ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #213 : รู้หรือไม่ "กฤษณากลั่นคืออะไร"

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 609
      0
      2 ธ.ค. 52


    กฤษณาเป็นส่วนของเนื้อไม้ที่มีสีดำ เกิดจากเมื่อต้นไม้มีแผล พบในต้นไม้หลายชนิด หรือเป็นชื่อที่ใช้เรียกต้นไม้บางชนิด

              กฤษณาเป็นไม้หอมที่มีคุณค่ามาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ครั้งพุทธกาล  เป็นหนึ่งในของหอมธรรมชาติ ๔ อย่าง ที่เรียกว่า จตุชาติสุคนธ์ ใช้เผาและประพรมในพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นเครื่องประทินผิวและใช้เข้าเครื่องยาหอมมาแต่อดีตรวมทั้งส่งเป็นเครื่องราชบรรณาการและเป็นสินค้าออกที่ขึ้นชื่อของสยาม  ถึงขนาดที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ผูกขาดการค้าไม้กฤษณา ให้ซื้อขายจากหลวง และได้ผูกขาดต่อเนื่องทำรายได้ให้แก่ประเทศชาติมาหลายยุคหลายสมัย เพิ่งจะมายกเลิกในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้กฤษณาถูกลักลอบโค่นลงเป็นจำนวนมากจนแทบจะสูญพันธุ์ เพื่อนำแก่นไม้หอมอันมีราคาสูงกลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยนำไปจำหน่ายยังประเทศกลุ่มอาหรับที่นิยมใช้น้ำมันหอมนี้ทาตัว  ถือเป็นเครื่องประทินผิวและป้องกัน  แมลงต่าง ๆ ได้อย่างดี  ในยุโรปจะสั่งซื้อน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณาไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอาง กฤษณาส่วนที่คุณภาพต่ำจะนำไปใช้ทำยาและกลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย ส่วนที่เหลือคือกากจะนำไปทำธูปหรือยาหอมประโยชน์อื่น ๆ ของกฤษณา คือ นำไปทำลูกประคำ และหีบใส่เครื่องเพชร

              กฤษณากลั่น เป็นตำรายาที่เข้ากฤษณา ใช้บำบัดอาการปวดท้อง ท้องเสีย จุกเสียด ฯลฯ ส่วนยาหอมที่เข้ากฤษณามีสรรพคุณแก้ลม วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ ฯลฯ ในตำรายาจีน กฤษณาเป็นยาชั้นดีเล่ากันว่าทางตอนใต้ของจีนมีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อ แปะมักเฮียง  เมื่อถูกฟัน  มดจะมารุมเกาะที่รอยแผล  ไม้นั้นจะขับยางออกมาเป็นก้อน  หลังจากนั้นอีก  ๑๐ - ๒๐ ปี  ยางนั้นจะเป็นสีดำ  เมื่อนำยางนี้ใส่ลงในน้ำจะจม แล้วส่งกลิ่นหอม เนื้อไม้ที่มียางจับเป็นก้อนแข็งนั้นคือกฤษณา  กฤษณาจีนมีรสเผ็ดขม  นอกจากจะมีสรรพคุณคล้ายกับกฤษณาของไทยแล้ว ยังเชื่อว่าช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศของชายด้วย

    “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี” 
    ภาพประกอบจาก http://media.photobucket.com/image/%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A4%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2593%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B1%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2599/mongkonrut_2007/ad2490-1.jpg



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×