การมีสมาธิคือการมีจิตใจจดจ่อในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ การมีสมาธิจะช่วยให้เราทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เทคนิคการสร้างสมาธิ มีจิตใจจดจ่อในงานที่ทำเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กในวัยเรียน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีสมาธิ
• มีความสงบสุขภายใน
• มีความจำที่ดีขึ้น
• เราสามารถควบคุมความคิดได้
• มีความเชื่อมั่นไมตนเอง
• มีพลังภายใน
• มีพลังแห่งความเต็มใจ
• มีความสามารถในการตัดสินใจ
• มีความสามารถในการศึกษาและมีความเข้าใจอะไรง่ายขึ้นกว่าเดิม
• ทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน
• ไม่หมกมุ่นกับสิ่งที่ไม่ดีในอดีตที่ผ่านมา
• มีสายตาและจินตนาการที่กว้างไกลและมีประสิทธิภาพ
• เป็นอิสระจากความคิดที่รบกวน
• บังคับตัวเองให้คิดในสิ่งที่ดี
• มีจิตวิญญาณที่ดี
ฝึกให้มีสมาธิจดจ่อเริ่มต้นอย่างไร
1. หาที่ ๆ เราสามารถอยู่ลำพังและปราศจากสิ่งรบกวน
2. จะนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งที่เก้าอี้ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราชอบแบบไหน
3. นั่งหลังตรงเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมาภายหลัง
4. หายใจเข้าออกลึก ๆ 2-3 ครั้งเพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย
5. เอาใจไปจดจ่อกับกล้ามเนื้อที่ละจุด และผ่อนคลาย วิธีง่าย ๆ คือคิดถึงกล้ามเนื้อแต่ละจุด จากคอไปถึงเท้า เอาจิตไปจดจ่อและผ่อนคลาย หรือเกร็งกล้ามเนื้อส่วนนั้นประมาณ 2-3 วินาที และผ่อนคลาย สัมผัสถึงความสบายนั้น เป็นการสร้างความสงบภายในอย่างหนึ่ง
6. ฝึกทำกิจกรรมเหล่านี้เป็นประจำทุกวัน
กิจกรรมการสร้างสมาธิ
แบบฝึกสมาธินี้สามารถทำได้ง่าย ๆ หากเราอ่านอย่างตั้งใจและปฏิบัติตาม โดยเริ่มจากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. หยิบหนังสือมาหนึ่งเล่มนับจำนวนพยางค์ในย่อหน้าใด ย่อหน้าหนึ่งก็ได้ นับครั้งที่สองเพื่อให้แน่ใจว่าที่นับมานั้นถูกต้อง เริ่มด้วยการนับเพียงย่อหน้าใดย่อหน้าหนึ่งแล้วเพิ่มเป็นหนึ่งหน้า เริ่มการนับโดยการใช้สายตาเท่านั้นแล้วนับในใจ
2. นับกลับจาก 100 ถึง 1
3. นับในใจจาก 100 ถึง 1 หยุดเมื่อนับกลับมา 3 ตำแหน่ง เช่น 100, 97,94 ,91 เป็นต้น
4. เลือกคำที่ให้กำลังใจ หรือเสียงเพลงง่าย ๆ พูดคำนั้นหรือร้องเพลงนั้นอออกมาในใจซ้ำ ๆ กันประมาณ 5 นาทีเมื่อเริ่มทำคล่องแล้วเปลี่ยนเป็น 10 นาที
5. เลือกผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น มะม่วง แล้วสังเกตอย่างรอบด้าน มีสมาธิจดจ่อและสำรวจรูปทรงทุกแง่ทุกมุม อย่าวอกแวกให้คิดถึงมะม่วงอย่างเดียว มอง สำรวจ ดม และสัมผัส
6. ทำกิจกรรมในข้อ 5 อีกครั้ง แต่คราวนี้ใช้วิธีการปิดตา โดยเริ่มทำกิจกรรมข้อ 5 ก่อน 5 นาทีแล้วเริ่มทำใช้วิธีการหลับตา พยายาม สัมผัส รู้สึก รับรู้ และดมผลไม้นั้นโดยไม่ใช้สัมผัสทางตา
7. เลือกอุปกรณ์ง่ายๆ เช่น ช้อน ส้อม หรือแก้ว มีสมาธิจดจ่อโดยการมองวัสดุนั้นรอบทิศทางโดยไม่พูดอะไรออกมา คิดอยู่ในใจไม่คิดออกมาเป็นคำพูด
8. วาดรูปทรงเรขาคณิตโดยมีขนาดประมาณ 3 นิ้ว เช่นรูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า วงกลม ระบายสีโดยใช้ความรู้สึก และมีสมาธิในรูปทรงนั้น เพียงแต่มองแต่ไม่ออกเสียงคำพูดใดออกมา ให้รูปทรงนั้นคงอยู่ในสายตาและความคิด เฝ้ามองรูปทรงนั้น ไม่ขึงตา หรือเครียด
9. ทำกิจกรรมข้อ 8 อีกครั้งโดยใช้วิธีคำเป็นมโนภาพ ปิดตา หากลืมให้เราแอบเปิดตาดูได้
10. ทำกิจกรรมข้อ 9 อีกครั้งแต่ใช้วิธีลืมตา
11. ใช้เวลาประมาณ 3 นาทีอยู่นิ่ง ๆ โดยไม่คิดอะไรเลย
ที่มา http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000041439
ความคิดเห็น