ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    PLAY A GAME (Yaoi)

    ลำดับตอนที่ #106 : ความหมายของ Yaoi

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.54K
      0
      9 มิ.ย. 51

    ความ yaoi และ shonenai ในแง่มุมทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา

     

     

    มีหลายข้อสรุปที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์ความคลั่งไคล้ shonenai และ yaoi ของเด็กสาวๆ มีผลการสำรวจหนึ่งที่น่าสนใจว่าความชอบ shonenai เกิดจากความเชื่อของผู้หญิงทั้งในระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกที่ว่าการแต่งงานคือจุดสิ้นสุดของความโรแมนติกเพราะต้องทำหน้าที่ภรรยา, แม่, และแม่บ้านที่แสนจะยุ่งยาก ดังนั้นผู้หญิงที่นิยม shonenai และ yaoi มักอยู่ในสังคมที่ชายเป็นใหญ่ (มักเป็นสังคมตะวันออก) การแสวงหาความโรแมนติกโดยที่รู้อยู่เต็มอกว่าผู้หญิงไม่มีวันได้รับความรักอันแสนหวานชั่วชีวิตจากผู้ชายได้จึงกลายเป็นให้ ผู้ชาย ด้วยกันเป็นผู้รับความรักนั้นเสียเลย ซึ่งบางทีนี่อาจเป็นสัญลักษณ์ของความต้องการฉีกม่านประเพณีของผู้หญิงญี่ปุ่นก็ได้

     

    อีกข้อสรุปหนึ่งกล่าวว่า shonenai คือ สัญลักษณ์ ของความโรแมนติกขั้นสุดยอดที่ไร้แรงริษยาจากนักอ่าน เป็นความรักที่อยู่เหนืออุปสรรคทั้งปวงโดยเฉพาะอุปสรรคในเรื่องเพศ (ซึ่งคนทั่วไปมองว่ามันเป็นข้อแรกเลยในการเลือกแฟนว่าควรเป็นคนละเพศกับเรา) แท้ที่จริงแล้วตัวเอกชายที่ทำหน้าที่แทนนางเอกก็คือ สัญลักษณ์ ของเพศหญิงนั่นเอง เพราะมักมีรูปร่างหน้าตาอรชรอ้อนแอ้นหวานหยดไม่ต่างจากผู้หญิงจริงๆเลย นิสัยก็มักจะเซนซิทีฟและอ่อนไหวแบบผู้หญิง แต่เนื่องจากเพศหญิงเป็นเพศที่มีความริษยาสูง นางเอกบางคนทำตัวน่าหมั่นไส้ไม่เป็นกุลสตรีที่ดีเหมือนที่นักอ่านหญิงได้รับการสอนสั่งมา จึงได้เกิดเรื่องรักที่ไม่มีทางให้คนอ่านรู้สึกริษยานางเอกได้..เรื่องรักที่ไร้นางเอกนั่นเอง (กลุ่มนี้คือคนรักแนว bi-shonen หรือหนุ่มรูปงาม และ shonen-ai ที่เน้นความรู้สึกค่ะ)

     

    อีกข้อสรุปกล่าวถึงทฤษฎีว่าด้วยบุคคลที่ 3 ซึ่งอธิบายว่าเวลาเราพูดถึงสิ่งไม่ดีของตนเองนั้นยาก แต่หากพูดถึงสิ่งไม่ดีของคนอื่นนั้นง่ายกว่า ดังนั้นความรักแบบผิดศีลธรรมหรือรักแบบรุนแรงถ้าใช้นางเอกเพศหญิงอาจทำให้นักอ่านหญิงที่ถูกสอนว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องน่าอายของสังคมยอมรับไม่ได้ แต่ถ้านางเอกเป็นผู้ชายซึ่งไกลตัวออกไปหน่อยทำให้ยอมรับได้ง่ายขึ้น หรือแค่การจินตนาการถึงเรื่องเพศระหว่างชายหญิงก็ถือเป็นเรื่องน่าอายในสังคมที่เคร่งครัดแบบญี่ปุ่นแล้ว ดังนั้นการจินตนาการถึงชายสองคนบนเตียงเดียวกันจึงรู้สึกขัดเขินน้อยกว่า (อันนี้น่าจะอธิบายนักอ่านผู้เรียบร้อยแต่กลับมีภูมิต้านทานต่อของแรงๆ ได้ดี)

     

    โอตาคุ yaoi กลุ่มหนึ่งได้ลงความเห็นว่า ผู้ชายในสังคมเรามีแต่พวกชอบกดขี่ ดังนั้นใน shonenai และ yaoi ได้ให้โอกาส สร้างชายในฝัน ขึ้นมา และในทางกลับกันความรู้สึกเกลียดเพศหญิงที่ต้องอ่อนแอและถูกกดขี่อยู่ตลอดได้สร้างตนเองในจินตนาการให้มีรูปลักษณ์ที่แข็งแกร่งเป็นชาย บางคนถึงกับกล่าวว่า ไม่อยากเกิดเป็นผู้หญิงเลย แต่อยากเกิดเป็นผู้ชาย แต่ในเวลาเดียวกันก็อยาก ได้รับความรักจากผู้ชายด้วย ความต้องการที่ซับซ้อนนี้มาลงตัวที่ shonenai พอดี (ความเห็นส่วนนี้อาจเหมาะสำหรับกลุ่มคนรักกล้าม)

     

    จากข้อสรุปอันสุดท้ายนี้ จึงมีการตีความความสำเร็จของ Comic June ว่าเป็นเพราะ June คือสถานที่ที่ใช้เยียวยาผู้หญิงที่เคยถูกทารุณกรรมทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ

    ผู้หญิงหลายคนไม่เคยรู้สึกว่าตนเองเป็นที่รักของใครเลยไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่, เพื่อน, หรือผู้ชาย ดังนั้นวัฒนธรรม shonenai นี้จึง ช่วยรักษารอยแผลของผู้หญิงที่ระทมทุกข์เพราะไม่มีวันจะเท่าเทียมกับผู้ชายในสังคมนี้ได้เลย

     

    ข้อพิสูจน์เหล่านี้ที่ว่า yaoi เป็นเพียง สัญลักษณ์ ไม่ใช่ ความเป็นจริง พิสูจน์ได้จากการลองให้โอตาคุ yaoi ดูภาพเปลือยของผู้ชายแท้ๆกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน ผลคือรับไม่ได้เพราะไม่เหมือนใน จินตนาการ ที่คิดไว้ และให้เกย์ตัวจริงอ่านการ์ตูน yaoi คุณเกย์ก็ว่ามันไม่ใช่การ์ตูนเกย์แม้แต่น้อย ดังนั้นถ้าใครคิดว่าคนอ่านการ์ตูน yaoi แล้วจะกลายเป็นเกย์ก็ผิดแล้วล่ะค่ะ หรือถ้าคิดว่า shonenai เป็นเรื่องผิดศีลธรรม การดูภาพแนวแอบสแทรกท์ (abstract) ที่ต้องตีความกันหลายชั้นก็คงผิดศีลธรรมเช่นกัน เพราะ shonenai เป็นเพียง สัญลักษณ์ ของนามธรรมแห่งความรักแบบต่างเพศ (heterosexual) ที่นำเสนออย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้เท่านั้นเอง

     

    การตีความยังล้ำลึกไปได้อีกกว่านี้ เช่น การที่นักอ่านไม่ได้จิ้นว่าตัวเองเป็นฝ่ายรับแต่กลับเป็นฝ่ายรุกที่ดูแมนสุดๆแถมยังมีไอ้ที่อยู่หว่างขาเหมือนผู้ชายเสียด้วย เลยไปถึงการตีความชายหนุ่มที่ชอบอ่านการ์ตูน Yuri หรือ Loli หรือแม้แต่หูแมวและสาวแว่นก็ล้วนมาจากพื้นฐานวัฒนธรรมตะวันออกที่ลึกลับทั้งนั้น แต่พวกนี้ยังไม่มีเอกสารอ้างอิงจึงยังเขียนไม่ได้ค่ะ ขอเวลาหาก่อนนะคะ

     


     

    ศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับการอ่าน yaoi

    ชายที่แสดงบทพระเอกเรียกว่า seme (อ่านว่า เซ-เมะ บางท่านก็เรียกเมะหรือเสะ)

    ส่วนชายที่แสดงบทนางเอกเรียกว่า uke (อ่านว่า อุ-เคะ บางท่านเรียกอุ๊หรือเคะ)

    เวลาเขียนชื่อว่าใครเป็น seme กับ uke เขียนโดยให้ชื่อของ seme นำแล้วตามด้วย uke คั่นด้วยเครื่องหมาย X แต่เนื่องจากญี่ปุ่นอ่านหนังสือจากหลังไปหน้า บางทีจึงเห็นเป็น ukeXseme แต่ถ้าคิดจะอ่าน yaoi แบบไทยๆก็ช่วยเขียนเป็น semeXuke เถอะค่ะ เช่น เซฟิรอธXคลาวด์ เป็นต้น


    Reference ของบทความทั้งหมด

    Brent W., Masami T. Boys love, yaoi and art education: Issues of power and pedagogy Semiotics and Art/Visual Culture. The National Art Education Association, 2003.

     
    แถมหน่อยคะ

    โชตะ ย่อมาจาก โชตะค่อน(Shotacon)ซึ่งหมายความว่าพวกรักเด็กหนุ่มน้อยน่าตาน่ารักน่ากินค่ะ โชตะก็จำพวกเคะน้อยน่ารักทั้งหลายแหล่เช่น ยูยะกับมากิค่ะ (อันนี้ท่าน meiarchan อธิบายให้คะ)

     

    โมเอะ คือความน่ารัก น่ารักจริงๆ ทั้งหน้าตาทั้งท่าทางนิสัย ไม่เสแสร้งแกล้งทำเป็นน่ารัก หรือง่ายๆคือแหลเป็นน่ารักทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้เป็น สามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย อันนี้ Big มองว่าใครๆโมเอะได้เช่น พี่อู๊ดแห่งเป็นต่อทั้งเตี้ยทั้งถึกแถมขนจักกุแร้ก็ยาว แต่พอมารวมกันแล้ว Big ว่าน่ารักดี (แต่เป็นชายที่ Big คิดว่าชาตินี้คงไม่กล้าจีบแน่ๆ คือว่าให้เป็นเพื่อนกันละก็สามารถค๊า) อันนี้ในความหมายของ Big คนเดียวเน้อ หากไม่ตรงกับคนอื่นก็ต้องขออภัยคะ หรือถ้าผิด

     

    ปล. Big เคยอ่านงานของคนที่เป็นเกย์จริงๆ สำหรับความคิด Big คิดว่าจะแตกต่างกันมากเลยคะ ดังนั้นใครบอกว่า งานนYaoi คือเกย์ Big ขอชูสองจักกุแร้เถียงค๊า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×