sagime
ดู Blog ทั้งหมด

อาวุธทหารสมัยใหม่ไม่เสียเลือด "ปืนหยุดพูด-รังสีอ้วก-กระสุนซอมบี้"

เขียนโดย sagime

          แม้อาวุธนำสมัยต่างๆในภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์เช่นดาบเรืองแสงหรือปืนเลเซอร์จะยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่ปัจจุบันมีอาวุธหลายอย่างที่พัฒนาขึ้นจากนิยายวิทยาศาสตร์และมีใช้ในโลกความเป็นจริงความจริงแล้ว


 

 
ตัวอย่างอาวุธชิ้นแรกที่ดัดแปลงมาจากนิยายวิทยาศาสตร์เรียกว่า “ปืนยับยั้งการพูด” ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขึ้น ลักษณะการใช้ก็ง่ายๆคือเวลาไม่อยากได้ยินใครพูดมากยืดยาวก็เพียงแค่เล็งปืนที่ว่านี้ไปที่คนๆนั้นแล้วเหนี่ยวไก ลำโพงที่ติดอยู่ที่ปืนจะทำหน้าที่เก็บเสียงของคนๆนั้นไว้แล้วสะท้อนออกมาช้ากว่าเดิม 0.2 วินาที ทำให้ผู้พูดได้ยินเสียงตัวเองสะท้อนดังก้องอยู่ในหัว ขัดขวางความคิดและการเรียงลำดับคำพูดทำให้ผู้พูดต้องหยุดพูดในที่สุด ซึ่งอาวุธชนิดนี้อาจนำมาใช้ได้กับคนที่ชอบพูดในห้องสมุด แต่ก็เกรงกันว่ารัฐบาลประเทศต่างๆอาจนำมาใช้กับบรรดาผู้ประท้วงให้เงียบเสียงลงได้เช่นกัน


 


อาวุธแบบที่สองเป็นอาวุธที่ทำให้พูดไม่ออกเช่นกันแต่ไม่ใช่เพราะสับสนหรือมึนงง แต่เป็นเพราะอาวุธที่เรียกว่า “รังสีอาเจียน” นี้จะทำให้ผู้ถูกยิงรู้สึกปั่นป่วนในท้อง ทรงตัวไม่อยู่และต้องอาเจียนออกมาไม่หยุดจนไม่มีเวลาพูด บริษัท Invocon ในสหรัฐเป็นผู้ผลิตอาวุธชนิดนี้ให้กับกองทัพเรือสหรัฐเมื่อ 5 ปีก่อนและยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน

จากรังสีอาเจียนมาถึง “รังสีแห่งความเจ็บปวด” หรือที่เรียกกันในชื่อ Active Denial System (ADS) ซึ่งกองทัพสหรัฐเป็นผู้พัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องยิงรังสีเคลื่อนที่ติดกับยานพาหนะทหารเพื่อปล่อยคลื่นรังสีพลังงานสูงออกมาแบบเดียวกับที่ใช้กับเตาอบไมโครเวฟ ทำให้ผู้ถูกยิงรู้สึกเจ็บปวดแสนสาหัส รังสีความเจ็บปวดนี้เคยถูกนำมาใช้ในสงครามที่อาฟกานิสถานเมื่อ 2 ปีก่อนแต่ยกเลิกไปในเวลาเพียงหนึ่งเดือน ยังไม่เคยมีรายงานว่ามีใครตกเป็นเป้าของอาวุธที่ว่านี้เลย


 


อาวุธที่ดัดแปลงมาจากนิยายวิทยาศาสตร์แบบที่ 4 เรียกว่า “ปืนควบคุมความคิด” ซึ่งทำให้คนที่ถูกยิงไม่สามารถควบคุมความคิดตัวเองได้เนื่องจากรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจากปืนชนิดนี้จะเข้าไปโจมตีระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นผู้ถูกยิงจะสูญเสียความคิดระยะหนึ่งและอาจถูกป้อนข้อมูลให้ทำอะไรก็ได้เหมือนหุ่นยนต์ ซอมบี้หรือผีดิบ รัฐบาลรัสเซียเคยออกมายอมรับว่าสามารถคิดค้นพัฒนาปืนแบบนี้ได้แล้วจึงเกรงกันว่าอาจถูกนำมาใช้ในการปราบปรามผู้ประท้วงได้เช่นกัน


ที่มา VOA News.com

Credit  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น