ninggdestiny
ดู Blog ทั้งหมด

มิติแห่งศาสตร์บูรณาการ

เขียนโดย ninggdestiny

อ้างอิง วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรสวร ปีที่ 7 เล่มที่ 1 
เดือนตุลาคม 2554 – เดือนมีนาคม 2555


การท่องเที่ยว: มิติแห่งศาสตร์บูรณาการ

รองศาสตราจารย์ ดร. ฉลองศรี พิมลสมพงศ์


การท่องเที่ยวเป็นปรากฏการณ์ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ มีการเดินทางเพื่อไปค้าขาย พบปะญาติพี่น้อง เยี่ยมชมเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไปเล่นกีฬา และไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ เป็นการเฉพาะตามความประสงค์ของผู้เดินทางในแต่ละช่วงเวลาในเวลาต่อ ๆ มาจนถึงยุคปัจจุบัน  วิวัฒนาการของการท่องเที่ยวจึงกลายเป็นกิจกรรมเชื่อมโยงระหว่างการเดินทาง การท่องเที่ยว และการพักผ่อนหย่อนใจ

นักวิชาการการท่องเที่ยวได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวจากนานาทัศนะที่ ทําให้เห็นความเคลื่อนไหวของนักท่องเที่ยว อาทิ

การท่องเที่ยวเป็นการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยไม่คํานึงถึงระยะทางว่าใกล้หรือไกล อาจมีการพักค้างแรมหรือไม่ก็ได้ จุดประสงค์ของการท่องเที่ยวอาจมีการเตรียมการและตั้งใจไว้นานแล้ว อาจเป็นจุดประสงค์ที่ เกิดขึ้นกระทันหันจากแรงจูงใจบางอย่างที่ ได้รับแรงกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก 

 องค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ อาทิ องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวไว้ตั้งแต่ปีค.ศ.1963 ว่า

เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว เดินทางด้วยความสมัครใจ และเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ได้แต่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้

หากวิเคราะห์ความหมายนี้จะพบว่า การเดินทางของนักท่องเที่ยวจากที่อยู่อาศัยปกติไปที่อื่นทําให้เกิดระบบการขนส่งอย่างกว้างขวาง มีการขนส่งทุกรูปแบบเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่พึงประสงค์ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมาตรฐานการบริการ

การเดินทางด้วยความสมัครใจ หมายถึง ความต้องการแท้จริงของนักท่องเที่ยว มีความตั้งใจไป พอใจไปไม่ได้ถูกบังคับ มีความพร้อมและเต็มใจในการใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว รวมทั้งการมีเสรีภาพในการเดินทางโดยได้รับความดูแลทางกฎหมายจากประเทศที่ไปเยือนด้วย 

ส่วนการเดินทางเป็นการชั่วคราวด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ได้ ทําให้ประชากรในทุกภูมิภาคได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาทางความคิด และถ่ายทอดวิถีการดำารงชีวิตให้แก่กัน เหตุผลหลักของการเดินทางในยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การพักผ่อนหย่อนใจ ความสนุกสนาน การศึกษาหาความรู้ การดูชมกีฬา การแสวงหาความสงบสุขทางจิตใจ การติดต่อธุรกิจ และการรักษามิตรภาพระหว่างญาติพี่น้อง หรือมิตรต่างแดน ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจะทําให้โลกแคบลง แต่การท่องเที่ยวยังคงเป็นปรากฏการณ์อีกมิติหนึ่งที่ทําให้มนุษย์เข้าใจกันทางความคิดอย่างลึกซึ้งมากกว่าการรู้จักกันโดยผิวเผินผ่านสื่อแต่เพียงอย่างเดียว

ความเคลื่อนไหวของนักท่องเที่ยวทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดวัฒนธรรม ปรัชญา ความเชื่อ ภาษา การแสดงออกทางความรู้สึกนึกคิด ความสนใจใฝ่รู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และความแตกต่างทางกายภาพจากท้องถิ่นที่อยู่ประจํา 

นักท่องเที่ยวจึงเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันใน 2 สถานะ คือ การเป็นผู้มาเยือน (guest) และการเป็นเจ้าของบ้าน (host) การพบปะกันของทั้ง 2 ฝ่ายในลักษณะต่างกลุ่มกัน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ย่อมทําให้ได้ความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกันไปในการพยายามทําความเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่น เป็นการบูรณาการความคิดกันในทางสังคมและวิถีชีวิต ซึ่งมีทั้งเห็นด้วย และโต้แย้ง นักท่องเที่ยวและเจ้าของบ้านต่างก็มีวัฒนธรรมเฉพาะตนอย่างเป็นเอกลักษณ์  แต่ต้องมาร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวด้วยกัน อาทิ กิจกรรมการต้อนรับ การนําชมแหล่งท่องเที่ ยว การซื้อสินค้าของที่ ระลึก การสาธิตวิธีการทําอาหาร การแต่งกาย การแสดง ฯลฯ 

การบูรณาการความคิดเห็นนี้ต้องใช้หลักการและทักษะของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม โดยการใช้ทักษะทางภาษาทั้งคําพูดและท่าทางเพื่อให้เข้าใจ และยอมรับซึ่งกันและกันอย่างเป็นสากล การสื่อสารทางวัฒนธรรมในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่สร้างความประทับใจต่อกัน จึงกลายเป็นวัฒนธรรมการท่องเที่ยว (Tourism Culture) ที่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จากข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ พฤติกรรมการบริโภค ความต้องการ การแสวงหาและการสร้างความพึงพอใจ เทคนิคในการเจรจาต่อรอง และการจัดบริการด้วยจิตบริการที่เป็นเลิศ จึงจะทําให้กิจกรรมในธุรกิจการท่องเที่ยวมีการขยายตัวได้เท่าทันกับวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในบริบทของวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอกของนักท่องเที่ยว และของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวทุกแห่ง

ความต้องการความรู้ความเข้าใจปรากฏการณ์การท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้งเกิดจากความต้องการของบุคลากรทางการท่องเที่ยวในยุคที่การท่องเที่ยวขยายตัวอย่างกว้างขวางในทุกภูมิภาคของโลก ตั้งแต่ปลาย ค.ศ.ที่ 19 จนถึงปัจจุบัน  บุคลากรในหลากหลายธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจนําเที่ยว ธุรกิจการบริการอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ต้องการรู้จักจิตวิทยาของนักท่องเที่ยวเพื่อจัดหาสินค้าและการบริการการท่องเที่ยวได้ถูกต้องตามความต้องการ และสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยว และยังต้องการทําธุรกิจกับธุรกิจจัดหาสินค้าและบริการต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด

การท่องเที่ยวจึงเป็นการจัดหา รวบรวมกิจกรรม การบริการ และผลผลิตต่าง ๆ จากภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมมาผสมผสานกันจนเกิดเป็นประสบการณ์ที่ มีเอกลักษณ์ให้แก่ นักท่องเที่ยว ประสบการณ์แปลกใหม่เหล่านี้เริ่มต้นตั้งแต่นักท่องเที่ยวออกเดินทางด้วยการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ การพักแรม การพักผ่อน การรับประทานอาหาร การเที่ยวชม การซื้อสินค้าของที่ ระลึก และทํากิจกรรมอื่น ๆ จนกระทั่งเดินทางกลับ และเป็นประสบการณ์ใหม่ทุกครั้งถึงแม้ว่าจะกลับไปท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวเดิมมากกว่า 1 ครั้ง 

องค์ความรู้หรือศาสตร์ทางการท่องเที่ยวจึงเป็นการศึกษาจากทุกมุมมองที่ เกี่ยวข้องกับการดํารงชีวิตของมนุษย์ เป็นศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ที่นําแนวคิดจากศาสตร์ต่าง ๆ ทางวิชาการ และวิชาชีพที่ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และประยุกต์ใช้ได้จริงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวเปูาหมายที่มาจากสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  การให้บริการนักท่องเที่ยวต่างวัฒนธรรมกันในเวลาเดียวกันเป็นงานอาชีพที่ ท้าทายความรู้ความสามารถ และทักษะของผู้ให้บริการทุกระดับเป็นอย่างยิ่ง

แนวคิดที่นํามาเป็นปรัชญาการศึกษาเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน คือ หลักการแนวคิดจากทฤษฎีระบบการบริโภคการท่องเที่ยว (A Tourism Consumption System: TCS)ของ Mill and Morrison (1985, p.XVIII)  หรือเรียกว่า ระบบการท่องเที่ยว (Tourism System)  ในลักษณะวงจร เริ่มตั้งแต่

1) ความต้องการของตลาดนักท่องเที่ยว อิทธิพลจากภายในและภายนอก พฤติกรรม กระบวนการตัดสินใจซื้อ และการจัดหา 

2) การเดินทางท่องเที่ยวหลังจากการซื้อ การวิเคราะห์ตลาดหลัก การเคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยว และรูปแบบของการขนส่ง

3) การศึกษาอุปสงค์ของการท่องเที่ยว ณ แหล่งท่องเที่ยว รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว และการให้บริการ ซึ่งต้องการการวางแผน การจัดการ และการพัฒนาอย่างเป็นระบบให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล 

4) การตลาดการท่องเที่ยว เป็นการตรวจสอบปัจจัยทางการตลาดของภาคธุรกิจ ทั้งที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจจัดหาสินค้าและบริการในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างแท้จริง

การบูรณาการแนวคิดจากทฤษฎีระบบการท่องเที่ยวกับศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์ และทางด้านวิทยาศาสตร์ นักวิชาการการท่องเที่ยวได้นํามากําหนดเป็นรายวิชา หรือหัวข้อ ที่ ยังคงที่มาของแนวคิดและหลักการที่นํามาศึกษา แต่ต้องมีการศึกษาในเชิงประยุกต์ มีกรณีศึกษา และมีการฝึกปฏิบัติอย่างชัดเจนควบคู่กันไป เพื่อให้เป็นองค์ความรู้เฉพาะทางการท่องเที่ยว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ศาสตร์ / สาขาวิชา                                     หัวข้อ / รายวิชาทางการท่องเที่ยว                        

- จิตวิทยา                             - จิตวิทยาการบริการ จิตวิทยาและแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว
                                         พฤติกรรม
ของนักท่องเที่ยว

- มานุษยวิทยา                       - ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของบ้านและผู้มาเยือน
                                         วัฒนธรรมการท่องเที่ยว

- สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์         - โลกที่ปราศจากพรมแดน เสรีภาพในการเดินทางท่องเที่ยว
                                        พัฒนาการ
ของการปกครองและกระจายอํานาจ
                                        
การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

- ประวัติศาสตร์                      - วิวัฒนาการของการท่องเที่ยวในแต่ละยุคสมัย
                                        การเปรียบเทียบเหตุการณ์ความสําคัญของแหล่งท่องเที่ยว
                                        ทางประวัติศาสตร์ในแต่ละภูมิภาค

- ภาษาต่างประเทศ                 - ภาษาต่างประเทศในงานอาชีพ การสื่อสาร
                                        การเจรจาต่อรองข้ามวัฒนธรรม

- ภูมิศาสตร์ นิเวศวิทยา            - การกําหนดเส้นทางการท่องเที่ยว การออกแบบการนําเที่ยว
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม            และการให้บริการให้เข้ากับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
                                        การจัดการมรดกทางการท่องเที่ยว

- เศรษฐศาสตร์                      - เศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยวและผลกระทบ 
และบริหารธุรกิจ                   การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ของการลงทุน โอกาสและภาวะ
                                       การแข่งขัน การตลาด การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว
                                       การจัดการอุปสงค์ และอุปทานทางการท่องเที่ยว 
                                       การจัดการองค์กรทางการท่องเที่ยว

- การเกษตร                        - การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติและนันทนาการ  การท่องเที่ยวเชิงเกษตรการจัดนันทนาการในแหล่งท่องเที่ยว

- การวางแผน                      - การวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตต่าง ๆ 
และพัฒนาเมือง                    การวางแผนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

- การขนส่ง                         - ระบบการขนส่งผู้โดยสาร ระบบโลจิสติกส์
                                       ที่เกี่ยวข้องกับการ
ให้บริการนักท่องเที่ยว

- การบริหารจัดการ               - การจัดการโรงแรม ภัตตาคารร้านอาหาร 
ธุรกิจบริการ                       การจัดการธุรกิจนําเที่ยวการประเมินคุณภาพ

                                      มาตรฐานการบริการ   จิตบริการศึกษา(Hospitality Education) 
                                      ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

- วิทยาศาสตร์การกีฬา          - การท่องเที่ยวเพื่อดูชมกีฬา  การเล่นกีฬาในช่วงการมีเวลาว่าง  
วิทยาศาสตร์สุขภาพ             และการพักผ่อนรูปแบบการส่งเสริมกีฬาเพื่อนันทนาการ
                                     และการรักษาสุขภาพ

- เทคโนโลยีสารสนเทศ          - การใช้โปรแกรมประยุกต์ในการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว

- กฎหมาย                        - พ.ร.บ. ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์  พ.ร.บ.การโรงแรม 
                                     พ.ร.บ. สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้อง
                                     กับการขนส่ง
  และการดําเนินงานในระบบการท่องเที่ยว

- ศึกษาศาสตร์                   - การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนทางการท่องเที่ยว
                                    การฝึกอบรมบุคลากรทางการท่องเที่ยว การฝึกปฏิบัติงาน


การบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ กับองค์ความรู้ทางการท่องเที่ยวทําให้ได้มุมมองของการบูรณาการแนวคิดและการทํางานร่วมกันใน 3 ลักษณะ ได้แก่

1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการในสาขาต่าง ๆ กับนักวิชาการทางการท่องเที่ยวในรูปแบบของการวิจัย การสัมมนา การผลิตผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนแบบสหวิทยาการ ฯลฯ

2) การประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานระหว่างนักวิชาการการท่องเที่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวภาคเอกชนในรูปแบบของการฝึกปฏิบัติงานในฐานะพนักงานชั่วคราว และการฝึกงานหน้างาน (on the job training) ซึ่งเป็นการส่งเสริมและเติมเต็มความรู้ซึ่งกันและกัน โดยผ่านการพัฒนานิสิตนักศึกษาของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาคธุรกิจที่ ให้ความร่วมมือ

3) การนําเสนอแนวคิดในการจัดการ การวางแผน และการพัฒนาระหว่างนักวิชาการการท่องเที่ยว หน่วยงานธุรกิจภาคเอกชน และหน่วยงานการส่งเสริมการท่องเที่ยวภาครัฐ ในรูปแบบของการเป็นคณะกรรมการการพัฒนางานร่วมกันตามแนวนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในระดับมหภาค และระดับจุลภาค  การบูรณาการความร่วมมือจากทุกฝุายเหล่านี้เป็นการนําองค์ความรู้เชิงประยุกต์มาเป็นองค์ความรู้ทางวิชาชีพที่ตอบสนองการขยายตัวของการท่องเที่ยวทุกรูปแบบในยุคใหม่ ทําให้เกิดการขยายองค์ความรู้อย่างกว้างขวางเข้าสู่การพัฒนาระบบการท่องเที่ยว และเข้าสู่การดํารงชีวิตจริงของมนุษย์

สรุปการท่องเที่ยวเป็นศาสตร์บูรณาการในรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และเป็นการบูรณาการปรากฏการณ์ในระบบของการท่องเที่ยวกับความรู้ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีจากศาสตร์ต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ทั้งด้านสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มาเป็นศาสตร์แบบสหวิทยาการ ประกอบด้วยทฤษฎี และองค์ความรู้เฉพาะทางของการท่องเที่ยว ซึ่งมีพัฒนาการควบคู่กับการดํารงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ

การท่องเที่ยวกลายเป็นกิจกรรมการพักผ่อนในเวลาว่างในวิถีชีวิตปกติของบุคคลทั่วไป ส่งผลให้เกิดความต้องการเดินทาง การบริโภค การใช้บริการของธุรกิจที่ เกี่ยวข้องอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว และบุคลากรทางการท่องเที่ยวที่เข้าใจจิตวิทยาการท่องเที่ยวเป็นอย่างดี องค์ความรู้การท่องเที่ยวแบบบูรณาการมุ่งเน้นการตอบสนองการเคลื่อนตัวของนักท่องเที่ยวในระบบการท่องเที่ยว ตั้งแต่ออกเดินทางจนกลับสู่ ที่อยู่ อาศัยปกติ จึงเป็นการบูรณาการเชื่อมโยงอุปสงค์และอุปทานทางการท่องเที่ยว (Tourism Demand and Supply)  อย่างสมดุล ทําให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเจริญเติบโต สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจํานวนหลายแสนล้านบาทต่อปี นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังเป็นการส่งเสริมบูรณาการทางความคิดของมนุษย์ในฐานะผู้อยู่ในสังคมเดียวกัน และสังคมต่างวัฒนธรรมกัน ทําให้ได้รับความรู้ ความคิดอย่างทัดเทียมกัน การท่องเที่ยวจึงเป็นศาสตร์บูรณาการที่ใช้เป็นหนทางไปสู่สันติภาพของโลกมาโดยตลอด ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการเดินทาง และยังมีความหมาย ความสําคัญจนถึงปัจจุบันนี้



THE END

M U S I C CAFE : LUN LA

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น