แนะนำคณะรัฐศาสตร์ - แนะนำคณะรัฐศาสตร์ นิยาย แนะนำคณะรัฐศาสตร์ : Dek-D.com - Writer

    แนะนำคณะรัฐศาสตร์

    โดย ~ UBYI ~

    มารู้จักคณะรัฐศาสตร์ ให้มากขึ้นกัน

    ผู้เข้าชมรวม

    83,397

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    83.39K

    ความคิดเห็น


    233

    คนติดตาม


    28
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 พ.ค. 49 / 01:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ปฐมลิขิต : บทความนี้เป็นบทความที่ผู้เยี่ยมชมส่งเข้ามาทาง ubyi@dek-d.com

      เจ้าของบทความ :  piltdown_man56@hotmail.com

      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      แนะนำคณะรัฐศาสตร์

              เชื่อว่าคณะรัฐศาสตร์ ย่อมเป็นหนึ่งในหลายๆคณะที่น้องวัยกำลังสอบแอดมิสชั่นส์อยากเข้าให้ได้ จึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา ด้วยเหตุผลสองประการ คือ

              1.มีน้องๆเข้ามาถามกันมากที่เวบบอร์ดของคณะ ถ้าไม่ใช่ถามว่าคะแนนเท่านี้พอจะติดที่ไหนบ้าง ก็เป็นถามว่ารัฐศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร

              2.ยังไม่มีบทความที่กล่าวถึงรัฐศาสตร์อย่างจริงๆจังๆเลย นอกจากบทความของ รัฐศาสตร์ มศว.

              จึงจะได้กล่าวถึงคณะรัฐศาสตร์โดยละเอียดเป็นลำดับต่อไป

              บทความชิ้นนี้จะไม่กล่าวถึงคะแนน หรือกระบวนการรับเข้าใดๆทั้งสิ้น เพราะน้องๆคงจะรู้เรื่องนี้กันดีพอแล้วจากหลายๆแหล่ง แต่จะกล่าวถึงคณะและวิชารัฐศาสตร์เป็นหลักสำคัญ

              สถาบันหลักๆที่สอนวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในประเทศไทย หลักๆแล้ว จะมีอยู่ 3 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง

              มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น เปิดสอนใน 3 สาขา คือ คือการเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ ส่วนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น จะเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ เป็นรัฐประศาสนศาสตร์(วิชาที่ว่าด้วยการบริหารรัฐ) และจะเพิ่มภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเข้าไป ดังนั้น รัฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงเป็นคณะรัฐศาสตร์เดียวในประเทศไทยที่มี 4 ภาควิชา และภาควิชานี้เองที่ทำให้รัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีความ "พิเศษ" ต่างไปจากรัฐศาสตร์แห่งอื่นๆ ต่อไปนี้พี่จะพูดอย่างกว้างๆถึงรายละเอียดของวิชาเรียน ในแต่ละสถาบันไม่แตกต่างกันนัก คือๆกันนั่นแหละ

      ภาควิชาการปกครอง/ภาควิชาการเมืองการปกครอง

              ถ้าอยากเข้าใจ "รัฐศาสตร์" หรือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อย่างชัดเจน ต้องเลือกเรียนภาควิชานี้เท่านั้น เรียนแล้วจะเข้าใจว่าทำไมอาจารย์ไชยยันต์ ถึงยอมฉีกบัตรเลือกตั้งลงข่าว จะพบคำตอบเบื้องหลังการฉีกบัตรเลือกตั้งครั้งนี้ ว่ามันมาจากปรัชญาการเมืองข้อหนึ่ง คือ ประชาชนมีสิทธิ์ดื้อแพ่งต่อรัฐ ถ้าเห็นแล้วว่ารัฐใช้กฎหมายบูดๆเบี้ยวๆ  ภาควิชานี้ส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับรัฐ สังคม ปรัชญาการเมือง แนวคิดทฤษฎีทางการเมือง การเมืองการปกครองไทย การปกครองท้องถิ่น มีวิชาเลือกเป็นวิชาตำรวจให้ด้วย เผื่อคนไหนสนใจอยากจะสอบตำรวจ

      ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ/ภาควิชาการระหว่างประเทศ

              ภาควิชานี้ เป็นภาควิชาที่ได้ชื่อว่าคะแนนสูงที่สุดของสายศิลป์ บางปีสูงกว่าอักษรศาสตร์หลายช่วงตัว ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ แรกเริ่มเดิมทีนั้น รัฐแต่ละรัฐ มีความไม่เท่ากัน เหลื่อมล้ำกัน รัฐที่มีความมั่งคั่งไม่ว่าจะทางทรัพยากรหรือสติปัญญา ก็จะกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบรัฐที่ด้อยกว่า ดังจะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนได้จากลัทธิอาณานิคม นั่นเอง แต่ทว่า ในเวลาต่อมา ได้มีการจัดตั้งระเบียบโลก ขึ้นมา เพื่อมิให้เกิดปัญหาการต่อสู้ รบราฆ่าฟันกันระหว่างรัฐอีก ผ่านสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย สนธิสัญญานี้ มีผลทำให้รัฐแต่ละรัฐ มีความเท่าเทียมกัน มีเสียงหนึ่งเสียงสำหรับโหวต ไม่พอใจเดินออกจากที่ประชุมได้ฯลฯ เหล่านี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆแบบสมัยก่อนอีกแล้ว(สมัยก่อนที่รัฐที่แข็งแรงกว่าจะกดขี่รัฐที่อ่อนแอกว่า ตามธรรมดาโลก ไม่ซับซ้อนอะไร ใช้ทฤษฎีสัจจนิยม Realism ซึ่งสำนวนสั้นๆที่อธิบายทฤษฎีนี้ได้ดีที่สุดก็คือ "มือใครยาวสาวได้สาวเอา" อันเดียวก็อธิบายได้ รัฐเป็นอนาธิปไตย ไม่มีประชาธิปไตย ต่างแก่งแย่งผลประโยชน์กันอย่างเมามัน) แต่ผลจากสนธิสัญญาฉบับนี้ ทำให้รัฐทุกรัฐที่จะมามีบทบาทในเวทีของโลกต้องเป็นรัฐอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ จึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าเมื่อก่อน(ปัจจุบันยิ่งซับซ้อนใหญ่ เพราะกระแสโลกาภิวัฒน์ ผ่านความรวดเร็วว่องไวของการสื่อสารและคมนาคม) และด้วยความซับซ้อนนี้เอง ที่ทำให้ปรากฏการณ์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ กลายเป็นวิชาให้ได้เรียนได้ศึกษากัน ยิ่งโลกาภิวัตน์เป็นไปอย่างรวดเร็วเท่าไหร่ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐยิ่งเป็นเรื่องสลับซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น เรียนๆไปแล้วก็สนุกดี เหมือนดูละครน้ำเน่า มีแต่ละประเทศจะใช้ไหวพริบ เหลี่ยมคูต่างๆเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แห่งชาติให้ตัวเองให้มากที่สุด มีมิตร มีศัตรู มีมือถือสากปากถือศีล เช่น อเมริกาสมัยหนึ่งบอกปาวๆว่าตัวเองเป็นประเทศเสรีนิยม แต่กลับมี "มหามิตร" เป็นประเทศคอมมิวนิสต์แทบจะทุกหย่อมหญ้า ฯลฯ

              วิชาเรียนในภาคนี้จะเน้นเป็นภูมิภาคศึกษา เน้นศึกษาแต่ละประเทศๆไป เช่น อเมริกา ยุโรป ยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก หรือศึกษาเป็นประเด็นต่างๆ เช่น การเมืองโลกผ่านสื่อภาพยนต์ องค์การระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การก่อการร้าย ความมั่นคงศึกษา ยุทธศาสตร์ศึกษา นโยบายต่างประเทศของประเทศทั้งหลาย หรือศึกษาเป็นประวัติศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

      ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

              สังคมวิทยาได้ชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งศาสตร์" (ส่วนราชาแห่งศาสตร์ คือวิทยาศาสตร์) เพราะว่าศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จนไปถึงศาสตร์ประยุกต์ของสังคมศาสตร์ อย่าง นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ ล้วนแล้วแต่มีสังคมวิทยาแทรกเป็นยาดำทั้งสิ้น

              มานุษยวิทยานั้น แปลได้ตรงตัวว่าเป็น "การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์อย่างรอบด้าน ทุกซอกทุกมุม" ในสหรัฐอเมริกา วิชานี้ได้แบ่งออกเป็น 4 สาขาใหญ่ๆ คือ มานุษยวิทยากายภาพ ศึกษาเรื่องลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการของมนุษยชาติ ตั้งแต่วิวัฒน์จากลิงเกาะบนต้นไม้(ไพรเมท primate)มาเป็นคนปัจจุบันนี้(มนุษย์ปัจจุบันนักมานุษยวิทยากายภาพจะเรียกว่า โฮโม ซาเปี้ยน ซาเปี้ยน (homo sapiens sapiens)) และศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างรูปร่าง ลักษณะของมนุษย์เผ่าพันธุ์ต่างๆในโลกปัจจุบันนี้ ตัวอย่างง่ายๆก็คือการแบ่งมนุษย์ เป็นสามรูปแบบง่ายๆนั่นเอง คือ นิกรอยด์ มองโกลอยด์ คอเคซอย ในเมืองนอกจะเรียนเป็นหมอเลย มีผ่าศพ ดูศพ ดูกระดูก ตรวจเลือด ในประเทศไทยมีสอนที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร  สาขาต่อมา คือ มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ ศึกษาถึงภาษาต่างๆบนโลกใบนี้ การออกเสียง ตระกูลของภาษา สาขาที่สาม คือมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ศึกษาถึงวัฒนธรรมของมนุษย์ที่ยังคงอยู่หรือกำลังจะสูญหายในปัจจุบัน กล่าวคือ ศึกษาถึงสถาบันต่างๆของมนุษย์ ในสังคมขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นสังคมดั้งเดิมแบบชนเผ่าก็ได้ แต่เป็นสังคมเล็กๆ หรือหน่วยทางสังคมเพียงหน่วยเดียว ไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัว สถาบันการปกครอง สถาบันศาสนา สถาบันฯลฯ เหมือนสังคมวิทยาทุกอย่าง เพียงแต่เป็นการศึกษาในสังคมเล็กๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็ รายการคนค้นคน นั่นแหละ คือการศึกษาทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม เช่น กะเทยแบกข้าวสาร เด็กสองคนหาเลี้ยงพ่อแม่ด้วยการขายน้ำเต้าหู้ และการศึกษาสังคมเล็กๆนั้น ต้องเป็นการศึกษาอย่างเจาะลึก ทุกด้านของชีวิต เพราะมนุษย์เกิดมา ไม่ได้มีแค่ด้านใดด้านหนึ่งของชีวิต แต่มนุษย์มีส่วนร่วมในทุกมนุษย์ไม่ได้มีชีวิตเพื่อเศรษฐกิจอย่างเดียว สาขาสุดท้าย คือ โบราณคดี เป็นการศึกษาวัฒนธรรมที่สูญหายไปแล้วของมนุษย์อย่างรอบด้านทุกแง่ทุกมุม ผ่านวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆที่จมอยู่ในดิน เช่น เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา  กระดูกสัตว์และกระดูกคน ซากพืชซากสัตว์ สิ่งของเหล่านี้จะเป็นพยานปากเอกที่จะบอกว่าในอดีตได้มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมใดๆได้เกิดขึ้นมาบ้าง ผ่านการตีความของนักโบราณคดี เช่น พบกระดูกหมาในหลุมฝังศพ จะบอกได้ว่าสมัยนี้ๆ คนเลี้ยงหมาแล้ว พบเศษอาหารอันประกอบด้วยเมล็ดข้าวและก้างปลากองเป็นก้อนรวมกัน ตรงพื้นดินบริเวณที่ตรงกับกระดูกช่องท้องของโครงกระดูกมนุษย์เพศหญิง ทำให้ทราบว่าอาหารมื้อสุดท้ายที่ผู้หญิงคนนี้กินก่อนตายเป็นข้าวกับปลา ที่โป่งมะนาว จ.ลพบุรี ขุดพบป่าช้าโบราณของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลงเกรียง(เครื่องมือที่ใช้ฉาบปูนในงานก่อสร้างนั่นแหละ เรียกว่าเกรียงฉาบ เป็นเครื่องมือของนักโบราณคดีเวลาเริ่มต้นขุดค้นจากหน้าดิน ค่อยๆปาด ค่อยๆเปิดหน้าดินไปทีละชั้นๆ ช้าแต่ของที่จะพบก็ไม่เสียหาย)ที่ช่องไหน กริดไหน เป็นต้องเจอกระดูกคนไม่ก็ของอุทิศให้ศพทุกทีไป เช่นนี้แล้ว ตีความได้ว่า ชุมชนนี้ต้องเจริญพอสมควร มีผู้นำของชุมชน ที่มีอำนาจจะกันพื้นที่ส่วนหนึ่งของชุมชนให้เป็นป่าช้าได้ มีการจัดระเบียบในชุมชนนั้น เมื่อขุดพบไป พบว่ามีของอุทิศให้ผู้ตาย ตีความว่ามนุษย์สมัยนี้มีความเชื่อในเรื่องชีวิตในภพหน้า ชาติหน้าแล้ว(รวมไปถึงมีความเชื่อเรื่องผี) ของที่อุทิศให้ทำมาจากสำริด แสดงว่ามีเทคโนโลยีในการหลอมสำริดแล้ว กระดูกบางโครง ตบแต่งร่างกายอย่างหรูหรา เครื่องทรงเพียบ แสดงว่าน่าจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญในชุมชน  เป็นต้น นักโบราณคดีจะทำหน้าที่เหมือนนักสืบ เมื่อเห็นของในที่ต่างๆต้องวิเคราะห์และตีความให้ได้ เพื่อหาฉากของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาเมื่อนานมาแล้ว บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาษามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นโบราณคดีจึงเป็น สหวิทยาการ ที่ใช้ศาสตร์ต่างๆมาช่วยกันตีความเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมที่เคยเกิดขึ้นในอดีต นักโบราณคดีบางท่านกล่าวว่าโบราณคดีคือมานุษยวิทยาวัฒนธรรมในภาคอดีตนั่นเอง ซึ่งโบราณคดีจะหาเรียนได้ที่คณะโบราณคดี เท่านั้น ส่วนที่อื่นๆที่เปิดสอนมานุษยวิทยา จะสอนบ้าง พอรู้แต่ไม่ลึกซึ้ง

              ส่วนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นั้น จะเน้น มานุษยวิทยาวัฒนธรรมเป็นสำคัญ

      ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์/บริหารรัฐกิจ

              ภาควิชานี้ เรียนเกี่ยวกับการบริหาร ใช้ตำราเล่มเดียวกับบริหารธุรกิจทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างอันเล็กน้อยแต่ยิ่งใหญ่อยู่ที่จุดประสงค์/เป้าหมายของการบริหาร บริหารธุรกิจ เป้าหมายอยู่ที่กระเป๋าสตางค์ของเจ้าของกิจการ แต่บริหารรัฐกิจ เป้าหมายอยู่ที่ปากท้อง/ความสุขของส่วนรวม ประชาชน แบ่งเป็นสามสาขาหลักๆ คือ บริหารทรัพยากรมนุษย์ การคลัง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      "การศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย"

      (แจ้งลบ)

      ข้อมูลหรือบทความที่เด็กดี นำมาเสนอให้เด็กๆ อ่านมีประโยขน์มากเลยค่ะ เพือเป็นแนวทางให้เด็กๆ ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนอะไรดี เลือกคณะยังไง ไม่ให้พลาด และแนวข้อสอบ หรือแม้แต่ปัญหาด้านการเรียนที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน ทีมงานก็สามารถหาคำตอบให้เด็กๆ ได้ข้อคิดกัน อีกเรื่องหนึ่งค่ะ การที่มีใครสักคนเข้าใจความรู้สึกของเด็กวัยรุ่น ทำให้เขาแก้ปัญหาได ... อ่านเพิ่มเติม

      ข้อมูลหรือบทความที่เด็กดี นำมาเสนอให้เด็กๆ อ่านมีประโยขน์มากเลยค่ะ เพือเป็นแนวทางให้เด็กๆ ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนอะไรดี เลือกคณะยังไง ไม่ให้พลาด และแนวข้อสอบ หรือแม้แต่ปัญหาด้านการเรียนที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน ทีมงานก็สามารถหาคำตอบให้เด็กๆ ได้ข้อคิดกัน อีกเรื่องหนึ่งค่ะ การที่มีใครสักคนเข้าใจความรู้สึกของเด็กวัยรุ่น ทำให้เขาแก้ปัญหาได้ถูกทาง พ่อแม่บางคน บังคับให้ลูกเรียนในสิ่งที่ลูกไม่อยากเรียน คุณๆ เชื่อไหมค่ะ บังคับ แม้กระทั่งสมัครเรียนพิเศษ แม่จ่ายเงินครบ แต่ลูกไม่มาเรียน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็กค่ะ แต่อยู่ที่ผู้ใหญ่ ทำให้เด็กโดดเรียนเป็นประจำ เพราะไม่ชอบวิชาที่เรียนเลย เขาพยายามคุยกับแม่ แต่แม่เขาไม่ยอม ผลสุดท้ายเด็กโดดเรียนค่ะ เพราะเขาชอบเล่นแต่ ดนตรี กีฬา แต่แม่บังคับเรียนสายวิทย์ด้วยเหตุผลที่ว่า ลูกมีโอกาสเลือกคณะที่เรียนได้เยอะกว่า แค่นั้นเองค่ะ แม่เขาแรงมากค่ะ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของลูก เขาเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ ที่ฉันทำงานอยู่ค่ะ ก็เลยได้เห็นว่า แม่เขาไม่ยอมค่ะ ปัญหานี้แหละค่ะ ทำให้เขาไม่อยากเรียน ถ้าพวกคุณมีโอกาส อยากให้พวกคุณเข้ามาจัดอบรม สัมนาทั้งเด็กและผู้ปกครองให้หน่อย น่าจะดีนะค่ะ จาก รร.เฉลิมพระเกียรติฯ จ.ภูเก็ตค่ะ   อ่านน้อยลง

      pin77 | 15 ส.ค. 54

      • 0

      • 0

      คำนิยมล่าสุด

      "การศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย"

      (แจ้งลบ)

      ข้อมูลหรือบทความที่เด็กดี นำมาเสนอให้เด็กๆ อ่านมีประโยขน์มากเลยค่ะ เพือเป็นแนวทางให้เด็กๆ ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนอะไรดี เลือกคณะยังไง ไม่ให้พลาด และแนวข้อสอบ หรือแม้แต่ปัญหาด้านการเรียนที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน ทีมงานก็สามารถหาคำตอบให้เด็กๆ ได้ข้อคิดกัน อีกเรื่องหนึ่งค่ะ การที่มีใครสักคนเข้าใจความรู้สึกของเด็กวัยรุ่น ทำให้เขาแก้ปัญหาได ... อ่านเพิ่มเติม

      ข้อมูลหรือบทความที่เด็กดี นำมาเสนอให้เด็กๆ อ่านมีประโยขน์มากเลยค่ะ เพือเป็นแนวทางให้เด็กๆ ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองจะเรียนอะไรดี เลือกคณะยังไง ไม่ให้พลาด และแนวข้อสอบ หรือแม้แต่ปัญหาด้านการเรียนที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน ทีมงานก็สามารถหาคำตอบให้เด็กๆ ได้ข้อคิดกัน อีกเรื่องหนึ่งค่ะ การที่มีใครสักคนเข้าใจความรู้สึกของเด็กวัยรุ่น ทำให้เขาแก้ปัญหาได้ถูกทาง พ่อแม่บางคน บังคับให้ลูกเรียนในสิ่งที่ลูกไม่อยากเรียน คุณๆ เชื่อไหมค่ะ บังคับ แม้กระทั่งสมัครเรียนพิเศษ แม่จ่ายเงินครบ แต่ลูกไม่มาเรียน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็กค่ะ แต่อยู่ที่ผู้ใหญ่ ทำให้เด็กโดดเรียนเป็นประจำ เพราะไม่ชอบวิชาที่เรียนเลย เขาพยายามคุยกับแม่ แต่แม่เขาไม่ยอม ผลสุดท้ายเด็กโดดเรียนค่ะ เพราะเขาชอบเล่นแต่ ดนตรี กีฬา แต่แม่บังคับเรียนสายวิทย์ด้วยเหตุผลที่ว่า ลูกมีโอกาสเลือกคณะที่เรียนได้เยอะกว่า แค่นั้นเองค่ะ แม่เขาแรงมากค่ะ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของลูก เขาเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ ที่ฉันทำงานอยู่ค่ะ ก็เลยได้เห็นว่า แม่เขาไม่ยอมค่ะ ปัญหานี้แหละค่ะ ทำให้เขาไม่อยากเรียน ถ้าพวกคุณมีโอกาส อยากให้พวกคุณเข้ามาจัดอบรม สัมนาทั้งเด็กและผู้ปกครองให้หน่อย น่าจะดีนะค่ะ จาก รร.เฉลิมพระเกียรติฯ จ.ภูเก็ตค่ะ   อ่านน้อยลง

      pin77 | 15 ส.ค. 54

      • 0

      • 0

      ความคิดเห็น

      ×