ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #109 : รู้หรือไม่ "ฃ กับ ฅ หายไปตั้งแต่เมื่อไหร่"

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.49K
      2
      16 ม.ค. 52

             รศ. ดร. คุณหญิงสุริยา  รัตนกุล ผู้เขียนหนังสือ ฃ, ฅ  หายไปไหน ? ได้ศึกษาความเป็นมาของพยัญชนะทั้งสองตัวนี้ และชี้ให้เห็นว่า หากเริ่มนับตั้งแต่ที่พบ ฃ, ฅ ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยเป็นครั้งแรก  จนถึงการประกาศเลิกใช้  ฃ, ฅ  ในปทานุกรม พ.ศ.  ๒๔๗๐  และพจนานุกรม  พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเกณฑ์ พยัญชนะทั้งสองมีที่ใช้อยู่ในภาษาไทยนานถึง ๗๐๐ ปี หากแต่อัตราการใช้ และความแม่นยำที่ใช้แตกต่างกันไปตามยุคสมัย

              เดิม ฃ, ฅ เป็นพยัญชนะแทนเสียงซึ่งเคยใช้กันมาแต่เดิม(ซึ่งแตกต่างจากเสียง ข และ ค) แต่เสียงนี้ได้หายไปในระยะหลังเป็นเหตุให้พยัญชนะทั้งสองตัวหมดความสำคัญลงในภาษาไทย
    ปัจจุบัน  
    เมื่อครั้งที่มีการประดิษฐ์พิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ผู้ประดิษฐ์ได้ตัดตัว ฃ, ฅ  ทิ้งไป ด้วยเหตุว่าพื้นที่บนแป้นพิมพ์ดีดไม่เพียงพอ และยังให้เหตุผลว่าเป็นพยัญชนะที่  “ไม่ค่อยได้ใช้และสามารถทดแทนด้วยตัวพยัญชนะอื่นได้”

             นี่อาจเป็นครั้งแรกที่พยัญชนะ ฃ, ฅ ถูก “ตัดทิ้ง” อย่างเป็นทางการ ส่วนครั้งต่อ ๆ มาก็คือการประกาศงดใช้ ฃ, ฅ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อครั้งปรับปรุงภาษาไทยให้เจริญก้าวหน้าในยุครัฐนิยม รวมถึงการประกาศเลิกใช้ในปทานุกรมและพจนานุกรมดังกล่าวแล้ว

             มีข้อน่าสังเกตว่า  แต่ก่อนพยัญชนะ ฅ  ไม่ได้ใช้ในคำว่า คน เลย (ฅ ใช้ในคำ ฅอ ฅอเสื้อ เป็นอาทิ) ความสับสนในเรื่องนี้คงเกิดมาจาก ก ไก่ คำกลอน ผลงานของครูย้วน ทันนิเทศ (ในหนังสือแบบเรียนไว เล่ม ๑ ตอนต้น, พ.ศ. ๒๔๗๓) ที่แต่งว่า  “ฅ  ฅนโสภา” แล้วต่อมาหนังสือ ก ไก่ ฉบับประชาช่าง ก็แต่งว่า  “ฅ ฅนขึงขัง” ซึ่งเป็น ก ไก่ คำกลอนฉบับที่คนรุ่นปัจจุบันคุ้นเคยที่สุด แล้วก็เลยพลอยเข้าใจว่า ฅ  ใช้ในคำว่า คน

    “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี” 

    ภาพประกอบจาก http://www.pibul.ac.th/wordpress/wp-content/uploads/2007/08/21.JPG


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×