ดังนั้น ใน 1 ปี จะมีวันเท่ากับ 365 วัน กับอีกเศษหนึ่งส่วนสี่วัน เมื่อถึงรอบ 4 ปี ก็จะรวมกันเป็น 1 วัน ถ้าปีไหนเป็นปีที่เวลาเศษหนึ่งส่วนสี่วันรวมกันครบ 1 วันพอดี วันที่เพิ่มขึ้นจะเอาไปอยู่ในเดือนก.พ. จึงทำให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน
วันเพิ่มเข้ามาในปีอธิกสุรทินเพื่อทำให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล เนื่องจากฤดูกาลและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ไม่ได้นับเป็นจำนวนวันที่ลงตัวได้ในปฏิทินเกรกอเรียน ในปฏิทินสุริยคติไทยในปัจจุบันจะเพิ่มวันในเดือนกุมภาพันธ์ให้มี 29 วัน ในปีที่เป็นปีอธิกสุรทิน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินมี 366 วัน ส่วน ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะกำหนดให้เดือนซุล ฮิจญะหฺ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายมี 30 วัน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺมี 355 วัน
การคำนวณว่าปีใดในระบบคริสต์ศักราชเป็นปีอธิกสุรทินหรือไม่ ให้หารปีนั้นด้วย 4 หากหารลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน นอกจากปีที่ลงท้ายด้วยเลขร้อย ต้องหารด้วย 400 หากหารลงตัวจะเป็นอธิกสุรทิน เช่น ค.ศ.2004 หารด้วย 4 ลงตัว ก็จะเป็นปีอธิกสุรทิน เว้นแต่ปีนั้น หารด้วย 4 และ 100 ลงตัว ปีนั้นจะไม่เป็นปีอธิกสุรทิน เช่น ค.ศ.400 ค.ศ.4000
หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้าปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 100 ลงตัว ให้เป็นปีปกติสุรทิน แต่ถ้าปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 400 ลงตัว ให้เป็นปีอธิกสุรทิน จึงทำให้ ค.ศ.1800, 1900, 2100, 2200 เป็นปีปกติ สุรทิน แต่ ค.ศ.1600, 2000, 2400 เป็นปีอธิกสุรทิน
ส่วนคนที่มีวันเกิด 4 ปีหนึ่งหนนั้น สำนักทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยให้นับอายุตามปีเกิดเหมือนคนที่เกิดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ทั่วไป ไม่ใช่ 4 ปีถึงจะเพิ่มอายุ 1 ปี
อ.บุศรินทร์ ปัทมาคม ผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์บอกว่าคนที่เกิดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ไม่ได้มีดวงพิเศษกว่าคนอื่นๆ เพียงแต่ 4 ปีมีวันที่ตรงวันเกิดเท่านั้น ในทางโหราศาสตร์ จะต้องดูในรายละเอียดว่าเกิดเวลาไหนเพราะสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เวลาเกิด แม้กระทั่งคนเกิดวันเดียวกัน แต่ต่างเวลากันก็ทำให้ดวงเปลี่ยนไปได้ตามดวงดาว
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
ความคิดเห็น