ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #59 : รู้หรือไม่ "เกณฑ์ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง"

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 871
      0
      11 ก.ย. 51

                ความขัดแย้งกรณีการขึ้นทะเบียน "ปราสาทพระวิหาร" ชาย แดนไทย-กัมพูชา เป็นมรดกโลก ได้รับความสนใจในแง่มุมที่หลากหลาย ทั้งด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ประวัติศาสตร์ โบราณ คดี และประเด็นว่าการเสนอชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมีขั้นตอนอย่างไร

              การประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นไปตาม "อนุสัญญามรดกโลก" หรืออนุสัญญาเกี่ยวกับการปกป้องวัฒนธรรมโลกและมรดกธรรมชาติ เมื่อปีค.ศ.1970 ภายใต้การอุปถัมภ์ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เพื่อให้ประชาคมระหว่างประเทศมีส่วนร่วมในการพิทักษ์ ดูแลรักษาวัฒนธรรมโลก หรือมรดกธรรมชาติ มิให้สูญหายหรือเสื่อมสภาพไป ซึ่งการดูแลรักษามรดกโลกนี้อาจทำได้ไม่เต็มที่ หากภาระนี้ตกแก่ประเทศใดประเทศหนึ่ง

               เนื่องจากการดูแลรักษาต้องอาศัยค่าใช้จ่ายจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องอาศัยเครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้ประชาคมระหว่างประเทศดูแลรักษามรดกโลกทำได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    แต่อนุสัญญามรดกโลกนี้ยังเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐสมาชิกอยู่ เพราะการจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของรัฐสมาชิก ที่จะเสนอเรื่องให้ "คณะกรรมการมรดกโลก" พิจารณา ว่าเข้าเกณฑ์พิจารณามรดกโลกทางวัฒนธรรม 6 ข้อ หรือเกณฑ์สำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติ 4 ข้อ ในข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่

                 เกณฑ์ทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย

    1.เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอก ที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้าง สรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์

    2.เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมา ในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรม หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลก ทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

    3.เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรม ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือสาบสูญไปแล้ว

    4.เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้าง อันเป็นตัวแทนของการพัฒนาด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยา ศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

    5.เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒน ธรรมตามกาลเวลา

    6.มีความคิดหรือความเชื่อ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

    เกณฑ์มรดกโลกธรรมชาติ ประกอบด้วย

    1.เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทน ในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก

    2.เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยน แปลงที่สำคัญ ทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยาและปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได

    3.เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

    4.เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

    รวมถึงระบบนิเวศ อันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


    ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด
    ภาพประกอบจาก http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/326/2326/images/pic60.jpg

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×