ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ยุทธการสะท้านโลก

    ลำดับตอนที่ #1 : ปฏิบัติการล้วงคองูเห่า เมื่อพิมพ์เขียวเครื่องบินฝรั่งเศส โดนจารกรรม(ตอนที่1)

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.28K
      7
      19 ก.ค. 58

     หลังสงครามคลองสุเอช  ประเทศอาหรับรอบๆ อิสราเอลได้ซื้ออาวุธที่ทันสมัยจากเชคโกสโลวาเกีย  และรัสเซีย  ซึ่งรวมถึงเครื่องบินมิก 



    ส่วนอิสราเอลได้ซื้อเครื่องบินมิราจจากฝรั่งเศส  และได้ทำการดัดแปลงปรับปรุงเครื่องบินมิราจให้เหมาะกับภูมิอากาศของตะวันออกกลาง  
    รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอาวุธที่ทันสมัยมีกำลังในการทำลายสูง  จึงทำให้มิราจมีสมรรถนะและอำนาจการทำลายสูงกว่ามิกของรัสเซียมาก


    รูปเครื่องบินมิราจ III


     


    ...
    ในทันทีที่สงคราม 6 วันสิ้นสุดลง  ประธานาธิบดีเดอ โกลล์ ได้สั่งให้งดขายอาวุธต่างๆรวมทั้งเครื่องบินมิราจ 3-s จำนวน 15 เครื่องให้อิสราเอล
    ซึ่งอิสราเอลได้จ่ายเงินให้ไปแล้ว โดยความจริงแล้วกองทัพอากาศอิสราเอลได้ติดแน่นอยู่กับระบบต่างๆ ของเครื่องบินมิราจ 
    แม้ว่าอเมริกาได้ยื่นเสนอจะขายอาวุธให้ โดยจะจัดส่งเครื่องบินแฟนธอมมาให้ทันที แต่มันก็ไม่ได้แก้ปัญหาใดๆเลย 
    เพราะอิสราเอลได้พัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ไว้สำหรับเครื่องบินมิราจแล้ว อิสราเอลได้ลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง
    ที่มุ่งจะใช้กับระบบของมิราจไปเป็นจำนวนมหาศาล และไม่ได้พัฒนาระบบอื่นเลย


    ...
    นี่เป็นปัญหาระยะสั้นที่ทำให้รัฐบาลและกองทัพอิสราเอลต้องคิดหาทางออกอย่างหนัก  และปัญหาระยะยาวที่จะตามมาอีกเล่า  
    นั่นคือการซ่อมบำรุงเครื่องบินมิราจที่มีอยู่แล้วจะทำอย่างไร ความสามารถในการป้องกันประเทศของอิสราเอล
    ขึ้นอยู่กับอาวุธที่ได้รับจากประเทศเดียวเท่านั้น ถ้าประเทศนั้นเกิดเปลี่ยนใจไม่ส่งอาวุธมาให้โดยไปเข้ากับศัตรูในขณะวิกฤต 
    อิสราเอลจะทำอย่างไร เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจฉะนั้น


    ...
    คณะรัฐมนตรีได้มีมติด่วนให้จัดหางบประมาณให้แก่อุตสาหกรรมเครื่องบินของอิสราเอลเพื่อสร้างเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด
    ที่สามารถต่อกรกับเครื่องบินชั้นเยี่ยมของชาติอื่นๆ มีการตั้งคระกรรมการขึ้นมาพิจารณาปัญหาต่างๆ ที่เผชิญหน้าอยู่
    ...
    คณะกรรมการได้รายงานว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการสร้างเครื่องบินสัญชาติอิสราเอลให้ขึ้นยินได้ทั้งนี้ 
    เพราะอิสราเอลจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ ก ไก่ ขึ้นไป  นอกจากนั้นยังไม่อาจประกันได้ว่าเครื่องบินที่ผลิตออกมานั้น 
    จะสามารถเทียบชั้นกับเครื่องบินของรัสเซีย อังกฤษ อเมริกา หรือฝรั่งเศสได้ 


    ...
    วิธีแก้ปัญหานี้ให้ได้รวดเร็ว คือสร้างเครื่องบินที่ลอกแบบ จากมิราจ ซึ่งวิศวกรและเทคนิเชียนของอิสราเอลมีความชำนาญและคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่วิธีนี้ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ดี เนื่องจากเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่แต่ละเครื่องมีชิ้นส่วนประมาณ 1 ล้านกว่าชิ้น และทุกชิ้นส่วนได้รับการทดสอบมาแล้วเป็นอย่างดี ถ้าจะลอกแบบจากเครื่องบินจริงย่อมไม่ได้คุณภาพเท่าของแท้ นอกเสียจากจะมีพิมพ์เขียวของวิศวกรผู้สร้างมิราจเอง ตัวอย่างที่อิสราเอลรู้ดีก็คือ สวิตเซอร์แลนด์ได้ผลิตเครื่องบินมิราจภายใต้สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาตจากฝรั่งเศส ซึ่งสามารถใช้แบบพิมพ์เขียนและเทคนิคเชียนของฝรั่งเศสอีกด้วย แม้กระนั้นยังต้องใช้เวลาถึง 6 ปี เครื่องบินมิราจที่สร้างในสวิตเซอร์แลนด์จึงขึ้นบินได้


    ...
    เดือนธันวาคม 1967 ฝรั่งเศสได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือสิทธิบัตรในการผลิตเครื่องบินมิราขทั้งลำหรือบางส่วนขึ้นในปารีส โดยปกติแล้วเครื่องบินหรือเครื่องยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องบินจะไม่ค่อยเป็นไปตามรายการประกอบแบบ (Specifications) ที่เขียนขึ้นโดยยืนยันสมรรถนะหรือเพื่อประกันความปลอดภัยเครื่องบินมิราจมิได้มีข้อยกเว้น บริษัท ดาสโซลท์ ผู้ผลิตลำตัวเครื่องบินและบริษัทเซนิกามา ผู้ผลิตเครื่องยนต์ ATA-9 ทั้งสองบริษัทเป็นเจ้าภาพร่วมกัน จัดให้มีการประชุมสำหรับผู้ใช้งานเครื่องบินมิราจทั้งหลายในครั้งนี้ 


    ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากรัฐบาลและอุตสาหกรรมสร้างเครื่องบินของชาติต่างๆ ที่เป็นลูกค้า วัตถุประสงค์ก็เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ โดยออสเตรเลียและสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้ผลิตมิราจทั้งตัวเครื่องบินและเครื่องยนต์ ส่วนอิสราเอลและเบลเยี่ยมนั้น นำชิ้นส่วนไปประกอบและผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นขึ้นเอง ทั้งหมดภายใต้สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาต นอกจากนั้นก็ยังมีแอฟริกาใต้ เลบานอน และเปรู ซึ่งซื้อเครื่องบินมิราจที่ประกอบสำเร็จรูปไปใช้ ในการประชุมครั้งนี้อิสราเอลได้ส่งพลจัตวาโดฟ ไซเยี่ย (Dov Syion) แห่งกองทัพอากาศอิสราเอลเข้าร่วมประชุม  ไซเยี่ยนไม่ได้ออกความเห็นอะไรมากนัก เพราะเขานั่งติดกับผู้แทนจากเลบานอนซึ่งถือเป็นศัตรู และอิสราเอลยังไม่พอใจฝรั่งเศสที่ไม่ยอมส่งอาวุธให้อิสราเอล ดังนั้น ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการใช้เครื่องบินมิราจในสงคราม 6 วันที่เตรียมมาจึงไม่ได้เสนอในที่ประชุมแต่อย่างใด...

     

     

    ..ในการประชุมนั้นผู้ผลิตเครื่อยนต์ ATA-9 บริษัท เซนิกามา ได้รับความกดดันจากลูกค้าที่ใช้มิราขเป็นอันมากเพราะต่างผิดหวังกับเครื่องยนต์ ATA-9 ที่ติดตั้งอยู่ในมิราจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลเฟรด ฟรอเอนค์เนคท์ (Alfred Frauenknecht) ผู้แทนจากบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ (Solzer Brothers) แห่งสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งได้สิทธิบัตรในการสร้างมิราจ ได้วิจารณ์เครื่องยนต์ ATA-9 อย่างหนัก สำหรับโดฟ ไซเยี่ยนแล้วทุกสิ่งที่ฟรอเอนค์เนคท์พูดนั้นได้เกิดขึ้นกับเครื่องบินมิราจของอิสราเอลเช่นเดียวกัน หลังการประชุมไซเยี่ยนได้หาโอกาสพบและรับประทานอาหารกับฟรอเอนค์เนคท์ และได้บอกกับผู้แทนบริษัทสวิสว่าเขาจงใจที่จะไม่เสนอข้อมูลในการใช้งานมิราจของอิสราเอลเข้าที่ประชุม

    ...
    โดฟ ไซเยียน กลับอิสราเอลพร้อมกับข่าวดี ฟรอเอนค์เนคท์ได้เปิดเผยกับเขาว่ารัฐบาลสวิสได้สังชิ้นส่วนมิราจ III  จำนวน 100 เครื่อง แต่เนื่องจากราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลสวิสขึงตัดสินใจสร้างเพียง53 เครื่อง ชิ้นส่วนที่เหลือนั้นจึงพอที่จะสร้างอีก 47 เครื่องได้อย่างสบาย แถมยังมีแบบพิมพ์เขียวและรายการอย่างละเอียดที่อยุ่ในสวิสเซอร์แลนด์อีกด้วย ถ้าอิสราเอลได้เป็นเจ้าของชิ้นส่วนและแบบพิมพ์เขียวเหล่านั้นก็สามารถสร้างเครื่องบินมิราจได้อีกประมาณ 50 เครื่อง เพื่อทดแทนจำนวนที่สั่งจากฝรั่งเศส แต่ถูกรัฐบาลฝรั่งเศสกักเอาไว้

    ...
    มิตรใหม่ทั้งสองติดต่อกันทางจดหมายเรื่อยมาก แม้ว่าฟลอเอนค์เนคท์ จะไม่ใช่คนยิว แต่ก็มีความเห็นอกเห็นใจยิวอยู่เป็นอันมาก ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวได้หนีตายจากฮิตเลอร์เข้ามาพึงสวิตเซอร์แลนด์เหมือนหนีร้อนมาพึ่งเย็น แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับขับไล่ไสส่งชาวยิวเหล่านั้นให้ไปพบกับความตาย ซึ่งฟรอเอนค์เนทค์ถือว่าเป็นความผิดของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่อาจล้างบาปได้ ฟรอเอนค์เนทค์เป็นวิศวกรฝ่ายพัฒนา อายุเพียง 40 ปี เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาอยู่ในระดับสูงของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอส์แล้ว

    ...
    อิสราเอลได้พบช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัยที่หนาแน่นของฝรั่งเศสเข้าแล้ว ต่อไปนี้ต้องหาทางทะลุทะลวงช่องโหว่นี้ให้กว้างขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือทำให้ฟรอเอนค์เนคท์จงรักภักดีให้ได้เสียก่อน โดย โดฟ ไซเยี่ยน และนายทหารอิสราเอลอื่นๆ ได้ส่งข้อมูลในการปรับแต่งเครื่องยนต์ ATA-9 ให้ฟรอเอนค์เนทค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟรอเอนค์เนคท์มีความต้องการเป็นอย่างมากอยู่แล้ว ในที่สุดการติดต่อกันทางจดหมายระหว่างฟรอเอนค์เนทค์ กับเพื่อนทหารอิสราเอลทำให้มิตรภาพแน่นแฟ้นขึ้น

    ...
    คณะกรรมการชุดหนึ่งได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อควบคุมและติดตามกรณีของอัลเฟรด ฟรอเอนค์เนคท์ โดยมี นายพลอาฮารอน ยาริฟ หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับอิสราเอลเป็นประธาน ประกอบไปด้วยคนของกองทัพอากาศและอุตสาหกรสร้างเครื่องบินเป็นกรรมการ ผู้ที่สมควรกล่าวถึงอีกสองคนคือ เมียร์ อมิท อดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับ และ อัลชวิมเม (Al Schwimme) อเมริกันยิวผู้ซึ่งได้วางรากฐานของอุตสาหกรรมเครื่องบินในอิสราเอลตั้งแต่ 1947 ร่วมกันรับผิดชอบในด้านปฏิบัติการ 

    ...
    ตอนแรกคณะกรรมการตกลงว่าจะติดต่อกับรัฐบาลสวิสอย่างเปิดเผยผ่านทางฟรอเอนค์เนคท์ก่อน โดยอัลสวิมเม ได้เสนอกับรัฐบาลสวิสว่า อิสราเอลจะขอซื้อส่วนประกอบของมิราจจำนวน 47 เครื่อง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนที่ทางอิสราเอลจะมอบความลับอันสำคัญในการปรับแต่งเครื่องยนต์ ATA-9 ให้แก่รัฐบาลสวิสเป็นการตอบแทน
    ...
    รัฐบาลสวิสได้ติดต่อกับฝรั่งเศสและคำตอบจากฝรั่งเศสนั้นทำให้อิสราเอลผิดหวัง คือไม่ให้สวิสขายชิ้นส่วนให้กับอิสราเอล
    แต่คณะกรรมการเดาว่าคำตอบน่าจะออกมาในด้านลบอยู่ก่อนแล้ว จึงได้เตรียมแผนสองเอาไว้

    ...
    ในปี 1958 ฟรอเอนค์เนทค์ ได้รับจดหมายขออนุญาตให้พันเอกซูฮาน นายทหารอิสราเอล เข้าชมโรงงานของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ เพื่อนำไปดัดแปลงใช้กับโรงงานของอิสราเอล หลังจากได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทแล้ว ฟรอเอนค์เนทค์ได้แจ้งให้ทางอิสราเอลทราบ หลังจากนั้นไม่นานสถานฑูตอิสราเอลในกรุงโรมก็ได้ติดต่อไปยังฟรอเอนค์เนทค์ แนะให้มีการพบกันก่อนเพื่อจัดเตรียมการมาเยือนของพันเอกซูซาน

    ...
    ที่ซูริค ฟรอเอนค์เนคท์ ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับชาวอิสราเอล 2 คน คือ พันเอก อเบล แห่งกองทัพอากาศอิสราเอล และนายบาเดอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะกรรมการจัดซื้ออาวุธของกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ซึ่งความจริงแล้วบุคคลทั้งสองก็คือ อัลชวิมเม ที่แสดงตัวเป็นนายบาเดอร์ และพันเอกอเบลก็คือพันเอกเคน (Cain) ซึ่งเป็นสายลับที่ทำงานในยุโรปและมีฐานอยู่ที่สถานฑูตอิสราเอล ณ กรุงโรม

    ...
    บุคคลทั้งสองได้พูดตรงจุดทันที อิสราเอลจำเป็นต้องมีเครื่องบินขับไล่เพื่อป้องกันประเทศ จะมีทางใดบ้างหรือไม่ที่อิสราเอลจะติดต่อโดยตรงกับบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลสวิส? ฟรอเอนค์เนทค์แนะนำว่า เรื่องนี้อาจเป็นไปได้ ถ้าหากว่าอิสราเอลจะซื้อแบบพิมพ์เขียนในราคา 150 ล้านฟรังสวิส แล้วสั่งซื้อสิ่งอื่นๆ ผสมเข้าไป อาจเป็นเทอร์ไบน์หรืออะไรทำนองนั้นอีก 100 ล้านฟรังสวิส บุคคลทั้งสองได้ขอร้องให้ฟรอเอนค์เนทค์ช่วยติดต่อบริษัทให้ด้วย

    ...
    บริษัทได้ยืนตามมติของรัฐบาล ที่จะไม่ขายชิ้นส่วนและแบบพิมพ์เขียวของเครื่องบินมิราจให้กับอิสราเอล
    ...
    อย่างไรก็ดี อัล ชวิมเม รู้ดีว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์แท้ๆ ก็เพื่อจะรู่ว่าวิศวกรสวิสผู้นี้เกี่ยวข้องกับอะไรบ้างคำตอบก็คือแบบพิมพ์เขียวทุกแผ่นจะต้องผ่านสำนักงานของเขานั่นคือฟรอเอนค์เนทค์อยู่ในตำแหน่งที่จัดหาข่าวสารที่จำเป็นสำหรับอิสราเอลในการสร้างมิราจภายในระบะเวลาเพียง 5 ปีได้อย่างแน่นอน แทนที่จะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี

    ...
    ปัญหาที่บุคคลทั้งสองเผชิญอยู่ในขณะนั้นคือ แม้ว่าฟรอเอนค์เนคท์จะให้ความเป็นมิตรแก่พวกเขา แต่คงไม่ง่ายเลยที่จะให้ฟรอเอนค์เนทค์ทรยศต่อประเทศ และบริษัทที่เขาเป็นลูกจ้างอยู่ จนกระทั่งมีการพบกันครั้งที่สาม ภายใต้แสงสีแดงของบาร์แห่งหนึ่งในซูริค อัล ชวิมเม ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ฟรอเอนค์เนทค์ช่วย เรื่องจึงได้ขมวดเกลียวสู่ความสำเร็จ

    โปรดติดตามตอนหน้า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×