ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เคล็ดลับนักเขียนและรายละเอียดสำนักพิมพ์

    ลำดับตอนที่ #31 : สาระความรู้:: นักเขียน - ต้องเป็นมากกว่าเขียน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 314
      0
      26 ก.พ. 52





                    ผมเป็นคนเขียนงานขายความคิดมาปีนี้ก็เป็นปีที่ห้าแล้ว เข้าวงการตั้งแต่ปี
    48 แล้วก็ยังป้วนเปี้ยนอย่างต่อเนื่องหน้าฉากก็มากหลังฉากก็หลาย  ก็พอจะพูดได้ว่ามีประสบการณ์ในระดับหนึ่ง

    หลายคนที่อยากเป็นนักเขียน ก็แวะเวียนมาถามเสมอว่า จะเป็นนักเขียน ต้องปฏิบัติอย่างไร ผมก็ให้คำตอบไปตามเรื่อง แต่มาทบทวนดูแล้ว ก็ได้คำตอบที่ค่อนข้างเป็นบรรทัดฐานว่า

    นักเขียน - ต้องเป็นมากกว่าเขียน  

    หมายความว่าต้องเป็นนักอย่างอื่นด้วย แต่นักอะไรบ้าง
    มาดูกัน 


    1.นักอ่าน

    อันนี้สากลมาก อ่านมากรู้มาก รู้มากก็สะสมมาก อยากระบาย มันเป็นการปลุกแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง รวมถึงเป็นการสะสมสำนวนและคำศัพท์ด้วย จากการศึกษา รวมถึงความถูกต้องของภาษาด้วย แต่สิ่งที่อ่านก็เหมือนสารอาหารที่เราเสพเข้าไป กินของดี ก็ได้ผลดี เสพของเสีย ก็ผิดปกติกับร่างกาย
    ฟันธงเลยว่านิยายยุคใหม่ที่มีอิโมชั่นและภาษาวิบัติ เป็นอาหารที่ก่อมะเร็งทางภาษา ใครจะสนับสนุนยังไง ผมขอต่อต้านการใช้สิ่งเหล่านี้ในสิ่งที่เรียกว่า วรรณกรรม

     

    2.นักอยากเขียน

    จู่ ๆ เราไม่สามารถเรียกตัวเองว่านักเขียนไม่ได้หรอกครับ ในเมื่อเรายังมีความรู้ไม่มาก ยังมีผลงานที่ปรากฏไม่มาก ยังมีผลงานที่เขียนไม่จบไม่สำเร็จเยอะแยะเต็มไปหมด เราจะเป็นได้แค่นักอยากเขียน แต่การเป็นนักอยากเขียนก็เป็นการปล่อยอิสระทางความคิดนะครับ อยากทำอะไรเมื่อไรก็ได้ สบาย ๆ ไม่มีการเร่งรัด ความสร้างสรรค์มันจะงอกมาพร้อมกับเสรีภาพ แต่ถ้าคุณจะขยับจากนักอยากเขียนไปเป็นนักเขียนล่ะก็ คุณต้องคงความสร้างสรรค์ที่ได้ตอนมีเสรีภาพไว้ และเข้าไปรับกฏระเบียบของการเป็นนักเขียนมืออาชีพมาปฏิบัติได้ ไม่งั้น คุณก็ย่ำกับที่ เหมือนจะเล่นเกมที่มีการพัฒนาอาชีพเป็นอีกระดับ คุณต้องไม่เป็นแค่ผู้เล่นเริ่มต้นตลอดไป หรือโนวิช หากต้องการพัฒนาทักษะกำลังฝีมือ และมีสกิลอาชีพที่สูงขึ้น คุณต้องปรับสเตตัส ซึ่งก็คือกระบวนการทางความคิดและการกระทำใหม่ ให้เข้ากับสาขาอาชีพที่คุณกำลังมุ่งหน้าไป

     

     

    3.นักกีฬา

    เกี่ยวอะไรกับนักกีฬา หนูจะเขียนนิยายหนูต้องเล่นกีฬาด้วยเหรอ
    ไม่ใช่ประเด็นนั้นครับ แต่ให้มองว่านักกีฬา กว่าจะแข่งแต่ละที่ได้ เขาต้องซุ่มซ้อมเป็นเวลาหลายเดือน ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพิ่มสถิติและเวลาขึ้นเรื่อย ๆ เพิ่มความยาของระดับขึ้นเรื่อย ๆ และไม่หยุดกับที่เมื่อบรรลุเป้าหมาย เขาต้องไปต่อเรื่อย ๆ และฝึกฝนอยู่ประจำ
    รวมถึงการรู้แพ้รู้ชนะในเกมกีฬาด้วย เรียกว่าน้ำใจนักกีฬาครับ ไม่อาฆาตจองเวร หรือผูกใจเจ็บเมื่อเราผิดพลาดแล้วคนอื่นติติง สำคัญมากนะข้อนี้  

     

     

    4.นักเล่า นักพูด

    ในการเขียนงาน จะนำเสนอเรื่องให้น่าสนใจเราต้องลำดับเรื่องเป็น มีลูกเล่นลีลาวาทะที่เป็นเอกลักษณ์ เหมือนกับวิธีการพูดของแต่ละคน ก็มีถ้อยคำสำนวนที่แตกต่างกันไป มีการเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงของเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอและการปิดจบที่มีความหมาย
    ที่สำคัญ ต้องมีเรื่องที่จะเล่าเสมอ ยิ่งคุยสนุก เราก็ยิ่งเขียนสนุก ไม่ถึงกับต้องถูกหลักนักพูดอะไร เพราะการพูดกับการเขียนมาค่อนข้างมีกลิ่นที่ต่างกัน แต่ความต่างนี้แค่เส้นบาง ๆ
    การพูดค่อนข้างที่จะง่ายกว่า เพราะเราสามารถแสดงออกด้วยน้ำเสียงและสีหน้าได้ ซึ่งเป็นตัวเสริมให้การเล่าและพูดมีน้ำหนักมากขึ้น
    แต่ในการเขียนไม่สามารถสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกได้จากน้ำเสียงและสีหน้า ดังนั้น การเขียนนั้นต้องอาศัยความสามารถที่จะใช้บทบรรยายในการทำหน้าที่แทนน้ำเสียงและสีหน้า บทบรรยายที่ดีคือบทบรรยายที่อ่านแล้วเห็นภาพครับ อ่านแล้วผู้อ่านจินตนาการตามได้ ไม่ยืดเยื้อด้วยทำนองเสนาะหรือโวหาร และไม่รวบรัดตัดความจนเกินงาม มันต้องมีลูกเล่นเรื่อยเฉื่อยบ้าง

     

     

    5.นักดนตรี นักร้อง

    นักร้องที่ดีต้องมีความจำและประสาทหูที่ดีในการรับฟัง แต่ที่สำคัญคือท่วงทำนองครับ
    ในการเขียน ท่วงทำนองของสำนวนและถ้อยคำ เป็นสิ่งที่สำคัญ จังหวะการเล่า การนำเสนอ เราต้องฉลาดพอที่จะเลือกและลำดับ ว่าตรงไหนเป็นท่อนอินโทร ตรงไหนเป็นเนื้อหาสาระ ตรงไหนเป็นท่อนฮุค หรือคลแม็กของเพลง เราต้องสามารถกำหนดได้
    รวมถึง เราต้องมีความสุนทรีย์และสุขภาพจิตที่ดีด้วย
    การฟังเพลงขณะเขียนก็ช่วยปลุกอารมณ์และแรงบันดาลใจได้มากพอสมควรเลยครับ

     

     

     

    6.นักคิด

    นักเขียนต้องตีประเด็นแตก อธิบายเนื้อหาสาระได้ และวิเคราะห์เป็น
    สามารถจำแนกแจกแจงและเลือกสิ่งที่สำคัญมากน้อยในเนื้อหาสาระ สามารถแงะสิ่งที่ผู้เขียนฝังหรือหมกไว้ในสิ่งธรรมดา เพราะบางที มันอาจแอบสะท้อนสังคม หรือสิ่งที่เป็นอยู่ด้วย ในความสนุกและความฟุ้งเฟ้อของจินตนาการ รวมถึงการคิดและต่อยอดในสิ่งที่มีมาได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถปลุกจินตนาการจากสิ่งเดิม และคิดค้นสิ่งใหม่ด้วย
    ดังนั้น การเป็นนักเขียนต้องเป็นนักคิดและบริหารความคิดเป็น
    การปล่อยให้สมองว่าง ๆ ล่องลอยทำให้สมองพร้อมทำงานเท่านั้น
    แต่การใช้สมองขบคิดนั้นทำให้เกิดผลงาน

     

     

    7.นักเรียนนายร้อย

    จะเป็นนักเขียน ระเบียบวินัยและการตรงต่อเวลาต้องดีเยี่ยมประหนึ่งนักเรียนนายร้อย รักษาความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของผลงาน หากผลงานออกเป็นรายสัปดาห์ คุฅณต้องมีงานป้อนทุกสัปดาห์ หากเป็นนักเขียนรายสะดวก สิ่งที่เคยมี เคยเขียน ต้องไม่ขาด ไม่ว่างเว้น ส่งงานต้องตรงเวลานัดเป็นนัด ไม่เบี้ยว มีระเบียบ เลื่อนได้ แต่ถึงกำหนด ต้องมีส่ง ไม่ใช่อยากมา ก็มา อยากส่ง ก็ส่ง ทำตัวเป็นศิลปิน อารมณ์ไม่คงเส้นคงวา ติสต์แตก ถือดีอวดตัวว่าเขาจะง้อเรา แบบนี้ คุณพลาดแน่ ๆ

     

     

    7 ข้อกับ 7 นัก

    ผมว่าสามารถครอบคลุมถึงสิ่งจำเป็นที่นักเขียนพึงมีได้มากพอแล้วล่ะครับ
    ถ้าคุณสามารถเป็นนักเหล่านี้ได้ หนทางการเป็นนักเขียนมืออาชีพ ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ

     

    ขอบคุณเครดิตความรู้ดีๆจาก   http://urza.exteen.com/20081016/entry  





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×