การลำดับความคิด - เราต้องลำดับความคิดให้ดี ไม่ให้วกวน การลำดับความคิดที่ดีคือการเขียนให้เข้าถึงคนอ่านได้ง่ายที่สุด KISS = Keep It Symple Study อะไรประมาณนี้แหละ
สามารถเล่าเรื่องให้คนอยากอ่านต่อไปเรื่อยๆ จนจบได้

3. การเขียน - การเขียนหนังสือ คือ "สื่อ" กับ "สาร" นักเขียนคือศิลปิน ที่ต้องใช้สมอง ไม่เหมือนช่าง ที่ใช้ทักษะ ต่อให้เขียนดีแค่ไหน แต่ความคิดไม่ดี งานที่ออกมาก็ไม่ดี แต่ถ้าเขียนด้วยภาษาง่ายๆ แต่คิดดี คิดสร้างสรรค์ งานที่ออกมาก็จะน่าสนใจกว่า อย่างเช่น งานของคุณโน้ต อุดม แต้พานิช ที่ใช้ภาษาง่าย แต่อ่านแล้วสนุก

4. การขัดเกลา - วิธีการขัดเกลาที่ดีที่สุด คือ อ่านของตัวเองด้วยความรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนเขียนเรื่องนี้ แต่เป็นคนอ่านที่ไม่รู้อะไรมาก่อนแล้วมาอ่าน

5. การตั้งชื่อ - มีหลักอยู่ดังนี้

  5.1 ตั้งให้เกิดความสงสัย เช่น ในที่สุด (แต่ต้อง งง อย่างมีลิมิต ถ้า งง มากไป คนก็จะไม่ซื้อ)
  5.2 ตั้งโดยบอกสารนิดหน่อย แต่ไม่กระจ่าง เช่น หลอกไม่ได้หรอก
  5.3 ตั้งให้สละสลวย เช่น ความสุขชั่วเวียนธูป ความทุกข์ชั่ววูบเทียน
  5.4 ตั้งโดยการสร้างคำใหม่ๆ เช่น สัญจรจัด (สัญจร + จรจัด)

6. การนำเสนอ - หีบห่อที่น่าสนใจ คือ ภาพปกสวย เหมาะ ชื่อเรื่องเตะตา คำโปรยบนปก บอกสารครบทั้งเรื่อง

ซึ่งทั้งหมดเราต้องเช็คกลุ่มเป้าหมายก่อนทุกครั้งว่าต้องการเขียนเพื่อคนกลุ่มใด
และหนังสือที่ดี ต้องไม่คิดแค่ว่า เขียนให้คนที่สนใจ แต่ต้องคิดว่า จะเขียนอย่างไรให้คนที่ไม่สนใจมาสนใจ ด้วย


----------------------------------------------------------

ที่ชอบมากก็คือ พี่เขายกตัวอย่างการตั้งชื่อหนังสือที่เขาแต่ง
เกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนต่างชาติ ไม่ซ้ำประเทศกันเลย 10 คน รวม 1 เล่ม กับ คนไทย 10 คน รวม 1 เล่ม
เขาลองให้พวกเราช่วยๆ กันคิดชื่อ บางคนก็บอกว่า ขนมปัง กับ ข้าวเหนียว
บางคนบอกว่า You กับ ฉัน บางคนบอกว่า ตะวันออก กับ ตะวันตก
พี่ก้องเขาเล่าตอนคิดว่า จะเอายังไงดี ตอนแรกก็จะเอาตะวันออก ตะวันตกเหมือนกัน
แต่คิดไปหลายๆ แบบ สุดท้ายได้ชื่อ เมฆ กับ หมอก

ทุกคนในห้องร้อง หา ... พร้อมกัน เมฆ กับ หมอก มันเกี่ยวอะไรกับที่ประมวลความคิดมาเนี่ย แล้วมันเป็น คนต่างชาติ กับ คนไทย ยังไง
พี่เขาบอกว่า เมฆ กับ หมอก เกิดจากไอน้ำเหมือนกัน ต่างกันที่หมอกเล็กกว่าเมฆ เท่านั้น
เมฆ จึงเหมือนคนต่างชาติ ที่มีจำนวนมากอยู่ทั่วโลก
หมอก จึงเหมือนคนไทย ที่เป็นคนชาติหนึ่งบนโลก
ซึ่ง ทั้งเมฆ และหมอก ก็เป็นไอน้ำเหมือนกัน เหมือนกับคนต่างชาติ กับ คนไทย ซึ่งยังไงก็เป็นคนเหมือนกัน

อึ้งกันไปเลย ...

----------------------------------------------------------

สรุปมาได้เท่านี้แหละครับ จริงๆ บางเรื่อง พี่ก้องบรรยายได้ละเอียดกว่านี้มาก แต่ผมคงไม่สามารถจะเล่าละเอียดได้ขนาดนั้น เลยเล่าคร่าวๆ เฉพาะใจความสำคัญตามนี้ครับ


ปล. หลังจากฟังบรรยายครั้งแรก ผมหาซื้อเรื่อง "หน่อไม้" ของพี่ก้อง เขียนร่วมกับนักเขียนอีก 2 ท่าน มาอ่าน สนุกมากครับ วางไม่ลงเลย เรื่องของนักเขียน 3 คน กับ
นักอ่าน 44 คน ที่ร่วมเดินทางไปปลูกป่าด้วยกัน ซึ่งนักอ่าน 44 คนที่คัดมา ก็มีบุคลิกเอกลักษณ์ที่โดดเด่นมาก ลักษณะการดำเนินเรื่อง ก็จะเป็นการเล่าของนักเขียนทั้งสาม
สลับกันไป บางตอนอาจเป็นเหตุการณ์เดียวกัน แต่เล่าผ่านมุมมองของคน 3 คน สนุกจริงๆ

เล่มนี้ครับ ...

อันนี้เว็บของพี่ก้องนะครับ www.lonlyetrees.net

ขอบคุณพี่ก้องครับ สำหรับความรู้ดีๆ ที่ให้นิสิตอย่างพวกเราหอบกลับบ้านกันเต็มกระบุงเลย


 

ความคิดเห็น

soandso
soandso 7 พ.ย. 52 / 12:46
อ่าน "หน่อไม้" แล้วร้องไห้
55 5
ความคิดเห็นที่ 2
สวัสดีคะพี่
เป็น Blog ที่ดีและน่าสนใจมากๆเลยคะ
หนูเป็นคนหนึ่งที่อยากจะทำหนังสือเป็นของตัวเอง
โดยการเลือกสิ่งต่างๆรอบตัวเราในจังหวัดที่เราอาศัยอยู่
ให้คนอ่านได้เห็นมุมมองต่างๆที่อาจไม่ได้นึกถึง
แต่มันเป็นคุณลักษณะพิเศษของจังหวัดเรา ซึ่งพูดได้ตรงๆเลยว่า
บางครั้งคนที่อาศัยอยู่อาจมองข้ามหรือลืมสังเกตุอะไรบางอย่างไป
หนูจึงมีความคิดที่จะทำเพื่อให้ก่อให้เกิดสิ่งพิมพ์ให้ผู้คนได้รู้จักมากขึ้น

(อยากรบกวนสอบถามเรื่องเกี่ยวกับการทำหนังสือสักเล่มว่าเราต้องทำอย่างไรบ้างคะ)

oopz_pikky@hotmail.com

ขอบคุณมากคะ
ปิ๊ก