ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เคล็ดลับนักเขียนและรายละเอียดสำนักพิมพ์

    ลำดับตอนที่ #54 : สาระความรู้::การเขียนวิจารณ์หนังสือ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 20.24K
      17
      27 มี.ค. 52




    สำหรับคนที่อยากจะเป็นนักวิจารณ์ค่า
    ^^



    การเขียนวิจารณ์หนังสือ

            การเขียนวิจารณ์ไม่ใช่เพียงการบอกว่าหนังสือนั้นเกี่ยวกับอะไร แต่ยังบอกถึงความสำเร็จในสิ่งที่มันพยายามสื่ออกมาด้วย ดังนั้นการเขียนวิจารณ์จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรจะนำมาฝึกฝนการอ่านหนังสือเพื่อที่จะวิเคราะห์มันด้วยความระมัดระวัง

     

     

             การเป็นนักวิจารณ์ไม่เพียงเสนอให้เห็นว่า คืออะไร แต่ต้องบอกด้วยว่า แล้วยังไง ต่อไปด้วย ดังนั้นการเขียนวิจารณ์จึงต้องรวมเอาทักษะสามอย่างเข้าด้วยกันคือ การอธิบายในสิ่งที่อยู่ในหนังสือ การวิเคราะห์ว่าหนังสือมันบรรลุเป้าหมายที่มันต้องการสื่อออกมาไหม และการแสดงความคิดเป็นของคุณเองลงไปด้วย

     

     

    ขั้นตอนในการเขียนวิจารณ์

                  อ่านหนังสือด้วยความตั้งใจ คุณไม่ควรที่จะอ่านแบบผ่าน ๆ แล้วนำมาวิจารณ์เป็นฉาก ๆ การอ่านอย่างจริงจังและวิเคราะห์มันด้วยความระมัดระวังจะแสดงถึงความจริงใจของคุณที่มีต่อคนอ่านงานวิจารณ์ของคุณ และเป็นการให้เกียรติต่อคนแต่งหนังสือเล่มนั้น ๆ ด้วย ( ไม่มีใครรู้กับคุณในเรื่องนี้ ขึ้นกับจิตสำนึกของคุณเอง)

     

          ให้ตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวเอง ขณะอ่านหนังสือหรือก่อนที่จะเริ่มอ่าน

     

    ๑. อะไรคือมุมมองหรือจุดประสงค์ของคนแต่งที่ต้องการจะสื่อออกมา

     

    ๒. อะไรคือหลักฐานที่คนแต่งนำมาเพื่อพิสูจน์ในประเด็นนั้น มันน่าเชื่อถือไหมและมัน

    สนับสนุนแนวคิดของคนแต่งได้อย่างเพียงพอหรือเปล่า

     

    ๓. หนังสือเล่มนี้มันมีประเด็นที่เด่นชัด หรือให้ข้อมูลอะไรใหม่ ๆ ต่างไปจากเล่มอื่น ๆ ในเรื่องเดียวกันอย่างนี้ไหม?

     

    ๔. คนแต่งมีความชำนาญในเรื่องที่เขียนไหม?

     

    ๕. คุณคิดว่าคนแต่งประสพความสำเร็จในการสื่อความหมายในประเด็นที่เขาต้องการสื่อหรือไม่ ?

     

    ๖. คุณคิดว่าคนแต่งประสพความสำเร็จอย่างไร ในการถ่ายทอดจุดประสงค์ของเขาผ่านหนังสือเล่มนี้

    (มาตรฐานในการวัด ให้ดูที่จุดประสงค์ของคนแต่ง ประกอบเข้ากับหลักฐานที่คนแต่งนำเข้ามาแสดงเพื่อสนับสนุนความคิดของเขาว่ามันเพียงพอ น่าเชื่อถือหรือไม่ นักวิจารณ์ควรวิจารณ์ในกรอบนี้ เช่นจุดประสงค์ของคนแต่งเพื่อความบันเทิง แต่ไปสรุปว่าไม่มีคุณประโยชน์ทางการแพทย์มันก็คนละเรื่อง)

     

    ๗. ความคิดเห็นของคุณที่แตกต่างไปจากคนแต่ง

     

    ประเด็นที่คุณควรจะพิจารณาเพื่อวิจารณ์

     

    ถ้าเป็นเรื่องแต่ง ( fiction )

    ๑. ตัวละคร พวกเขาน่าสนใจหรือน่าเชื่อถือไหม? คุณชอบหรือเปล่า ตัวละครเหล่านี้สร้าง

    ความรู้สึกอะไรเป็นพิเศษกับคุณไหม คนเขียนได้สร้างตัวละครตัวนี้ขึ้นมาอย่างดีหรือเปล่า

     

    ๒. คนเขียนสามารถทำให้คุณคงความสนใจได้ตลอดทั้งเรื่องไหม? พวกเขาทำได้อย่างไร

     

    ๓. คุณชอบตอนไหนในเรื่องนี้ อธิบายว่าคุณสนุกกับมันอย่างไร

     

    ๔. มีอะไรน่าเปลี่ยนแปลงไหม? ถ้ามี คุณอยากจะใส่อะไรลงในหนังสือเล่มนี้

     

    ๕. อื่น ๆ

     

    ถ้าไม่ใช่เรื่องแต่ง ( non fiction ) ก็ให้มองในแง่มุมในเรื่อง

     

    ๑. การเรียบเรียงเนื้อหาในเล่ม

     

    ๒. การใช้ภาษา อ่านเข้าใจง่ายไหม ?

     

    ๓. ข้อมูลหรือหลักฐานที่คนแต่งนำมาสนับสนุนในหนังสือ น่าเชื่อถือ หรือมีเพียงพอไหม?

     

    ๔. เป็นมุมมองที่โดดเด่น หรือ มีอะไรใหม่ ๆ ไหม ?

     

    ๕. มีอะไรเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริงบ้าง

     

    ๖. อื่น ๆ

     

    รูปแบบการเขียน

     

    ๑. เริ่มจากรายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือ ชื่อเรื่อง คนแต่ง สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ราคา

     

    ๒. เกริ่นนำถึงชื่อเรื่องและคนแต่งอีกครั้งได้ เป็นหนังสือประเภทไหน เกี่ยวกับอะไร

     

    ๓. สรุปสั้น ๆ ถึงเนื้อหาในเรื่อง

    ถ้าเป็นหนังสือแต่ง( fiction ) ให้สรุปเนื้อเรื่องสั้น ๆ อย่าบอกทุกอย่างจนหมด จนไม่เหลืออะไรให้คนอ่านสงสัยหรืออยากติดตาม

    ถ้าไม่ใช่หนังสือแต่ง ( non-fiction ) ก็ให้บอกเรื่องสารบัญโดยสังเขป อาจจะหยิบยกบางตอนจากหนังสือ มากล่าวอ้างได้

     

    ๔. ความเห็นของคุณต่อแนวคิดของคนแต่ง คุณเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร ?

     

    ๕. มีอะไรบ้างที่พอจะเป็นไปได้จากคำแนะนำของหนังสือนี้

     

    ๖. โยงความเห็นของคุณไปสู่หนังสือเล่มอื่นที่นักเขียนคนนี้แต่ง หรือจะกล่าวถึงหนังสือประเภทเดียวกันแต่คนอื่นแต่ง

     

    ๗. บทสรุปสั้น ๆ ในความเห็นของคุณเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ เช่น หนังสือเล่มนี้ส่งผลต่อคุณอย่างไร คุณมีความรู้สึกเปลี่ยนไปไหมเมื่อได้อ่าน คุณได้อะไรเพิ่มขึ้นจากการอ่านหนังสือเล่มนี้

     

    ตรวจแก้งานเขียนของคุณ

     

    ๑. ดูว่าสิ่งที่คุณต้องการจะบอกต่อคนอ่านครบถ้วนหรือยัง มีประเด็นไหนที่หลงลืมหรือเปล่า

     

    ๒. ตัวสะกด มีอะไรผิดพลาด ตก ๆ หล่น ๆไหม ?

     

                   คำ แนะนำสำหรับนักเขียนใหม่ จงใช้การเขียนวิจารณ์เป็นการฝึกฝนการเขียนและการวิเคราะห์หนังสือของคุณในอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะคุณจะเรียนรู้ได้จากการอ่านหนังสือของคนอื่นอันเปรียบเสมือนครูคนหนึ่ง เพราะมันจะบอกคุณได้ว่า คุณควรจะเขียนอย่างนี้หรือไม่ อย่างไร

                

                 การเขียนวิจารณ์ เป็นแนวโน้มอย่างหนึ่งของการหารายได้จากการเขียน เห็นจากเวปที่เปิดขายหนังสือ ถ้ามีคำแนะนำหรือวิจารณ์หนังสือเล่มนั้น ๆ โอกาสที่คนจะเปิดดูมีมากกว่าแสดงเพียงรูปหนังสือและรายละเอียดเท่านั้น

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เครดิตความรู้ดีๆจาก  http://www.forwriter.com/index.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×