ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #309 : ซิกมุนด์ ฟรอยด์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 264
      0
      20 มี.ค. 52

    ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, IPA: [ˈziːkmʊnt ˈfrɔʏ̯t], 6 พ.ค. 239923 ก.ย. 2482) เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual โดยเชื่อว่าเพศหรือกามารมณ์ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของมนุษย์ แนวคิดดังกล่าวเกิดจากการสนใจศึกษา และสังเกตผู้ป่วยโรคประสาทด้วยการให้ผู้ป่วยนอนบนเก้าอี้นอนในอิริยาบทที่สบายที่สุด จากนั้นให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องราวของตนเองไปเรื่อย ผู้รักษาจะนั่งอยู่ด้านศีรษะของผู้ป่วย คอยกระตุ้นให้ ผู้ป่วยได้พูดเล่าต่อไปเท่าที่จำได้ และคอยบันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าอย่างละเอียด โดยไม่มีการขัดจังหวะ แสดงความคิดเห็น หรือตำหนิผู้ป่วย ซึ่งพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้รักษาได้ข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้ป่วย และจากการรักษาด้วยวิธีนี้เองจึงทำให้ฟรอยด์เป็นคนแรกที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์สัญชาตญาณ

    ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ

    1. สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต (eros = life instinct)
    2. สัญชาตญาณเพื่อความตาย (thanatos = death instinct)

    ฟรอยด์อธิบายว่าสัญชาตญาณทั้ง 2 ลักษณะมีความต้องการทางเพศเป็นแรงผลักดัน ซึ่งบุคคลไม่กล้าแสดงออกมาโดยตรง จึงเก็บกดไว้ในระดับจิตไร้สำนึก (unconscious mind) และได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์มีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิดเรียกว่า “Libido” ซึ่งทำให้บุคคลอยากมีชีวิต อยากสร้างสรรค์และอยากมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศหรือกามารมณ์ (sex) เป็นเป้าหมายคือความสุขและความพอใจ โดยมีอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก เช่น บริเวณปาก ทวารหนัก อวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า อีโรจีเนียสโซน (erogenous zone) ซึ่งความพึงพอใจในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะเป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ฟรอยด์จึงแบ่งขั้นตอนพัฒนาการบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้

    [แก้] ขั้นปาก

    ขั้นปาก (oral stage) มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิดถึง 18 เดือนหรือวัยทารก ความพึงพอใจ

    ของวัยนี้จะอยู่ที่บริเวณช่องปาก ทารกพึงพอใจกับการใช้ปากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสุข เช่นการดูด กลืน กัด เคี้ยว แทะ กิน เป็นต้น ส่วนใหญ่ทารกจะใช้ปากในการดูดนมแม่ นมขวด ดูดนิ้วมือหรือสิ่งของ ทารกจะพึงพอใจเมื่อความต้องการดังกล่าวได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เขาโตขึ้นอย่างยอมรับตนเอง สามารถรักตนเองและผู้อื่นได้ ในทางตรงข้าม หากความต้องการของทารกไม่ได้รับการตอบสนองที่เหมาะสม เช่น เมื่อหิวร้องไห้จนเหนื่อยแต่ไม่ได้นมเลย ได้รับนมไม่เพียงพอ ไม่มีคนสนใจ หรือถูกบังคับให้หย่านมเร็วเกินไป ก็จะส่งผลให้เกิดความคับข้องใจ (frustration) เกิดภาวะ “การติดตรึงอยู่กับที่” (fixation) ได้ และก่อให้เกิดปัญหาทางด้านบุคลิกภาพเรียกว่า “Oral Personality” คือจะเป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะหาความพึงพอใจทางปากอย่างไม่จำกัด มีลักษณะพูดมาก ชอบดูดนิ้ว ดินสอ หรือปากกาเสมอโดยเฉพาะเวลาที่มีความเครียด นอกจากนี้ยังชอบนินทาว่าร้าย ถากถาง เหน็บแนม เสียดสีผู้อื่น ก้าวร้าว พูดมาก กินจุบกินจิบ ติดเหล้า บุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ อย่างไรก็ตามคนที่มี Oral Personality อาจเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดีมากเกินไปจนไม่สามารถยอมรับความจริงของชีวิต หรืออาจแสดงตนว่าเป็นคนเก่ง ไม่กลัวใคร และใช้ปากเป็นเครื่องมือ

    [แก้] ขั้นทวารหนัก

    ขั้นทวารหนัก (anal stage) มีอายุอยู่ในช่วง 18 เดือน ถึง 3 ปี วัยนี้จะได้รับความพึงพอ

    ใจจากการขับถ่าย การที่พ่อแม่เข้มงวดในการฝึกหัดให้เด็กใช้กระโถนและการควบคุมให้ขับถ่ายเป็นเวลาตามความต้องการของพ่อแม่ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของเด็ก จะทำให้เกิดความขัดแย้ง จนเป็น fixation ทำให้เกิดบุคลิกภาพที่เรียกว่า “Anal Personality” คือเป็นคนเจ้าระเบียบ เข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น ตระหนี่ หึงหวงคู่สมรสมากเกินไป และมีอารมณ์เครียดตลอดเวลาเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ หรืออาจมีบุคลิกภาพตรงข้าม คือ อาจเป็นคนใจกว้าง สุรุ่ยสุร่าย ไม่เป็นระเบียบ รกรุงรัง

    [แก้] ขั้นอวัยวะเพศ

    ขั้นอวัยวะเพศ (phallic or oedipal stage) อายุอยู่ระหว่าง 3 ถึง 5 ปี ความพึงพอใจของ

    เด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กจะสนใจอวัยวะเพศของตน และแสดงออกด้วยการจับต้องลูบคลำอวัยวะเพศ สนใจความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย เด็กผู้ชายจะมีปมเอ็ดดิปุส (oedipus complex) ซึ่งเกิดจากการที่เด็กผู้ชายวัยนี้จะติดแม่ ต้องการเป็นเจ้าของแม่เพียงผู้เดียว ขณะเดียวกันก็ทราบว่าแม่และพ่อรักกัน จึงพยายามเก็บกดความรู้สึกที่อยากเป็นเจ้าของแม่แต่เพียงผู้เดียว และพยายามทำตัวเลียนแบบพ่อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “Resolusion of Oedipal Complex” ส่วนเด็กผู้หญิงจะมีปมอีเล็คตรา (electra complex) ซึ่งเกิดจากเด็กผู้หญิงมีความรักพ่อแต่รู้ว่าไม่สามารถแย่งพ่อจากแม่ได้จึงเลียนแบบแม่ คือ ถือแม่เป็นแบบฉบับพฤติกรรมของผู้หญิง ในขั้นนี้การยอมรับปรากฏการณ์ทางเพศของพ่อแม่ต่อเด็กวัยนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากพ่อแม่ไม่เข้าใจ เข้มงวดเกินไปจะทำให้เด็กรู้สึกผิด โตขึ้นจะมีปัญหาในเรื่องการรักเพศตรงข้าม ไม่ยืดหยุ่น ขัดแย้งในตนเองอย่างรุนแรง ตำหนิตนเอง ตีค่าตนเองต่ำ ไม่กล้าคิดสิ่งใหม่ ๆ และไม่กล้าถาม

    [แก้] ขั้นแฝงหรือขั้นพัก

    ขั้นแฝงหรือขั้นพัก (latency stage) มีอายุอยู่ในช่วง 7 ถึง 14 ปี ฟรอยด์กล่าวว่าเด็กวัยนี้

    จะมุ่งความสนใจไปที่พัฒนาการด้านสังคมและด้านสติปัญญา เป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรียนรู้ที่จะมีค่านิยม ทัศนคติ ต้องการเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวและเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต่อไป เด็กจะเก็บกดความต้องการทางเพศ จะเล่นหรือจับกลุ่มกับเพศเดียวกัน เริ่มมีเพื่อนสนิทกับเพศเดียวกัน สนใจบทบาททางเพศของตน

    [แก้] ขั้นสนใจเพศตรงข้าม

    ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (genital stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กเริ่ม

    สนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความต้องการทางเพศ ความเห็นแก่ตัวลดลง ต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่ เป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่ ต้องการความสนใจ การยอมรับจากสังคม และมีการเตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่

    โครงสร้างบุคลิกภาพ (The personality structure)

    [แก้] บุคคลิกภาพ

    ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลมี 3 ประการ คือ

    1. สัญชาตญาณ (id) คือ ตนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มุ่งแสวงหา ความพึงพอใจ (pleasure seeking principles) และเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล ความถูกต้อง และความเหมาะสม ประกอบด้วยความต้องการทางเพศและความก้าวร้าว เป็นโครงสร้างเบื้องต้นของจิตใจ และเป็นพลังผลักดันให้ ego ทำในสิ่งต่าง ๆ ตามที่ id ต้องการ
    2. อัตตา (ego) คือพลังแห่งการใช้หลักของเหตุและผลตามความเป็นจริง (reality principle) เป็นส่วนของความคิด และสติปัญญา ตนปัจจุบันจะอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ
    3. อภิอัตตา (superego) คือส่วนที่ควบคุมการแสดงออกของบุคคลในด้านของ คุณธรรม ความดี ความชั่ว ความถูกผิด มโนธรรม จริยธรรมที่สร้างโดยจิตใต้สำนึกของบุคคลนั้น ซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในสังคมและวัฒนธรรมนั้น ๆ ตนในคุณธรรมจะทำงานอยู่ในโครงสร้างของจิตใจทั้ง 3 ระดับ

    การทำงานของคนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×