ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้!

    ลำดับตอนที่ #411 : สนธิสัญญาจันทรา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 203
      0
      6 พ.ย. 52

    ความตกลงว่าด้วยกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น (อังกฤษ: Agreement Governing the Activities of States on the Moon and Other Celestial Bodies) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สนธิสัญญาจันทรา" (อังกฤษ: Moon Treaty) หรือ "ความตกลงจันทรา" (อังกฤษ: Moon Agreement) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international treaty) ซึ่งกำหนดให้บรรดาเทห์ฟากฟ้า (อังกฤษ: celestial body) และวัตถุที่โคจรรอบเทห์ฟากฟ้า เป็นพื้นที่ในเขตอำนาจของประชาคมโลก ส่งผลให้กิจกรรมทั้งปวงในพื้นที่ดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ

    น่าเสียดายที่ความตกลงนี้ไม่ประสบผลสำเร็จดังคาดหมายกัน เนื่องเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐชาติที่ดำเนินหรือจะดำเนินการสำรวจอวกาศโดยมนุษย์ (อังกฤษ: human spaceflight) ด้วยตนเองแม้แต่รัฐเดียว รัฐเหล่านี้ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และ อิหร่าน
    สาระสำคัญ

    สนธิสัญญานี้ประกาศเจตนารมณ์ว่า ดวงจันทร์และบรรดาเทห์ฟากฟ้าอื่นใดจะต้องได้รับการใช้สอยเพื่อประโยชน์แห่งรัฐทั้งปวงและประชาคมโลก กับทั้งประกันความคุ้มครองดวงจันทร์และบรรดาเทห์ฟากฟ้าอื่นใดจากการตกเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยสนธิสัญญานี้มีข้อกำหนดดังนี้

    • ห้ามใช้เทห์ฟากฟ้าเพื่อประโยชน์ทางการทหาร รวมถึงเพื่อการทดลองอาวุธหรือเพื่อเป็นฐานที่ตั้งทางการทหาร
    • ห้ามใช้เทห์ฟากฟ้าโดยมิได้รับความยินยอมจากรัฐอื่นหรือโดยไม่ก่อประโยชน์แก่รัฐอื่น
    • การใช้เทห์ฟากฟ้า รวมถึงการค้นพบและการพัฒนาอันเนื่องจากการใช้ดังกล่าว ต้องแจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบทุกกรณี
    • รัฐทุกรัฐมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินการวิจัยบนเทห์ฟากฟ้า
    • รัฐที่ได้มาซึ่งตัวอย่างของแร่หรือสสารอื่นจากเทห์วัตถุ ต้องพิจารณาแบ่งส่วนตัวอย่างนั้นเพื่อจัดไว้ให้รัฐอื่นหรือประชาคมทางวิทยาศาสตร์ที่สนใจสามารถเข้าถึงเพื่อใช้ในงานวิจัยได้
    • ห้ามการยังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบนเทห์ฟากฟ้า และรัฐที่ดำเนินกิจกรรมบนนั้นต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษโดยอุบัติเหตุ
    • ห้ามรัฐใด ๆ อ้างอธิปไตยเหนือดินแดนแห่งใดก็ดีบนเทห์ฟากฟ้า
    • ห้ามบุคคลหรือองค์กรใดมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันมีแหล่งกำเนิดนอกโลก เว้นแต่เป็นองค์กรระหว่างประเทศหรือระหว่างรัฐบาล
    • การสกัดเอาและนำพาไปซึ่งทรัพยากรจากเทห์ฟากฟ้า ให้กระทำได้โดยระบอบระหว่างประเทศ (อังกฤษ: international regime)

    [แก้] การให้สัตยาบัน

    โดยที่สนธิสัญญานี้เป็นผลต่อยอดจากสนธิสัญญาอวกาศ (อังกฤษ: Outer Space Treaty) จึงมีความมุ่งประสงค์จะสถาปนาระเบียบเพื่อการใช้ประโยชน์จากดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ เช่นเดียวกับที่อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎแห่งทะเล (อังกฤษ: United Nations Convention on the Law of the Sea) ได้กำหนดระเบียบการใช้ประโยชน์จากท้องทะเล (อังกฤษ: seabed) มาแล้ว

    สนธิสัญญานี้ร่างเสร็จบริบูรณ์ใน ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) และมีผลใช้บังคับแก่รัฐภาคีในอีกห้าปีถัดมา คือ ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) โดยนับแต่วันที่มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) สนธิสัญญานี้มีรัฐชาติอนุวัติเป็นภาคีเพียงสิบสามรัฐเท่านั้น ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 1, ออสเตรีย 2, เบลเยียม 3, ชิลี 4, คาซัคสถาน 5, เลบานอน 6, เม็กซิโก 7, โมร็อกโก 8, เนเธอร์แลนด์ 9, ปากีสถาน 10, เปรู 11, ฟิลิปปินส์ 12 และ อุรุกวัย 13 และอีกสี่รัฐชาติที่ได้ลงนามแล้วแต่ยังมิให้สัตยาบัน คือ ฝรั่งเศส 1, กัวเตมาลา 2, อินเดีย 3 และ โรมาเนีย 4[1] โดยที่ความตกลงนี้ยังมิได้รับความสนใจจากรัฐส่วนใหญ่ที่ดำเนินกิจกรรมด้านการสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนอกโลก ความตกลงนี้จึงไม่มีผลทางพฤตินัยโดยตรงต่อกิจกรรมเช่นว่าที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×