ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #161 : รู้หรือไม่ "ลายพรางบนชุดของทหารเค้าออกแบบกันอย่างไร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.06K
      0
      8 มิ.ย. 52



               ลายบนชุดพรางหรืออุปกรณ์ทางทหารอื่น ๆ ไม่ได้สักแต่ว่าทำขึ้นมาอย่างไม่มีแบบแผน ที่สหรัฐอเมริกา คนหลายคนหาเลี้ยงชีพด้วยการออกแบบลายและสีของชุดพรางเหล่านี้ นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งที่ศูนย์ประวัติศาสตร์ทางทหารของกองทัพสหรัฐเคยกล่าวไว้ว่า ถ้าเป็นแบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป ก็ไม่เรียกว่าชุดพราง

    ตัวแปรสำคัญที่สุดสองตัวแปรที่ใช้ในการออกแบบลายพราง  คือ  เฉดสีและลักษณะของลาย การพรางกองทัพในทะเลทรายและในป่าต้องใช้สีสันที่แตกต่างกัน ส่วนลักษณะของลายมีความสำคัญมากในการออกแบบวัตถุใหญ่ ๆ เช่น รถทหารนายเทอร์รี  คัมเมอร์ฟอร์ด นักเคมีวิจัย ซึ่งทำหน้าที่ทดสอบลายพรางสำหรับเครื่องแบบที่ใช้ในสงครามเล่าว่า สีของลายพรางพัฒนาขึ้นมาจากตัวอย่างและรูปภาพของดินในแต่ละบริเวณ

    นักวิจัยใช้กล้องวีดิทัศน์ และเครื่องมือวิเคราะห์ผืนดินซึ่งออกแบบและเป็นลิขสิทธิ์ของกองทัพสหรัฐฯ  ถ่ายภาพพื้นดินแถบที่ต้องการ  และส่งข้อมูลสีเข้าไปในคอมพิวเตอร์  การวิเคราะห์นี้ละเอียดอย่างไม่น่าเชื่อ  คอมพิวเตอร์สามารถระบุสีนานาของใบไม้บนต้นไม้ และเฉดสีที่ต่างกันของเปลือกไม้ได้จากนั้นโปรแกรมที่คิดขึ้นมาเป็นพิเศษจะแยกแยะผืนดินออกเป็นห้าสีห้าแบบที่เด่นชัด

    ลายพรางสามารถสร้างขึ้นมาจากสองสีสี่แบบ  หรือสี่สีสองแบบ  แล้วแต่ความต้องการของกองทัพ  บ่อยครั้งที่กองให้คอมพิวเตอร์ออกแบบตัวอย่างชุดพรางมาหลาย ๆ แบบ แล้วนำไปทดสอบใช้ เพื่อดูว่าพรางได้มากน้อยแค่ไหน

    ในปัจจุบัน กองทัพสหรัฐฯ มีชุดพรางสำหรับการรบทั่วไปสองชนิด  คือ  สำหรับรบในป่า และรบในทะเลทราย ส่วนชุดพรางสำหรับเขตขั้วโลกเหนือนั้นเป็นชุดสีขาวล้วนนอกจากนี้ยังมีแบบสำหรับพรางยานพาหนะทางทหารด้วยลายพรางยานพาหนะใหญ่ ๆ มักวาดด้วยมือ ในขณะที่ลักษณะลายของชุดพรางมักเป็นดวง ๆ ปื้น ๆ ลายพรางของเรือรบมักเป็นรูปเรขาคณิต ทั้งนี้เพื่อเลียนแบบเหลี่ยมมุมของคลื่นในมหาสมุทร


    “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี” 
    ภาพประกอบจาก http://61.19.248.235/uploads/4a5765238c.jpg

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×