My Mind: ดวงตา ณ ดวงใจ(ได้ 1 ใน 6 ของเรื่องที่แหวกแนวโดนใจนิยายเด็กดี) - นิยาย My Mind: ดวงตา ณ ดวงใจ(ได้ 1 ใน 6 ของเรื่องที่แหวกแนวโดนใจนิยายเด็กดี) : Dek-D.com - Writer
×

    My Mind: ดวงตา ณ ดวงใจ(ได้ 1 ใน 6 ของเรื่องที่แหวกแนวโดนใจนิยายเด็กดี)

    ++ รีไรท์ ++ เรื่องรักละเมียดละไมของสาวน้อยตาบอดกับพี่เลี้ยงแสนดี ความแปลกใหม่ของเนื้อเรื่อง ความใสของตัวละคร จะทำให้คุณอ่านไป ยิ้มไป ได้กำลังใจไป...

    ผู้เข้าชมรวม

    44,669

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    12

    ผู้เข้าชมรวม


    44.66K

    ความคิดเห็น


    366

    คนติดตาม


    263
    หมวด :  นิยายวาย
    จำนวนตอน :  139 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  4 พ.ย. 66 / 09:57 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    เรื่องราวของชีวิตพลิกผันของเด็กสาวที่เพียบพร้อมทั้งหน้าตาและฐานะต้องมาตาบอดจากอุบัติเหตุ  

    sds

    ออมรู้สึกว่าในโลกมืดของเธอยังมีแสงสว่างที่ส่องนำทางให้เธอก้าวย่างได้อย่างมั่นใจ

    และหวังว่าแสงนี้จะนำพาเธอไปตลอดเส้นทาง  

    นิยายเรื่องนี้.. แม้จะเป็นเรื่องราวของผู้หญิง 2 คน ที่เผลอให้ใจแก่กันด้วยคนหนึ่งตาบอด อีกคนสอนให้น้องพร้อมจะกลับมายืนด้วยพลังใจและกำลังแห่งรัก

         เป็นนิยายรักใสๆ ที่ท่านจะรู้สึกว่า ถ้าเป็นตนเองก็คงอดที่จะตกหลุมรักพี่เลี้ยงแสนดีคนนี้เช่นกัน  แบบที่ไม่คิดว่าเขาจะเป็นเพศใด  นิยายเรื่องนี้เหมาะกับนักอ่านที่ชอบแนวละมุนอบอุ่นหัวใจ  หรือ คนที่อยากชาร์จแบตเติมกำลังใจให้ตนเอง..

    ....


    ดวงตาอาจจะมีความสำคัญในการมองเห็นแต่ ‘ใจ’ สามารถเห็นได้มากกว่าตาเสียอีก 

    ถึงตาคุณจะบอดคุณก็แค่ไม่เห็นภาพต่างๆแต่ถ้า ‘ใจคุณบอด’ ต่อให้คุณตาดีคุณก็จะไม่เห็นอะไรเลย 

                                                                      ....


    “การปกปิดความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา มันเป็นวิธีของพี่มายด์ แต่การเปิดเผยความรู้สึก มันก็เป็นวิธีของออมเช่นกัน เราต่างคนต่างเลือกในสิ่งที่เราพอใจที่จะทำ..

    .. ปรกติออมเป็นคนรักษาคำพูด รักษาสัญญา สามารถควบคุมความคิดและการกระทำของตนเองได้เป็นอย่างดี แต่พี่มายด์รู้ไหมคะ ตั้งแต่ออมสนิทกับพี่ ออมกลับรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้แทบไม่ได้เลย” ออมพูดออกมาอย่างอัดอั้นตันใจ

    ..แม้กระทั่งตอนนี้ ที่ออมลงมาที่ห้องพี่  ออมบอกกับใจที่ไม่รักดี ให้รอเจอพี่พรุ่งนี้เช้าก็ได้  แต่ใจมันก็ชวนแขน ชวนขา ให้เดินมาเคาะประตูห้องนี้  แล้วไอ้ใจที่ไม่ยอมเชื่อฟังนี้มันกำลังบอกออมว่า..    ”

        หมดสิ้นแล้วความยับยั้งชั่งใจ หน้าหวานเคลื่อนเข้ามาหาหน้าคนที่นั่งอยู่ข้างกันบนเตียง  แล้วเจ้าของใจที่ไม่รักดีออกเสียงคำที่ตนรู้และมั่นใจออกมาเบาๆ ว่า..

         “ใจมันบอกว่า..  รักเหลือเกิน..”


    --------------------------------

       นิยายเรื่องนี้อาจจะ ไม่มี หลายๆ อย่างที่ คุณคุ้นเคย ตามที่พบเห็นในนิยาย

       ก็เชื่อว่า  "มีบางอย่าง" ที่เมื่อคุณอ่านแล้วจะ "ไม่รู้สึก" ว่าเสียดายเวลาอ่าน

                                                                


    จากการเข้าร่วมประกวดนิยาย ทุกเรื่องที่ได้รับการคัดเลือกว่าแหวกแนวล้วนเป็นแนวแฟนตาซีทั้งสิ้น

    แต่เรื่องนี้.. เป็นแนว girls' love  ที่เราไม่คิดว่ากรรมการจะเลือกด้วยซ้ำไปแต่ก็อยากส่งไปอยู่ดี
    กรรมการเลือกให้ผ่าน.. ด้วยว่ามีความแตกต่างจากเรื่องทั่วไปที่น่าสนใจในประเด็นที่ไม่มีนักเขียนกล้าเขียน  

    แน่นอนว่าไม่ใช่เพราะเป็นแนวหญิงรักหญิง ซึ่งในความเป็นจริงแนวรักเพศเดียวกันจะถูกปัดตกเสียมากกว่า
    เหตุผลที่ผ่านนั้น.. ทำให้ผู้เขียนปลาบปลื้มจนต้องอ่านความเห็นของกรรมการซ้ำแล้วซ้ำอีกไปแรมเดือน


    และดีใจว่า..  อย่างน้อยก็มีผู้มากประสบการณ์เห็นคุณค่าของเรื่องนี้โดยมองข้ามเรื่องของเพศกำหนด


    ถ้าท่านอยากทราบว่าเรื่องนี้ โดนใจกรรมการอย่างไร... คงต้องลองอ่านดูนะคะ 



    sds

     


                เป็นฉบับเวอร์ชั่นแรกที่อัปโหลดให้อ่านในเด็กดีนี้ที่ได้กดปิดการอ่านไว้ เนื่องจากจะปรับแก้ทำเป็น e book ฉบับที่ท่านกำลังอ่านอยู่เป็นเวอร์ชันสองที่รีไรท์ครั้งใหญ่   สำหรับท่านที่ไม่เคยใช้งานของ MEB  ท่านต้องไปโหลดแอ๊ปของเขาลงเครื่องก่อน ถึงจะเข้าอ่านได้นะคะ ก็ไม่ยุ่งยากเลยค่ะและไม่มีค่าใช้จ่ายเลย

                         ขอแบ่งปันนิยายที่ไม่เหมือนเรื่องใดๆ แด่คุณนักอ่าน ด้วยความยินดียิ่ง จากผู้เขียนนะคะ 


    http://image.dek-d.com/27/0346/2427/116239511




    http://s11.flagcounter.com/more/SUbJ/

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "วิจารณ์จาก MrPoseidonSon"

    (แจ้งลบ)

    อันดับแรก ผมต้องขอบอกก่อนว่า ผมไม่มีเจตนาที่จะทำให้นิยายของคุณเสื่อมเสีย คำวิจารณ์ทั้งหมด มาจากความคิดของผู้วิจารณ์ นั่นก็คือ MrPoseidonSon แต่เพียงผู้เดียว ถ้าคำวิจารณ์นี้ ทำให้ผู้เขียนนิยายรู้สึกแย่ ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ ตลอดเวลาเกือบ 5 ปีที่ทุกครั้งเวลาผมเข้าเวปเด็กดี ผมจะรู้สึกถึงหน้าที่ที่ผมต้องทำให้กับนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเกือบทุกค ... อ่านเพิ่มเติม

    อันดับแรก ผมต้องขอบอกก่อนว่า ผมไม่มีเจตนาที่จะทำให้นิยายของคุณเสื่อมเสีย คำวิจารณ์ทั้งหมด มาจากความคิดของผู้วิจารณ์ นั่นก็คือ MrPoseidonSon แต่เพียงผู้เดียว ถ้าคำวิจารณ์นี้ ทำให้ผู้เขียนนิยายรู้สึกแย่ ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ ตลอดเวลาเกือบ 5 ปีที่ทุกครั้งเวลาผมเข้าเวปเด็กดี ผมจะรู้สึกถึงหน้าที่ที่ผมต้องทำให้กับนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเกือบทุกครั้ง ผมก็จะพยายามมองข้ามแล้วปล่อยมันไป แบบ...ไม่ต้องทำก็ได้นะ ไม่เป็นไรหรอก อย่างไรก็ตาม มันแปลกที่ guilty ก็ยังเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อผมเข้ามาที่เวป ดังนั้น แม้ว่าเจ้าของนิยายอาจไม่ต้องการคำวิจารณ์อีกแล้ว แต่ผมขอลบความรู้สึก guilty ที่เกิดขึ้นด้วยการทำงานชิ้นนี้ให้เต็มที่นะครับ เรื่องย่อ ความใจร้อนของออม ที่ทำให้สูญเสียแม่และดวงตาของตนเองในอุบัติเหตุเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอได้รู้จัก มายด์ ฝ่ายสนับสนุนนิสิตพิการ ที่พ่อเธอจ้างมาเพื่อให้มาสอนและดูแลออมในการดำเนินชีวิตหลังจากนี้ หลังจากที่ ออมได้รู้จักมายด์ เธอได้มีความรู้สึกที่ดีให้กัน แต่ด้วยเพศสภาพที่เหมือนกัน อาจกำลังทำให้ความรักครั้งนี้มีปัญหา...ติดตามเรื่องราวได้ในเรื่องครับ โครงเรื่อง ผู้เขียนเริ่มด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่เป็นผลกระทบต่อเส้นเรื่องหลัก วิธีการนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่นิยมใช้ ทำให้มีความตื่นเต้น และลุ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ผู้เขียนกระชับเรื่องราวหลังจากอุบัติเหตุภายใน 3 ตอนแรก ถึงแม้ว่าจะบรรยายความรู้สึกสูญเสียของออมบ้าง แต่กระนั้น 3 ตอนนี้ ยังไม่สามารถทำให้ผมรู้จักตัวละครได้ดีมากเท่าไหร่ (ผมจะไปอธิบายจุดนี้เพิ่มเติมตรงหัวข้อ ตัวละคร นะครับ) หลังจากที่เรื่องดำเนินได้มาสักพัก ผมเริ่มรู้สึกว่าเรื่องราวค่อนข้างเป็นเส้นตรง อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจของเรื่องราวกลับอยู่ที่ความรู้ในการดูแลผู้พิการทางสายตาและความละมุนของการใช้ชีวิตซะมากกว่า ซึ่งองค์ประกอบของสองสิ่งนี้นำไปสู่เป้าหมายของเส้นเรื่องนั่นก็คือ ความรัก ผมรู้สึกว่าผู้เขียนได้แทรกความรู้สึกของออมและมายด์ได้ค่อนข้างละเมียดทีเดียวครับ ไม่ได้ยัดเยียดว่า ฉันรักแล้ว แต่ทำให้ตัวละครรู้สึกเรื่อย ๆ จนมาถึงความขัดแย้งในอารมณ์ ถึงแม้ผู้เขียนจะมีปมขึ้นมาให้เห็น แต่ผมมองว่ามันเป็นแค่สถานการณ์หนึ่งเท่านั้น เพราะจุดนี้ผมคาดหวังจะเห็นความขัดแย้ง อยากเห็นดราม่าที่จะกระชากอารมณ์ เห็นความเจ็บปวดจนตระหนักได้ว่า นี่แหละความรัก ซึ่งอาจจะทำให้นิยายมีโทนสีมากขึ้น เพราะนิยายเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ โทนเรื่องค่อนข้างสะอาดจนผมรู้สึกว่า อะไรบางอย่างมันขาดหายไป (ผมแนะนำให้ลองใส่ตัวละครผู้ชายอีกตัวในฐานะแฟนมายด์ลงไป จะมีอะไร ๆ สนุกรออยู่มากมาย นอกจากความรู้ที่จะได้จากนิยายเรื่องนี้เลยครับ) ตัวละคร ความเชื่อมั่นในตัวเองที่สูงจนเกินไปทำให้ตัวละครที่ชื่อ ออม เกิดอุบัติเหตุ ผู้เขียนดึงบุคลิกของคนในสังคมยุคปัจจุบันมาในนิยายได้ค่อนข้างดีครับ หลาย ๆ ครั้งของอุบัติเหตุเกิดมาจากความประมาท และความประมาทนี่แหละที่มาจากความมั่นใจจนเกินไป หลังจากเหตุการณ์ของอุบัติเหตุผ่านไป ทำให้เธอกลายเป็นผู้พิการทางสายตา จังหวะชีวิตแบบนี้ของเด็กอายุวัยนี้ ถือเป็นแรงกดดันค่อนข้างมากนะครับ และสำหรับผม รู้สึกว่าผู้เขียนยังไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความกดดันมากพอให้กับ ออม ให้เห็นอย่างเด่นชัด เราแค่รับรู้ว่า ออมรู้สึกแย่และทำร้ายตัวเอง แต่ภาพที่ออกมายังไม่ชัดแจ้งดั่งแสงตะวัน นอกจากคำบรรยายไม่กี่บท นอกจากนี้ ผมยังรู้สึกว่าแค่บทบรรยายในความเชื่อมั่นของออมในตอนแรก อาจจะยังไม่มากพอที่จะทำให้ผมรู้จักออมได้แบบนั้นจริง ๆ ถ้าจะให้ผมเปรียบเทียบระหว่าง “ออม” ก่อนอุบัติเหตุและ “ออม” หลังอุบัติเหตุ ผมมองว่าไม่สมเหตุสมผลในความใจร้อนเลยทีเดียว เพราะหลังจากรู้จักออมหลังอุบัติเหตุ ตัวละครนี้น่ารักเลยทีเดียว น่าจะได้รับความรักและการอมรมมาเป็นอย่างดี แต่พอตัดภาพมาที่อุบัติเหตุต้นเรื่องปุ๊บ ทำไมคนนี้ถึงได้ใจร้อนมากเพียงนี้ พอจะนึกออกใช่ไหมครับ ดังนั้นควรจะมีสตอรี่มาให้เห็นบ้าง อาจจะบรรยายผ่านบทใดบทหนึ่งของนิยายก็ได้ครับ คล้ายภาพ flashback อะไรแบบนี้ และสืบเนื่องมาจากนิสัย ออม ต้นเรื่อง ผมคาดหวังที่จะเห็นอารมณ์ของความรักที่พลุ่งพล่านแบบนั้นในตอนท้าย ๆ เรื่องเหมือนกัน แต่ก็ยังมองไม่เห็น รู้สึกว่าตัวละครตัวนี้เปลี่ยนตัวตน จากหน้ามือเป็นหลังมือ ในแง่การพัฒนาการของตัวละคร ผมมองว่ามันปุ๊บปั๊บไป ยังไม่ real พอ มายด์ ถือเป็นตัวละครที่มีสุขุมและรอบคอบพอตัว สามารถสังเกตได้จากวิธีการเลือกรับงาน เธอไม่ได้ใช้ เงิน เป็นตัวตั้ง หากแต่เธอประเมินแล้วว่า สิ่งที่เธอทำไปจะไม่เสียแรงเปล่าและสามารถช่วยใครสักคนให้มีความหวัง ทำให้ตัวละครตัวนี้เป็นแรร์ไอเท็มในสังคมยุคปัจจุบันจริง ๆ ครับ ดังนั้น มายด์คือตัวละครที่ค่อนข้างแบน ไม่ซับซ้อนและค่อนข้างอ่านง่าย แม้บางครั้งจะมีโมเมนต์ของการยับยั้งชั่งใจ แต่ก็ไม่ได้น่าแปลกใจมากนัก ส่วนตัวละครอื่น ๆ เช่น พ่อของออม หรือแม่ ของออม คาแร็กเตอร์มาไม่หวือหวามากมายครับ เป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ จึงไม่แปลกใจที่มีลูกสาวแบบ มายด์และออมได้ ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะชักจูงให้ผู้อ่านคิดว่า พ่อของออมมีความรู้สึกต่อมายด์แบบใด แต่ท้ายสุด ตัวละครนี้ก็ยังราบเรียบเหมือนเดิม โดยปกติแล้ว นิยายที่มีจำนวนตัวละครน้อยแบบนี้ จะทำให้เราสามารถโฟกัสความซับซ้อนของตัวละครได้ชัดมากขึ้น หรือที่เราเรียกว่า ตัวละครกลม แต่ในเรื่องนี้ ผมอาจต้องพูดว่าตัวละครสำคัญในเรื่องค่อนข้างเป็นระนาบเดียวกันหมด ไม่ค่อยได้เห็นความผันผวนของอารมณ์มากนัก เลยทำให้ตัวละครเหมือนกระดาษที่มีโทนสีเพียง 1-2 โทน อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้เขียนสนใจนะครับ ผมมีทฤษฎีหนึ่งแนะนำโดยที่ไม่ต้องยุ่งกับนิยายมากนัก ตัวละครที่จะทำให้ ออม มีความซับซ้อนมากขึ้น ก็คือ พี่ดอม ผู้เขียนสามารถเพิ่มบทของผู้ชายคนนี้เข้าไปได้ช่วงแรกของนิยาย แล้วก็นำเขาออกไปจากนิยายได้ในช่วงแรกเช่นกัน อาจจะให้เขากลับมาดูแลออมช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วทำให้เขาคิดว่าออมก่อนหน้านี้กับตอนนี้ต่างกัน ผมว่าสนุกแน่ เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจตัวตนของออมมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องไปยุ่งกับนิยายส่วนหลังเลยครับ ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้น้ำหนักของการหายตัวไป ของดอม ดูมีเหตุผลมากอีกด้วย การใช้ภาษา ภาษาในนิยายเรื่องนี้ เป็นภาษาเรียบง่าย มีสำนวนประปรายในแต่ละบท อาจจะไม่ใช่นิยายที่มีคำบรรยายมาสเตอร์พีชเท่าไหร่ แต่ข้อดีก็คือ ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจบทบรรยายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ ของแต่ละตอนได้ค่อนข้างไว However, according to my opinion…คำฟุ่มเฟื่อยหรือคำซ้ำ มีค่อนข้างถี่ ทำให้ผมลดความสนใจในแต่ละตอนได้ประมาณหนึ่ง และเท่าที่เห็น ผู้เขียนไม่ได้ re-write นิยาย ดังนั้นผมเลยค่อนข้างแน่ใจว่า นิยายเรื่องนี้น่าจะไม่ได้ถูกต่อยอดในการทำเป็นรูปเล่มหรือเพื่อการพาณิชย์แต่งอย่างใด ผมรู้สึกเสียดายเล็กน้อยครับ เพราะมีองค์ความรู้บางอย่างที่ดีในนิยายนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลใกล้ตัวของผู้พิการทางด้านสายตา แก่นเรื่อง ผู้เขียนมีข้อคิดดี ๆ ผ่านตัวละครมาเป็นระยะ ทำให้นิยายเรื่องนี้ เป็นนิยายที่ดีเรื่องหนึ่ง นี่ยังไม่นับความรู้ของการดูแลผู้พิการทางด้านสายตานะครับ อย่างไรก็ตาม ผมยังได้ข้อคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเข้าใจและการให้กำลังใจ ปมของตัวเอกของเรื่องที่เจอหนักมากครับ แต่เพราะความเข้าใจจากคนรอบข้าง ความรักของคนในครอบครัว ทำให้เธอผู้นี้สามารถผ่านอุปสรรคที่หนักอึ้งไปได้ ซึ่งในสังคมยุคปัจจุบัน มีคนท้อแท้ในชีวิต เราเห็นว่ามีข่าวการฆ่าตัวตาย ข่าวเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นนิยายเรื่องนี้ ถ้าได้ต่อยอด จะเป็นนิยายน้ำดีเรื่องหนึ่ง ที่จะทำให้บุคคลที่ท้อแท้สิ้นหวังตระหนักว่า หากยังไม่สิ้นหวัง ยังมีความหวังรออยู่เบื้องหน้าครับ....   อ่านน้อยลง

    MrPoseidonSon | 23 ส.ค. 61

    • 8

    • 0

    "วิจารณ์จาก bluewhale"

    (แจ้งลบ)

    นวนิยายแนวซึ้งกินใจ จำนวน 45 ตอนจบ เรื่อง My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ ของ ริญญดา เป็นเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่าง อมลวัทน์ ภมรพรรณ หรือ ออมสาวน้อยที่ตาบอดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กับ ชลกมล หรือ มายด์ พี่เลี้ยงสาวที่คอยดูแลและเป็นกำลังใจให้ออมดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ นับว่าเป็นนวนิยายที่นำเสนอเรื่องราวของการดูแลแ ... อ่านเพิ่มเติม

    นวนิยายแนวซึ้งกินใจ จำนวน 45 ตอนจบ เรื่อง My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ ของ ริญญดา เป็นเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่าง อมลวัทน์ ภมรพรรณ หรือ ออมสาวน้อยที่ตาบอดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กับ ชลกมล หรือ มายด์ พี่เลี้ยงสาวที่คอยดูแลและเป็นกำลังใจให้ออมดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ นับว่าเป็นนวนิยายที่นำเสนอเรื่องราวของการดูแลและการใช้ชีวิตของผู้พิการทางสายตาในสังคม ที่มักไม่ค่อยกล่าวถึงตัวละครลักษณะนี้เท่าใดนัก การเขียนเรื่องราวเฉพาะของตัวละครกลุ่มพิเศษกลุ่มนี้ ริญญดา หาข้อมูลเกี่ยวกับผู้พิการทางสายตาและการดูแลมาเป็นอย่างดี จึงสามารถถ่ายทอดให้ผู้อ่านเชื่อได้ ขณะเดียวกันยังเห็นว่า ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจจะเขียนเรื่องเพื่อสื่อถึงผู้พิการทางสายตามเท่านั้น แต่ต้องการจะถ่ายทอดให้คนรอบๆ ข้างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมให้เข้าใจผู้พิการทางสายตา และเข้าใจวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการให้ความช่วยเหลือพวกเขาในวาระต่างๆ ด้วย ซึ่งนับว่าผู้เขียนประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ ความน่าสนใจประการหนึ่ง คือ การตั้งชื่อเรื่องว่า My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ นับเป็นการสรุปแนวคิดหลักของเรื่องที่ ริญญดา ต้องการเสนอไว้ทั้งหมด จะเห็นได้ว่าผู้เขียนล่นคำทั้งคำว่า My Mind ซึ่งสามารถตีความหมายได้ในสองระดับคือ การตีความตามตัวอักษร คือ “หัวใจของฉัน” หรือ “ที่รักของฉัน” และยังมีนัยความหมายที่ซ่อนอยู่ในคำตีความได้อีกระดับว่า “พี่มายด์ที่รักของฉัน” ก็ได้ ขณะเดียวกัน คำว่า “ดวงตา ณ ดวงใจ” ก็เป็นคำที่ผู้เขียนมักนำมาเล่นสลับกันอยู่แล้วโดยตลอดเรื่องเพื่อสื่อความว่า “ตา” กับ “ใจ” สามารถแทนกันได้ และ “ใจ” ยังมีความสำคัญมากกว่าตาเสียดี เช่น “ ‘ใจ’ สามารถมองเห็นได้มากกว่า ‘ตา’ ถ้า ‘ใจ’ บอด ต่อให้ ‘ตา’ ดีก็ไม่เห็นอะไรเลย” หรือ “อีกคนให้ดวงตา ไม่แค่ ‘เปิดตา’ ที่มืดบอด แต่ยังช่วย ‘เปิดใจ’ ที่ไร้เรี่ยวแรงให้มีความหวัง มีกำลังใจชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า” เพื่อต้องการจะสื่อแนวคิดของผู้เขียนที่ว่า แม้จะตาบอด แต่ก็สามารถมี “ดวงตา ณ ดวงใจ” ที่ช่วยทำให้มองเห็นความ “รัก” ได้ ผู้เขียนพยายามแทรก ข้อคิด ความรู้สึก และทัศนคติด้านดีในการมองโลกไว้เป็นระยะๆ ทั้งเรื่องของมุมมองความรักทั้งความรักระหว่างคนในครอบครัว คนรักของคนรัก ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ และความรักต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งผู้เขียนมักจะใช้ตัวหนาเพื่อเน้นทัศนคติทางด้านดีเหล่านี้อยู่โดยตลอดเรื่อง ในแง่หนึ่ง การแทรกข้อคิดและมุมมองดีๆ ต่อผู้อ่านนับเป็นเรื่องดี แต่หากมากเกินไปก็จะดูเป็นการยัดเยียดให้กับผู้อ่านได้ ขณะเดียวกันผู้อ่านก็อาจรู้สึกเหมือนกับว่าถูกผู้เขียนสอนอยู่ก็ได้ จนทำให้ปฏิเสธไม่สนใจความคิดดีๆ เหล่านี้ก็เป็นได้ จึงเห็นว่าอาจจะต้องเลือกเสมอบางแนวคิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่เด่นจริงๆ เพื่อสร้างความกระทบอารมณ์ให้ผู้อ่านอย่างรุนแรง แม้ว่าเมื่ออ่านเรื่องจบไปแล้วก็ยังจดจำได้ไม่ลืม อีกประการหนึ่ง การแทรกความคิดดีๆ ในเรื่องส่วนใหญ่ ริญญดา มักจะใช้ตัวหนาเพื่อเน้นข้อความ ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการที่โจ่งแจ้งเกินไป เพราะมีการสอดแทรกมุมมองดีๆ ต่อชีวิตไว้เป็นระยะๆ โดยตลอดเรื่องอยู่แล้ว (ในเรื่องจึงเต็มไปด้วยตัวหนา) จึงเห็นว่าหากผู้เขียนไม่เน้นข้อความด้วยตัวหนาและใช้ตัวปกติแทน อาจทำให้ข้อคิดเหล่านี้กลืนไปกับเนื้อเรื่อง และจะช่วยลดอคติของผู้อ่านบางคนที่รู้สึกเหมือนว่ากำลังถูกสอนลงได้ ริญญดา ไม่เพียงแต่กล้าเพียงแต่จะนำเสนอเรื่องราวของผู้พิการทางสายตาและการดูแลเท่านั้น แต่เธอยังกล้าที่จะนำเสนอเรื่องราวของคนทั้งคู่ผ่านความรักของ “หญิงรักหญิง” ซึ่งเป็นแนวเรื่องที่ไม่ค่อยมีผู้แต่งมากนัก ในเรื่องนี้ ริญญดา เน้นการถ่ายทอดให้ผู้อ่านเห็นพัฒนาการทางอารมณ์ ความรัก และความผูกพันของออมและมายด์ สองตัวละครหลักอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งความใกล้ชิดและความผูกพันของคนทั้งคู่นั้นสามารถที่จะพัฒนาเป็นความรักได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ที่เริ่มต้นสานสัมพันธ์ในครั้งนี้คือ ออม หญิงสาวตาบอดผู้หมดหวังที่จะดำเนินชีวิตต่อไป แต่เมื่อมี มายด์ ผู้เข้าใจและเป็นเสมือนความหวังและหลักที่เธอยึดติดเพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข ขณะเดียวกันในระหว่างที่เล่าเรื่อง ริญญดา ยังพยายามที่จะให้ผู้อ่านคล้อยตามและยอมรับความรักของคนทั้งคู่ในหลากหลายวิธี ทั้ง การนำเรื่องราวความรักทั้งในหนังสือซึ่งต่อมาได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง “Yes or No” และการเปิดเปลือยความรู้สึกของตัวละครทั้งคู่ ที่ทั้งสองพยายามต่อสู้กับความรู้สึกผิดในความรักครั้งนี้ แม้ว่าท้ายที่สุดพวกเธอยอมทำตามความต้องการของหัวใจมากกว่าก็ตาม ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ริญญดา ฉลาดที่จบนวนิยายเรื่องนี้เพียงแค่ เมื่อตัวละครทั้งคู่รู้ใจและยอมรับใจตัวเอง และพร้อมที่จะต่อสู้ต่ออุปสรรคต่อไป หากเขียนต่อจะยากมากขึ้น เพราะเรื่องจะไม่ได้เป็นเรื่องของตัวละครสองตัวอีกแล้ว แต่จะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติของคนรอบข้าง และค่านิยมของสังคม ริญญดา จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้อ่านที่จะตัดสินตอนจบของความรักของคนทั้งคู่นี้เอาเอง ในเรื่องของกลวิธีการเขียนนั้น ผู้เขียนใช้การเล่นคำ และการสลับตัวอักษร เป็นกลวิธีหลัก เช่น ‘ตาบอด’ กับ ‘ตาดี’ ‘วันพรุ่งนี้’ กับ ‘วันนี้’ ‘กล้า’ กับ ‘กลัว’ ‘ได้แค่รัก’ กับ ‘รักได้แค่’ ‘ทำให้รัก’ กับ ‘รักทำให้’ และ ‘ได้รัก’ กับ ‘รักได้’ นับเป็นกลวิธีที่น่าสนใจ และสามารถสื่อความคิดที่กระทบใจผู้อ่านได้ แต่กลวิธีนี้จะก่อให้เกิดความประทับใจเมื่ออ่านพบในช่วงแรกๆ แต่ในช่วงหลังเมื่อผู้เขียนยังคงใช้กลวิธีนี้ถี่จนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงท้ายๆ เรื่อง ซึ่งเมื่อผู้อ่านจับทางได้แล้ว มนตร์ขลังของการสร้างความประทับใจด้วยกลวิธีนี้ก็คลายลงด้วยเช่นกัน จึงเห็นว่า ริญญดา ไม่ความใช้กลวิธีนี้เพียงกลวิธีเดียว แต่อาจต้องการกลวิธีอื่นๆ เพิ่มเข้ามาช่วยสลับกับกลวิธีนี้ก็จะสร้างให้เรื่องมีมิติละน่าสนใจมากขึ้นได้ สำหรับข้อด้อยที่พบคือ ริญญดา การสร้างตัวละครหลักทั้งหมดเป็นอุดมคติมากๆ ซึ่งเป็นตัวละครที่มีความดีรอบด้าน ทั้งบุคลิกลักษณะ รูปร่างหน้า ความคิด และอุดมการณ์ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ ออม และมายด์ โดยเฉพาะมายด์ ซึ่งเป็นตัวละครที่ยากที่จะเชื่อได้ว่ามีคนที่มีคุณลักษณะครบถ้วนเช่นนี้มีอยู่ในสังคมจริง แม้ว่าในช่วงท้าย ผู้เขียนจะสร้างข้อด้อยให้กับตัวละครตัวนี้แล้วก็ตาม ประการต่อมาคือ การเน้นอารมณ์และพัฒนาการในเรื่องความรักของออมและมายด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เนื้อเพลง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการสื่ออารมณ์ที่ซ่อนเร้นในใจของตัวละครเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับตัวละครด้วย แต่ ริญญดา ใช้กลวิธีนี้ซ้ำมากเกินไป ใช้เพลงมาอธิบายอารมณ์ตัวละครมากถึงประมาณ 4-5 เพลง ซึ่งพบในช่วงกลางเรื่องถึงท้าย ซึ่งทำให้เรื่องไม่กระชับและเหมือนว่าถูกยืดออกไป นอกจากนี้ กลวิธีนี้ยังไม่นิยมนักในการสร้างเรื่อง เพราะหากเรื่องนี้ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์อาจติดปัญหาในเรื่องลิขสิทธิ์เพลงได้ ทั้งนี้ ผู้วิจารณ์เห็นว่า ริญญดา มีความสามารถในการเขียนทั้งบทบรรยายและบทสนทนาอยู่แล้ว ผู้เขียนน่าจะสร้างบทบรรยายขึ้นมาเองก็จะสื่อความได้ตรงใจของตัวละครได้มากกว่าใช้บทเพลงก็เป็นได้ ความผิดพลาดอีกประการที่พบคือ ชื่อตัวละครที่ใช้ไม่ตรงกัน นั่นคือ ชื่อแฟนเก่าออม จริงๆ แล้วชื่ออะไรกันแน่ เพราะในตอนที่ 1 ผู้เขียนบอกว่าชื่อ “ดอม” แต่ในตอนที่ 36 และ 47 บอกว่าชื่อ “โดม” เช่นเดียวกับลูกเพื่อนสนิทของแม่มายด์ที่แต่งงานนั้น แท้ที่จริงเป็นลูกสาวหรือลูกชายกันแน่ เพราะในบทที่ 46 บอกว่า ลูกสาวเพื่อนสนิท แต่ในบทที่ 47 บอกว่า ลูกชายเพื่อนสนิท จึงเห็นว่าผู้เขียนควรตอบสอบประเด็นนี้อีกครั้ง เพื่อแก้ไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้ถูกต้อง ประการสุดท้ายคือ คำผิด ซึ่งพบประปราย ทั้งนี้พบว่าคำผิดส่วนใหญ่มักจะเป็นการใช้วรรณยุกต์ตรีผิดพลาด เช่น ผ้ม เขียนเป็น ผ๊ม มั้ง เขียนเป็น มั๊ง ครั้บ เขียนเป็น ครั๊บ แว้บ เขียนเป็น แว็บ น้ะ เขียนเป็น น๊ะ (สำหรับการใช้รูปวรรณยุกต์ตรีและจัตวา มีข้อควรจำง่ายๆ คือ รูปวรรณยุกต์ทั้งสองจะใช้เฉพาะกับอักษรกลาง 9 ตัวเท่านั้น คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป และ อ) และคำเขียนผิดอื่นๆ เช่น เว็บไซต์ เขียนเป็น เว็ปไซด์ มื้อ เขียนเป็น มิ้อ แท็กซี่ เขียนเป็น แท๊กซี่ หนู (เป็นคำที่มีเสียงจัตวาอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่เครื่องหมายจัตวาเพื่อกำกับเสียงอีก) เขียนเป็น หนู๋ เลิก เขียนเป็น เลิ้ก กะทันหัน เขียนเป็น กะทันหัน ปรากฏ เขียนเป็น ปรากฎ สถานทูต เขียนเป็น สถานฑูต อุตส่าห์ เขียนเป็น อุตสาห์ เกรี้ยวกราด เขียนเป็น เกรียวกราด รสชาติ เขียนเป็น รสชาด กาลเทศะ เขียนเป็น กาละเทศะ เดินเหม่อ เขียนเป็น เดินเหมอ หลงใหล เขียนเป็น หลงไหล   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 16 มิ.ย. 57

    • 6

    • 0

    ดูทั้งหมด

    คำนิยมล่าสุด

    "วิจารณ์จาก MrPoseidonSon"

    (แจ้งลบ)

    อันดับแรก ผมต้องขอบอกก่อนว่า ผมไม่มีเจตนาที่จะทำให้นิยายของคุณเสื่อมเสีย คำวิจารณ์ทั้งหมด มาจากความคิดของผู้วิจารณ์ นั่นก็คือ MrPoseidonSon แต่เพียงผู้เดียว ถ้าคำวิจารณ์นี้ ทำให้ผู้เขียนนิยายรู้สึกแย่ ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ ตลอดเวลาเกือบ 5 ปีที่ทุกครั้งเวลาผมเข้าเวปเด็กดี ผมจะรู้สึกถึงหน้าที่ที่ผมต้องทำให้กับนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเกือบทุกค ... อ่านเพิ่มเติม

    อันดับแรก ผมต้องขอบอกก่อนว่า ผมไม่มีเจตนาที่จะทำให้นิยายของคุณเสื่อมเสีย คำวิจารณ์ทั้งหมด มาจากความคิดของผู้วิจารณ์ นั่นก็คือ MrPoseidonSon แต่เพียงผู้เดียว ถ้าคำวิจารณ์นี้ ทำให้ผู้เขียนนิยายรู้สึกแย่ ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ ตลอดเวลาเกือบ 5 ปีที่ทุกครั้งเวลาผมเข้าเวปเด็กดี ผมจะรู้สึกถึงหน้าที่ที่ผมต้องทำให้กับนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเกือบทุกครั้ง ผมก็จะพยายามมองข้ามแล้วปล่อยมันไป แบบ...ไม่ต้องทำก็ได้นะ ไม่เป็นไรหรอก อย่างไรก็ตาม มันแปลกที่ guilty ก็ยังเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อผมเข้ามาที่เวป ดังนั้น แม้ว่าเจ้าของนิยายอาจไม่ต้องการคำวิจารณ์อีกแล้ว แต่ผมขอลบความรู้สึก guilty ที่เกิดขึ้นด้วยการทำงานชิ้นนี้ให้เต็มที่นะครับ เรื่องย่อ ความใจร้อนของออม ที่ทำให้สูญเสียแม่และดวงตาของตนเองในอุบัติเหตุเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอได้รู้จัก มายด์ ฝ่ายสนับสนุนนิสิตพิการ ที่พ่อเธอจ้างมาเพื่อให้มาสอนและดูแลออมในการดำเนินชีวิตหลังจากนี้ หลังจากที่ ออมได้รู้จักมายด์ เธอได้มีความรู้สึกที่ดีให้กัน แต่ด้วยเพศสภาพที่เหมือนกัน อาจกำลังทำให้ความรักครั้งนี้มีปัญหา...ติดตามเรื่องราวได้ในเรื่องครับ โครงเรื่อง ผู้เขียนเริ่มด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่เป็นผลกระทบต่อเส้นเรื่องหลัก วิธีการนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่นิยมใช้ ทำให้มีความตื่นเต้น และลุ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ผู้เขียนกระชับเรื่องราวหลังจากอุบัติเหตุภายใน 3 ตอนแรก ถึงแม้ว่าจะบรรยายความรู้สึกสูญเสียของออมบ้าง แต่กระนั้น 3 ตอนนี้ ยังไม่สามารถทำให้ผมรู้จักตัวละครได้ดีมากเท่าไหร่ (ผมจะไปอธิบายจุดนี้เพิ่มเติมตรงหัวข้อ ตัวละคร นะครับ) หลังจากที่เรื่องดำเนินได้มาสักพัก ผมเริ่มรู้สึกว่าเรื่องราวค่อนข้างเป็นเส้นตรง อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจของเรื่องราวกลับอยู่ที่ความรู้ในการดูแลผู้พิการทางสายตาและความละมุนของการใช้ชีวิตซะมากกว่า ซึ่งองค์ประกอบของสองสิ่งนี้นำไปสู่เป้าหมายของเส้นเรื่องนั่นก็คือ ความรัก ผมรู้สึกว่าผู้เขียนได้แทรกความรู้สึกของออมและมายด์ได้ค่อนข้างละเมียดทีเดียวครับ ไม่ได้ยัดเยียดว่า ฉันรักแล้ว แต่ทำให้ตัวละครรู้สึกเรื่อย ๆ จนมาถึงความขัดแย้งในอารมณ์ ถึงแม้ผู้เขียนจะมีปมขึ้นมาให้เห็น แต่ผมมองว่ามันเป็นแค่สถานการณ์หนึ่งเท่านั้น เพราะจุดนี้ผมคาดหวังจะเห็นความขัดแย้ง อยากเห็นดราม่าที่จะกระชากอารมณ์ เห็นความเจ็บปวดจนตระหนักได้ว่า นี่แหละความรัก ซึ่งอาจจะทำให้นิยายมีโทนสีมากขึ้น เพราะนิยายเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ โทนเรื่องค่อนข้างสะอาดจนผมรู้สึกว่า อะไรบางอย่างมันขาดหายไป (ผมแนะนำให้ลองใส่ตัวละครผู้ชายอีกตัวในฐานะแฟนมายด์ลงไป จะมีอะไร ๆ สนุกรออยู่มากมาย นอกจากความรู้ที่จะได้จากนิยายเรื่องนี้เลยครับ) ตัวละคร ความเชื่อมั่นในตัวเองที่สูงจนเกินไปทำให้ตัวละครที่ชื่อ ออม เกิดอุบัติเหตุ ผู้เขียนดึงบุคลิกของคนในสังคมยุคปัจจุบันมาในนิยายได้ค่อนข้างดีครับ หลาย ๆ ครั้งของอุบัติเหตุเกิดมาจากความประมาท และความประมาทนี่แหละที่มาจากความมั่นใจจนเกินไป หลังจากเหตุการณ์ของอุบัติเหตุผ่านไป ทำให้เธอกลายเป็นผู้พิการทางสายตา จังหวะชีวิตแบบนี้ของเด็กอายุวัยนี้ ถือเป็นแรงกดดันค่อนข้างมากนะครับ และสำหรับผม รู้สึกว่าผู้เขียนยังไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความกดดันมากพอให้กับ ออม ให้เห็นอย่างเด่นชัด เราแค่รับรู้ว่า ออมรู้สึกแย่และทำร้ายตัวเอง แต่ภาพที่ออกมายังไม่ชัดแจ้งดั่งแสงตะวัน นอกจากคำบรรยายไม่กี่บท นอกจากนี้ ผมยังรู้สึกว่าแค่บทบรรยายในความเชื่อมั่นของออมในตอนแรก อาจจะยังไม่มากพอที่จะทำให้ผมรู้จักออมได้แบบนั้นจริง ๆ ถ้าจะให้ผมเปรียบเทียบระหว่าง “ออม” ก่อนอุบัติเหตุและ “ออม” หลังอุบัติเหตุ ผมมองว่าไม่สมเหตุสมผลในความใจร้อนเลยทีเดียว เพราะหลังจากรู้จักออมหลังอุบัติเหตุ ตัวละครนี้น่ารักเลยทีเดียว น่าจะได้รับความรักและการอมรมมาเป็นอย่างดี แต่พอตัดภาพมาที่อุบัติเหตุต้นเรื่องปุ๊บ ทำไมคนนี้ถึงได้ใจร้อนมากเพียงนี้ พอจะนึกออกใช่ไหมครับ ดังนั้นควรจะมีสตอรี่มาให้เห็นบ้าง อาจจะบรรยายผ่านบทใดบทหนึ่งของนิยายก็ได้ครับ คล้ายภาพ flashback อะไรแบบนี้ และสืบเนื่องมาจากนิสัย ออม ต้นเรื่อง ผมคาดหวังที่จะเห็นอารมณ์ของความรักที่พลุ่งพล่านแบบนั้นในตอนท้าย ๆ เรื่องเหมือนกัน แต่ก็ยังมองไม่เห็น รู้สึกว่าตัวละครตัวนี้เปลี่ยนตัวตน จากหน้ามือเป็นหลังมือ ในแง่การพัฒนาการของตัวละคร ผมมองว่ามันปุ๊บปั๊บไป ยังไม่ real พอ มายด์ ถือเป็นตัวละครที่มีสุขุมและรอบคอบพอตัว สามารถสังเกตได้จากวิธีการเลือกรับงาน เธอไม่ได้ใช้ เงิน เป็นตัวตั้ง หากแต่เธอประเมินแล้วว่า สิ่งที่เธอทำไปจะไม่เสียแรงเปล่าและสามารถช่วยใครสักคนให้มีความหวัง ทำให้ตัวละครตัวนี้เป็นแรร์ไอเท็มในสังคมยุคปัจจุบันจริง ๆ ครับ ดังนั้น มายด์คือตัวละครที่ค่อนข้างแบน ไม่ซับซ้อนและค่อนข้างอ่านง่าย แม้บางครั้งจะมีโมเมนต์ของการยับยั้งชั่งใจ แต่ก็ไม่ได้น่าแปลกใจมากนัก ส่วนตัวละครอื่น ๆ เช่น พ่อของออม หรือแม่ ของออม คาแร็กเตอร์มาไม่หวือหวามากมายครับ เป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ จึงไม่แปลกใจที่มีลูกสาวแบบ มายด์และออมได้ ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะชักจูงให้ผู้อ่านคิดว่า พ่อของออมมีความรู้สึกต่อมายด์แบบใด แต่ท้ายสุด ตัวละครนี้ก็ยังราบเรียบเหมือนเดิม โดยปกติแล้ว นิยายที่มีจำนวนตัวละครน้อยแบบนี้ จะทำให้เราสามารถโฟกัสความซับซ้อนของตัวละครได้ชัดมากขึ้น หรือที่เราเรียกว่า ตัวละครกลม แต่ในเรื่องนี้ ผมอาจต้องพูดว่าตัวละครสำคัญในเรื่องค่อนข้างเป็นระนาบเดียวกันหมด ไม่ค่อยได้เห็นความผันผวนของอารมณ์มากนัก เลยทำให้ตัวละครเหมือนกระดาษที่มีโทนสีเพียง 1-2 โทน อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้เขียนสนใจนะครับ ผมมีทฤษฎีหนึ่งแนะนำโดยที่ไม่ต้องยุ่งกับนิยายมากนัก ตัวละครที่จะทำให้ ออม มีความซับซ้อนมากขึ้น ก็คือ พี่ดอม ผู้เขียนสามารถเพิ่มบทของผู้ชายคนนี้เข้าไปได้ช่วงแรกของนิยาย แล้วก็นำเขาออกไปจากนิยายได้ในช่วงแรกเช่นกัน อาจจะให้เขากลับมาดูแลออมช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วทำให้เขาคิดว่าออมก่อนหน้านี้กับตอนนี้ต่างกัน ผมว่าสนุกแน่ เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจตัวตนของออมมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องไปยุ่งกับนิยายส่วนหลังเลยครับ ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้น้ำหนักของการหายตัวไป ของดอม ดูมีเหตุผลมากอีกด้วย การใช้ภาษา ภาษาในนิยายเรื่องนี้ เป็นภาษาเรียบง่าย มีสำนวนประปรายในแต่ละบท อาจจะไม่ใช่นิยายที่มีคำบรรยายมาสเตอร์พีชเท่าไหร่ แต่ข้อดีก็คือ ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจบทบรรยายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดสำคัญต่าง ๆ ของแต่ละตอนได้ค่อนข้างไว However, according to my opinion…คำฟุ่มเฟื่อยหรือคำซ้ำ มีค่อนข้างถี่ ทำให้ผมลดความสนใจในแต่ละตอนได้ประมาณหนึ่ง และเท่าที่เห็น ผู้เขียนไม่ได้ re-write นิยาย ดังนั้นผมเลยค่อนข้างแน่ใจว่า นิยายเรื่องนี้น่าจะไม่ได้ถูกต่อยอดในการทำเป็นรูปเล่มหรือเพื่อการพาณิชย์แต่งอย่างใด ผมรู้สึกเสียดายเล็กน้อยครับ เพราะมีองค์ความรู้บางอย่างที่ดีในนิยายนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลใกล้ตัวของผู้พิการทางด้านสายตา แก่นเรื่อง ผู้เขียนมีข้อคิดดี ๆ ผ่านตัวละครมาเป็นระยะ ทำให้นิยายเรื่องนี้ เป็นนิยายที่ดีเรื่องหนึ่ง นี่ยังไม่นับความรู้ของการดูแลผู้พิการทางด้านสายตานะครับ อย่างไรก็ตาม ผมยังได้ข้อคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเข้าใจและการให้กำลังใจ ปมของตัวเอกของเรื่องที่เจอหนักมากครับ แต่เพราะความเข้าใจจากคนรอบข้าง ความรักของคนในครอบครัว ทำให้เธอผู้นี้สามารถผ่านอุปสรรคที่หนักอึ้งไปได้ ซึ่งในสังคมยุคปัจจุบัน มีคนท้อแท้ในชีวิต เราเห็นว่ามีข่าวการฆ่าตัวตาย ข่าวเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นนิยายเรื่องนี้ ถ้าได้ต่อยอด จะเป็นนิยายน้ำดีเรื่องหนึ่ง ที่จะทำให้บุคคลที่ท้อแท้สิ้นหวังตระหนักว่า หากยังไม่สิ้นหวัง ยังมีความหวังรออยู่เบื้องหน้าครับ....   อ่านน้อยลง

    MrPoseidonSon | 23 ส.ค. 61

    • 8

    • 0

    "วิจารณ์จาก bluewhale"

    (แจ้งลบ)

    นวนิยายแนวซึ้งกินใจ จำนวน 45 ตอนจบ เรื่อง My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ ของ ริญญดา เป็นเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่าง อมลวัทน์ ภมรพรรณ หรือ ออมสาวน้อยที่ตาบอดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กับ ชลกมล หรือ มายด์ พี่เลี้ยงสาวที่คอยดูแลและเป็นกำลังใจให้ออมดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ นับว่าเป็นนวนิยายที่นำเสนอเรื่องราวของการดูแลแ ... อ่านเพิ่มเติม

    นวนิยายแนวซึ้งกินใจ จำนวน 45 ตอนจบ เรื่อง My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ ของ ริญญดา เป็นเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่าง อมลวัทน์ ภมรพรรณ หรือ ออมสาวน้อยที่ตาบอดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ กับ ชลกมล หรือ มายด์ พี่เลี้ยงสาวที่คอยดูแลและเป็นกำลังใจให้ออมดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ นับว่าเป็นนวนิยายที่นำเสนอเรื่องราวของการดูแลและการใช้ชีวิตของผู้พิการทางสายตาในสังคม ที่มักไม่ค่อยกล่าวถึงตัวละครลักษณะนี้เท่าใดนัก การเขียนเรื่องราวเฉพาะของตัวละครกลุ่มพิเศษกลุ่มนี้ ริญญดา หาข้อมูลเกี่ยวกับผู้พิการทางสายตาและการดูแลมาเป็นอย่างดี จึงสามารถถ่ายทอดให้ผู้อ่านเชื่อได้ ขณะเดียวกันยังเห็นว่า ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจจะเขียนเรื่องเพื่อสื่อถึงผู้พิการทางสายตามเท่านั้น แต่ต้องการจะถ่ายทอดให้คนรอบๆ ข้างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมให้เข้าใจผู้พิการทางสายตา และเข้าใจวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการให้ความช่วยเหลือพวกเขาในวาระต่างๆ ด้วย ซึ่งนับว่าผู้เขียนประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ ความน่าสนใจประการหนึ่ง คือ การตั้งชื่อเรื่องว่า My Mind ดวงตา ณ ดวงใจ นับเป็นการสรุปแนวคิดหลักของเรื่องที่ ริญญดา ต้องการเสนอไว้ทั้งหมด จะเห็นได้ว่าผู้เขียนล่นคำทั้งคำว่า My Mind ซึ่งสามารถตีความหมายได้ในสองระดับคือ การตีความตามตัวอักษร คือ “หัวใจของฉัน” หรือ “ที่รักของฉัน” และยังมีนัยความหมายที่ซ่อนอยู่ในคำตีความได้อีกระดับว่า “พี่มายด์ที่รักของฉัน” ก็ได้ ขณะเดียวกัน คำว่า “ดวงตา ณ ดวงใจ” ก็เป็นคำที่ผู้เขียนมักนำมาเล่นสลับกันอยู่แล้วโดยตลอดเรื่องเพื่อสื่อความว่า “ตา” กับ “ใจ” สามารถแทนกันได้ และ “ใจ” ยังมีความสำคัญมากกว่าตาเสียดี เช่น “ ‘ใจ’ สามารถมองเห็นได้มากกว่า ‘ตา’ ถ้า ‘ใจ’ บอด ต่อให้ ‘ตา’ ดีก็ไม่เห็นอะไรเลย” หรือ “อีกคนให้ดวงตา ไม่แค่ ‘เปิดตา’ ที่มืดบอด แต่ยังช่วย ‘เปิดใจ’ ที่ไร้เรี่ยวแรงให้มีความหวัง มีกำลังใจชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า” เพื่อต้องการจะสื่อแนวคิดของผู้เขียนที่ว่า แม้จะตาบอด แต่ก็สามารถมี “ดวงตา ณ ดวงใจ” ที่ช่วยทำให้มองเห็นความ “รัก” ได้ ผู้เขียนพยายามแทรก ข้อคิด ความรู้สึก และทัศนคติด้านดีในการมองโลกไว้เป็นระยะๆ ทั้งเรื่องของมุมมองความรักทั้งความรักระหว่างคนในครอบครัว คนรักของคนรัก ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ และความรักต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งผู้เขียนมักจะใช้ตัวหนาเพื่อเน้นทัศนคติทางด้านดีเหล่านี้อยู่โดยตลอดเรื่อง ในแง่หนึ่ง การแทรกข้อคิดและมุมมองดีๆ ต่อผู้อ่านนับเป็นเรื่องดี แต่หากมากเกินไปก็จะดูเป็นการยัดเยียดให้กับผู้อ่านได้ ขณะเดียวกันผู้อ่านก็อาจรู้สึกเหมือนกับว่าถูกผู้เขียนสอนอยู่ก็ได้ จนทำให้ปฏิเสธไม่สนใจความคิดดีๆ เหล่านี้ก็เป็นได้ จึงเห็นว่าอาจจะต้องเลือกเสมอบางแนวคิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่เด่นจริงๆ เพื่อสร้างความกระทบอารมณ์ให้ผู้อ่านอย่างรุนแรง แม้ว่าเมื่ออ่านเรื่องจบไปแล้วก็ยังจดจำได้ไม่ลืม อีกประการหนึ่ง การแทรกความคิดดีๆ ในเรื่องส่วนใหญ่ ริญญดา มักจะใช้ตัวหนาเพื่อเน้นข้อความ ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการที่โจ่งแจ้งเกินไป เพราะมีการสอดแทรกมุมมองดีๆ ต่อชีวิตไว้เป็นระยะๆ โดยตลอดเรื่องอยู่แล้ว (ในเรื่องจึงเต็มไปด้วยตัวหนา) จึงเห็นว่าหากผู้เขียนไม่เน้นข้อความด้วยตัวหนาและใช้ตัวปกติแทน อาจทำให้ข้อคิดเหล่านี้กลืนไปกับเนื้อเรื่อง และจะช่วยลดอคติของผู้อ่านบางคนที่รู้สึกเหมือนว่ากำลังถูกสอนลงได้ ริญญดา ไม่เพียงแต่กล้าเพียงแต่จะนำเสนอเรื่องราวของผู้พิการทางสายตาและการดูแลเท่านั้น แต่เธอยังกล้าที่จะนำเสนอเรื่องราวของคนทั้งคู่ผ่านความรักของ “หญิงรักหญิง” ซึ่งเป็นแนวเรื่องที่ไม่ค่อยมีผู้แต่งมากนัก ในเรื่องนี้ ริญญดา เน้นการถ่ายทอดให้ผู้อ่านเห็นพัฒนาการทางอารมณ์ ความรัก และความผูกพันของออมและมายด์ สองตัวละครหลักอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งความใกล้ชิดและความผูกพันของคนทั้งคู่นั้นสามารถที่จะพัฒนาเป็นความรักได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ที่เริ่มต้นสานสัมพันธ์ในครั้งนี้คือ ออม หญิงสาวตาบอดผู้หมดหวังที่จะดำเนินชีวิตต่อไป แต่เมื่อมี มายด์ ผู้เข้าใจและเป็นเสมือนความหวังและหลักที่เธอยึดติดเพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข ขณะเดียวกันในระหว่างที่เล่าเรื่อง ริญญดา ยังพยายามที่จะให้ผู้อ่านคล้อยตามและยอมรับความรักของคนทั้งคู่ในหลากหลายวิธี ทั้ง การนำเรื่องราวความรักทั้งในหนังสือซึ่งต่อมาได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง “Yes or No” และการเปิดเปลือยความรู้สึกของตัวละครทั้งคู่ ที่ทั้งสองพยายามต่อสู้กับความรู้สึกผิดในความรักครั้งนี้ แม้ว่าท้ายที่สุดพวกเธอยอมทำตามความต้องการของหัวใจมากกว่าก็ตาม ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ริญญดา ฉลาดที่จบนวนิยายเรื่องนี้เพียงแค่ เมื่อตัวละครทั้งคู่รู้ใจและยอมรับใจตัวเอง และพร้อมที่จะต่อสู้ต่ออุปสรรคต่อไป หากเขียนต่อจะยากมากขึ้น เพราะเรื่องจะไม่ได้เป็นเรื่องของตัวละครสองตัวอีกแล้ว แต่จะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติของคนรอบข้าง และค่านิยมของสังคม ริญญดา จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้อ่านที่จะตัดสินตอนจบของความรักของคนทั้งคู่นี้เอาเอง ในเรื่องของกลวิธีการเขียนนั้น ผู้เขียนใช้การเล่นคำ และการสลับตัวอักษร เป็นกลวิธีหลัก เช่น ‘ตาบอด’ กับ ‘ตาดี’ ‘วันพรุ่งนี้’ กับ ‘วันนี้’ ‘กล้า’ กับ ‘กลัว’ ‘ได้แค่รัก’ กับ ‘รักได้แค่’ ‘ทำให้รัก’ กับ ‘รักทำให้’ และ ‘ได้รัก’ กับ ‘รักได้’ นับเป็นกลวิธีที่น่าสนใจ และสามารถสื่อความคิดที่กระทบใจผู้อ่านได้ แต่กลวิธีนี้จะก่อให้เกิดความประทับใจเมื่ออ่านพบในช่วงแรกๆ แต่ในช่วงหลังเมื่อผู้เขียนยังคงใช้กลวิธีนี้ถี่จนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงท้ายๆ เรื่อง ซึ่งเมื่อผู้อ่านจับทางได้แล้ว มนตร์ขลังของการสร้างความประทับใจด้วยกลวิธีนี้ก็คลายลงด้วยเช่นกัน จึงเห็นว่า ริญญดา ไม่ความใช้กลวิธีนี้เพียงกลวิธีเดียว แต่อาจต้องการกลวิธีอื่นๆ เพิ่มเข้ามาช่วยสลับกับกลวิธีนี้ก็จะสร้างให้เรื่องมีมิติละน่าสนใจมากขึ้นได้ สำหรับข้อด้อยที่พบคือ ริญญดา การสร้างตัวละครหลักทั้งหมดเป็นอุดมคติมากๆ ซึ่งเป็นตัวละครที่มีความดีรอบด้าน ทั้งบุคลิกลักษณะ รูปร่างหน้า ความคิด และอุดมการณ์ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ ออม และมายด์ โดยเฉพาะมายด์ ซึ่งเป็นตัวละครที่ยากที่จะเชื่อได้ว่ามีคนที่มีคุณลักษณะครบถ้วนเช่นนี้มีอยู่ในสังคมจริง แม้ว่าในช่วงท้าย ผู้เขียนจะสร้างข้อด้อยให้กับตัวละครตัวนี้แล้วก็ตาม ประการต่อมาคือ การเน้นอารมณ์และพัฒนาการในเรื่องความรักของออมและมายด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เนื้อเพลง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการสื่ออารมณ์ที่ซ่อนเร้นในใจของตัวละครเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับตัวละครด้วย แต่ ริญญดา ใช้กลวิธีนี้ซ้ำมากเกินไป ใช้เพลงมาอธิบายอารมณ์ตัวละครมากถึงประมาณ 4-5 เพลง ซึ่งพบในช่วงกลางเรื่องถึงท้าย ซึ่งทำให้เรื่องไม่กระชับและเหมือนว่าถูกยืดออกไป นอกจากนี้ กลวิธีนี้ยังไม่นิยมนักในการสร้างเรื่อง เพราะหากเรื่องนี้ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์อาจติดปัญหาในเรื่องลิขสิทธิ์เพลงได้ ทั้งนี้ ผู้วิจารณ์เห็นว่า ริญญดา มีความสามารถในการเขียนทั้งบทบรรยายและบทสนทนาอยู่แล้ว ผู้เขียนน่าจะสร้างบทบรรยายขึ้นมาเองก็จะสื่อความได้ตรงใจของตัวละครได้มากกว่าใช้บทเพลงก็เป็นได้ ความผิดพลาดอีกประการที่พบคือ ชื่อตัวละครที่ใช้ไม่ตรงกัน นั่นคือ ชื่อแฟนเก่าออม จริงๆ แล้วชื่ออะไรกันแน่ เพราะในตอนที่ 1 ผู้เขียนบอกว่าชื่อ “ดอม” แต่ในตอนที่ 36 และ 47 บอกว่าชื่อ “โดม” เช่นเดียวกับลูกเพื่อนสนิทของแม่มายด์ที่แต่งงานนั้น แท้ที่จริงเป็นลูกสาวหรือลูกชายกันแน่ เพราะในบทที่ 46 บอกว่า ลูกสาวเพื่อนสนิท แต่ในบทที่ 47 บอกว่า ลูกชายเพื่อนสนิท จึงเห็นว่าผู้เขียนควรตอบสอบประเด็นนี้อีกครั้ง เพื่อแก้ไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้ถูกต้อง ประการสุดท้ายคือ คำผิด ซึ่งพบประปราย ทั้งนี้พบว่าคำผิดส่วนใหญ่มักจะเป็นการใช้วรรณยุกต์ตรีผิดพลาด เช่น ผ้ม เขียนเป็น ผ๊ม มั้ง เขียนเป็น มั๊ง ครั้บ เขียนเป็น ครั๊บ แว้บ เขียนเป็น แว็บ น้ะ เขียนเป็น น๊ะ (สำหรับการใช้รูปวรรณยุกต์ตรีและจัตวา มีข้อควรจำง่ายๆ คือ รูปวรรณยุกต์ทั้งสองจะใช้เฉพาะกับอักษรกลาง 9 ตัวเท่านั้น คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป และ อ) และคำเขียนผิดอื่นๆ เช่น เว็บไซต์ เขียนเป็น เว็ปไซด์ มื้อ เขียนเป็น มิ้อ แท็กซี่ เขียนเป็น แท๊กซี่ หนู (เป็นคำที่มีเสียงจัตวาอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่เครื่องหมายจัตวาเพื่อกำกับเสียงอีก) เขียนเป็น หนู๋ เลิก เขียนเป็น เลิ้ก กะทันหัน เขียนเป็น กะทันหัน ปรากฏ เขียนเป็น ปรากฎ สถานทูต เขียนเป็น สถานฑูต อุตส่าห์ เขียนเป็น อุตสาห์ เกรี้ยวกราด เขียนเป็น เกรียวกราด รสชาติ เขียนเป็น รสชาด กาลเทศะ เขียนเป็น กาละเทศะ เดินเหม่อ เขียนเป็น เดินเหมอ หลงใหล เขียนเป็น หลงไหล   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 16 มิ.ย. 57

    • 6

    • 0

    ดูทั้งหมด

    ความคิดเห็น