~dky~
ดู Blog ทั้งหมด

กระจับปี่

เขียนโดย ~dky~
กระจับปี่
     กระจับปี่ เป็นพิณชนิดหนึ่งมี๔สากระพุ้งพิณมีลักษณะเป็นกล่องแบนรูปทรงสี่เหลี่ยม คางหมูมุมมนด้านหน้าทำเป็นช่องให้เสียงกังวานทวนทำเป็นก้านเรียวยาวและกลมกลึงปลายแบน และงอนโค้งไปด้านหลังตรงปลายทวนมีลิ่มสลักเป็นลูกบิดไม้สำหรับขึ้นสาย ๔ ลูก สายส่วนมากทำด้วยสายเอ็นหรือลวดทองเหลืองตลอดแนวทวนด้านหน้าทำเป็น"สะพาน"หรือนมปัก ทำด้วยไม้เขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์สำหรับหมุนสายมี๑๑นมกระจับปี่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภท หนึ่งของอินเดียมีต้นกำเนิดจากการดีดสายธนูตามหลักฐานพบว่ากระจับปี่มีมาตั้งแตสมัยสุโขทัย

บทความเกี่ยวกับกระจับปี่

กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย ที่ใช้ดีดอีกประเภทหนึ่ง        ซึ่งแต่เดิมคงใช้ดีดเล่นเป็นสามัญ  เช่นเดียวกับพิณเพี๊ยะและเครื่องดนตรีอื่นๆ ในกฏมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงกระจับปี่ไว้ตอนหนึ่งว่า   " ร้องเพลงเรือ  เป่าปี่  เป่าขลุ่ย  สีซอ  ดีดจะเข้  กระจับปี่  ตีโทนทับโห่ร้องนี่นั่น" ต่อมาพบว่านำไปดีดร่วมกับวงขับไม้เรียกชื่อวงภายหลังว่า " วงมโหรีเครื่องสี่และวงมโหรีเครื่องหก "
                ต่อมาเมื่อวงมโหรีได้ขยายวงโดยให้มีเครื่องดนตรีผสมในวงมากขึ้น  กระจับปี่ซึ่งมีเสียงเบาจึงถูกกลบเสียงจนไม่ได้ยินเสียงของตัวเอง    กระจับปี่จึงเริ่มขาดหายไปจากวงการดนตรี
                ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้สร้างระบำชุดโบราณคดี 5 สมัยขึ้น    พบว่ากระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นๆ      จึงได้นำมาร่วมบรรเลงผสมกับดนตรีชิ้นอื่นๆโดยเฉพาะในชุด   " ระบำศรีวิชัยและชุด ระบำลพบุรี " ตามแนวคิดของนายธนิต  อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรโดยมีอาจารย์มนตรี  ตราโมท      เป็นผู้แต่งทำนองเพลงกระจับปี่จึงยังไม่หายไปจากวงกรดนตรีของไทย      ส่วนประกอบของกระจับปี่มีดังนี้
 ตัวกะโหลก  ทำด้วยไม้แผ่นบางๆมีลักษณะ แบนกลมรีคล้ายกีต้าฝรั่ง  ภายในเป็นโพรง   ไม้แผ่นหน้า ตรงกลาง  เจาะรูเป็นวงกลม     เพื่อระบายเสียง   ส่วนด้านหลังมีแผ่นไม้บางๆปิดตลอด คันทวน   ทำด้วยไม้ท่อนยาวเรียวต่อจากกะโหลก  ด้านหลังมน  ด้านหน้าแบน  เพื่อติดนม  ตอนปลายทำให้แบนและบานปลายแบะผายออกไป   ก่อนถึงปลายคันทวน  เจาะรู 4 รู เพื่อสอดใส่ลูกบิดข้างละ 2 อัน รางลูกบิด  ทำด้วยไม้  เป็นรูปยาว     หัวโค้ง  ปลายตัดตรงติดกับซุ้มหย่อง  ตอนกลางเป็นร่องโปร่ง  เพื่อให้สายผ่านไปยังลูกบิด
ลูกบิด  ทำด้วยไม้  ลักษณะเรียวยาว   กลึง หัวเป็นลูกแก้วประดับเม็ดเจาะรูตอนปลาย  เพื่อสอดใส่ที่ปลายคันทวน  ด้านละ 2ลูก                                
ซุ้มหย่อง  ทำด้วยไม้ลักษณะด้านล่างเป็นขา 2 ขา   ด้านบนเป็นทรงแหลมตอนกลางโปร่งบากเป็นช่องเล็กๆ 4 ช่อง  เพื่อรับสายทั้ง 4 เส้นไม่ให้ชิดติดกัน  ตัวซุ้มติดอยู่บริเวณปลายคันทวนต่อจากรางลูกบิด
นม  ทำด้วยไม้เล็กๆ  ติดนูนขึ้นมาบริเวณกลางคันทวนเรียงตามลำดับ 11 นม
หย่อง  ทำด้วยไม้ไผ่เล็กๆ ติดอยู่ที่หน้ากะโหลก  ก่อนถึงรูระบายเสียง  สำหรับหนุนสายให้ลอยตัว เหนือนมทั้ง 11 อัน   
หลักผูกสายทำด้วยโลหะเป็นแผ่นยึดติด     ที่หน้ากะโหลกด้านล่างมีรูสำหรับผูกสายทั้ง 4 เส้น
สาย   ทำด้วยสายไหม มี 4 เส้นโดยผูกจากหลัก ขึงเป็นคู่ผ่านหย่อง  นม  ซุ้มหย่อง และรังลูกบิดไปยังพันผูกที่ปลายลูกบิด                                   
ไม้ดีด  ทำด้วยแผ่นไม้บางๆเช่นเดียวกับปิ๊คที่ดีดกีต้า  กระจับปี่บางตัวประดิษฐ์ให้สวยงามขึ้นโดยปลายคันทวนด้านหน้าที่ผายแบะออกจะแกะเป็นลวดลาย นอกจากนั้นที่รูระบายและไม้แผ่นหน้าโดยรอบอย่างสวยงาม  
หลักการดีดกระจับปี่
                ผู้ชายจะนั่งท่าขัดสมาธิ  ผู้หญิงนั่งในท่าพับเพียบ  ให้กะโหลกวางอยู่บนหน้าตักหรือหน้าขา  ใช้มือขวาจับไม้ดีด  ซึ่งทำด้วยไม้แผ่นบางๆดีดปัดสายเข้า-ออก  ในขณะเดียวกัน ก็ใช้นิ้วมือซ้ายกดที่           สายแนบกับนม  เพื่อให้เสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ

_____________________
มโหรี
     
 ในสมัยอยุธยาได้มีวงดนตรีเกิดขึ้นอีกวงหนึ่ง คือ วงดนตรีที่ในสมัยปัจจุบันเราเรียกว่า “มโหรี” วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่ผู้หญิงเป็นผู้บรรเลง สำหรับขับกล่อมถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงพระสำราญ วงมโหรีครั้งแรกมีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนดีดพิณที่เรียกว่ากระจับปี่คนหนึ่ง สีซอสามสายคนหนึ่ง ตีทับ (คือโทน) คนหนึ่ง กับคนร้องตีกรับพวงด้วยคนหนึ่ง ต่อมาจึงได้เพิ่มคนบรรเลงและเครื่องดนตรีขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ รำมะนาให้ตีคู่กับโทนคนหนึ่ง กับคนเป่าขลุ่ยอีกคนหนึ่ง วงมโหรีตอนนี้ จึงมีอยู่ ๖ คน ภายหลังจึงได้เพิ่มฉิ่งขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คงจะให้คนร้องตีแทนกรับ
   สมัยต่อมาได้นำเอาจะเข้าซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของมอญเข้ากับประสมแทนกระจับปี่เพราะเป็นสิ่งที่บรรเลงทำนองได้ละเอียดลออกว่า เสียงก็ไพเราะกว่า และเป็นสิ่งที่วางกับพื้นราบดีดได้ถนัดกว่ากระจับปี่ วงมโหรีได้เป็นมาดังนี้ตลอดสมัยอยุธยา

_______________________________
มโหรี
      ในสมัยอยุธยาได้มีวงดนตรีเกิดขึ้นอีกวงหนึ่ง คือ วงดนตรีที่ในสมัยปัจจุบันเราเรียกว่า “มโหรี” วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่ผู้หญิงเป็นผู้บรรเลง สำหรับขับกล่อมถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงพระสำราญ วงมโหรีครั้งแรกมีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนดีดพิณที่เรียกว่ากระจับปี่คนหนึ่ง สีซอสามสายคนหนึ่ง ตีทับ (คือโทน) คนหนึ่ง กับคนร้องตีกรับพวงด้วยคนหนึ่ง ต่อมาจึงได้เพิ่มคนบรรเลงและเครื่องดนตรีขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ รำมะนาให้ตีคู่กับโทนคนหนึ่ง กับคนเป่าขลุ่ยอีกคนหนึ่ง วงมโหรีตอนนี้ จึงมีอยู่ ๖ คน ภายหลังจึงได้เพิ่มฉิ่งขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คงจะให้คนร้องตีแทนกรับ
   สมัยต่อมาได้นำเอาจะเข้าซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของมอญเข้ากับประสมแทนกระจับปี่เพราะเป็นสิ่งที่บรรเลงทำนองได้ละเอียดลออกว่า เสียงก็ไพเราะกว่า และเป็นสิ่งที่วางกับพื้นราบดีดได้ถนัดกว่ากระจับปี่ วงมโหรีได้เป็นมาดังนี้ตลอดสมัยอยุธยา


______________________
กระจับปี่
เป็นพิณชนิดหนึ่ง มี 4 สาย กระพุ้งพิณมีลักษณะเป็นกล่องแบน รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูมุมมน ด้านหน้าทำเป็นช่อง ให้เสียงกังวาน ทวนทำเป็นก้านเรียวยาวและกลมกลึงปลายแบน และงอนโค้งไปด้านหลังตรงปลายทวนมีลิ่มสลักเป็นลูกบิดไม้ สำหรับขึ้นสาย 4 ลูก สายส่วนมากทำด้วยสายเอ็น หรือลวด-ทองเหลือง ตลอดแนวทวนด้านหน้าทำเป็น “สะพาน” หรือ นม ปักทำด้วยไม้ เขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์ สำหรับหมุนสายมี 11 นม บนหน้ากระพุ้งพิณมีชิ้นไม้หรือชิ้นโลหะรองสายไว้เรียกว่า “หย่อง”ทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสะเทือน จากการดีดสายลงมาสู่ตัวกระพุ้งพิณ เวลาบรรเลงใช้นิ้วจับไม้ดีดเขี่ยสายเพื่อให้เกิดเสียง ไม้ดีดปักทำด้วยงาช้าง เขาสัตว์ หรือวัสดุที่มีลักษณะแบนและบาง กระจับปี่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งของอินเดีย มีต้นกำเนิดจากการดีดสายธนู ตามหลักฐานพบว่า กระจับปี่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
_______________________________________
วงมโหรีสมัยโบราณ มีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนสีซอสามสาย คนดีดพิณ (กระจับปี่) คนตีทับ (โทน) และคนร้องซึงตีกรับพวงด้วยเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ดำเนินทำนองคือ ซอสามสายกับพิณหรือกระจับปี่ ทับ ซึ่งในสมัยปัจจุบัน เรียกว่า โทน ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ เพื่อให้รู้ประโยคและทำนองเพลง ส่วนกรับพวงที่คนร้องตีนั้นกำกับจังหวะย่อย
___________________________________
เวบไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.bs.ac.th/musicthai/page1.html
http://revival.snru.ac.th/pompanya/p3-6.htm
http://www.mythaiclassicalmusic.com/dontrithai-1-1.html
http://www.mythaiclassicalmusic.com/dontrithai-1-1.html
http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=cave371&topic=13&Cate=1
http://blogger.sanook.com/aoymunggon/
http://61.19.69.9/~purita/studentwork50/310b/28738/music2.html
http://student.nu.ac.th/worldjan_sp/thai1.html
http://www.oknation.net/blog/phakri/2007/08/13/entry-2
http://blog.eduzones.com/omike/3553

หนังสือ

หนังสือที่ช่วยให้ได้รูจักดนตรีไทยเดิมมากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็นมาในการคิดค้นสร้างสรรค์ดนตรีไทยประเภทต่างๆตลอดจนประวัติดนตรีสำคัญ นอกจากนี้ผู้แต่งยังุม่งหวังให้ผู้อ่านได้เกิดความภาคภูมิใจกับสุนทรียวัฒนธรรมของชาติที่มีรากฐานมายาวนาน อันจะนำไปสู่ความตระหนักเป็นคุณค่าของดนตรีไทย และร่วมกันอนุรักษ์ พัฒนา สืบสานมรดกทางภูมิปัญญาอันมีค่านี้ไว้ โดยแต่ละรื่องราวได้ถูกถ่ายทอดด้วยสำนวนภาษาที่อ่านง่าย ชวนให้น่าติดตาม พร้อมมีภาพประกอบ


ภายในหนังสือได้นำเสนอเกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทยทั้งในเรื่องของประวัติโดยย่อ ประเภทของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ และเครื่องดนตรไทยที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติรอบตัว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้ภายในหนังสือยังมีซีดีตัวอย่างเสียงดนตรีอีกด้วย


ดนตรีไทยเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาติที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทยอันสั่งสมมายาวนานนับจากอดีต แม้ว่าสังคมไทยจะได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากหลากหลายชาติ หากในที่สุดก็สามารถสร้างสรรค์รูปแบบเนื้อหาที่มีเอกลักษณ์ของตนเองได้ เรื่องราวความเป็นมาของดนตรีไทย รวมทั้งเหล่าดุริยกวีจึงมีแง่มุมให้กล่าวถึงไม่จบสิ้น หนังสือชุด คนธรรพวาทีศรีรัตนโกสินทร์ จัดทำขึ้นจากฐานข้อมูลดนตรีไทยในโครงการห้องสมุดดนตรี ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Music Library) ซึ่งรวบรวมข้อมูลศิลปินผู้แต่งเพลงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 9 รวมทั้งโน้ตดนตรีเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และยังได้เรียบเรียงเนื้อหาเพิ่มเติมในส่วนของสภาพทางสังคมในแต่ละยุดสมัยไว้ด้วย เพื่อให้เห็นถึงความเป็นมาและปัจจัยแวดล้อมที่นำไปสู่พัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละรัชกาล เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2550 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้จึงมีความตั้งใจจัดพิมพ์หนังสือชุด คนธรรพวาทีศรีรัตนโกสินทร์ อย่างประณีตงดงาม เพื่อเทิดพระเกียรติในปีอันเป็นมหามงคลนี้ โดยจัดทำภาพประกอบใหม่ทั้งหมด และออกแบบให้สอดคล้องกลมกลืนกับเนื้อกาสาระที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคมอันสูงต่อการคลี่คลายตัวของดนตรีไทยในช่วงเวลาที่กล่าวถึง 


เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการศึกษาดนตรีไทยว่าด้วยประวัติและพัฒนาการของดนตรีไทยเครื่องดนตรีไทย วงดนตรีไทย และเพลงไทยจะช่วยให้ผู้เรียนดนตรีรวมทั้งผู้เรียนศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าใจและซาบซึ้งดนตรีไทย อันจำนำไปสู่การสร้างสรรค์งานที่มีอัตลักษณ์ของตนเองต่อไป


รวมประมวลความคิดจากผู้เชีนวชาญทางด้านดนตรีไทยหลายท่าน ทั้งเรื่องของความรู้ทั่วไป ประวัตินักดนตรีไทย โครงสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีไทยกับศาสนา รวมไปจนถึงพระราชประวัติและประวัตอนักดนตรีไทย โดยในเล่มได้ระบุเนื้อหาอย่างละเอียด เรียบเรียงไปว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะช่วยให้เราได้เขาใจบริบทของดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทยได้มากขึ้น

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ชมรมคนรักษ์ดนตรีไทยนนทบุรี
www.bydontri.cjb.net
ความคิดเห็นที่ 2
โอ๊ยงามมมมม ม
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณมากค้าาา
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบใจนะ
sherlookholme
sherlookholme 18 มิ.ย. 55 / 20:37
 อยากให้มีอันอื่นบ้าง =-= (ได้การบ้านมาพรึ่บ) เเต่ก็ ขอบคุณนะ เขียนได้ดีมาก 
ความคิดเห็นที่ 6
ดนตรีไทยร็อก
ความคิดเห็นที่ 7
ขอบคุณที่ให้ความรู้ผมดี
ความคิดเห็นที่ 8
ชมรมคนรักษ์ดนตรีไทยนนทบุรีwww.bydontri.cjb.netและminecraft.net
angle with books
angle with books 25 พ.ค. 60 / 19:49
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ