ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #410 : ข้อตกลงมิวนิก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 182
      0
      7 ต.ค. 52

    ข้อตกลงมิวนิก (อังกฤษ: Munich Agreement; เช็ก: Mnichovská dohoda; สโลวัก: Mníchovská dohoda; เยอรมัน: Münchner Abkommen; ฝรั่งเศส: Accords de Munich) เป็นการประชุมระหว่างประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อตกลงเกี่ยวกับแคว้นซูเดเทนแลนด์และดินแดนเชโกสโลวาเกีย จัดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี โดยประเทศมหาอำนาจได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายเนวิลล์ เชมเบอร์แลน จากสหราชอาณาจักร อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จากนาซีเยอรมนี เบนิโต มุสโสลินีจากอิตาลี และดาลาดิเยร์แห่งฝรั่งเศส [1] โดยมีเป้าหมายเพื่อประชุมกันถึงอนาคตของเชโกสโลวาเกียกับความต้องการดินแดนเพิ่มเติมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผลจากสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งลงนามโดยเยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้อนุญาตให้เยอรมนียึดครองดินแดนซูเดเตจนแลนด์ โดยดินแดนซูเดเตนแลนด์มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมากต่อเชโกสโลวาเกีย และการป้องกันชายแดนส่วนใหญ่ของประเทศก็ตั้งอยู่ที่นั่นภูมิหลัง

    หลังจากที่เยอรมันละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์โดยการส่งทหารเข้าสู่พื้นที่ไรน์แลนด์ได้สำเร็จโดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง ฮิตเลอร์จึงดำเนินการขั้นต่อไปโดยที่จะทำให้เยอรมันเป็นมหาอาณาจักร และใน ค.ศ. 1938 ฮิตเลอร์สามารถรวมออสเตรียเข้ากับเยอรมันได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการลำเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ หลังจากนั้นฮิตเลอร์คิดจะรวมแค้วนสุเดเทน (Sudeten) ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเชกโกสโลวาเกีย โดยการโฆษณาชวนเชื่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม ชาวเยอรมันในแคว้นสุเดเทนจึงลุกขึ้นพยายามเรียกร้องเอกราช คิดที่จะรวมเข้าอยู่กับเยอรมัน โดยมีคอนราด เฮนไลน์ (Konrad Henlein) เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์ได้ประกาศพร้อมช่วยเหลือแคว้นสุเดเทน รัฐบาลเชโกสโลวาเกียไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้อง เพราะจะเป็นตัวอย่างแก่ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ

    อังกฤษได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้ โดยยึดนโยบายเดิมคือ การตกลงโดยสันติวิธี หลีกเลี่ยงการทำสงครามโดยอังกฤษได้ข้อร้องให้เชกโกสโลวาเกียตกลงตามข้อเรียกร้องของคอนราด เฮนไลน์ แต่เยอรมันก็ขู่ที่จะใช้กำลังทหารบังคับ

    เนวิล เชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ถือกระดาษบันทึกข้อตกลงนำออกแสดงต่อฝูงชน ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938

    [แก้] ปฏิกิริยาของฝ่ายสัมพันธมิตร

    อังกฤษเห็นว่า การรวมชาวเยอรมันเข้าอยู่ร่วมกัน ก็เป็นเรื่องที่ชอบด้วยเหตุผลพอสมควร เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสงครามในยุโรปที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ เชมเบอร์เลนจึงเดินทางไปเจรจากับฮิตเลอร์ด้วยตนเอง ภายในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ถึง 3 ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ เจรจาครั้งแรกที่แบร์คเตสกาเดน (Berchtesgarden) ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1938 เชมเบอร์เลนตกลงยอมให้เยอรมันรวมสุเดเทนเข้าไปอยู่ด้วย แต่อีกสัปดาห์ต่อมา คือในวันที่ 22 กันยายน เชมเบอร์เลนก็ต้องเดินทางไปพบฮิตเลอร์อีกครั้งหนึ่งที่ กอเดสเบอร์ก (Godesberg) เมื่อฮิตเลอร์ยืนยันที่จะใช้ทหารเยอรมันเข้าไปยึดครองสุเดเทนทันที พร้อมกับขู่กว่าจะประกาศสงครามกับอังกฤษ ฝรั่งเศส และเชโกสโลวาเกีย หากไม่ยอมปล่อยให้ตนดำเนินการตามแผนนี้ เชมเบอร์เลนจึงขอให้ระงับการใช้กำลังทางทหาร แต่บรรยากาศยังอึมครึมตึงเครียดมีท่าทีว่าจะเกิดสงครามขึ้นได้ ประกอบกับเชกโกสโลวาเกียได้ระดมพลประชิดชายแดน ฝรั่งเศสมีคำสั่งให้ทหารกองหนุนเข้ารายงานตัว อังกฤษเองก็สั่งเตรียมพร้อมกองทัพเรือ ทันใดนั้นเองฮิตเลอร์จึงยอมเปลี่ยนท่าทีและยอมตกลงเข้าประชุมนานาชาติซึ่งเชมเบอร์เลนได้เสนอไว้ ซึ่งก็คือการประชุมที่มิวนิก

    [แก้] ผลการประชุม

    • ที่ประชุมมีมติให้ยกซูเดเตนแลนด์ให้แก่นาซีเยอรมัน
    • ฮิตเลอร์สัญญาว่าจะไม่เรียกร้องดินแดนใด ๆ เพิ่มเติมอีก
    • เยอรมนีจะไม่ก่อสงครามถ้ามีปัญหาใดๆก็จะตกลงกันด้วยสันติวิธี
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×