Note it
ดู Blog ทั้งหมด

พจนานุกรมวิศวกรรมชลประทาน (บางคำ)

เขียนโดย Note it
พจนานุกรม
พจนานุกรมวิศวกรรมชลประทาน

absolute humidity
ความชื้นสัมบูรณ์ :มวลของไอน้ำในอากาศที่มีอยู่จริงในหนึ่งหน่วยปริมาตรของบรรยากาศ เช่น มิลลิกรัมต่อลิตร
 
absolute pressure
ความดันสัมบูรณ์ :ดู pressure, absolute

absorption
การดูดซึม : การที่สารอย่างหนึ่งดูดสารอย่างอื่น ๆ เข้าไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
 
abutment
ตอม่อริม (สะพาน) หรือฐานยัน (เขื่อน) : ตอม่อที่อยู่ริมตลิ่งทั้งสองข้างเพื่อรับน้ำหนักส่วนปลายของสะพาน หรือฐานยันสองฝั่งของเขื่อน
 
acid soil
ดินกรดหรือดินเปรี้ยว : ดินซึ่งมีปฏิกิริยาเป็นกรดหรือดินที่มี pH ของดินที่ผสมน้ำอิ่มตัวได้ต่ำกว่า 7.0 ดินที่แสดงค่า pH 6-7 เป็นกรดอ่อน pH 5-6 เป็นกรดปานกลาง และpH 4-5 เป็นกรดจัด

active storage
ปริมาณน้ำใช้การ : ปริมาณน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่สามารถส่งไปใช้ประโยชนัตามความต้องการของโครงการ

actual evapotranspiration
ปริมาณการใช้น้ำของพืช : ดู consumptive use

adhesive force
แรงดึงดูดของโมเลกุลต่างชนิดกัน : แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับโมเลกุลของดิน

พจนานุกรมวิศวกรรมชลประทาน

admixtures
สารผสมเพิ่ม : สารอื่น ๆ ซึ่งเติมลงในส่วนผสมคอนกรีตเพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการ เช่นความทึบน้ำ ความง่ายต่อการเท เป็นต้น

adsorption
การดูดซับ : การที่สารชนิดหนึ่งดูดยึดโมเลกุลของสารอีกชนิดหนึ่งไว้ที่ผิวของอนุภาคของมันเท่านั้น

advance curve
กราฟน้ำคืบน้ำ : ดู curve, advance

advance phase
ช่วงน้ำคืบน้ำ : ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มให้น้ำจนกระทั่งน้ำเคลื่อนตัวไปถึงท้ายแปลง

advance time
เวลาน้ำคืบหน้า : ดู advance phase

aeration
การเติมอากาศ :
1. การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างอากาศกับของเหลว (น้ำ) โดยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังนี้
ก. การฉีดหรือพ่นน้ำขึ้นสู่อากาศ
ข. การทำให้เกิดฟองอากาศผ่านเข้าไปในน้ำ
ค. การกวนน้ำเพื่อให้น้ำดูดซึมอากาศได้มากขึ้น
2. การเติมอากาศเข้าไปในช่องว่างใต้ผิวน้ำด้านล่างในขณะเมื่อน้ำไหลผ่านสันฝาย เพื่อปรับสภาพความกดอากาศต่ำที่กระทำต่อผิวอาคาร
3. วิธีการลดผลกระทบเนื่องจากการกะเทาะของผิวอาคาร โดยการเติมอากาศเข้าไปใน ส่วนที่จะทำให้เกิดการเสียหายนั้น

aeration zone
เขตอิ่มอากาศ : ดู zone, aeration

aerial photograph
รูปถ่ายทางอากาศ : รูปถ่ายของพื้นผิวโลกซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปในอากาศยานได้แก่ บอลลูน เครื่องบิน ยานอวกาศ เป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า air photograph

พจนานุกรมวิศวกรรมชลประทาน

afflux
ระดับน้ำท้น : ความสูงของระดับน้ำที่ท้นขึ้นจากระดับน้ำปกติเนื่องจากมีสิ่งกีดขวางในลำน้ำ เช่น ฝาย หรือ สะพาน

aggregate
มวลรวม : วัสดุ เช่น ทราย กรวด หรือหินย่อย ซึ่งใช้ผสมกับซีเมนต์หรือวัสดุเชื่อมประสานอื่น ๆ
กรวด ทราย หินย่อย ที่นำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น หินโรยทางรถไฟ

agricultural drainage
การระบายน้ำเพื่อการเกษตร : ดู drainage, agricultural

agriculture
เกษตรกรรม : กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง และการป่าไม้

agronomy
พืชศาสตร์ : สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาในภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติเกี่ยวกับพืชไร่ นา รวมถึงการใช้ดิน

air relief valve
ลิ้นระบายอากาศออก : ดู valve, air relief

air vent
ท่อระบายอากาศ : ส่วนประกอบของอาคารประเภทท่อ เพื่อไม่ให้เกิดสูญอากาศ หรีอการเปลี่ยนแปลงของความดันในท่อมากเกินไป

alidade
บรรทัดเล็ง : บรรทัดสำหรับใช้เล็งแนวประกอบการสำรวจแผนที่ด้วยโต๊ะสำรวจ(plane table)

alkaline soil
ดินด่าง : ดู soil, alkaline

alkaline water
น้ำด่าง : น้ำซึ่งมีเปอร์เซ็นของโซเดียมสูงแต่จะลดลงเมื่อรวมกับสารละลายเกลือ

alluvial cone
เนินตะกอนรูปกรวย : ดู soil, alluvial

alluvial fan
เนินตะกอนรูปพัด : ดู soil, alluvial

alluvial plain
ที่ราบตะกอนน้ำพา : ดู soil , alluvial

anabranch
ดินตะกอนลุ่มน้ำ : ดู soil, alluvial

anabranch
ลำน้ำแขนง : ลำน้ำที่แยกจากลำน้ำใหญ่แล้วไหลมาบรรจบกับลำน้ำเดิมอีก เช่น แม่น้ำลพบุรี

anemometer
เครื่องวัดกระแสลม : เครื่องมือชนิดหนื่งใช้วัดความเร็วของลม

aneroid barometer
มาก่อนแล้ว : ดู rainfall, antecedent

พจนานุกรมวิศวกรรมชลประทาน

anti-cyclone
แอนตี้ไซโคลน : ลมที่พัดหมุนเวียนออกจากเขตความกดอากาศสูงเคลื่อนที่ในบริเวณแคบ ๆหรือลมที่เกิดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ

applicaion efficiency
ประสิทธิภาพการให้น้ำ : อัตราส่วนร้อยละ ของอัตราส่วนระหว่างปริมาณการใช้น้ำของพืชรวมทั้งการรั้วซึม ต่อปริมาณน้ำชลประทานทั้งหมดที่ต้องส่งให้จากท่อส่งน้ำเข้านา

appurtenant structures
อาคารประกอบ : อาคารที่สร้างประกอบกับฝายหรือเขื่อนระบายน้ำ ได้แก่ ประตู ระบายทราย ร่องระบายทราย กำแพงแบ่งน้ำบันไดปลา ทางซุง ฯลฯ

apron
พื้นอาคารชลประทานด้านเหนือน้ำหรือท้ายน้ำ : แผ่นหรือพื้นทึบน้ำเพื่อป้องกันการกัดเซาะ การรั่วซึมหรือแรงยกใต้ฐาน (uplift) ด้านเหนือน้ำหรือท้ายน้ำของอาคารชลประทาน

aquatid weed
วัชพืชน้ำ : วัชพืชที่อยู่ในแหล่งน้ำ ตามบ่อ คลองส่งน้ำ อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ เช่น ผักตบชวา สาหร่าย ฯลฯ

aqueduct
อาคารลำเลียงน้ำ : อาคารที่นำน้ำไป มีทั้งลักษณะอาคารปิดและเปิด เช่น ท่อ คลอง หรือรางน้ำ ฯลฯ เดิมเรียกว่าสะพานน้ำ

aquiclude
ชั้นหินซับน้ำ : ชั้นหินที่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำเข้าไว้ในตัวอย่างช้า ๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเมล็ดแร่เล็กมากทำให้เกิดมีแรงตึงผิวสูงจนน้ำไม่สามารถไหลซึมผ่านได้ง่าย ดังนั้นในบริเวณที่มีหินซับน้ำจึงไม่เหมาะสำหรับเจาะบ่อบาดาล ตัวอย่าง เช่น ชั้นหินดินดานเป็นต้น

โอยเยอะ ไปดูต่อที่นี่ http://kmcenter.rid.go.th/kmc03/2011/document/cp044.pdf ละกันนะ

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น