บรรณาธิการ - บรรณาธิการ นิยาย บรรณาธิการ : Dek-D.com - Writer

    บรรณาธิการ

    เกี่ยวกับอาชีพบรรณาธิการ

    ผู้เข้าชมรวม

    566

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    14

    ผู้เข้าชมรวม


    566

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 เม.ย. 56 / 22:46 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      บรรณาธิการ
      เครดิต(clickที่รูป) :



       

      ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๓๘, หน้า ๔๖๑) ให้คำนิยามไว้ว่า บรรณาธิการ คือผู้จัด เลือกเฟ้นรวบรวม ปรับปรุงและรับผิดชอบเรื่องที่ลงพิมพ์บรรณาธิการจะเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าว ให้ต้นฉบับงานเขียนสำเร็จเป็นสิ่งพิมพ์ออกเผยแพร่ โดยอาจดำเนินการคนเดียว หลายคนหรือเป็นคณะ และอาจมีคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะ ปริมาณความลึกซึ้งหรือหลากหลาย ความซับซ้อนของส่วนประกอบเนื้อหาหรือโอกาสสำคัญที่จะจัดพิมพ์ต้นฉบับ งานเขียนชิ้นนั้น

      หัวใจของงานบรรณาธิการคือการเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจลูกค้า ผลิตภัณฑ์คือสิ่งพิมพ์ลูกค้าคือผู้อ่าน ทำอย่างไรให้ต้นฉบับกลายเป็นสิ่งพิมพ์ที่ประณีตด้วยเทคนิคเนื้อหาทรงคุณค่า ให้ประโยชน์คุ้ม และได้รับการยกย่องในวงการ (จารุวรรณ สินธุโสภณ , ๒๕๔๒, หน้า๔-๕)

      งานบรรณาธิการเป็นงานอีกอาชีพหนึ่งที่ต้องใช้ศาสตร์ความรู้ด้านบรรณาธิการ (Editing) มา ใช้ในการทำงาน เพื่อให้กระบวนการจัดทำหนังสือเป็นไปอย่างราบรื่นจนสามารถผลิตหนังสือที่ดี มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลการจัดพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน ราว ค.ศ. ๘๖๘และมีวิวัฒนาการต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบันมีวิธีการและแนวปฏิบัติจน เกิดเป็นระบบการจัดทำหรือการผลิตหนังสือตามมาตรฐานขึ้นโดยอาจมีความแตกต่าง กันบ้างในรายละเอียดบางประเด็นแต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปแบบการจัดทำที่สอด คล้องเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ว่าจะเป็นประเทศในยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในเอเชียที่มีการผลิตหนังสือที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เช่น เกาหลี สิงคโปร์ ฮ่องกงอินเดีย เป็นต้น

      การพิมพ์และการผลิตหนังสือในเมืองไทยเริ่มตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการผลิตหนังสือพิมพ์รายวันและ หนังสือที่พิมพ์เป็นรูปเล่มในรูปแบบนิตยสาร วารสารและหนังสือเป็นเล่ม พัฒนาการทางการพิมพ์และการจัดทำหนังสือในเมืองไทยมีความเจริญรุดหน้ามาโดย ตลอดโดยเฉพาะระบบการพิมพ์ที่ทันสมัยในปัจจุบันจนกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีความ เจริญในด้านระบบการพิมพ์และการผลิตสิ่งพิมพ์ก้าวหน้าไม่น้อยกว่าประเทศใดใน แถบเอเชียยกเว้นประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีเท่านั้น

      แต่ พัฒนาการด้านการจัดทำหนังสือในแง่ของการเขียนเนื้อหาสาระและการเปลี่ยนสภาพ ต้นฉบับงานเขียนให้ออกมาเป็นรูปเล่มหนังสือที่น่าอ่านตามมาตรฐานสากลหรือที่ เรียกว่า “การบรรณาธิกร” นั้น กล่าวได้ว่าแทบไม่มีปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ทั้งในแง่การปฏิบัติจริงในสำนักพิมพ์ทั้งหลายหรือในแง่การศึกษาเรียนรู้ภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ในขณะที่การจัดทำหนังสือพิมพ์รายวัน หรือการจัดทำนิตยสาร/วารสารมีการเรียนรู้ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีในสถาบัน การศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มีผู้สำเร็จการศึกษาออกมาปฏิบัติงานสืบทอดวัฒนธรรมการทำหนังสือพิมพ์ตาม มาตรฐานสากลอย่างแท้จริง

      ในทางกลับกันการจัดทำหนังสือเล่มยังไม่มีบุคลากรมืออาชีพหรือบรรณาธิการมือ อาชีพมาสืบสานวัฒนธรรมการผลิตหนังสือเล่มอย่างจริงจังส่วนใหญ่จะเป็นผู้รัก การทำหนังสือ เรียนรู้จากการปฏิบัติตาม ๆ กันมาหรืออาจได้รับการอบรมเบื้องต้นมาบ้างจากสถาบันการศึกษาแต่เมื่อต้องมา ปฏิบัติงานอย่างจริงจังมักเกิดความไม่มั่นใจได้แต่อาศัยการศึกษาจากคู่มือ ปฏิบัติงานบรรณาธิกรที่ผู้มีประสบการณ์ทางด้านนี้ได้รวบรวมไว้ (จินตนา ใบกาซูยี , ๒๕๔๓, หน้า๖)

      มกุฎ อรฤดี (๒๕๔๕)กล่าวในการอบรมวิชาหนังสือสำหรับบุคคลภายนอก ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ากระบวนการผลิตหนังสือนั้น มีรายละเอียดอันละเอียดอ่อนประณีตมากมาย การจะเรียนรู้รู้จัก รู้สึก นึกคิด และทำหนังสือให้ดี ต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ไม่สิ้นสุด ข้อสำคัญคือต้องมีรากฐานด้านความงาม ภาษา เข้าใจความเรียบง่าย เข้าใจชีวิตสนใจและรู้จักมนุษย์ใฝ่รู้วิทยาการทั้งสิ้นทั้งปวงอันประกอบกัน ขึ้นเป็นสังคมหน่วยเล็กหน่วยใหญ่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต และไกลกว่าอนาคต

      ประเทศไทยยังขาดหนังสือและขาดบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับวงการหนังสือทุกด้าน ทุกทาง ไม่ว่าจะเป็น นักเขียนบรรณาธิการต้นฉบับ บรรณาธิการต้นฉบับแปล ผู้ตรวจทานต้นฉบับ ผู้เขียน รูปประกอบออกแบบปก จัดรูปเล่มแม้แต่นักวิจารณ์หนังสือก็แทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีเลยหรือกรรมการ ตัดสินต้นฉบับกรรมการตัดสินหนังสือ อันเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนา ส่งเสริมการเขียน ก็ขาดแคลนส่งผลให้การพิจารณาต้นฉบับและหนังสือที่ส่งเข้าประกวดด้อยคุณค่าไป ด้วยดังเห็นได้จากหนังสือที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลสำคัญหลายเล่มมีข้อ ผิดพลาดด้านภาษาไทยและเนื้อหานับร้อยแห่ง ทั้ง ๆ ที่มีกรรมการมากกว่า ๗ คนมีบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้เขียนคำนิยมที่มีชื่อเสียงลงชื่อรับรองสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การทำงานด้านหนังสือโดยไม่มีผู้ตรวจทานทุกขั้นตอนไม่เชื่อระบบบรรณาธิการและ ระบบการตรวจสอบ ข้อบกพร่องผิดพลาดต่างๆอันรวมกันเข้าจนทำให้หนังสือที่ผลิตออกมาด้อยคุณภาพ นั้น มีจุดสรุปปลายทางอยู่ที่สำนักพิมพ์ผู้ที่รับเคราะห์ก็คือคนอ่าน โดยเฉพาะที่เป็นเด็กและเยาวชน

      ภารกิจของบรรณาธิการ งานบรรณาธิการเป็นทั้งศิลปะและงานฝีมือ(Art and craft) คือ ศิลปะที่เป็นความรู้เกี่ยวกับต้นฉบับว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับงานนั้นและ เป็นงานฝีมือในด้านการจัดเตรียมต้นฉบับให้น่าอ่านเป็นที่ยอมรับของผู้อ่าน โดยทั่วไป(O’Connor, 1978, p. 1) ภารกิจ หลักของบรรณาธิการก็คือการคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดมาเผยแพร่รองลงมาก็คือ การช่วยเหลือผู้เขียนเพื่อจัดทำหรือผลิตงานที่มีคุณภาพออกมา (O’Connor,1978, p. 19)

      บรรณาธิการมีงานหลายด้าน ทั้งบริหารจัดการ หาเทคนิคที่เหมาะสมมาใช้จัดพิมพ์ถ้าทำหน้าที่เฉพาะด้านจะมีชื่อหรือตำแหน่ง โดยเฉพาะ เช่นบรรณาธิการใหญ่หรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ (Chief Editor) รองบรรณาธิการใหญ่ ( Associate Editor) บรรณาธิการต้นฉบับ (Copy Editor) บรรณาธิการศิลป์ (Art Editor) (จารุวรรณ สินธุโสภณ , ๒๕๔๒, หน้า๕) ใน บางสำนักพิมพ์ มีการแบ่งแยกงานออกเป็นอิสระจากกันเป็น ๒ ลักษณะ คือบรรณาธิการฝ่ายจัดหาต้นฉบับหรือฝ่ายสำนักพิมพ์ และฝ่ายต้นฉบับหรือฝ่ายวิชาการบทบาทหน้าที่สำคัญของบรรณาธิการ คือ การทำให้หนังสือที่ผู้เขียนแต่งขึ้นมีความน่าอ่านสำนักพิมพ์บางแห่งมีความ คาดหวังสูงมาก กล่าวคือ ให้บรรณาธิการรับผิดชอบดูแลต้นฉบับจนถึงขั้นการจัดพิมพ์ แต่บางแห่งเพียงให้ตรวจสอบด้านภาษา การสะกดคำและการใช้เครื่องหมายวรรคตอนเท่านั้น

      จินตนา ใบกาซูยี (๒๕๔๒, หน้า ๓๒๖) กล่าวว่า โดยสรุปภารกิจหลักของบรรณาธิการมี ๒ ประการ คือ การจัดหาต้นฉบับและการบรรณาธิกรต้นฉบับการบรรณาธิกรประกอบด้วย การตรวจแก้โครงสร้าง เนื้อหาสาระสำคัญและการตรวจแก้ต้นฉบับทั้งเล่ม

      บรรณาธิการ ฝ่ายจัดหาต้นฉบับจะทำหน้าที่เสาะแสวงหาต้นฉบับและเจรจาต่อรอง ทำสัญญากับผู้เขียนรวมทั้งพิจารณาต้นฉบับอย่างละเอียดในด้านขอบเขตเนื้อหา โครงสร้างความยาวของเนื้อหา รวมทั้งตรวจหาข้อความอันเป็นการใส่ร้ายดูหมิ่นอย่างร้ายแรงและการละเมิดลิขสิทธิ์

      การที่มีข้อความระบุไว้ในสิ่งพิมพ์บางชิ้นเช่น ในวารสาร บรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความเห็นของผู้แต่งก็ไม่หมายความว่า บรรณาธิการจะปลอดจากความรับผิดชอบที่ได้พิมพ์เผยแพร่เรื่องนั้นไปได้โดย เฉพาะถ้าเป็นความเห็นในประเด็นที่อาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทเป็นลาย ลักษณ์อักษรหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีจรรยาบรรณของนักวารสารศาสตร์เป็นสิ่งที่ บรรณาธิการละเลยไม่ได้ (จารุวรรณ สินธุโสภณ, ๒๕๔๒, หน้า ๕)

      นอกจากนี้ยังต้องประเมินแนวโน้มความต้องการของผู้อ่าน และรูปแบบช่องทางการจำหน่ายอีกด้วยอีกด้านหนึ่ง บรรณาธิการฝ่ายนี้ยังทำหน้าที่ว่าจ้างการเขียนหนังสือบางเล่มที่คิดว่าจะทำ ตลาดได้ดีและประเมินข้อเสนอการว่าจ้างจากผู้เขียน หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือการแก้ไขโครงสร้างเนื้อหาต้นฉบับและการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ดูแลการผลิต เอกสารด้านส่งเสริมการขายและการติดต่อกับผู้เขียนในบางครั้งบรรณาธิการกลุ่ม นี้ยังต้องช่วยออกแบบหนังสือและดูแลจัดการด้านรายรับรายจ่ายของสำนักพิมพ์ อีกด้วย

      ในปัจจุบันนี้ยังมีผู้ทำหน้าที่บรรณาธิการประจำ (In-house) ทำ งานเต็มเวลาอยู่บ้าง แต่มีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนสำนักพิมพ์ซึ่งส่วนใหญ่แทบไม่มีผู้ทำ หน้าที่บรรณาธิการอย่างแท้จริงเลยนอกจากนี้ สำนักพิมพ์บางแห่งเริ่มมีแนวคิดที่จะจ้างบรรณาธิการการอิสระ (Freelancers) ทำ งานเป็นชิ้นงานโดยทั่วไปแล้วบรรณาธิการอิสระนี้ มักทำงานในขอบเขตหน้าที่ ที่จำกัด กล่าวคือทำหน้าที่บรรณาธิการฝ่ายต้นฉบับเฉพาะชิ้นงานเท่านั้น (จินตนา ใบกาซูยี, ๒๕๔๒,หน้า ๓๒๗)

      ขั้นตอนและวงจรงานของบรรณาธิการอาจลำดับได้ดังนี้

      ๑. การวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องมีความชัดเจนในเรื่องวัตถุประสงค์ การแบ่งงานการกำหนดผู้รับผิดชอบ ขั้นตอน วิธีการ ระยะเวลา ประมาณการค่าใช้จ่าย การคาดคะเนผล

      ๒. การจัดหาต้นฉบับ บรรณาธิการมีหน้าที่เสาะหาต้นฉบับที่มีข้อมูลถูกต้องบอกเล่าอย่างตรงไปตรงมา มีการอ้างอิงแหล่งที่ดี สื่อความได้ชัดเจนให้ความรู้สึกเพลินอารมณ์ ผู้อ่านได้รับทั้งความรู้และอยากเรียนรู้ต่อไป

      ๓. การรับฟังความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิกรณีเนื้อหามีความซับซ้อน หรือมีประเด็น ที่อาจก่อให้เกิดข้อโต้แย้งหรือข้อทักท้วงทั้งในทางวิชาการหรือทางกฎหมาย

      ๔. การทำความตกลงกับผู้เขียนกรณีมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของแต่ละ ฝ่ายการทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรจะรัดกุมกว่าด้วยวาจา ส่วนหนึ่งอาจนำไปสู่การทำสัญญาต่อไป งานด้านนี้อาจต้องมีนิติกรร่วมด้วย

      ๕. การจัดทำแฟ้มต้นฉบับเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นฉบับ เช่น การติดต่อระหว่างผู้เขียนกับบรรณาธิการข้อตกลง สัญญา ข้อมูล เนื้อหา ภาพหลักฐานอ้างอิงที่ค้นเพิ่มเติมระหว่างการตรวจแก้ต้นฉบับ

      ๖. ประมาณการและกำหนดรูปเล่มในด้านความยาวของเนื้อหา ขนาดรูปเล่ม ตัวพิมพ์ การวางรูปหน้ากระดาษ

      ๗. การอ่านตรวจต้นฉบับอย่างละเอียดเรียกตามศัพท์บัญญัติว่า การบรรณาธิกรต้นฉบับโดยใช้คู่มือตรวจตามแบบเฉพาะของสำนักพิมพ์เอง หรือ แบบเฉพาะอื่นๆเพื่อตรวจแก้ไขปรับปรุงต้นฉบับให้ได้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้องทั้งด้านเนื้อหาและส่วนประกอบ ความต่อเนื่องของเนื้อหา ระบบการจัดโครงสร้างเนื้อหาการอ้างอิง รวมทั้งปรับปรุงเนื้อหาให้ได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น

      ๘.การแจ้งให้ผู้เขียนรับรู้การแก้ไขต้นฉบับการแก้ไขต้นฉบับขึ้นอยู่กับบรรณาธิการ และผู้เขียน และเป็นเรื่องเฉพาะกรณีรวมทั้งการเก็บบันทึกเรื่องนี้ไว้ในแฟ้มต้นฉบับด้วย

      ๙. การพิมพ์ต้นฉบับโดยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบต่าง ๆ แล้วแต่สำนักพิมพ์

      ๑๐. การตรวจพิสูจน์อักษรต้องทำหลายครั้งและหลายคน ด้วยความละเอียดถี่ถ้วน(จารุวรรณ สินธุโสภณ , ๒๕๔๒,หน้า ๔)

      คุณลักษณะของบรรณาธิการ William G. Connolly Jr. บรรณาธิการของ The New York Times Week in Review ได้กล่าวว่าคุณลักษณะของบรรณาธิการต้นฉบับที่ดีนั้น ควรมีคุณลักษณะดังนี้ (Bowles& Borden, 2000, p. 7-8)

      ๑.มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง (Confidence) ไม่ว่าจะเป็นความรอบรู้ด้าน ต่าง ๆทักษะการเขียน กระบวนการผลิต นโยบาย

      ๒. ไม่เอาความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ (Objectivity) พิจารณาผลงานในมุมมองของผู้เขียน

      ๓. มีความตระหนักรู้ (Awareness) ในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับผู้เขียนแนวทางของสำนักพิมพ์ หรือกระบวนการผลิตต่าง ๆ เป็นต้น

      ๔. มีความเฉลียวฉลาด (Intelligence) ในการตัดสินใจอย่างถูกต้องว่าอะไรผิดอะไรถูก

      ๕. มีความสงสัยเป็นธรรมชาติ (QuestioningNature) เพื่อแสวงหาคำตอบที่กระจ่างชัดเพราะหากตนยังสงสัยผู้อ่านก็เกิดคำถามเช่นเดียวกัน

      ๖. มีทักษะในการเจรจา (Diplomacy) ซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญเนื่องจากต้องติดต่อพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้เขียนในลักษณะต่าง ๆ

      ๗. มีความสามารถในการเขียน (Abilityto Write) เพื่อจะได้เข้าใจความคิดและแนวทางของผู้เขียนนอกเหนือไปจากการเป็นนักอ่านที่ดีที่จะต้องมีอยู่แล้ว

      ๘. มีอารมณ์ขัน (Sense of Humor) เพราะคนที่อารมณ์เสียมักทำให้ผลงานออกมาไม่ดี

       

      ประเภทของบรรณาธิการ

      แบ่งออกเป็น๒ ประเภทใหญ่ คือ บรรณาธิการต้นฉบับ และบรรณาธิการรูปเล่ม

      บรรณาธิการต้นฉบับ

      การที่หนังสือพิมพ์ นิตยสารหนังสือเล่ม การนำเสนอข่าวทางวิทยุหรือโทรทัศน์ จะได้รับการกล่าวขานถึงในทางที่ดีได้นั้นสิ่งหนึ่งที่ทุกสื่อจะต้องมีก็คือ กองบรรณาธิการที่ดีในการทำงานผู้เขียนหรือผู้รายงานข่าวอาจได้รับการเอ่ยนาม ถึงแต่บรรณาธิการต้นฉบับนั้นไม่ถูกเอ่ยอ้างแต่บุคคลที่อยู่เบื้องหลังเหล่า นี้กลับมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากต่องานที่จะเผยแพร่ออกมาสู่ สาธารณชนเนื่องจากมีบทบาทสำคัญยิ่งในการอ่านต้นฉบับทุกบรรทัดทุกหน้าอย่าง ละเอียดเพื่อแก้ไขเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ โครงสร้างประโยคไวยากรณ์ ให้มีความถูกต้องสม่ำเสมอ ปรับปรุงการจัดย่อหน้า ติดต่อกับผู้เขียนในกรณีที่มีข้อสงสัยดูแลแนวการเขียนให้มีความสม่ำเสมอตลอด ทั้งเล่ม และอาจช่วยชี้แนะการออกแบบหนังสือตรวจสอบต้นฉบับให้พร้อมก่อนที่จะจัดส่งไป ให้ผู้พิมพ์เพื่อประเมินราคาพิมพ์

      บรรณาธิการต้นฉบับ มี ๒ ลักษณะงานดังนี้ (วัลยา วิวัฒน์ศร , ๒๕๔๗, หน้า๓๗๕ อ้างอิงจาก มกุฎ อรฤดี, ๒๕๔๔)

      ๑. บรรณาธิการต้นฉบับเขียน คือผู้ทำหน้าที่ตรวจแก้ต้นฉบับของนักเขียน แบ่งตามลักษณะหน้าที่ เป็น ๒ ลักษณะ

      ๑.๑ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการทำงานของนักเขียนตั้งแต่เริ่มต้น ทำงานร่วมกันในการวางแผนการเขียนวางเค้าโครงเรื่อง กำหนดรายละเอียด จนกระทั่งขั้นตอนการเขียน รับเป็นที่ปรึกษาในกรณีนักเขียนมีปัญหา ไปจนจบเรื่องและทำหน้าที่ตรวจแก้ต้นฉบับในตอนท้ายสุดบรรณาธิการต้นฉบับ ประเภทนี้ยังไม่มีเป็นทางการในประเทศไทยหรือยังไม่มีระบบนี้เหมือนในต่าง ประเทศ และยังไม่อาจยึดถือเป็นอาชีพได้เพราะนักเขียนยังไม่มีรายได้มากพอที่จะจ้าง บรรณาธิการส่วนตัวสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของหน้าที่นี้

      ๑.๒ ทำหน้าที่เฉพาะตรวจแก้ต้นฉบับเพียงอย่างเดียว ไม่รับรู้ความเป็นมาในการทำงานของนักเขียนอาจจะไม่มีความผูกพันส่วนตัว ส่วนใหญ่บรรณาธิการต้นฉบับจะเป็นคนของสำนักพิมพ์รับเงินค่าจ้างจากสำนัก พิมพ์ การทำงานของบรรณาธิการต้นฉบับนี้อาจติดต่อกับนักเขียนหรือไม่ก็ได้

      ๒. บรรณาธิการต้นฉบับแปล คือ ผู้ทำหน้าที่ตรวจแก้ต้นฉบับของนักแปล แบ่งเป็น๒ ประเภท คือ

      ๒.๑ บรรณาธิการต้นฉบับแปลของสำนักพิมพ์ รับจ้างสำนักพิมพ์เพื่อตรวจงานของ นักแปลถือเป็นอาชีพ ทำงานตามคำสั่งของสำนักพิมพ์จะติดต่อหรือไม่ติดต่อกับผู้แปลตามความเห็นของ สำนักพิมพ์

      ๒.๒ บรรณาธิการต้นฉบับแปลของผู้แปล ส่วนใหญ่ทำงานเป็นส่วนตัว สนิทสนมคุ้นเคยกับผู้แปลอาจจะได้ค่าจ้างหรือไม่ได้ ตามแต่จะตกลงกัน              

      บรรณาธิการต้นฉบับ เป็นศาสตร์และศิลป์เหมือนการสอนวาดรูป เราสอนเรื่ององค์ประกอบศิลป์ ได้สอนเรื่องกายวิภาคได้สอนเรื่องทฤษฎีสีได้ แต่เมื่อลงมือวาดรูปจริง ๆกลับเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ต้องเรียนรู้เอง เป็นเรื่องของความรู้สึกรสนิยมของคำที่สอนกันไม่ได้ และบางครั้งเหมือนเส้นผมบังภูเขา ในที่สุดทฤษฎีไม่มีความหมายวันหนึ่งเมื่อประสบการณ์มากขึ้น แก่กล้ามากขึ้น จะรู้เองหน้าที่ของบรรณาธิการต้นฉบับจึงไม่เพียงแต่การตรวจแก้ต้นฉบับให้ถูก ต้องใกล้เคียงกับต้นฉบับเดิมมากที่สุดการทำต้นฉบับให้ดีขึ้นในด้านการใช้ ภาษา การสื่อความหมาย รายละเอียดในเรื่องค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ตกหล่นขาดหายไป ทำให้อ่านโดยไม่สะดุดทำให้ผู้อ่านรู้สึกดีต่อเรื่องที่อ่านและผู้เขียนรวม ทั้งผู้แปลอีกด้วยการตรวจแก้ต้นฉบับ มีทั้งต้นฉบับเขียนและต้นฉบับแปลทั้งสองประเภทมีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกัน แต่การตรวจ แก้ต้นฉบับแปลนั้นบรรณาธิการต้นฉบับจะต้องเทียบเคียงกับต้นฉบับภาษาเดิมด้วย กรณีที่ไม่รู้ภาษาเดิมต้องใช้ประสบการณ์ขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา เพื่ออ่านนิสัยใจคอ น้ำเสียงลีลาของผู้ประพันธ์

      นอกจากนั้นการตรวจแก้ต้นฉบับแต่ละประเภท ยังต้องมีกลวิธีพิเศษเฉพาะเจาะจงลงไปในการตรวจ เช่นวรรณกรรมสำหรับเด็ก ผู้ตรวจแก้ต้องมีจินตนาการ มองโลกด้วยสายตาเด็ก ๆสวมวิญญาณเด็กได้จะยิ่งดี ถ้าไม่คิดแบบเด็กอาจทำให้การตรวจแก้ผิดพลาดได้ง่ายเพราะผู้ใหญ่คิดและรู้สึก ไม่เหมือนเด็กถ้าเป็นเรื่องจินตนาการเหนือจริงหรือแฟนตาซีต้องรู้ให้ได้ว่า ในเรื่องที่ผู้เขียนสื่อสารนั้นตรงไหนต้องการให้เหมือนจริงตรงไหนเหนือจริง และจะใช้ภาษาอย่างไร ประเภทประวัติศาสตร์ต้องคำนึงถึงยุคสมัยของภาษาเป็นสำคัญ ประเภทความเรียงและปรัชญาต้องทำความเข้าใจเรื่องคำเป็นพิเศษ พยายามหาคำที่อธิบายนัยให้ชัดเจนส่วนต้นฉบับกวีนิพนธ์ มีลักษณะพิเศษซึ่งผู้ตรวจแก้จะต้องทำความรู้จักให้ลึกซึ้งเสียงทอดแต่ละคำมี ความสำคัญด้วยโครงสร้างของกวีนิพนธ์ คือ ฉันทลักษณ์จึงไม่สามารถตัดสินได้ด้วยการอ่านในใจ ต้องอ่านออกเสียงจึงจะมองเห็นความผิดพลาด

       

      บรรณาธิการรูปเล่ม

      คือ ผู้ตรวจแก้ไขและปรับปรุงลักษณะของต้นฉบับให้เป็นไปตามรูปแบบหนังสือตามที่ สำนักพิมพ์หรือสถาบันผู้ผลิตกำหนด รูปแบบของหนังสือในที่นี้หมายถึงรูปแบบใน ๒ลักษณะคือส่วนประกอบของหนังสือโดยทั่วไปและการจัดลำดับเนื้อหาในแต่ละบท หรือแต่ละเรื่อง

      ๑. ส่วนประกอบของหนังสือหนังสือโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ๔ ส่วนด้วยกันคือ ส่วนปก (Binding) ส่วนนำหน้า (Preliminary Pages) ส่วนเนื้อหา (Text) และ ส่วนอ้างอิง (Reference Materials)

      ๑.๑ส่วนปก ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้

      ๑.๑.๑ ปกหนังสือ หรือบางที่เรียก ปกนอก ทำหน้าที่หุ้มห่อหนังสือให้อยู่ด้วยกันป้องกันการฉีกขาด และช่วยให้จับถือได้ง่าย ปกหนังสือบางเล่มอาจจะมีลักษณะเรียบ ๆบางเล่มอาจจะมีรูปภาพตกแต่งงดงาม บนหน้าปกอาจมีชื่อผู้แต่งและชื่อหนังสือปรากฏอยู่

      ๑.๑.๒ใบหุ้มปก (Book Jacket หรือ Dust Jacket) หนังสือปกแข็งบางเล่มอาจมีใบหุ้มปกหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง ใบหุ้มปกมักมีข้อมูลหรือภาพเดียวกันกับปก

      ๑.๑.๓สันปก (Spine) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมปกหน้าและปกหลังเข้าด้วยกันและอาจมีชื่อเรื่องสั้นๆชื่อผู้แต่งและชื่อสำนักพิมพ์

      ๑.๑.๔ใบยึดปก (End Paper) ซึ่ง เป็นกระดาษที่ปะติดกับปกด้านในทั้งปกหน้าและปกหลังเพื่อยึดปกให้แข็งแรงขึ้น บนใบยึดปกนี้อาจจะบรรจุข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเช่น ตาราง แผนที่สูตรต่าง ๆ กราฟ เป็นต้น

      ๑.๒ ส่วนนำหน้าส่วนนี้ประกอบด้วยแผ่นกระดาษที่ไม่มีเลขกำกับหน้าเป็นส่วนที่อยู่ นำหน้าเนื้อหาของหนังสือประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้

      ๑.๒.๑หน้ารองปก (Flyleaves) ซึ่งเป็นกระดาษว่าง ๆอยู่ต่อจากใบยึดปกทั้ง สองด้าน

      ๑.๒.๒หน้าชื่อเรื่อง (Half title Page) เป็น หน้าที่อยู่ถัดไปทำหน้าที่ป้องกันหน้าปกใน ซึ่งอยู่ในหน้าถัดไป มีชื่อหนังสือสั้นๆปรากฏอยู่และหากหนังสือเล่มนั้นเป็นหนังสือชุด (Series) ก็จะมีชื่อชุดปรากฏอยู่บนหน้านี้

      ๑.๒.๓หน้ารูปภาพนำ (Frontispiece)

      ๑.๒.๔หน้าปกใน (Title Page) เป็น หน้าที่สำคัญเป็นอันดับแรกของหนังสือหนังสือทุกเล่มจะต้องมีหน้านี้ เพราะจะมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นๆ ปรากฏอยู่อย่างสมบูรณ์ คือ ชื่อเรื่อง ชื่อรอง ชื่อผู้แต่ง ชื่อบรรณาธิการชื่อผู้วาดรูป ผู้แปล ชื่อผู้เขียนคำนำ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ผู้พิมพ์และปีที่พิมพ์ ด้านหลังของหน้าปกในจะเป็น

      ๑.๒.๕หน้าลิขสิทธิ์ (Copyright Page) อยู่ ด้านหลังของหน้าปกในบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ ได้แก่ เจ้าของลิขสิทธิ์ สำนักพิมพ์ จำนวนพิมพ์ชื่อและสถาบันที่จัดพิมพ์นอกจากนี้อาจมีข้อมูลบัตรรายการห้องสมุด ที่สำนักพิมพ์จัดให้ (Catalog inPublication หรือ CIP) เลขประจำหนังสือสากล (InternationalStandard Book Number หรือ ISBN) หรือรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดพิมพ์อื่นๆ

      ๑.๒.๖หน้าคำอุทิศ (Dedication Page) เป็นหน้าที่อยู่ต่อจากหน้าปกในมีชื่อบุคคลที่ผู้แต่งอุทิศหนังสือเล่มนั้นๆให้

      ๑.๒.๗หน้าคำนำ (Preface) เป็น หน้าที่ผู้แต่งหรือผู้จัดพิมพ์อธิบายสาระสำคัญของหนังสืออย่างสังเขปมีคำ อธิบาย เหตุผลในการเขียนมีคำขอบคุณผู้ที่ได้ช่วยเหลือในการเขียนหนังสือเล่มนั้น อธิบายลักษณะการเรียบเรียงสัญลักษณ์และข้อมูลพิเศษอื่นๆที่ต้องการจะให้ผู้ อ่านทราบ

      ๑.๒.๘หน้าสารบัญ ( Table of Contents) ซึ่ง เป็นบัญชีชื่อบทตอน ของหนังสือตามลำดับพร้อมทั้งมีเลขหน้ากำกับสารบัญละเอียดจะมีลักษณะเป็นโครง เรื่องของหนังสือเล่มนั้น หน้าสารบัญจึงเป็นหน้าที่ผู้อ่านสามารถสำรวจโครงเรื่องของเนื้อหาว่าครอบ คลุมเนื้อเรื่องเพียงพอกับความต้องการหรือไม่

      ๑.๒.๙หน้าสารบัญภาพประกอบหรือสารบัญตาราง (Lists of Illustration Materials) หนังสือบางเล่มที่มีภาพประกอบหรือตารางเป็นจำนวนมากก็จะมีสารบัญด้วย

      ๑.๓ ส่วนเนื้อหา ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยหน้าหนังสือที่มีเลขหน้ากำกับจัดเป็นส่วนที่ ใหญ่ที่สุดของหนังสือ จัดเป็นภาค ตอน บท หน่วยหรือเรื่องตามลำดับการนำเสนอ

      ๑.๔ส่วนอ้างอิง ส่วนนี้ประกอบด้วยสิ่งที่ใช้อ้างอิงอ่านประกอบเพิ่มเติม ได้แก่

      ๑.๔.๑บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่ง เป็นรายชื่อแหล่งข้อมูลที่ผู้เขียนใช้อ้างอิงและค้นคว้าในการเขียนหนังสือ เล่มดังกล่าวขณะเดียวกันก็เป็นหลักประกันให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ผู้แต่งได้ค้นคว้าหาหลักฐานมาอ้าอิงอย่างดีแล้วนอก จากนี้ความใหม่และความทันสมัยของรายการหนังสือในบรรณานุกรมที่ผู้เขียนใช้ อ้างอิงก็จะแสดงให้เห็นถึงความทันสมัยของหนังสือเล่มนั้นๆ ด้วย ๑.๔.๒ ภาคผนวก (Appendix) เป็น ส่วนที่แสดงข้อมูลหรือข้อความที่เป็นข้ออ้างอิงหรือสนับสนุนเนื้อหาสาระใน เล่มแต่ไม่เหมาะสมที่จะแทรกอยู่ในเนื้อหา เพราะอาจทำให้เกิดความสับสนได้

      ๑.๔.๓อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นส่วนที่อธิบายคำศัพท์ที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นอ่านเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่พบในเนื้อหา

      ๑.๔.๔บันทึก (Notes) อาจเป็นเชิงอรรถอ้างอิงที่มิได้ลงรายการไว้ที่ด้านล่างในส่วนของเนื้อหาหรืออาจเป็นคำอธิบายในส่วนเนื้อหาก็ได้

      ๑.๔.๕ดรรชนี (Index) เป็น รายชื่อคำและบุคคลในเนื้อหาที่นำมาจัดเรียงตามลำดับอักษรและมีหมายเลข หน้าที่คำนั้นๆ ปรากฏเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาคำ ข้อความชื่อที่ต้องการในหนังสือเล่มนั้น ๆ

      ส่วนต่าง ๆของหนังสือตามที่ได้กล่าวมานี้เป็นส่วนประกอบของหนังสือโดยทั่ว ๆ ไปส่วนรายละเอียดปลีกย่อยของรูปแบบนั้น สำนักพิมพ์แต่ละแห่งจะกำหนดเองและผู้ตรวจแก้ไขต้นฉบับจะต้องทราบลักษณะของ รูปแบบที่ใช้เพื่อจะได้แก้ไขให้เป็นไปตามรูปแบบที่สำนักพิมพ์กำหนด

      ๒.การจัดลำดับเนื้อหาในแต่ละบทหรือแต่ละเรื่องการ ตรวจแก้ไขการจัดลำดับเนื้อหาในที่นี้มิได้หมายถึงการตรวจแก้วิธีการเสนอ เนื้อหาสาระ แต่หมายถึงวิธีจำแนกแยกหัวข้อของเนื้อหาในแต่ละบทหรือแต่ละหน่วยที่สำนัก พิมพ์อาจจะกำหนดรูปแบบไว้โดยเฉพาะผู้ตรวจแก้ไขต้นฉบับมีหน้าที่ตรวจแก้ไขการ จัดลำดับเนื้อหาดังกล่าวนี้ให้เป็นไปตามรูปของสำนักพิมพ์หรือของสถาบันหรือ หากไม่มีการกำหนดไว้ ผู้ตรวจแก้ไขต้นฉบับต้องตรวจหัวข้อต่างๆที่นำเสนอเป็นหัวข้อในลักษณะเดียว กันและไม่ขาดหายไป เช่นในตอนต้นผู้เขียนเสนอว่าจะเสนอเรื่องทั้งหมด ๓ หัวข้อแต่เมื่ออธิบายไปแล้วเหลือเพียง ๒ หัวข้อเป็นต้นการตรวจในขั้นนี้ผู้ตรวจจึงควรเขียนหัวข้อทั้งหมดที่ผู้แต่ง เสนอหลังตรวจสอบเนื้อหาไปทีละข้อ ๆ ให้ได้รูปแบบที่สมบูรณ์ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , ๒๕๓๔, หน้า๔๕๘-๔๖๖)

       

      ความสำคัญของบรรณาธิการ

      ทุกวันนี้หนังสือถือว่าเป็นสื่อที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของ มนุษย์ หนังสือเป็นรากฐานของความรู้ที่มนุษย์จะต้องเอาความรู้ที่ได้จากการ หนังสือไปใช้ประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองในอนาคต  ทุก คนเกิดมาจะต้องรู้จักหนังสือ ได้อ่านหนังสือต้องเรียนหนังสือ แม้ว่าในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในสังคม ในสถานศึกษาแต่ก็ไม่ได้ทำให้ความสำคัญของหนังสือลดน้อยลงไปหนังสือก็ยังมี บทบาทและทำหน้าที่ให้ความรู้ได้ดีเหมือนเดิม  ยังมีการผลิต หนังสือ พัฒนาในเรื่องของการนำเสนอและเทคนิคต่างๆ อย่างต่อเนื่องแต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบื้องหลังของการทำหนังสือเป็นอย่าง ไรและมีใครเป็นผู้รับผิดชอบ

      ผู้ที่รับผิดชอบในการทำหนังสือก็คือ บรรณาธิการบรรณาธิการก็คือผู้คัดเลือกงานเขียนของนักเขียนหรือหนังสือจากทุก แห่ง ที่คิดว่าดีมีประโยชน์แก่ผู้อ่าน  รับผิดชอบต้นฉบับของนักเขียน  ตรวจสอบการ สะกดคำ  การใช้เครื่องหมายต่างๆ ให้ถูกหลักไวยากรณ์     จนกระทั่งการจัดพิมพ์  บรรณาธิการก็จะเป็นผู้ที่เรียบเรียงภาษาของนักเขียน ให้น่าอ่านขึ้น   แต่ยังคงสำนวนภาษาของนักเขียนไว้คงเดิม

      บรรณาธิการ คือบุคคลสำคัญในการผลิตหนังสือทางด้านความคิด  มีความสามารถในการเขียน  คุณสมบัติสองอย่างนี้ต้องอยู่ในคนๆเดียวกัน   ซึ่งหาได้ยากยิ่งในยุคสมัยและสังคมในปัจจุบัน   ความรู้รอบตัว  รู้ไปทุกเรื่อง  รู้ลึกรู้จริง ทั้งนี้ยังสามารถสร้างจินตนาการและรู้ความคิดของผู้ อ่าน บรรณาธิการเป็นผู้เกี่ยวข้องกับวงการหนังสือโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการ เขียนหนังสือหรือเป็นนักเขียนด้วยเหมือนกันเป็นผู้ตรวจทานต้นฉบับ   ดูแลการจัดทำรูปเล่มภาพประกอบ  ควบคุมการจัดพิมพ์ บรรณาธิการให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตรวจต้นฉบับ เพราะต้นฉบับที่จะเป็นหนังสือในวันหน้าต้องออกสู่สายตาของผู้อ่าน ผู้อ่าน ต้องได้สิ่งที่ดีที่สุดจากสิ่งที่เขาได้จากหนังสือเล่มนั้น   บรรณาธิการจะตรวจทานทุกอย่างด้วยความรอบครอบทุกสิ่งที่ปรากฏบนหนังสือไม่ให้ ขาดตกบกพร่อง

      นอกจากบรรณาธิการแล้วหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่าบรรณาธิกรแล้วคงจะสงสัยว่าบรรณาธิการและ “บรรณาธิกร” สอง คำนี้แตกต่างกันอย่างไร  บรรณาธิกรก็คือ งานตรวจแก้ต้นฉบับซึ่งหมายความว่าในการทำหนังสือทุกเล่มต้องเป็นไปอย่างพิถี พิถัน    การจัดลำดับเนื้อหาแต่ละบทของหนังสือ  การตรวจหรือการพิจารณาแก้ไขเครื่องหมาย  การสะกดคำ  ประโยค ไวยากรณ์  การย่อหน้า  การเว้นวรรคตอน การจัดรูปเล่ม ประโยคสำคัญไม่ควรตัดตอน  ไม่กำกวม ไม่ใช้คำซ้อน สิ่งเหล่านี้จะผิดไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อ่าน เกิดความเข้าใจผิด   ถ้าหากเกิดผิดพลาดขึ้นมาก็เท่ากับว่าความรู้ของผู้อ่านเกิดความผิดพลาดเช่น กัน  เหมือนกับการป้อนข้อมูลที่ผิด  ที่ไม่ดีให้กับคนบริสุทธิ์   พวกเขาไม่ผิดอะไร  แต่ต้องมารู้ในสิ่งที่ผิดเพียงเพราะสิ่งที่เขาอ่านไม่ได้รับการตรวจทานที่ ดี   ทุกอย่างในหนังสือต้องได้รับการตรวจสอบตั้งแต่หน้าปกตลอดจนจบเล่ม  หน้าปกสอดคล้องกับเนื้อเรื่องหรือไม่   

      มีความชัดเจนของรูปภาพ  สมจริง ภาพประกอบในเล่มก็ต้องสอดคล้องเช่นกัน  แต่ละตอนต้องสื่อให้ตรงกับ เนื้อเรื่อง หนังสือบางเล่มต้องดูว่าสมควรที่จะมีภาพประกอบหรือไม่  เพื่อ ไม่ให้จินตนาการของผู้อ่านสูญเสียไปจากเดิม   การบรรณาธิกรต้องรู้จักสังเกตรูปประกอบ  การจัดรูปเล่มให้เหมาะสม  การเรียงลำดับเนื้อเรื่อง ใช้ขนาดของตัวหนังสือให้เหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน  เพื่อ เป็นการถนอมสายตาของผู้อ่านไปในตัว เช่น การที่นำการบรรยายภาพไว้ข้างบนภาพเป็นสิ่งที่เกิดความซับซ้อนได้ควรเอาคำ บรรยายไว้ใต้ภาพทุกครั้งและอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพที่นำมาลงในเนื้อเรื่อง

      ภายในหนังสือจะต้องดูว่ามีความกลมกลืนระหว่างเนื้อเรื่องกับภาพประกอบหรือ ไม่ จัดเรียงเนื้อหาให้อยู่เป็นหมวดหมู่ไม่กระจัดกระจาย   อ่านแล้วลื่นไหล  ไม่สะดุด ตัวหนังสือที่พิมพ์บนกระดาษควรดูความเหมาะสมของสีของกระดาษ  หากสีกระดาษเข้มสีตัวหนังสือก็ควรจะสีอ่อน  หากสีกระดาษอ่อนสีหนังสือก็ควรจะเข้ม  ไม่ควรพิมพ์ตัวหนังสือลงบนภาพวาด  เพราะจะทำให้ไม่เห็นตัวหนังสือ  อ่านยาก และเป็นการทำลายภาพไปโดยปริยาย เรื่องการใช้ตัวอักษรก็เช่นกัน หาก ตัวหนังสือเป็นตัวหนาแล้วก็ไม่ควรขีดเส้นใต้  หรือในทางกลับกันถ้าขีดเส้นใต้ก็ไม่ควรทำตัวหนา ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นการเน้นข้อความเหมือนกัน

      หากลองนึกดูว่าถ้าในโลกนี้ไม่มีบรรณาธิการเป็นผู้คอยตรวจแก้สิ่งที่ผิดในหนังสือ ให้กลายเป็นสิ่งถูกและไม่มีการบรรณาธิกรหนังสือแล้วจะเกิดอะไรขึ้นหนังสือ ที่ผลิตออกมาจะเป็นเช่นไร อาจจะพูดได้ว่าหนังสือก็ยังคงมีรูปร่างสี่เหลี่ยม มีเนื้อหาที่ให้สาระ แต่สิ่งที่ขาดหายไปก็คือคุณภาพหรือคุณ ค่าของหนังสือ ผู้อ่านอาจจะได้สาระได้ความรู้จากเรื่องที่อ่านก็จริง แต่ความรู้ในเรื่องของการใช้ภาษา สำนวนคำสะกดต่างๆก็คงจะผิด เหมือนครูกับนักเรียน ถ้าหากว่าไม่มีครูซึ่งเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนขัดเกลาจิตใจ จิตสำนึกของนักเรียนแล้ว เด็กก็อาจจะเป็นเด็กที่ก้าวร้าวได้จมอยู่กับความคิดหรือการกระทำที่ผิด จริงอยู่การที่เด็กไม่มีครูคอยห้ามคอยอบรมสั่งสอน เขาก็จะได้รับการเรียนรู้ของเขาอย่างอิสระ อย่างเต็มที่ รู้มากแต่เขาจะรู้หรือไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิดเมื่อเขาไม่รู้ เขาก็จะคิดว่าทำอย่างนั้นมันถูกแล้วก็จะกลายเป็นการปลูกฝังความรู้สึกนึกคิด ของเขาให้เกิดความเข้าใจที่ผิดได้การทำหนังสือก็เช่นกันผู้เขียนเขาก็มีความ รู้ความเข้าใจในภาษา เข้าใจคำเข้าใจประโยคในแบบของเขา เขาไม่รู้หรอกว่าบางทีประโยค คำหรือสำนวนภาษาที่เขาเขียนขึ้นมานั้นมันผิดก็จะมีบรรณาธิการนี่แหละเป็นคน คอยแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม

      เพราะ วัตถุประสงค์ของการผลิตหนังสือถ้าไม่นับรวมในเรื่องของธุรกิจแล้วการผลิต หนังสือก็เพื่อให้ทุกคนได้อ่าน อ่านเพื่อที่จะได้รับความรู้นอกจากความรู้จากเนื้อหาในเรื่องแล้ววัตถุ ประสงค์ของการทำหนังสือในทางอ้อมก็คือเป็นการฝึก ปลูกฝังให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในภาษาได้อย่างถูกต้องไปในตัวเพราะเมื่อไรก็ ตามที่เขาหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเขาจะค่อยๆซึมซับสิ่งที่เขาอ่านไปเรื่อยๆ ถ้าหนังสือที่เขาอ่านเป็นหนังสือที่ดี  มีการใช้คำ ใช้ภาษาที่ถูกต้องเขาก็จะซึมซับเอาสิ่งดี สิ่งที่ถูกต้องเข้าไป เขาก็จะเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแต่หากเขาอ่านหนังสือที่ไม่ได้รับการตรวจ แก้  ไม่ได้รับการบรรณาธิกรอย่างในเรื่องของภาษาถ้าในหนังสือเล่มนั้นใช้ภาษาที่ ผิด  เขียนคำผิด สะกดผิดเขาก็จะซึมซับเอาสิ่งที่ผิดเข้าไปเช่นกัน

      การ บรรณาธิกรหนังสือไม่ได้ทำเพียงเพื่อที่จะให้หนังสือดูมีกระบวนการหรือวิธี การทำที่ยากแล้วใช้ข้ออ้างนี้เป็นข้อต่อรองในการตั้งราคาหนังสือแต่นั่นหมาย ถึงคุณภาพของคนในประเทศ หากหนังสือที่ทำนั้นดี มีคุณภาพคนในประเทศก็ย่อมที่จะมีคุณภาพตามไปด้วยแต่ในทางตรงกันข้ามหาก หนังสือที่ทำออกมาเป็นหนังสือที่ไร้คุณภาพนึกถึงแต่เรื่องธุรกิจเป็นสำคัญ สักแต่ว่าจะทำเพื่อให้ได้ขายคนในประเทศก็คงจะไร้คุณภาพเหมือนกับหนังสือ

      คุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี  นักเขียนเจ้าของนามปากกาสิงห์ สนาม หลวง และผู้ก่อตั้งรางวัลช่อการะเกดได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการวิจัยพฤติกรรม การอ่านของคนไทยและคนเวียดนามที่ปรากฏว่าคนเวียดนามอ่านหนังสือ 60 เล่มต่อคนต่อปี ในขณะที่คนไทยอ่าน 2 เล่มต่อคนต่อปีว่า

      “จากผลวิจัยว่า ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นตั้งข้อสงสัยว่าเรามีวัฒนธรรมการอ่านจริงหรือเปล่า เพราะวัฒนธรรมการอ่านมันควรจะเติบโตไปพร้อมกับวัฒนธรรมการพิมพ์เรามีหนังสือ มากมายหลากหลาย แต่มากกว่า 50% เป็นหนังสือขยะหนังสือที่ทำตามๆกันเป็นหนังสือที่หากินจากความอ่อนแอของคน  ที่ สำคัญงานทุกประเภทในสังคมบ้านเรานั้นถูกโยนเข้าตลาดในลักษณะที่ต้องวิ่งแข่ง กันหมดเพราะฉะนั้นถ้าใครสายป่านสั้นหรือทำหนังสือเฉพาะกลุ่มก็จะไม่มีวันยืน พื้นที่ได้ในระยะยาว บ้านเราไม่มีการจัดระบบหนังสือให้เป็น โครงสร้างที่ชัดเจน ทุกคนฟรี ตลาดเสรีลงทุนได้เหมือนกันหมด ฉะนั้นทุกคนก็จะพิมพ์หนังสือที่คิดว่าจะขายได้ส่งผลให้ตลาดมีหนังสือขยะ มากกว่า 50%และในเมื่อโครงสร้างมันเป็นอย่างนี้ก็แน่นอนว่าย่อมมีผลต่อคุณภาพการอ่าน และมีผลต่องานของนักเขียน ซึ่งต้องเขียนอะไรที่ขายได้ หรือสำนักพิมพ์รับพิมพ์”

      เห็น ได้ว่าการบรรณาธิกรหนังสือเป็นเรื่องที่จำเป็นหนังสือที่ผลิตออกมาหากไม่ได้ รับการบรรณาธิกรก็ไม่ต่างอะไรกับขยะที่นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังสร้างความเดือดร้อนให้กับมนุษย์เราด้วย การบรรณาธิกรหนังสือไม่ใช่เรื่อง ที่จะทำได้ง่ายๆผู้ที่จะบรรณาธิกรหนังสือได้ต้องมีความรู้ ความคิด  ความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆมีความละเอียดลออ  ประณีต  มีความสร้างสรรค์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้หาได้ในตัวคนทุกคน

      จรรยาบรรณของบรรณาธิการ

      (วัลยาวิวัฒน์ศร , ๒๕๔๗, หน้า ๓๗๖ อ้างอิงจาก มกุฎ อรฤดี, ๒๕๔๔)

      ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประเภทใดบรรณาธิการต้นฉบับต้องรับผิดชอบต่อต้นฉบับต่องานแปล และต่อผู้อ่านโดยมีจรรยาบรรณเป็นตัวกำหนด เช่น ไม่เปิดเผยการตรวจแก้ต้นฉบับต่อสาธารณะไม่อ้างความดีใส่ตนในการทำงานระวัง หลีกเลี่ยงการถ่ายทอดเนื้อหาที่อาจทำให้ผู้อ่านทำตามแล้วเกิดผลเสียอย่างคาด ไม่ถึงตามมาเช่น การฆ่าตัวตาย รายละเอียดการใช้ยาเสพติด เป็นต้นจรรยาบรรณของบรรณาธิการต้นฉบับอาจกำหนดได้ดังนี้

      ๑.ไม่อ้างความดีใส่ตนในการทำงานตรวจแก้ต้นฉบับบรรณาธิการต้นฉบับต้องยึดถืออย่าง เคร่งครัดว่าการตรวจแก้ต้นฉบับเป็นหน้าที่และความลับ เมื่อเป็นหน้าที่ก็ต้องทำให้ดีที่สุดและไม่ควรอ้างความดีความชอบในการทำ หน้าที่นั้น และยิ่งเมื่อเป็นความลับก็ต้องปิดบัง ไม่นำความไปแพร่กระจายให้ผู้อื่นรู้การอ้างความดีใส่ตัวโดยการป่าวประกาศ หรือบอกผู้อื่นว่าเพราะตนเป็นผู้ตรวจแก้ต้นฉบับเรื่องนั้น งานจึงออกมาดี นั่นเท่ากับบอกว่าเจ้าของต้นฉบับทำไว้ไม่ดีบรรณาธิการต้นฉบับต้องยอมรับ ตั้งแต่แรกที่เริ่มทำงานนี้ว่า งานบรรณาธิการต้นฉบับไม่ใช่งานที่จะหวังชื่อเสียงเกียรติยศได้เหมือนงานอื่น ในบางกรณีมิได้ระบุไว้ในหนังสือด้วยซ้ำว่าใครเป็นบรรณาธิการต้นฉบับในกรณี ที่สำนักพิมพ์บางแห่งระบุว่ามีบรรณาธิการต้นฉบับก็เพื่อยืนยันว่ามีการทำงาน เป็นระบบมีการตรวจสอบเพื่อให้หนังสือเล่มนั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์ดียิ่ง ขึ้นมิใช่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เขียนหรือผู้แปลการที่ เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้รับความสำเร็จ หรือกลายเป็นหนังสือมีชื่อเสียงโด่งดังบรรณาธิการต้นฉบับไม่อาจอ้างต่อ สาธารณะได้ว่าเป็นความสำเร็จของตนเว้นแต่ผู้เขียนหรือผู้แปลจะเป็นผู้ประกาศ หรือกล่าวถึงและการที่ผู้แปลหรือผู้เขียนกล่าวถึงบรรณาธิการต้นฉบับก็มิได้ ทำให้เกียรติยศศักดิ์ศรีของผู้เขียนหรือผู้แปลต้องตกต่ำลงแต่ประการใด

      ๒.ไม่เปิดเผยการตรวจแก้ต้นฉบับต่อสาธารณะบรรณาธิการต้นฉบับไม่มีสิทธิ์นำราย ละเอียดหรือหลักฐานการตรวจแก้ต้นฉบับไปเปิดเผยต่อสาธารณะเพราะอาจก่อให้เกิด ผลเสียแก่ผู้แปลหรือเจ้าของต้นฉบับได้หากน้ำเสียงของการเผยแพร่ข่าวเป็นไปใน ทางลบ การเปิดเผยรายละเอียดต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถทำได้ในกรณีที่ต้องอ้างต่อศาล หรือการเป็นพยานศาล หรือตามข้อบังคับของกฎหมาย

      ๓. ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลและสิ่งที่เกี่ยวข้องบรรณาธิการต้นฉบับ มีความรับผิดชอบอย่างยิ่งต่อสำนักพิมพ์ ผู้เขียนต้นฉบับเดิมผู้แปล ต้นฉบับแปล และประเทศชาติ ความรับผิดชอบใหญ่หลวงเหล่านี้เป็นสิ่งที่บรรณาธิการต้นฉบับจะต้องระลึกอยู่เสมอ

        

       

      การตรวจแก้ไขเนื้อหาของบรรณาธิการ

      การตรวจแก้ต้นฉบับ หมายถึงการตรวจแก้ข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจจะมีอยู่ในต้นฉบับที่ได้รับมา เช่นข้อบกพร่องด้านไวยากรณ์ ข้อบกพร่องด้านข้อเท็จจริง และข้อบกพร่องด้านตัวสะกดคำ(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๔, หน้า ๓๑๕) โดยพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้

      ๑. ความถูกต้องของเนื้อหาข้อเขียนทุกชิ้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อได้รับความเชื่อ ถือจากผู้อ่านดังนั้นเนื้อหาทางวิชาการที่ถูกต้อง ข้อมูล สถิติตัวเลขที่ตรงกับข้อเท็จจริงเป็นสิ่งจำเป็นที่บรรณาธิการจะต้องพิจารณา ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาสาระนี้นอกจากจะพิจารณาในเรื่องดังกล่าวแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่าเนื้อหาในต้นฉบับที่ได้รับนั้นล้าสมัยไปแล้วหรือยัง หากมีการอ้างอิงเพื่อสนับสนุนข้ออภิปรายต่างๆ ในงานเขียนนั้นๆต้องพิจารณาว่าข้อคิดเห็นดังกล่าวเป็นกลางหรือไม่ผู้เขียนมี อคติหรือลำเอียงในเรื่อง เพศ เชื้อชาติ ศาสนาหรือไม่ เป็นต้น

      ๒. ความเหมาะสมของเนื้อหาพิจารณาได้จากความยากง่ายของเนื้อหาสาระว่าเหมาะสมกับ ผู้อ่านทั้งในแง่วัยวุฒิประสบการณ์ และพื้นฐานความรู้เดิมการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวนี้บรรณาธิการจะต้องสมมติ ตนเองเป็นกลุ่มเป้าหมายของผู้อ่านตามวัตถุประสงค์ของงานเขียนชิ้นนั้นนอกจาก นี้ รูปแบบและวิธีการเสนอเนื้อหาก็จำเป็นที่จะต้องใช้ให้เหมาะสมเพราะสิ่งเหล่า นี้มีส่วนสัมพันธ์กับคุณลักษณะของผู้อ่านและลักษณะของเนื้อหาสาระด้วย

      ๓.ความ ถูกต้องในการอ้างอิงงานของผู้อื่น การตรวจสอบในเรื่องนี้ จะต้องเป็นผู้พิจารณาในฐานะที่เป็นตัวแทนของผู้จัดพิมพ์ว่าผู้เขียนมิได้ ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นด้วยการนำผลงานของผู้อื่นมาคัดลอกตัดต่อเป็นของตน เองดังนั้นบรรณาธิการจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์สำหรับในกรณี ที่ผู้เขียนอ้างอิงข้อมูลต่างๆจากผลงานของผู้อื่นบรรณาธิการต้องตรวจดูว่า ผู้เขียนได้อ้างอิงผลงานชิ้นนั้นหรือไม่ และถูกต้องหรือไม่โดยทั่วไปการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอก มาโดยตรงนำแนวคิดของเขามาปรับปรุงเขียนใหม่ หรือใช้ตาราง แผนภูมิ รูปภาพก็จะต้องอ้างอิงถึงแหล่งที่มาทั้งสิ้นยกเว้นในกรณีที่อ้างถึงข้อเท็จ จริงที่เป็นที่ทราบกันทั่วไป เช่น โลกกลม สูตร HOหมายถึง น้ำ เป็นต้น

      วิธีการอ้างอิงงานของผู้อื่นใช้วิธีการลงรายการเชิงอรรถและบรรณานุกรมเพื่อ บอกรายละเอียดของเอกสารที่นำมาใช้ว่าผู้เขียนคือใคร ชื่อเรื่องที่อ้างอิงคืออะไร พิมพ์ที่ไหน เมื่อไร หน้าอะไรการลงรายการเชิงอรรถ และบรรณานุกรมนี้ นอกจากจะเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนแล้วยังเป็นการช่วยผู้อ่านที่ต้องการ จะค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปจะได้ติดตามหาอ่านได้สะดวกนอกจากนี้ความใหม่และทัน สมัยของเอกสารอ้างอิงยังแสดงให้เห็นถึงความทันสมัยของเนื้อหาสาระด้วย

      ๔. ความถูกต้องในเชิงกฎหมายเนื้อหาสาระในงานเขียนบางเรื่อง ข่าว หรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับ สถาบันหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด อาจมีลักษณะละเมิดสิทธิ หมิ่นประมาทผู้อื่นดังนั้นในการตรวจแก้เนื้อหาสาระบรรณาธิการจะต้องพิจารณา ในประเด็นนี้ด้วยข่าวหรือข้อเท็จจริงบางอย่างแม้จะเป็นความจริงก็ไม่อาจนำลง เผยแพร่ได้ เพราะอาจผิดกฎหมายในเรื่องของการละเมิดสิทธิหรือขัดต่อความมั่นคงของประเทศ ชาติเป็นต้น (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , ๒๕๓๔หน้า ๔๖๙-๔๗๓)

       

      วิเคราะห์ประเภทของบรรณาธิการในบทเรียนเรื่องบก. ที่รัก

      ในเรื่อง บ.ก. ที่รัก จะมีจดหมาย 2 ฉบับ คือจดหมายที่ น้องส้ม ส่งถึงคุณป้า บก. ที่เคารพรัก และ ที่คุณกรรณิการ์  ศึกษาดี ส่งถึงบรรณาธิการวารสารชวนเที่ยว ซึ่งแต่ละอันเป็นการส่งถึงบรรณาธิการเหมือนกันซึ่งเราจะมาวิเคราะห์ประเภทของบรรณาธิการในบทเรียนเรื่องบก. ที่รัก

      จดหมายแรกเป็นจดหมายที่น้องส้ม ส่งถึงคุณป้า บ.ก. ที่เคารพรักเป็นจดหมายที่บรรยายเกี่ยวกับกิจกรรมที่น้องส้มทำมา เช่น ใน วันปิดเทอมใหญ่ขณะวันสงกรานต์น้องส้มได้ไปประกวดหนูน้อยสงกรานต์ ไปทำบุญ ไปเล่นน้ำสงกรานต์และมีความสุขมากๆ และยังได้อธิบายถึงเพื่อนรักของเขา ที่มีชื่อว่า กุ๊กไก่และแมวถึงคุณป้า บ.ก. (บรรณาธิการ) ที่เคารพรัก

      ซึ่งในจดหมายนี้ไม่ได้กล่าวถึงคุณป้าบ.ก. ที่เคารพรัก แต่อย่างใด เป็นเพียงแค่ บรรยายให้คุณป้าฟัง ฉะนั้นจึงสรุปไม่ได้ว่าเป็นประเภทใด

      จดหมายฉบับที่2 เป็นจดหมายที่คุณกรรณิการ์  ศึกษา ดีส่งถึงบรรณาธิการวารสารชวนเที่ยว ซึ่งเป็นจดหมายที่บรรยายเกี่ยวกับการสั่งซื้อหนังสือที่เกี่ยวกับสถานที่ ท่องเที่ยวในตราด ว่ามีหนังสือหรือเปล่าซึ่งครอบครัวเขาจะไปกันแต่ไม่ค่อยรู้สถานที่ท่อง เที่ยวในตราด

      บรรณาธิการ ที่กล่าวมานี้น่าจะเป็นบรรณาธิการต้นฉบับเพราะบรรณาธิการรูปเล่มมีหน้าที่ ตรวจสอบแก้ไข ปรับปรุงให้เข้ากับตามรูปแบบหนังสือส่วนบรรณาธิการต้นฉบับ มีหน้าที่ ตรวจสอบคำ ไวยากรณ์ และ ความหมายว่าถูกต้องตามที่ผู้เขียนจะสื่อ หรือเปล่า ซึ่งบรรณาธิการต้นฉบับก็น่าจะรู้เนื้อหามากกว่าบรรณาธิการรูปเล่มซึ่งก็จะ สามารถหาหนังสือของผู้ที่จะซื้อได้

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×