ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #403 : The Reign of Terror - ยุคแห่งความเหี้ยมโหด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 802
      0
      7 ต.ค. 52

    ยุคแห่งความเหี้ยมโหด (The Reign of Terror - 5 กันยายน พ.ศ. 233628 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 ) ในบางครั้งเรียกในภาษาอังกฤษสั้นๆ ว่า The Terror (ฝรั่งเศส: la Terreur) หมายถึงช่วงระยะเวลาประมาณ 10 เดือนที่เกิดขึ้นในการปฏิวัติฝรั่งเศสจากการพยายามต่อสู้กันระหว่างคู่แข่งสองฝ่ายซึ่งได้นำไปสู่ความรุนแรงด้วยการฆาตกรรมหมู่ด้วยกิโยติน ส่วนใหญ่จะโยงถึง บุคคลคือ Robespierre และ Georges Danton ซึ่งกลายเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของการปฏิวัติที่รุนแรงทั่วๆ ไป

    ความโหดเหี้ยมได้เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2336 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก การปราบปรามอย่างรุนแรงเพิ่มเริ่มขึ้นในระหว่างเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม พ.ศ. 2337 ซึ่งถูกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "la Grande Terreur" หรือ ความเหี้ยมโหดอย่างที่สุด (The Great Terror) ซึ่งยืนยาวต่อเนื่องไปจนถึงการประหารชีวิตตัวการแห่งยุคแห่งความเหี้ยมโหดเองหลายคนรวมทั้ง Saint-Just และ Maximilien Robespierre ความโหดเหี้ยมโหดของยุคนี้คร่าชีวิตคนไประหว่าง 18,000 ถึง 40,000 คน (ประมาณการอย่างกว้างๆ เนื่อจากมีความแตกต่างกันระหว่างบันทึกทางประวัติศาสตร์ การประมาณการเชิงสถิติ) ในเดือนสุดท้ายก่อนการยุติ มีผู้ถูกประหารมากถึง 1,900 คน

    หลายคนถือว่าความเหี้ยมโหดในระบอบการปกครองแบบทรราชในปัจจุบันสืบเนื่องมาจาก ยุคแห่งความเพี้ยมโหดครั้งนี้ แต่หลายคนก็โต้เถียงว่าแนวคิดังกล่าวนี้มองข้ามอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศสมีผลให้เกิดความเฟื่องฟูของระบอบประชาธิปไตยและระบอบรัฐธรรมนูญภูมิหลัง

    ฤดูร้อน พ.ศ. 2336 การปฏิวัติของฝรั่งเศสส่งผลกระทบ ทั้งการภายในและกลุ่มผู้ก่อกบฏจากราชวงศ์ต่างๆ ในยุโรป ทำให้เกิดความกลัวว่าการปฏิวัติจะขยายลุกลามสู่ ประเทศโดยรอบที่ปกครองโดยระบบกษัตริย์ จึงส่งกองกำลังมาประชิดชายแดนฝรั่งเศส จนเกิดการประทะกันกับทหารของฝ่ายสาธารณรัฐฝรั่งเศส

    กองกำลังต่างชาติได้ข่มขู่ฝรั่งเศสให้ปล่อยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และคืนราชสมบัติให้พระองค์ ดยุคแห่งบรุนสวิก ประเทศปรัสเซียถึงกับขู่ว่าจะเข้าปล้นปารีส หากชาวปารีสแตะต้องพระบรมวงศานุวงศ์ และมีกระแสความเชื่อสงสัยว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เองอาจเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับรัฐบาลต่างชาติ ให้บุกฝรั่งเศสเพื่อเข้ามาฟื้นฟูระบอบกษัตริย์

    ชนชั้นสูงของฝรั่งเศสจำนวนมากที่สูญเสียทรัพย์สิน ต่างได้ประโยชน์จากพ่ายแพ้ของฝ่ายปฏิวัติ ฝ่ายศาสนาก็เช่นกัน ต่อต้านฝ่ายปฏิวัติ เพราะมิฉะนั้นพวกพระถูกลดฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของรัฐ และยังต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐบาล ทำให้พระมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก) ปฏิเสธจะสาบานตน และประกาศตนเป็น ฝ่ายดื้อดึง (Non-juror) พระฝ่าย[[แคทอลิก] และชนชั้นสูงในภาคตะวันตก รวมตัวก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลฝ่ายปฏิวัติ โดยได้รับการสนับสนุนจากบริเตนใหญ่

    สงครามกลางเมืองและการประชิดของกองกำลังต่างชาติ สร้างวิกฤติทางการเมืองขึ้นอย่างรุนแรง และเกิดการแตกแยกขึ้นในรัฐสภาเอง

    [แก้] ความสยดสยอง

    1819 ภาพล้อ โดย George Cruikshank. Titled "แขนของพวกหัวรุนแรง" รูปแสดงให้เห็น กิโยตินที่โด่งดัง "ไม่มีพระเจ้า! ไม่มีศาสนา! ไม่มีกษัตริย์! ไม่มีรัฐธรรมนูญ!" ข้อความแผ่นแถบป้ายของฝ่ายสาธารณรัฐ

    ในวันที่ 2 มิถุนายน มีการยึดอำนาจในสภาโดยเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายการเมืองลดและกำหนดราคาขนมปังตายตัวและลดการให้สัมปทานแก่บางฝ่ายเป็นการเฉพาะ และด้วยการสนับสนุนของกองกำลังแห่งชาติพวกดังกล่าวสามารถโน้มน้าวให้จับกุมบุคคลผู้นำกลุ่มการเมือง Girondin ไป 31 คน และจากการจับกุมครั้งนี้ทำให้ฝ่าย Jacobin มีอิทธิพลมากขึ้นจนสามารถคุมคณะกรรมาธิการฝ่ายความมั่นคงไว้ได้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และจัดตั้งระบบเผด็จการฝ่ายปฏิวัติขึ้นมาได้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ผู้นำที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ด้วยฝ่าย Jacobin ปากกล้าที่ถูกตราว่ากระหายเลือดถูกสังหารโดยฝ่าย Girodin กลับมีผลให้ฝ่าย Jacobin มีอิทธิพลทางการเมืองสูงขึ้น ฝ่ายปฏิวัติคนหนึ่งที่ช่วยโค่นล้มกษัตริย์ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นพวกหรูหราถูกปลดจากตำแหน่งกรรมาธิการและตั้งคนที่ "บริสุทธ์จากการคอร์รัปชั่น" คนหนึ่งขึ้นมาแทนและกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในคณะกรรมาธิการที่กำลังเพิ่มมาตรการปราบปรามพวกต่อต้านต่างจังหวัดและข้าศึกต่างชาติ

    ในขณะเดียวกัน รัฐสภาก็ได้ผ่านการรับรอบรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐฉบับแรกของฝรั่งเศส

    ท่ามกลางการต่อต้านภายในและการรุกรานของต่างชาติทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ภารกิจหลักของรัฐบาลสาธารณรัฐฯ จึงเน้นที่สงคราม ในวันที่ 17 พฤษภาคม สภาลงมติให้เกณฑ์ทหารเข้ากองกำลัง และในวันที่ 5 กันยายนนั้นเอง รัฐสภาก็ได้ลงมติรับ "ความเหี้ยมโหด" ให้มีความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญโดยอนุมัติให้ปราบปรามข้าศึกศัตรูภายในประเทศได้โดยเด็ดขาด

    ผลที่ตามมาคือการใช้กำลังปราบปราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธภาพของกรรมาธิการความั่นคง ได้มีการออกกฎหมายอีกหลายฉบับ วันที่ 9 กันยายน ได้ออกกฎหมายจัดตั้งกองกำลังร่วมประชาชนฝ่ายปฏิวัติเพื่อบังคับให้ชาวนามอบผลผลิตให้แก่รัฐตามที่รัฐต้องการ วันที่ 17 กันยายนมีการออกกฎหมายให้อำนาจการจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เข้าข่ายเป็น ผู้ก่ออาชญากรรมต่อเสรีภาพ วันที่ 29 กันยายน รัฐสภาได้เพิ่มการกำหนดราคาตายตัวที่ต่ำลงสำหรับธัญพืช ขนมปังและสินค้าจำเป็นอีกหลายอย่าง รวมทั้งการกำหนดค่าแรงตายตัวให้ต่ำลง กิโยตินได้กลายเป็นสัญลักณ์แห่งการประหารชีวิตที่ต่อเนื่อง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ถูกบั่นพระเศียรด้วยกิโยติไปก่อนหน้าการเริ่มยุคแห่งความเหี้ยมโหดนี้ไปแล้ว พระนางมารี-อังตัวเนต พวก Girondin ฟิลิปเป Égalité ผู้ซึ่งลงคะแนนให้ประหารพระเจ้าหลุยส์ มาดามดรแลนด์และผู้คนอีกมากมายได้ถูกประหารโดยกิโยติน ศาลคณะปฏิวัติได้พิพากษาประหารชีวิตคนหลายพันคนด้วยกิโยติน ผู้เคราะห็ร้ายจำนวนมากถูกฝูงชนทุบตีจนตายอย่างโหดร้าย ประชาชนจำนวนมากตายเนื่องจากการมีตวามเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ไม่น้อยที่ถูกประหารเพียงด้วยข้อสงสัยเล็กๆ น้อยๆ หรืออาจเพียงเป็นบังเอิญผู้มีส่วนได้เสียเพียงเล็กน้อยกับฝ่ายตรงข้าม ผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่ถูกลากตัวไปกับเกวียนไม้แบบเปิดที่ทำไว้เฉพาะสำหรับการประจานนักโทษ และถูกโห่ประจานไปตลอดทาง

    เหยื่อของยุคแห่งความเหี้ยมโหดที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยศาลฝ่ายปฏิวัตินับได้ประมาณ 40,000 คน เป็นชนชั้นปกครองชั้นสูง 8% พระ 6% ชนชั้นกลาง 14% และอีก 70% เป็นคนงานและชาวนายากจนที่ถูกกล่าวหาว่ากักตุน หนีทหาร ก่อกบฏและก่ออาชญากรรมอื่นๆ ในกลุ่มสังคมเหล่านี้ พระแคทอลิกมีสัดส่วนการสูญเสียมากที่สุด

    ความพยายามของรัฐบาลปฏิวัติในการล้มเลิกศาสนาคริสเตียนในฝรั่งเศสเริ่มที่นิการแคทอลิกก่อนและลุกลามไปทุกนิกาย ด้วยการออกเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2336 ให้เนรเทศและประหารชีวิตพระไปเป็นจำนวนมาก มีการปิดโบสถ์วิหารและสถาบันของลัทธิต่างๆ มากมาย มีการทำลายศาสนสถานและรูปเคารพทางศาสนาในวงกว้าง ออกกฎหมายห้ามการสอนศาสนาและปิดโรงเรียนที่อิงศาสนา มีการเพิกถอนความเป็นพระ บังคับพระให้แต่งงานและกำหนดโทษประหาร ณ ที่ที่จับได้แก่ผู้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หลบหนี มีการทำพิธีสถาปนาปรัชญาความเชื่อเป็นใหม่ของฝ่ายปฏิวัติเรียกว่าลัทธิ "Supreme Being" ที่เชื่อว่ามีผู้สุงส่งเบื้องบนคอยดูแลฝรั่งเศสอยู่

    [แก้] การยุติ

    การประหารชีวิต Robespierre

    ความพยายามสร้างความสมานฉันท์และความรักชาติให้เกิดขึ้นของฝ่ายปฏิวัติกลับนำมาซึ่งการนองเลือดอย่างต่อเนื่อง หลังการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดจกาการสู้รบกับฝ่ายออสเตรีย Robespierre ผู้ยึดอำนาจและเป็นเผด็จการทางรัฐสภาก็ถูกโค่นอำนาจโดยการสมรู้ร่วมคิดของสมาชิกสภาหลายคนและถูกนำไปตัดศีรษะด้วยกิโยตินพร้อมกับพวกในกลุ่มหลายคนเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ซึ่งเหตุการณ์นี้นำไปสู่ยุคที่เรียกว่า "เหี้ยมขาว" (White Terror.) ซึ่งเป็นยุคต่อต้านความโหดเหี้ยมที่นำโดย Robespierre ซึ่งยังคงมีความโหดเหี้ยมเกิดขึ้นประปรายไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งมีการประหารพวก Jacobins ไปอีกหลายร้อยคน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×