ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #350 : เบนีโต อามิลกาเร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 179
      0
      29 พ.ค. 52

    เบนีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2465พ.ศ. 2486) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ในครอบครัวที่ยากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predappio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา เคยถูกไล่ออกจากโรงเรียน 2 ครั้ง ด้วยเหตุก่อการวิวาทกับนักเรียนคนอื่นโดยใช้มีด แต่ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนที่หลักแหลมและมีอันตราย แต่ต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากสนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1

    ในปี พ.ศ. 2462 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อเตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2465 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลองชัยชนะด้วย "การเดินสวนสนามแห่งโรม" (เดือนตุลาคม) ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2468 เขาได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูป บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย "รัฐบรรษัท" (Corporate State) และวางระบบรวบอำนาจอย่างเป็นทางการ จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (พ.ศ. 2472) บุกยึดอะบิสซิเนีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 ปัจจุบันคือเอธิโอเปีย) และแอลเบเนีย (พ.ศ. 2482) ไว้ในครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายอักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี

    การประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศสโดยที่กองทัพยังไม่พร้อม ทำให้กองทัพอิตาลีได้รับความพ่ายแพ้ในเกือบทุกสนามรบ ทั้งในแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก และแถบคาบสมุทรบอลข่าน การรุกเข้ายึดเกาะซิซิลีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2486 และการเอาใจออกห่างของผู้ที่เคยสนับสนุน มุสโสลีนีจึงถูกโค่นล้มและถูกจับตัวได้ในเดือนต่อมา แต่ก็หนีออกมาได้ ด้วยการบุกจู่โจมที่คุมขังโดยพลร่มเยอรมันและได้จัดตั้งรัฐบาลหุ่นสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีโดยการสนับสนุนของฮิตเลอร์ขึ้น

    มุสโสลีนีถูกจับได้อีกครั้งโดยพวกอิตาลีฝ่ายต่อต้านเมื่อ พ.ศ. 2488 ถูกยิงเป้าเสียชีวิตในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×