ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #207 : รู้หรือไม่ "ทำไมคนเราต้องปิดปากเวลาหาว"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.39K
      2
      7 พ.ย. 52


       ประเพณีวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่เราประพฤติกันมาและอธิบายว่าเพื่อ 'มารยาท' นั้น หลายอย่างทีเดียวที่เกิดจากความเชื่อ และความเชื่อก็มักเกิดจากความรู้สึกกลัวต่อสิ่งที่อธิบายด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้

              ความตายดูเหมือนจะเป็นแหล่งที่มาของความเชื่อทั้งหลายทั้งปวงมากกว่าเรื่องอื่น  แม้แต่มารยาทในเรื่องการหาวซึ่งดูไม่น่าเกี่ยวข้องอะไร แต่ก็เกี่ยวจนได้

              ฝรั่งสมัยโบราณเชื่อว่า  การหาวทำให้วิญญาณออกจากร่างฉะนั้นเวลาหาวต้องเอามือปิดปากไว้ ไม่ให้วิญญาณหนีไป เหมือนกับที่เราเชื่อว่าขวัญหนี เพียงแต่ขวัญหรือวิญญาณของเราออกจากกระหม่อม ไม่ได้ออกทางปาก

              เขาให้ข้ออธิบายว่า เพราะสมัยนั้นเด็กเกิดมาแล้วมักจะเสียชีวิต เมื่อสังเกตดูจะเห็นเด็กหาวทันทีที่เกิด (ซึ่งอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าเป็นปฏิกิริยาธรรมชาติที่จะสูดเอาออกซิเจนเข้าปอด) จึงเข้าใจว่าการหาวทำให้เสียชีวิต

              และแน่นอนว่าเด็กนั้นเวลาหาวแล้วปิดปากตัวเองไม่ได้  แพทย์สมัยโรมันจึงแนะนำให้แม่นั่งเฝ้าเป็นพิเศษในช่วงเดือนแรก ๆ ที่คลอดออกมา เพื่อคอยปิดปากลูกน้อยของตน

              ปัจจุบันมีมารยาทเรื่องการหาวเพิ่มอีกว่า ให้หันหน้าไปทางอื่น แต่การแสดงความสุภาพก็มักไม่ได้บอกที่มาของประเพณีการปฏิบัติหรือการขอโทษหลังหาว ที่มาของเรื่องนี้มีว่า คนสมัยโบราณสังเกตเห็นว่าการหาวติดต่อถึงผู้อื่นได้  คนหนึ่งหาวคนที่อยู่ใกล้ ๆ กันก็มักจะหาวตาม ดังนั้นถ้าการหาวเป็นอันตรายต่อผู้หาว อันตรายนี้ย่อมติดไปถึงผู้อื่นด้วย เหมือนกับการแพร่เชื้ออหิวาตกโรค  การขอโทษจึงเป็นการแสดงความเป็นญาติดีกับทูตมรณะ

              วิทยาศาสตร์สมัยใหม่อธิบายการหาวว่าเป็นความต้องการออกซิเจนขึ้นมาอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะตอนเพิ่งตื่น  ตอนที่ร่างกายเหน็ดเหนื่อย  และเวลาออกกำลังมาก ๆ ในช่วงแรก แต่สรุปไม่ได้ว่าเหตุผลด้านร่างกายจะเกี่ยวข้องกับการหาวที่ติดต่อกันด้วยเรารู้แต่เพียงว่าภาพที่เห็นคนกำลังหาวจะส่งไปยังศูนย์รับภาพของสมองและส่งต่อไปศูนย์ประสาทการหาว แต่ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเป็นคำถามที่ยังมีคนในปัจจุบันเหมือนดังเช่นที่คนสมัยโบราณไม่รู้ว่าทำไมจึงหาว

    “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี” 

    ที่มา สนุกดอทคอม
    ภาพประกอลบจาก http://variety.teenee.com/foodforbrain/img0/21452.jpg

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×