ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #36 : >>ผี/คน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 744
      0
      11 มี.ค. 52

    มนุษย์หมาป่า (Werewolf) เป็นผีจำพวกเดียวกับแวมไพร์และมีพฤติกรรมคล้ายกัน คือ ดื่มกินเลือดและเนื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นเป็นอาหาร เป็นความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ของชาวยุโรปในยุคกลาง โดยที่เชื่อว่า บุคคลที่เป็นมนุษย์หมาป่าจะกลายร่างเป็นหมาป่าในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง อาจจะแปลงร่างเป็นหมาป่าทั้งตัวเลยก็ได้ หรือครึ่งคนครึ่งหมาป่า หรือแม้กระทั่งแปลงเป็นสัตว์ป่าชนิดอื่น เช่น หมี เป็นต้น โดยที่วิธีการฆ่ามนุษย์หมาป่าจะคล้าย ๆ กับแวมไพร์ โดยตอกด้วยลิ่ม หรือเผา ที่เห็นบ่อยโดยเฉพาะในภาพยนตร์ก็คือ การยิงด้วยกระสุนที่ทำจากเงินหรือกระสุนผ่านการปลุกเสก มนุษย์หมาป่าก็แพ้แสงแดด และถูกตามล่าเหมือนกับแวมไพร์

    เป็นไปได้ว่าความเชื่อเรื่องมนุษย์หมาป่านั้น มีที่มาจากความกลัวหมาป่า โดยเฉพาะหมาป่าที่พบในยุโรป ที่มีลำตัวขนาดใหญ่ และมักออกล่าเป็นฝูง โดยอาจดักซุ่มโจมตีมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงในเวลากลางคืน ผนวกกับความเชื่อและความหวาดกลัวบุคคลนอกสังคม ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปีศาจ อย่างแม่มดหรือแวมไพร์ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เรื่องมนุษย์หมาป่านั้น แท้จริงแล้วคือ สัญชาตญาณสัตว์ป่าที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ รากศัพท์ที่มาของคำว่า มนุษย์หมาป่า นั้น Were เป็นภาษาอังกฤษโบราณที่หมายถึง "มนุษย์" นั่นเอง และความเชื่อเรื่องของมนุษย์ที่กลางร่างเป็นกึ่งคนกึ่งสัตว์ที่มีทั่วทุกมุมโลก เช่น ในอเมริกาใต้มีมนุษย์งูเหลือม หรือมนุษย์จระเข้ ที่แอฟริกามีมนุษย์เสือดาว หรือเสือดำ หรือปีศาจช้าง ที่อินเดียมีมนุษย์สิงโต หรือ "นรสิงห์" นั่นเอง หรือในเทพปกรณัมกรีก ก็มีเรื่องของชายผู้หนึ่งที่ถูกเทพซุสสาบให้กลายเป็นหมาป่า ชื่อ "Lycaon" มนุษย์บางเผ่าเช่น ไวกิ้ง เชื่อว่า ตนสามารถแปลงร่างเป็นสัตว์ป่าดุร้ายบางชนิดได้เวลาสู้รบ เป็นต้น และตามสถิติที่เก็บได้ บ่งว่า คืนวันพระจันทร์เต็มดวงนั้น มีแนวโน้มที่จะเกิดอาชญากรรมมากกว่าคืนทั่วไป ทั้งนี้เชื่อว่า อาจเป็นเพราะอิทธิพลของดวงจันทร์

    เรื่องราวของมนุษย์หมาป่า ถูกเล่าขานมาจนปัจจุบัน และสะท้อนออกมาในรูปแบบของวรรณกรรม เช่น ภาพยนตร์ หรือ ละคร หรือแม้แต่กระทั่งการ์ตูน เป็นต้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×